ยุคควอเทอร์นารี

ยุคควอเทอร์นารี (อังกฤษ: Quaternary) เป็นยุคปัจจุบันและใหม่ที่สุดในบรรดายุคทั้งสามของมหายุคซีโนโซอิกในธรณีกาล[4] เป็นยุคถัดจากยุคนีโอจีน กินเวลาตั้งแต่ 2.588 ± 0.005 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน[4] แบ่งออกเป็นสองสมัย ได้แก่ สมัยไพลสโตซีน (2.588 ล้านปีถึง 1.17 หมื่นปีก่อน) และ สมัยโฮโลซีน (1.17 หมื่นปีก่อนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการเสนอสมัยที่สาม หรือ แอนโทรโปซีน ขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดย ICS)[4]

ยุคควอเทอร์นารี
2.588 – 0 ล้านปีก่อน
แผนที่แบบการฉายแบบมอลไวเดอของแผนที่โลกปัจจุบัน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลายุค
หน่วยลำดับชั้นหินหินยุค
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่าง
ขอบล่าง GSSPแหล่งมองเตซานนีโกลา เมืองเจลา แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี
37°08′49″N 14°12′13″E / 37.1469°N 14.2035°E / 37.1469; 14.2035
การอนุมัติ GSSP2552 (เป็นฐานของยุคควอเทอร์นารีและสมัยไพลสโตซีน)[3]
คำนิยามขอบบนปัจจุบัน
ขอบบน GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A
ข้อมูลชั้นบรรยากาศและภูมิอากาศ
ปริมาณ O
2
เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ
ประมาณ 20.8 % โดยปริมาตร
(104 % ของปัจจุบัน)
ปริมาณ CO
2
เฉลี่ยในชั้นบรรยากาศ
ประมาณ 250 ppm
(1 เท่าของยุคก่อนอุตสาหกรรม)
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยประมาณ 14 °C
(สูงกว่าปัจจุบัน 0 °C)

ยุคควอเทอร์นารีมักถูกนิยามโดยวัฏจักรการเจริญเติบโตและการสลายตัวของทวีปพืดน้ำแข็ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรมิลานโควิชและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้น[5][6]

ประวัติการวิจัย

แก้

ในปี ค.ศ. 1759 โจวันนี อาร์ดุยโน เสนอว่าชั้นหินทางธรณีวิทยาในภาคเหนือของประเทศอิตาลีสามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหินหรือ "ลำดับ" ที่ต่อเนื่องกันสี่ชั้น (อิตาลี: quattro ordini)[7] คำว่า "ควอเทอร์นารี" ถูกนำมาใช้โดยจูล เดนวยเยในปี ค.ศ. 1829 สำหรับตะกอนแอ่งแม่น้ำแซนในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอายุน้อยกว่าหินยุคเทอร์เทียรีอย่างชัดเจน[8][9][10]

ยุคควอเทอร์นารีเป็นยุคถัดมาจากยุคนีโอจีนและดำเนินมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมช่วงเวลาของยุคธารน้ำแข็งซึ่งถูกจัดเป็นสมัยไพลสโตซีนและช่วงเวลาคั่นยุคน้ำแข็งในปัจจุบันนั่นคือสมัยโฮโลซีน

จุดเริ่มต้นของยุคควอเทอร์นารีเริ่มต้นขึ้นในยุคธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือเมื่อประมาณ 2.6 ล้านปีก่อน ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2009 สมัยไพลสโตซีนถูกกำหนดอายุไว้ที่ 1.805 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ก่อนปี ค.ศ. 2009 สมัยไพลสโตซีนจึงหมายรวมเอาส่วนหนึ่งของช่วงเวลาที่ถูกจัดเป็นสมัยไพลโอซีนในปัจจุบันนี้ด้วย

นักลำดับชั้นหินยุคควอเทอร์นารีมักทำงานร่วมกับส่วนงานย่อยในภูมิภาคต่าง ๆ กระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1970 คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) พยายามสร้างธรณีกาลมาตรฐานหนึ่งเดียวขึ้นโดยใช้การอ้างอิงกับจุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก (GSSP) ซึ่งทำให้สามารถใช้ในระดับสากลได้ การแบ่งย่อยของควอเทอร์นารีถูกอิงตามการลำดับชั้นหินตามชีวภาพแทนที่ภูมิอากาศบรรพกาล

สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหากับฐานอ้างอิงของสมัยไพลสโตซีนที่ถูกเสนอว่า 1.805 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานหลังจากการเริ่มต้นของยุคธารน้ำแข็งใหญ่ในซีกโลกเหนือ จากนั้นคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลจึงเสนอให้ยกเลิกการใช้ชื่อควอเทอร์นารีไปอย่างสิ้นเชิง แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในสหภาพเพื่อการวิจัยควอเทอร์นารีสากล (International Union for Quaternary Research หรือ INQUA)

ในปี ค.ศ. 2009 มีการตัดสินให้ยุคควอเทอร์นารีเป็นยุคที่ใหม่ที่สุดของมหายุคซีโนโซอิก โดยมีฐานอ้างอิงที่ 2.588 ล้านปีก่อนและควบรวมไปถึงหินช่วงอายุเจลาเซียน ซึ่งเดิมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสมัยไพลโอซีน ยุคนีโอจีนเข้าไว้ด้วย[11]

แอนโทรโปซีนถูกเสนอให้เป็นยุคที่สามในฐานะหมุดหมายของผลกระทบที่เกิดจากมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยเริ่มต้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือประมาณ 200 ปีก่อน[12] แอนโทรโปซีนยังไม่ได้ถูกนิยามอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล แต่กำลังมีการทำงานเกี่ยวกับการเสนอเพื่อการสร้างสมัยหรือกึ่งยุค[13]

ธรณีวิทยา

แก้

ช่วงเวลา 2.6 ล้านปีของยุคควอเทอร์นารีแสดงถึงเวลาที่ยอมรับว่ามนุษย์ปรากฏตัวขึ้น[14] ในช่วงเวลาทางธรณีวิทยาสั้น ๆ นี้ การกระจายตัวของทวีปมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยเนื่องจากการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ทำให้บันทึกทางธรณีวิทยาของยุคควอเทอร์นารีได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างละเอียดกว่าในช่วงก่อนหน้านั้น

การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ การเกิดช่องแคบบอสพอรัสและสกาเกร์รักในช่วงยุคน้ำแข็ง ทำให้ทะเลดำและทะเลบอลติกกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืด ตามด้วยการเกิดน้ำท่วม (และกลายเป็นทะเลน้ำเค็มอีกครั้ง) จากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล[15] การเกิดน้ำบ่าในช่องแคบอังกฤษเป็นครั้งคราวเกิดเป็นสะพานแผ่นดินเชื่อมระหว่างบริเตนและยุโรปแผ่นดินใหญ่ การหายไปเป็นครั้งคราวของช่องแคบเบริงทำให้เกิดสะพานแผ่นดินระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ และเกิดน้ำท่วมฉับพลันเป็นครั้งคราวในสแกบแลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาโดยน้ำจากธารน้ำแข็ง[16]

การขยายขนาดของอ่าวฮัดสัน เกรตเลกส์ และทะเลสาบใหญ่อื่นของทวีปอเมริกาเหนือเป็นผลจากการจัดโครงสร้างใหม่ของหินฐานทวีปแคนาดาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย แนวชายฝั่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกันปรากฏขึ้นมาตามเวลาของยุคควอเทอร์นารี[17]

ภูมิอากาศ

แก้

ภูมิอากาศเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเป็นครั้งคราวกับการเคลื่อนของมวลแผ่นธารน้ำแข็งไปไกลจากขั้วโลกจนถึงละติจูด 40 องศา เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ขึ้นในพื้นที่ตอนเหนือในช่วงสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน สัตว์ต่าง ๆ เช่น แมวเขี้ยวดาบ ช้างแมมมอธ แมสโตดอน กลิปโตดอนท์ ฯลฯ ได้สูญพันธุ์ทั่วโลก ส่วนสัตว์อื่น เช่น ม้า อูฐ และเสือชีตาห์อเมริกาได้สูญพันธุ์ไปจากทวีปอเมริกาเหนือ[18][19]

การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งยุคควอเทอร์นารี

แก้

การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ในระหว่างยุคน้ำแข็งควอเทอร์นารี โดยคำว่ายุคน้ำแข็งควอเทอร์นารีเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยชิมเปอร์ในปี ค.ศ. 1839 ซึ่งเริ่มต้นพร้อมกับการเริ่มต้นของยุคควอเทอร์นารีเมื่อประมาณ 2.58 ล้านปีก่อนและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคน้ำแข็งสุดท้าย

แก้
 
ภาพในจินตนาการศิลปินของโลกในช่วงธารน้ำแข็งสูงสุดสุดท้าย

ในปี ค.ศ. 1821 อิกนาซ เวเนตซ์ วิศวกรชาวสวิสนำเสนอบทความซึ่งเขาชี้ว่ามีร่องรอยของธารน้ำแข็งในบริเวณที่ห่างจากเทือกเขาแอลป์พอสมควร ความคิดนี้ได้รับการโต้แย้งจากลุยส์ แอเกสซิส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสอีกคน แต่เมื่อพยายามที่จะพิสูจน์และหักล้างข้อเสนอดังกล่าว กลับลงเอยด้วยการยืนยันสมมติฐานดังกล่าวของเวเนตซ์ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมสถาบันของเขา ปีต่อมาแอเกสซิสยกสมมติฐานยุคธารน้ำแข็งใหญ่ที่ส่งผลกระทบในระยะยาวขึ้น แนวคิดนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและนำไปสู่การตั้งทฤษฎีธารน้ำแข็งขึ้น

ต้องขอบคุณความละเอียดของธรณีวิทยา ซึ่งปรากฏให้เห็นแล้วว่ามีการเคลื่อนตัวและถอยกลับของธารน้ำแข็งอยู่หลายช่วง และอุณหภูมิโลกในอดีตก็แตกต่างจากปัจจุบันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฏจักรมิลานโควิชของมิลูทิน มิลานโควิชซึ่งอิงกับหลักฐานที่แสดงว่าความแปรผันของการแผ่รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ควบคุมภูมิอากาศของโลก

ในช่วงเวลานี้ ธารน้ำแข็งจำนวนมากได้รุกและถอยออกไปจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย และทั้งหมดของทวีปแอนตาร์กติกา ทะเลสาบเกรตเลกส์ก่อตัวขึ้นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เจริญขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยูเรเซียที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตอนสิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อน มนุษย์ยุคใหม่วิวัฒนาการขึ้นเมื่อประมาณ 315,000 ปีก่อน ซึ่งในระหว่างยุคควอเทอร์นารี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พืชดอก และแมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลบนแผ่นดิน[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  2. Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  3. Gibbard, Philip; Head, Martin (September 2010). "The newly-ratified definition of the Quaternary System/Period and redefinition of the Pleistocene Series/Epoch, and comparison of proposals advanced prior to formal ratification" (PDF). Episodes. 33: 152–158. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 Cohen, K.M.; Finney, S.C.; Gibbard, P.L.; Fan, J.-X. "International Chronostratigraphic Chart 2013" (PDF). stratigraphy.org. ICS. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.
  5. Denton, G.H.; Anderson, R.F.; Toggweiler, J.R.; Edwards, R.L.; Schaefer, J.M.; Putnam, A.E. (2010). "The Last Glacial Termination". Science. 328 (5986): 1652–1656. Bibcode:2010Sci...328.1652D. CiteSeerX 10.1.1.1018.5454. doi:10.1126/science.1184119. PMID 20576882. S2CID 27485445.
  6. Lowe, J.J.; Walker, M.J.C. (1997). Reconstructing Quaternary Environments. Routledge. ISBN 978-0582101661.
  7. See:
    • Arduino, Giovanni (1760). "Lettera Segonda di Giovanni Arduino … sopra varie sue osservazioni fatte in diverse parti del territorio di Vicenza, ed altrove, apparenenti alla Teoria terrestre, ed alla Mineralogia" [Second letter of Giovani Arduino … on his various observations made in different parts of the territory of Vincenza, and elsewhere, concerning the theory of the earth and mineralogy]. Nuova Raccolta d'Opuscoli Scientifici e Filologici [New collection of scientific and philogical pamphlets] (ภาษาอิตาลี). 6: 133 (cxxxiii)–180(clxxx). Available at: Museo Galileo (Florence (Firenze), Italy) From p. 158 (clviii): "Per quanto ho potuto sinora osservavare, la serie di questi strati, che compongono la corteccia visibile della terra, mi pare distinta in quattro ordini generali, e successivi, senza considerarvi il mare." (As far as I have been able to observe, the series of these layers that compose the visible crust of the earth seems to me distinct in four general orders, and successive, not considering the sea.)
    • English translation: Ell, Theodore (2012). "Two letters of Signor Giovanni Arduino, concerning his natural observations: first full English translation. Part 2". Earth Sciences History. 31 (2): 168–192. doi:10.17704/eshi.31.2.c2q4076006wn7751.
  8. Desnoyers, J. (1829). "Observations sur un ensemble de dépôts marins plus récents que les terrains tertiaires du bassin de la Seine, et constituant une formation géologique distincte; précédées d'un aperçu de la nonsimultanéité des bassins tertiares" [Observations on a set of marine deposits [that are] more recent than the tertiary terrains of the Seine basin and [that] constitute a distinct geological formation; preceded by an outline of the non-simultaneity of tertiary basins]. Annales des Sciences Naturelles (ภาษาฝรั่งเศส). 16: 171–214, 402–491. From p. 193: "Ce que je désirerais … dont il faut également les distinguer." (What I would desire to prove above all is that the series of tertiary deposits continued – and even began in the more recent basins – for a long time, perhaps after that of the Seine had been completely filled, and that these later formations – Quaternary (1), so to say – should not retain the name of alluvial deposits any more than the true and ancient tertiary deposits, from which they must also be distinguished.) However, on the very same page, Desnoyers abandoned the use of the term "quaternary" because the distinction between quaternary and tertiary deposits wasn't clear. From p. 193: "La crainte de voir mal comprise … que ceux du bassin de la Seine." (The fear of seeing my opinion in this regard be misunderstood or exaggerated, has made me abandon the word "quaternary", which at first I had wanted to apply to all deposits more recent than those of the Seine basin.)
  9. "Late Quaternary Fluvial and Coastal Sequences Chapter 1: Introduction" (PDF). สืบค้นเมื่อ March 26, 2017.
  10. Wiz Science™ (2015-09-28), Quaternary - Video Learning - WizScience.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-07, สืบค้นเมื่อ 2017-03-26
  11. "See the 2009 version of the ICS geologic time scale".
  12. Zalasiewicz, J.; Williams, M.; Haywood, A.; Ellis, M. (2011). "The Anthropocene: a new epoch of geological time?" (PDF). Philosophical Transactions of the Royal Society A. 369 (1938): 835–841. Bibcode:2011RSPTA.369..835Z. doi:10.1098/rsta.2010.0339. PMID 21282149. S2CID 2624037.
  13. "Working Group on the 'Anthropocene'". Subcomission on Quaternary Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  14. Ghosh, Pallab (March 4, 2015). "'First human' discovered in Ethiopia". BBC News. London. สืบค้นเมื่อ 2015-04-19.
  15. Ryan, William B.F.; Pitman, Walter C.; Major, Candace O.; Shimkus, Kazimieras; Moskalenko, Vladamir; Jones, Glenn A.; Dimitrov, Petko; Gorür, Naci; Sakinç, Mehmet; Yüce, Hüseyin (April 1997). "An abrupt drowning of the Black Sea shelf". Marine Geology. 138 (1–2): 119–126. Bibcode:1997MGeol.138..119R. doi:10.1016/s0025-3227(97)00007-8.
  16. Balbas, A.M., Barth, A.M., Clark, P.U., Clark, J., Caffee, M., O'Connor, J., Baker, V.R., Konrad, K. and Bjornstad, B., 2017. 10Be dating of late Pleistocene megafloods and Cordilleran Ice Sheet retreat in the northwestern United States. Geology, 45(7), pp. 583-586.
  17. Dyke, Arthur S. (2004). "An outline of North American deglaciation with emphasis on central and northern Canada". Developments in Quaternary Sciences. 2: 373–424. doi:10.1016/S1571-0866(04)80209-4. ISBN 9780444515926.
  18. Haynes. "Stanford Camelops" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-03-09.
  19. "Extinct American Cheetah Fact Sheet". library.sandiegozoo.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-10.
ก่อนหน้า
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก
541 Ma - ปัจจุบัน
มหายุคพาลีโอโซอิก
541 Ma - 252 Ma
มหายุคมีโซโซอิก
252 Ma - 66 Ma
มหายุคซีโนโซอิก
66 Ma - ปัจจุบัน
แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซลูเรียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส เพอร์เมียน ไทรแอสซิก จูแรสซิก ครีเทเชียส พาลีโอจีน นีโอจีน ควอเทอร์นารี