ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย (อังกฤษ: Late Pleistocene) เป็นช่วงอายุอย่างไม่เป็นทางการในธรณีกาลสากลในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล หรือรู้จักในชื่อ ไพลสโตซีนบน (อังกฤษ: Upper Pleistocene) ในแง่ของการลำดับชั้นหิน การแบ่งช่วงอายุนี้มีจุดหมายเพื่อเป็นส่วนที่สี่ของสมัยไพลสโตซีนอันเป็นสมัยหนึ่งของยุคควอเทอร์นารีที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน ในปัจจุบันได้กำหนดช่วงเวลาของช่วงอายุนี้ไว้ระหว่างประมาณ 129,000 ปี ถึง ประมาณ 11,700 ปีก่อน ช่วงอายุนี้เทียบเท่ากับช่วงอายุทารันเทียน (อังกฤษ: Tarantian) ที่เสนอขึ้นไว้ของธรณีกาล เพื่อให้เป็นช่วงอายุถัดจากช่วงอายุชิบาเนียน (เดิมชื่อช่วงอายุไพลสโตซีนตอนกลาง) ที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้ว และเป็นช่วงอายุก่อนหน้าช่วงอายุกรีนแลนเดียนที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการไว้แล้วเช่นกัน[1] จุดเริ่มต้นโดยประมาณของช่วงอายุนี้คือจุดเริ่มต้นของช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งเอเมียน หรือหินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี (Marine Isotope Stage 5) และดำรงอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอส เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อนเริ่มสมัยโฮโลซีน[2]

ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย
0.129 – 0.0117 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อไม่เป็นทางการ
ชื่อที่เสนอทารันเทียน (Tarantian)
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างไม่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบล่างหินกึ่งช่วงอายุไอโซโทปทะเล 5อี
การอนุมัติ GSSPไม่มี
คำนิยามขอบบนจุดสิ้นสุดของธารน้ำแข็งถอยกลับยังเกอร์ดรายแอส
ขอบบน GSSPแกนน้ำแข็งของ NGRIP2 กรีนแลนด์
75°06′00″N 42°19′12″W / 75.1000°N 42.3200°W / 75.1000; -42.3200
การอนุมัติ GSSP14 มิถุนายน 2561 (ในฐานะฐานของช่วงอายุกรีนแลนเดียน)[3][4]
สีม่วง: การขยายของพืดน้ำแข็งแอลป์ในการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเวือร์ม สีน้ำเงิน: การขยายในยุคน้ำแข็งครั้งก่อนหน้า

ปัจจุบัน คำว่า ไพลสโตซีนตอนปลาย ถูกใช้เป็นชื่อชั่วคราวหรือ "กึ่งทางการ" โดยสหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) แม้ว่าสามช่วงอายุที่เก่าที่สุดของสมัยไพลสโตซีน (ได้แก่ ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน และช่วงอายุชิบาเนียน) จะได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายนั้นยังไม่ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการ ซึ่งอยู่ในคราวเดียวกันกับการพิจารณาการแบ่งย่อยแอนโทรโปซีนของสมัยโฮโลซีน[5]

ลักษณะสำคัญของช่วงอายุนี้ คือ ยุคธารน้ำแข็ง เช่น ยุคธารน้ำแข็งเวือร์มในเทือกเขาแอลป์ของทวีปยุโรปจนถึง 14 ka (1.4 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอสที่เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง มหาสัตวชาติหรือสัตว์ขนาดใหญ่จำนวนมากสูญพันธุ์ไปในช่วงอายุนี้ โดยเป็นกระแสที่ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยโฮโลซีน ในแง่บรรพมานุษยวิทยา จะตรงกับระยะยุคหินเก่าบน (Upper Palaeolithic stage) ของพัฒนาการมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการอพยพย้ายถิ่นและการสูญพันธุ์ของสปีชีส์มนุษย์โบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ในช่วงดังกล่าว

ยุคน้ำแข็งสุดท้าย แก้

จุดเริ่มต้นของช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายที่ถูกเสนอไว้ คือ จุดสิ้นสุดของยุคธารน้ำแข็งก่อนลำดับหลังสุด (Penultimate Glacial Period หรือ PGP) เมื่อ 126 ka (1.26 แสนปีก่อน) เมื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส (เทือกเขาแอลป์) ถูกสืบต่อด้วยช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน (ริส-เวือร์ม)[6] โดยการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งริส-เวือร์มสิ้นสุดลงเมื่อ 115 ka (1.15 แสนปีก่อน) ด้วยการเริ่มต้นของยุคธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (LGP) ซึ่งในทวีปยุโรปรู้จักในชื่อการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเวือร์ม (แอลป์) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งเดเวนเซียน (บริเตนใหญ่) หรือการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งไวช์เซเลียน (ยุโรปเหนือ) ซึ่งคำเหล่านี้เทียบเท่ากันอย่างกว้าง ๆ ได้กับการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งวิสคอนซิน (อเมริกาเหนือ) แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะเริ่มต้นขึ้นภายหลังก็ตาม[6]

จุดสูงสุดธารน้ำแข็งสุดท้ายได้ดำเนินมาถึงช่วงพันปีต่อมาหลังจากเวือร์ม/ไวช์เซเลียน โดยประมาณระหว่าง 26 ka (2.6 หมื่นปีก่อน) ถึง 19 ka (1.9 หมื่นปีก่อน) เมื่อการละลายของธารน้ำแข็งเริ่มต้นขึ้นในซีกโลกเหนือ เวือร์ม/ไวช์เซเลียนนั้นอยู่มาจนถึง 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ในทวีปยุโรปเหนือ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของบริเตนใหญ่ ซึ่งถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็ง โดยธารน้ำแข็งนั้นกว้างไปจนถึงเกรตเลกส์ในทวีปอเมริกาเหนือ[2] ระดับน้ำทะเลลดลงและได้เกิดสะพานแผ่นดินขึ้นชั่วคราวสองแห่งอันมีความสำคัญต่อการอพยพของมนุษย์ ได้แก่ ด็อกเกอร์แลนด์ ซึ่งเชื่อมบริเตนใหญ่เข้ากับยุโรปแผ่นดินใหญ่ และ สะพานแผ่นดินเบริง ซึ่งเชื่อมพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐอะแลสกาเข้ากับไซบีเรีย[7][8]

ยุคน้ำแข็งสุดท้ายนั้นตามด้วยระหว่างธารน้ำแข็งถอยกลับสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะโลกร้อนจนถึง 12.9 ka (1.29 หมื่นปีก่อน) และยังเกอร์ดรายแอส ซึ่งเป็นการกลับคืนสู่สภาพธารน้ำแข็งจนถึง 11.7 ka (1.17 หมื่นปีก่อน) ทางภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาถือว่าการเกิดต่อเนื่องกันของสตาเดียลและอินเตอร์สตาเดียลนั้นเกิดขึ้นจากประมาณ 16 ka (1.6 หมื่นปีก่อน) ไปจนถึงสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน โดยการเกิดต่อเนื่องกัน ได้แก่ ดรายแอสเก่าที่สุด (สตาเดียล), ความผันผวนบือล์ลิง (อินเตอร์สตาเดียล), ดรายแอสเก่า (สตาเดียล), ความผันผวนเอลเลอโรด (อินเตอร์สตาเดียล) และท้ายที่สุด นั่นคือ ดรายแอสใหม่[9]

จุดสิ้นสุดของยังเกอร์ดรายแอสนั้นเป็นขอบเขตระหว่างสมัยไพลสโตซีนและสมัยโฮโลซีน มนุษย์ในทุกส่วนของโลกยังคงมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีอยู่ในยุคหินเก่า เครื่องมือและอาวุธเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นด้วยหินหรือเครื่องไม้ ชนร่อนเร่เคลื่อนย้ายไปตามฝูงสัตว์ ขณะที่ชนไม่ร่อนเร่ออกหาอาหารมาในลักษณะของการเก็บของป่าล่าสัตว์[10]

ทวีปแอฟริกา แก้

ในประเทศอียิปต์ ยุคหินเก่าตอนปลาย (หรือบน) เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากปี 30,000 ก่อน ค.ศ. ผู้คนในแอฟริกาเหนือได้มีการย้ายถิ่นฐานไปยังหุบเขาแม่น้ำไนล์ เนื่องจากพื้นที่สะฮาราเปลี่ยนสภาพจากทุ่งหญ้าเป็นทะเลทราย[11] โครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีนัซเลต คาเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้ถูกนำมาหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี พบว่ามีอายุระหว่าง 30,360 ถึง 35,100 ปีก่อน[12][13]

ทวีปยูเรเชีย แก้

มนุษย์นีแอนเดอร์ทาล (โฮโม นีแอนเดอร์ทาเลนซิส) อาศัยอยู่ในทวีปยูเรเซียจนสูญพันธุ์ไปในระหว่างช่วง 40 ka (4 หมื่นปีก่อน) ถึง 30 ka (3 หมื่นปีก่อน)[10][14] ในช่วงปลายสมัยไพลสโตซีนและอาจรวมถึงช่วงต้นของสมัยโฮโลซีน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่หลายสายพันธุ์รวมไปถึง แรดมีขน ช้างแมมมอธ แมสโตดอน และกวางไอริช ได้สูญพันธุ์ไป[14]

พบจิตรกรรมผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันเป็นภาพมือสีแดงในถ้ำมัลตราบิเอโซ จังหวัดกาเซเรส ประเทศสเปน การตรวจหาอายุด้วยวิธียูเรเนียม-ทอเรียม ระบุอายุมากกว่า 64,000 ปี และทำขึ้นโดยมนุษย์นีแอนเดอร์ทาล[15] ที่ถ้ำลัสโกในจังหวัดดอร์ดอญ ประเทศฝรั่งเศส พบภาพซึ่งอาจมีอายุมากกว่า 17,000 ปี ภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นรูปโค กวาง และสัตว์อื่น ๆ ที่ถูกมนุษย์ล่า[16][17] มีจิตรกรรมผนังถ้ำเกิดขึ้นทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน และในอนุทวีปอินเดีย ทวีปออสเตรเลีย และพื้นที่สะฮารา[14]

คนเก็บของป่าล่าสัตว์มักเดเลเนียนตั้งถิ่นฐานแพร่หลายในยุโรปตะวันตกเมื่อประมาณ 18,000 ปีก่อน จนถึงปลายสมัยไพลสโตซีน พวกเขาประดิษฐ์ฉมวกขึ้นทั้งแบบคมเดียวและสองคมโดยทำจากกระดูก, เขาของกวางเรนเดียร์ และงาช้าง[18][19]

สัตว์เลี้ยงเพียงชนิดเดียวในสมัยไพลสโตซีน คือ หมา มีวิวัฒนาการมาจากหมาป่าสีเทาจนกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่จำนวนมาก เชื่อกันว่าหมาป่าสีเทาเข้ามามีความเกี่ยวข้องกับเผ่าคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในช่วงประมาณ 15 ka (1.5 หมื่นปีก่อน)[20] ส่วนพันธุ์หมาบ้านแท้เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่มีอายุประมาณ 14,200 ปีก่อน[21] การกลายเป็นสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นครั้งแรกในทวีปยูเรเซีย แต่อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่บริเวณยุโรปตะวันตกไปจนถึงเอเชียตะวันออก[22] ส่วนการกลายเป็นสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น สัตว์ปศุสัตว์ แพะ หมู และแกะนั้นไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นจนกระทั่งสมัยโฮโลซีน ซึ่งมีการตั้งชุมชนเกษตรกรรมขึ้นในบริเวณตะวันออกใกล้[20] ขณะที่แมวอาจไม่เคยถูกนำมาเลี้ยงโดยมนุษย์มาก่อนกระทั่งอย่างเร็วที่สุดในประมาณ 7,500 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเกิดขึ้นในตะวันออกใกล้เช่นเคย[23]

พบซากกระดูกสะบ้าหมีสีน้ำตาลที่ถูกแล่ไว้ในถ้ำอลิซและกเวนโดลีนในเคาน์ตีแคลร์ ประเทศไอร์แลนด์ มีอายุประมาณ 10,860 ถึง 10,641 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเป็นตัวชี้ถึงกิจกรรมของมนุษย์ครั้งแรกในประเทศไอร์แลนด์[24]

ภูมิภาคตะวันออกไกล แก้

ที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แห่งแรก ๆ ของหมู่เกาะญี่ปุ่นนั้นสืบเนื่องมาแต่ครั้งช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ระหว่าง 40,000 ถึง 30,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดนั้นมีอายุจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีถึงประมาณ 35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หมู่เกาะญี่ปุ่นนั้นเคยเชื่อมอยู่กับเอเชียแผ่นดินใหญ่ ผ่านสะพานแผ่นดินระหว่างเกาะฮกไกโดและเกาะซาฮาลินทางทิศเหนือ แต่ไม่ได้เชื่อมกันในเวลาปัจจุบันเมื่อเกาะหลักของเกาะฮกไกโด เกาะฮนชู เกาะคีวชู และเกาะชิโกกุนั้นแยกออกจากกันทั้งหมด[25]

ทวีปอเมริกาเหนือ แก้

 
กะโหลกของไบซันออกซิเดนทาลิส ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

จากประมาณ 2.8 หมื่นปีก่อน เกิดการอพยพย้ายถิ่นจากพื้นที่ไซบีเรียข้ามสะพานแผ่นดินเบริงไปยังพื้นที่อะแลสกาขึ้น ทำให้ชนดังกล่าวกลายเป็นชนพื้นเมืองอเมริกา เชื่อกันว่าชนเผ่าดั้งเดิมนั้นได้ย้ายถิ่นฐานลงไปยังอเมริกากลางและใต้ในเวลาต่อมา เนื่องจากแรงกดดันจากการอพยพมาในภายหลังนั้น[8][14]

ในระดับของช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาเหนือ ช่วงแรนโชลาเบรียนนั้นกินเวลาตั้งแต่ประมาณ 240,000 จนถึงประมาณ 11,000 ปีก่อน โดยชื่อของช่วงดังกล่าวตั้งตามแหล่งซากดึกดำบรรพ์แรนโช ลา เบรในรัฐแคลิฟอร์เนีย มีลักษณะเฉพาะคือไบซันที่สูญพันธุ์ไปแล้วในสมัยไพรสโตซีนพร้อมกับสปีชีส์อื่น เช่น ช้างแมมมอธ[26][27][28]

ไบซันออกซิเดนทาลิส และ ไบซันแอนทิคูอัส เป็นชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้วของไบซันปัจจุบันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งรอดชีวิตจากช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายในระหว่างประมาณ 1.2 ถึง 1.1 หมื่นปีก่อน ชาวโคลวิสพึ่งพาไบซันเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารหลัก ขณะที่การฆ่าอูฐ ม้า และมัสโคเซนในช่วงก่อนหน้านั้นพบที่หาดวอลลี มีอายุถึง 1.31 ถึง 1.33 หมื่นปีก่อน[29]

ภูมิภาคโอเชียเนีย แก้

หลักฐานของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์บนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย อินโดนีเซีย นิวกินี และแทสเมเนียปรากฏตั้งแต่ประมาณ 45,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช การค้นพบนี้รวมไปถึงหินสลัก เครื่องมือหิน และหลักฐานการอาศัยในถ้ำ[30]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  3. Walker, Mike; Head, Martin J.; Berkelhammer, Max; Björck, Svante; Cheng, Hai; Cwynar, Les; Fisher, David; Gkinis, Vasilios; Long, Anthony; Lowe, John; Newnham, Rewi; Rasmussen, Sune Olander; Weiss, Harvey (1 ธันวาคม 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/ Epoch (Quaternary System/Period): two new Global Boundary Stratotype Sections and Points (GSSPs) and three new stages/subseries" (PDF). Episodes. 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2020.
  4. Head, Martin J. (17 พฤษภาคม 2019). "Formal subdivision of the Quaternary System/Period: Present status and future directions". Quaternary International. 500: 32–51. doi:10.1016/j.quaint.2019.05.018.
  5. P. L. Gibbard (2015). "The Quaternary System/Period and its major subdivisions". Russian Geology and Geophysics. 56 (4): 686–688. doi:10.1016/j.rgg.2015.03.015.
  6. 6.0 6.1 D. Dahl-Jensen & others (2013). "Eemian interglacial reconstructed from a Greenland folded ice core" (PDF). Nature. 493 (7433): 489–94. Bibcode:2013Natur.493..489N. doi:10.1038/nature11789. PMID 23344358. S2CID 4420908.
  7. Lane, Megan (15 กุมภาพันธ์ 2011). "The moment Great Britain became an island". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2019.
  8. 8.0 8.1 Winter, Barbara. "Bering Land Bridge". SFU Museum of Archaeology and Ethnology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2019.
  9. Carlson, A. E. (2013). "The Younger Dryas Climate Event" (PDF). Encyclopaedia of Quaternary Science. Vol. 3. Elsevier. pp. 126–134.
  10. 10.0 10.1 Bronowski 1973, pp. 59–60.
  11. "Ancient Egyptian Culture: Palaeolithic Egypt". Emuseum. Minnesota State University. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  12. Willoughby, Pamela R. (2007). The Evolution of Modern Humans in Africa: A Comprehensive Guide. Rowman Altamira. pp. 181–182. ISBN 978-0759101197.
  13. Bouchneba, L.; Crevecoeur, I. (2009). "The inner ear of Nazlet Khater 2 (Upper Palaeolithic, Egypt)". Journal of Human Evolution. 56 (3): 257–262. doi:10.1016/j.jhevol.2008.12.003. PMID 19144388.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Teeple 2002, pp. 12–13.
  15. D. L. Hoffmann; C. D. Standish; M. García-Diez; P. B. Pettitt; J. A. Milton; J. Zilhão; J. J. Alcolea-González; P. Cantalejo-Duarte; H. Collado; R. de Balbín; M. Lorblanchet; J. Ramos-Muñoz; G.-Ch. Weniger; A. W. G. Pike (2018). "U-Th dating of carbonate crusts reveals Neandertal origin of Iberian cave art". Science. 359 (6378): 912–915. Bibcode:2018Sci...359..912H. doi:10.1126/science.aap7778. PMID 29472483. "we present dating results for three sites in Spain that show that cave art emerged in Iberia substantially earlier than previously thought. Uranium-thorium (U-Th) dates on carbonate crusts overlying paintings provide minimum ages for a red linear motif in La Pasiega (Cantabria), a hand stencil in Maltravieso (Extremadura), and red-painted speleothems in Ardales (Andalucía). Collectively, these results show that cave art in Iberia is older than 64.8 thousand years (ka). This cave art is the earliest dated so far and predates, by at least 20 ka, the arrival of modern humans in Europe, which implies Neandertal authorship."
  16. David Whitehouse (9 สิงหาคม 2000). "Ice Age star map discovered – thought to date back 16,500 years". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  17. "Lascaux Cave". Ancient-Wisdom. 2019. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  18. "History of the Magdalenian". The Magdalenian. Les Eyzies. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  19. de Sonneville-Bordes, D.; Perrot, J. (1956). "Lexique typologique du Paléolithique supérieur". Bulletin de la Société préhistorique de France. 53 (7): 408–412. doi:10.3406/bspf.1956.3357. ISSN 0037-9514.
  20. 20.0 20.1 Evan K. Irving-Pease; และคณะ (2018). "Palaeogenomics of Animal Domestication". ใน Lindqvist, C.; Rajora, O. (บ.ก.). Palaeogenomics. Population Genomics. Springer, Cham. pp. 225–272. doi:10.1007/13836_2018_55. ISBN 978-3-030-04752-8.
  21. Olaf Thalmann; Angela R. Perri (2018). "Palaeogenomic Inferences of Dog Domestication". ใน Lindqvist, C.; Rajora, O. (บ.ก.). Palaeogenomics. Population Genomics. Springer, Cham. pp. 273–306. doi:10.1007/13836_2018_27. ISBN 978-3-030-04752-8.
  22. David E. Machugh; และคณะ (2016). "Taming the Past: Ancient DNA and the Study of Animal Domestication". Annual Review of Animal Biosciences. 5: 329–351. doi:10.1146/annurev-animal-022516-022747. PMID 27813680.
  23. C. A. Driscoll; และคณะ (2007). "The Near Eastern Origin of Cat Domestication". Science. 317 (5837): 519–523. Bibcode:2007Sci...317..519D. doi:10.1126/science.1139518. ISSN 0036-8075. PMC 5612713. PMID 17600185.
  24. Dowd, Marion (2016). "A Remarkable Cave Discovery". Archaeology Ireland. 30 (2): 21–25. JSTOR 43816774.
  25. Fujita, Masaki (2016). "Advanced maritime adaptation in the western Pacific coastal region extends back to 35,000–30,000 years before present". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 113 (40): 11184–11189. doi:10.1073/pnas.1607857113. PMC 5056111. PMID 27638208.
  26. A. E. Sanders, R. E. Weems & L. B. Albright III (2009). Formalization of the mid-Pleistocene "Ten Mile Hill beds" in South Carolina with evidence for placement of the Irvingtonian-Rancholabrean boundary. Museum of Northern Arizona Bulletin (64:369-375).
  27. D. E. Savage (1951). Late Cenozoic vertebrates of the San Francisco Bay region. University of California Publications; Bulletin of the Department of Geological Sciences (28:215-314).
  28. Bell, C. J. (2004). "The Blancan, Irvingtonian, and Rancholabrean mammal ages". ใน Woodburne, M. O. (บ.ก.). Late Cretaceous and Cenozoic Mammals of North America: Biostratigraphy and Geochronology. New York: Columbia University Press. pp. 232–314. ISBN 0-231-13040-6.
  29. Michael R. Waters; Thomas W. Stafford Jr.; Brian Kooyman; L. V. Hills (23 มีนาคม 2015). "Late Pleistocene horse and camel hunting at the southern margin of the ice-free corridor: Reassessing the age of Wally's Beach, Canada". PNAS. 112 (14): 4263–4267. doi:10.1073/pnas.1420650112. PMC 4394292. PMID 25831543.
  30. Teeple 2002, p. 13.

บรรณานุกรม แก้