ช่วงอายุคาลาเบรียน
ช่วงอายุคาลาเบรียน (อังกฤษ: Calabrian) คือการแบ่งย่อยของสมัยไพลสโตซีนในธรณีกาล กำหนดไว้ที่ 1.8 ล้านปีก่อนถึง 774,000 ปีก่อน (±5,000 ปี) นับเป็นช่วงเวลาประมาณ 1.026 ล้านปี
ช่วงอายุคาลาเบรียน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1.80 – 0.774 ล้านปีก่อน | |||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||
| |||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||
การนิยาม | |||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | ||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | ||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||
คำนิยามขอบล่าง | ที่ความลึกประมาณ 8 เมตรหลังจากการสิ้นสุดของสภาพขั้วแม่เหล็กในหินรุ่น C2n (ออลดูไว) | ||||||||
ขอบล่าง GSSP | ชั้นหินวรีซา แคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี 39°02′19″N 17°08′05″E / 39.0385°N 17.1348°E | ||||||||
การอนุมัติ GSSP | 5 ธันวาคม 2554 (ในฐานะฐานของช่วงอายุคาลาเบรียน)[3] | ||||||||
คำนิยามขอบบน | ที่ความลึก 1.1 เมตรใต้จุดกึ่งกลางของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ | ||||||||
ขอบบน GSSP | จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น 35°17′39″N 140°08′47″E / 35.2943°N 140.1465°E | ||||||||
การอนุมัติ GSSP | มกราคม 2563[4] |
จุดสิ้นสุดของช่วงอายุนี้ถูกกำหนดโดยการสลับขั้วแม่เหล็กโลก (7.81 แสนปีก่อน ±5 พันปี) และการพลันจ์เข้าสู่ยุคน้ำแข็ง โลกที่แห้งแล้งอาจหนาวเย็นและแห้งแล้งกว่าในช่วงอายุไมโอซีนตอนปลาย (ช่วงอายุเมสซิเนียน) จนถึงช่วงอายุไพลโอซีนตอนต้น (ช่วงอายุแซนเคลียน) ที่มีอากาศหนาวเย็น[5] เดิมทีคาลาเบรียนเป็นชื่อของหินช่วงอายุสัตวชาติอ้างอิงจากซากดึกดำบรรพ์มอลลัสก์ของทวีปยุโรป ต่อมานำมาใช้เป็นชื่อของช่วงอายุทางธรณีวิทยาในตอนต้นของสมัยไพลสโตซีน ซึ่งเริ่มต้นด้วยช่วงอายุเจลาเซียน ตัวอย่างเช่น พลาติโกนัสและสัตวชาติแบลงกันจะปรากฏครั้งแรกในช่วงอายุดังกล่าว
ประวัติของการนิยามช่วงอายุคาลาเบรียน
แก้เนื่องจากเปลือกหอยเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีจำนวนมาก นักธรณีวิทยาในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 จึงใช้มอลลัสกาและแบรคิโอพอดในการระบุขอบเขตการลำดับชั้นหิน ดังนั้น ช่วงอายุคาลาเบรียนแต่เดิมจึงถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มชีวินของซากดึกดำบรรพ์มอลลัสกาและแบรคิโอพอดส่วนใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปในตอนนั้น จากนั้นจึงมีการพยายามค้นหาการนำเสนอที่ดีที่สุดของกลุ่มชีวินในชั้นหินการลำดับชั้นหิน ปี พ.ศ. 2491 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การปรากฏของสัตวชาติไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำเย็น (ตอนเหนือ) ในตะกอนทะเลของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นหมุดหมายการเริ่มต้นของช่วงอายุคาลาเบรียน การประชุมธรณีวิทยาสากลครั้งที่ 18 ณ กรุงลอนดอนในเวลาต่อมาจึงได้กำหนดฐานของสมัยไพลสโตซีนไว้ที่ชั้นหินทะเลของหินช่วงอายุสัตวชาติคาลาเบรียน (Calabrian Faunal Stage) และกำหนดชั้นหินแบบฉบับไว้ในอิตาลีตอนใต้ อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบว่าชั้นหินแบบฉบับดั้งเดิมมีความไม่ต่อเนื่องที่จุดดังกล่าวและที่ฐานของหินช่วงอายุคาลาเบรียน ซึ่งได้นิยามไว้ตามกลุ่มชีวินของสัตวชาติอันขยายออกไปจนถึงในช่วงก่อนหน้าในสมัยไพลสโตซีน จึงมีการเลือกชั้นหินแบบฉบับขึ้นใหม่ห่างจากแหล่งเดิมไปหลายไมล์ ณ วรีซา ตั้งอยู่ห่างจากของเทศบาลโกรโตเน แคว้นคาลาเบรียทางตอนใต้ 4 กิโลเมตร การวิเคราะห์ไอโซโทปของสตรอนเชียมและออกซิเจน รวมถึงแพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอราได้ยืนยันถึงความอยู่รอดได้ภายในชั้นหินแบบฉบับนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 การประชุมธรณีวิทยาสากลครั้งที่ 27 ณ กรุงมอสโกจึงได้มีการอนุมัติหินแบบฉบับอย่างเป็นทางการ และช่วงเวลาเริ่มต้นที่แต่เดิมคาดว่าประมาณ 1.65 ล้านปีก่อนได้ถูกคำนวณใหม่เป็น 1.806 ล้านปีก่อนแทน[6]
การนิยามทางการปัจจุบัน
แก้จุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก หรือ GSSP สำหรับจุดเริ่มต้นของสมัยไพลสโตซีนเดิม[7] อยู่ในชั้นหินอ้างอิงที่วรีซา ห่างจากเทศบาลโกรโตเนในอิตาลีตอนใต้ไปทางใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ตำแหน่งซึ่งเพิ่งได้รับการยืนยันโดยการวิเคราะห์ไอโซโทปของสตรอนเซียมและออกซิเจน รวมถึงแพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอรา[8]
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของช่วงอายุคาลาเบรียนจึงถูกกำหนดไว้เป็น บริเวณเหนือด้านบนสุดของสภาพขั้วแม่เหล็กในหินรุ่น C2n (ออลดูไว) และระดับการสูญพันธุ์ของ Discoaster brouweri ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากหินปูน (ฐานของหิน CN13) เหนือขอบเป็นการปรากฏน้อยที่สุดของ Gephyrocapsa spp. ซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากขนาดกลางหินปูน และระดับการสูญพันธุ์ของ Globigerinoides extremus แพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอรา[6]
จุดสิ้นสุดของช่วงอายุกาลาเบรียนถูกกำหนดไว้ที่เหตุการณ์การสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ[8][9]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ Cita, Maria; Gibbard, Philip; Head, Martin (September 2012). "Formal ratification of the GSSP for the base of the Calabrian Stage (second stage of the Pleistocene Series, Quaternary System)". Episodes. 35 (3). doi:10.18814/epiiugs/2012/v35i3/001. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ "Global Boundary Stratotype Section and Point". International Commission of Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ A chronology of Pliocene sea-level fluctuations, U.S. Atlantic Coastal Plain: Quaternary Science Reviews, v. 10, p. 163–174.
- ↑ 6.0 6.1 ช่วงอายุคาลาเบรียน ที่ ฐานข้อมูล GeoWhen
- ↑ In 2009 the Gelasian was included within the Pleistocene, making the Calabrian the second stage in the Pleistocene. Gibbard, Philip L.; Head, Martin J.; Walker, Michael J. C. (2009). "Formal ratification of the Quaternary System/Period and the Pleistocene Series/Epoch with a base at 2.58 Ma". Journal of Quaternary Science. 25 (2): 96. doi:10.1002/jqs.1338. S2CID 54629809. abstract
- ↑ 8.0 8.1 Lourens, L., Hilgen, F., Shackleton, N.J., Laskar, J., Wilson, D., (2004) “The Neogene Period”. In: Gradstein, F., Ogg, J., Smith, A.G. (Eds.), Geologic Time Scale Cambridge University Press, Cambridge;
- ↑ Cita, Maria Bianca; และคณะ (2008). "The Calabrian stage redefined" (PDF). Episodes. 31 (4): 408–419. doi:10.18814/epiiugs/2008/v31i4/006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2013-12-21.
- ช่วงอายุคาลาเบรียน ที่ ฐานข้อมูล GeoWhen