ช่วงอายุชิบาเนียน

ช่วงอายุชิบาเนียน (อังกฤษ: Chibanian) หรือที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ ช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง (อังกฤษ: Middle Pleistocene) เป็นช่วงอายุหนึ่งในมาตรธรณีกาลสากลหรือหินช่วงอายุหนึ่งในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของสมัยไพลสโตซีนในยุคควอเทอร์นารีที่กำลังดำเนินอยู่[4] โดยชื่อชิบาเนียนได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบันได้มีการประมาณการขยายช่วงเวลาเป็นระหว่าง 0.770 ล้านปีก่อน (770,000 ปีก่อน) ถึง 0.126 ล้านปีก่อน (126,000 ปีก่อน) หรือ 770–126 พันปีก่อน (ka) โดยช่วงอายุนี้ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนผ่านทางบรรพมานุษยวิทยาจากยุคหินเก่าล่างไปสู่ยุคหินเก่ากลางเมื่อกว่า 3 แสนปีที่ผ่านมา

ช่วงอายุชิบาเนียน
0.774 – 0.129 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อมกราคม 2563
ชื่อพ้องช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง
ช่วงอายุไอโอเนียน
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างที่ความลึก 1.1 เมตรใต้จุดกึ่งกลางของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ
ขอบล่าง GSSPจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
35°17′39″N 140°08′47″E / 35.2943°N 140.1465°E / 35.2943; 140.1465
การอนุมัติ GSSPมกราคม 2563[3]
คำนิยามขอบบนไม่ได้นิยามอย่างเป็นทางการ
แคนดิเดตคำนิยามขอบบนกึ่งระยะไอโซโทปทะเล 5e
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบบน GSSPไม่มี

ช่วงอายุชิบาเนียนเป็นช่วงที่อายุที่สืบต่อมาจากช่วงอายุคาลาเบรียน และถูกสืบต่อด้วยช่วงอายุทารันเทียนที่มีการเสนอไว้[1] จุดเริ่มต้นของช่วงอายุชิบาเนียน คือ การสลับขั้วบรุนส์–มาสึยามะ เมื่อสนามแม่เหล็กโลกเกิดการสลับขั้วครั้งล่าสุด[5] และสิ้นสุดลงด้วยการเริ่มต้นของช่วงคั่นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน (ระยะไอโซโทปทะเล 5)[6]

คำว่า ช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง นั้นถูกใช้เป็นชื่อเฉพาะกาล หรือ "กึ่งทางการ" โดยสหพันธ์ธรณีวิทยาสากล (IUGS) โดยในขณะที่ช่วงอายุล่างสุดลสามช่วงของสมัยไพลสโตซีน นั่นคือ ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน และ ช่วงอายุชิบาเนียน ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายยังไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการเสนอการแบ่งย่อยแอนโทรโปซีนของสมัยโฮโลซีน[7]

กระบวนการนิยม แก้

สหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) เสนอให้แทนชื่อช่วงอายุไพลสโตซีนกลางด้วยช่วงอายุไอโอเนียน (Ionian Age) โอยอ้างอิงตามชั้นหินที่พบในประเทศอิตาลี อย่างไรก็ตาม เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ชื่อช่วงอายุไอโอเนียนถูกแทนที่ด้วยชื่อช่วงอายุชิบาเนียน (อ้างอิงกับชั้นหินที่แหล่งขุดค้นในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น) ตามการเสนอ GSSP ของอนุกรรมการควอเทอร์นารี สำหรับช่วงอายุที่ควรนำมาใช้แทนที่กึ่งสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง[8] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ชื่อ "ชิบาเนียน" ได้รับการรับรองโดย IUGS[4]

บรรพมานุษยวิทยา แก้

ช่วงอายุชิบาเนียน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงในด้านบรรพมานุษยวิทยาจากยุคหินเก่าล่างเข้าสู่ยุคหินเก่ากลาง กล่าวคือ การถือกำเนิดขึ้นของโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ในระหว่าง 3 ถึง 4 แสนปีก่อน[9] ดีเอ็นเอของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักมีอายุอยู่ในช่วงไพลสโตซีนกลาง เมื่อประมาณ 430,000 ปีก่อน ซึ่งเก่าแก่ที่สุดที่มีการค้นพบ ข้อมูลเมื่อ 2559[10]

ลำดับเวลา แก้

ช่วงอายุ บรรพภูมิอากาศ ยุคธารน้ำแข็ง บรรพมานุษยวิทยา
790–761 ka MIS 19 ช่วงอายุธารน้ำแข็งกุนซ์ มนุษย์ปักกิ่ง (Homo erectus)
761–712 ka MIS 18
712–676 ka MIS 17
676–621 ka MIS 16
621–563 ka MIS 15 ช่วงคั่นอายุย่อยธารน้ำแข็งกุนซ์-แฮชแลค มนุษย์ไฮเดิลแบร์ค (โฮโมไฮเดิลแบร์เจนซิส), กระดูกหุ้มสมองโบโด
563–524 ka MIS 14
524–474 ka MIS 13 จุดสิ้นสุดของช่วงคั่นอายุย่อยธารน้ำแข็งโครเมอเรียน (กุนซ์-มินเดล) มนุษย์บ็อกซ์โกรฟ (โฮโมไฮเดิลแบร์เจนซิส)
474–424 ka MIS 12 หินช่วงอายุแองเกลียนในบริเตน; ยุคธารน้ำแข็งแฮชแลค มนุษย์ตูตาเวล (Homo erectus)
424–374 ka MIS 11 ฮอกซ์เนียน (บริเตน), หินช่วงอายุยาร์มูเทียน (อเมริกาเหนือ) มนุษย์สวอนคอมบ์ (โฮโมไฮเดิลแบร์เจนซิส)
374–337 ka MIS 10 ยุคธารน้ำแข็งมินเดล, ยุคธารน้ำแข็งเอลสเตอร์, ยุคธารน้ำแข็งริสส์
337–300 ka MIS 9 ช่วงคั่นอายุย่อยธารน้ำแข็งเพอร์ฟลีทในบริเตน โมสเตอเรียน
300–243 ka MIS 8 อีร์ฮูด 1 (โฮโมเซเปียนส์); ยุคหินเก่ากลาง; ฮาโพลกรุ๊ป เอ (วาย-ดีเอ็นเอ)
243–191 ka MIS 7 ช่วงคั่นอายุย่อยธารน้ำแข็งเอเวลีย์ในบริเตน มนุษย์กาลิลี; Haua Fteah
191–130 ka MIS 6 หินช่วงอายุอิลลิโนเอียน มนุษย์เฮร์โต (โฮโมเซเปียนส์); Macro-haplogroup L (mtDNA); โมสเตอเรียน
130–123 ka MIS 5e จุดสูงสุดของช่วงคั่นอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน, หรืออิปสวิเคียนในบริเตน ถ้ำกลาซีส์ริเวอร์; ซันโกอัน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  2. Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  3. "Global Boundary Stratotype Section and Point". International Commission of Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  4. 4.0 4.1 Hornyak, Tim (30 January 2020). "Japan Puts Its Mark on Geologic Time with the Chibanian Age". Eos – Earth & Space Science News. American Geophysical Union. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  5. Gradstein, Felix M.; Ogg, James G.; Smith, Alan G., บ.ก. (2004). A Geological Time Scale 2004 (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 28. ISBN 9780521786737.
  6. D. Dahl-Jensen & others (2013). "Eemian interglacial reconstructed from a Greenland folded ice core" (PDF). Nature. 493 (7433): 489–494. Bibcode:2013Natur.493..489N. doi:10.1038/nature11789. PMID 23344358. S2CID 4420908.
  7. P. L. Gibbard (17 April 2015). "The Quaternary System/Period and its major sub-divisions". ScienceDirect. Elsevier BV. pp. 686–688. สืบค้นเมื่อ 13 November 2019.
  8. "Japan-based name 'Chibanian' set to represent geologic age of last magnetic shift". The Japan Times. 14 November 2017. สืบค้นเมื่อ 13 November 2019.
  9. D. Richter & others (8 June 2017). "The Age of Hominin Fossils from Jebel Irhoud, Morocco, and the origins of the Middle Stone Age". Nature. 546 (7657): 293–296. doi:10.1038/nature22335. PMID 28593967. S2CID 205255853..
  10. Crew, Bec (15 March 2016). "The Oldest Human Genome Ever Has Been Sequenced, And It Could Rewrite Our History". ScienceAlert. สืบค้นเมื่อ 5 June 2019.