ช่วงอายุเมฆาลายัน

ในธรณีกาล ช่วงอายุเมฆาลายัน (อังกฤษ: Meghalayan age) เป็นช่วงอายุล่าสุดหรือหินช่วงอายุชั้นบนสุดของยุคควอเทอร์นารี[3] นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งที่อยู่ในระดับบนหรือล่าสุดในบรรดาการแบ่งย่อยสามช่วงอายุของสมัยหรือหินสมัยโฮโลซีน[4][5] โดยได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 พร้อมด้วยช่วงอายุ/หินช่วงอายุกรีนแลนด์เดียนและนอร์ทกริปเปียนที่อยู่ก่อนหน้า[6] จุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก (GSSP) ของช่วงอายุนี้ คือ การก่อตัวของถ้ำ Krem Mawmluh ในรัฐเมฆาลัย ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย[6] ซึ่งถ้ำ Mawmluh เป็นหนึ่งในถ้ำที่ยาวและลึกที่สุดในประเทศอินเดีย และมีเงื่อนไขที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาไว้ซึ่งสัญญาณทางเคมีของการเปลี่ยนช่วงอายุ[7] ชั้นหินแบบฉบับแทรกทั่วโลก (global auxiliary stratotype) ของช่วงอายุนี้ คือ แกนน้ำแข็งจากภูเขาโลแกนในประเทศแคนาดา[8]

ช่วงอายุเมฆาลายัน
0.0042 – 0 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ14 มิถุนายน 2561[1][2]
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างเหตุการณ์ 4.2 พันปี
ขอบล่าง GSSPถ้ำ Mawmluh รัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย
25°15′44″N 91°42′54″E / 25.2622°N 91.7150°E / 25.2622; 91.7150
การอนุมัติ GSSP14 มิถุนายน 2561
คำนิยามขอบบนN/A
ขอบบน GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A

ช่วงอายุเมฆาลัยเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 4,200 ปีก่อนปัจจุบัน (ประมาณปี 2250 ก่อนสากลศักราช (BCE) หรือปี 7750 ตามปฏิทินโฮโลซีน (HE))[9] ซึ่งเปิดช่องว่างที่เป็นไปได้สำหรับการสร้างแอนโทรโปซีนขึ้น[10][11] เฮลามาและโอยโนเนน (2562) ระบุวันที่เริ่มต้นของช่วงอายุเมฆาลัย คือ ปี 2190 ถึง 1990 ก่อนสากลศักราช[12] ช่วงอายุนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงความแห้งแล้ง 200 ปีที่ส่งผลกระทบต่ออารยธรรมมนุษย์ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำสินธุ และ ลุ่มแม่น้ำแยงซี[9] โดยสแตนลีย์ ฟินนีย์ เลขาธิการแห่งสหพันธ์ธรณีวิทยาสากลระบุว่า "ความเป็นจริงที่ว่าจุดเริ่มต้นของช่วงอายุนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากเหตุการณ์ทางสภาพภูมิอากาศโลกนั้น ทำให้ช่วงอายุนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว"[11]

ดูเพิ่มเติม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Walker, Mike; Head, Martin J.; Berkelhammer, Max; Björck, Svante; Cheng, Hai; Cwynar, Les; Fisher, David; Gkinis, Vasilios; Long, Anthony; Lowe, John; Newnham, Rewi; Rasmussen, Sune Olander; Weiss, Harvey (1 December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/ Epoch (Quaternary System/Period): two new Global Boundary Stratotype Sections and Points (GSSPs) and three new stages/subseries" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020. This proposal on behalf of the SQS has been approved by the International Commission on Stratigraphy (ICS) and formally ratified by the Executive Committee of the International Union of Geological Sciences (IUGS).
  2. Head, Martin J. (17 May 2019). "Formal subdivision of the Quaternary System/Period: Present status and future directions". Quaternary International. 500: 32–51. doi:10.1016/j.quaint.2019.05.018. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  3. Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 8 January 2021.
  4. Radha-Udayakumar, Ganesh (19 July 2018). "Scientists call our era the Meghalayan Age. Here's what the world was like when it began". India Today. New Delhi: Living Media India Limited. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021.
  5. Scroll Staff. "'Meghalayan Age': Latest phase in Earth's history named after Indian state, began 4,200 years ago". Scroll.in.
  6. 6.0 6.1 International Commission on Stratigraphy. "ICS chart containing the Quaternary and Cambrian GSSPs and new stages (v 2018/07) is now released!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
  7. "'Meghalayan Age' makes the state a part of geologic history". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 18 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  8. "Formal subdivision of the Holocene Series/Epoch" (PDF).
  9. 9.0 9.1 Jonathan Amos (18 July 2018). "Welcome to the Meghalayan Age – a new phase in history". BBC. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  10. International Commission on Stratigraphy. "Collapse of civilizations worldwide defines youngest unit of the Geologic Time Scale". News and Meetings. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
  11. 11.0 11.1 Michael Irving (19 July 2018). "Time for the Meghalayan: A new geological age has officially been declared". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  12. "Exact dating of the Meghalayan lower boundary based on high-latitude tree-ring isotope chronology". Quaternary Science Reviews (ภาษาอังกฤษ). 214: 178–184. 2019-06-15. doi:10.1016/j.quascirev.2019.04.013. hdl:10138/330959. ISSN 0277-3791.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้