นีแอนเดอร์ทาล

สายพันธุ์มนุษย์
นีแอนเดอร์ทาล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคปลายยุคไพลสโตซีน 0.25–0.040Ma
กะโหลกนีแอนเดอร์ทาลที่ลาชาแปล-โอ-แซ็ง
90px
โครงกระดูกนีแอนเดอร์ทาลที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Haplorhini
วงศ์: Hominidae
สกุล: Homo
ชื่อทวินาม
Homo neanderthalensis
King, 1864
แผนที่การกระจายพันธุ์ของ Homo neanderthalensis ทางด้านตะวันออกและด้านเหนืออาจกว้างถึงโอคลัดนีคอฟในเทือกเขาอัลไต และมามอตนายาในเทือกเขายูรัล
ชื่อพ้อง[6]
Homo
    • H. stupidus
      Haeckel, 1895[1]
    • H. europaeus primigenius
      Wilser, 1898
    • H. primigenius
      Schwalbe, 1906[2]
    • H. antiquus
      Adloff, 1908
    • H. transprimigenius mousteriensis
      Farrer, 1908
    • H. mousteriensis hauseri
      Klaatsch 1909[3][4]
    • H. priscus
      Krause, 1909
    • H. chapellensis
      von Buttel-Reepen, 1911
    • H. calpicus
      Keith, 1911
    • H. acheulensis moustieri
      Wiegers, 1915
    • H. lemousteriensis
      Wiegers, 1915
    • H. naulettensis
      Baudouin, 1916
    • H. sapiens neanderthalensis
      Kleinshmidt, 1922
    • H. heringsdorfensis
      Werthe, 1928
    • H. galilensis
      Joleaud, 1931
    • H. primigenius galilaeensis
      Sklerj, 1937
    • H. kiikobiensis
      Bontsch-Osmolovskii, 1940
    • H. sapiens krapinensis
      Campbell, 1962
    • H. erectus mapaensis
      Kurth, 1965
Palaeoanthropus
Protanthropus
    • P. atavus
      Haeckel, 1895
    • P. tabunensis
      Bonarelli, 1944
Acanthropus
    • A. neanderthalensis
      Arldt, 1915
    • A. primigenius
      Abel, 1920
    • A. neanderthalensis
      Dawkins, 1926

นีแอนเดอร์ทาล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo neanderthalensis) คือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยจัดอยู่ในสกุลเดียวกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน คือ Homo และมีชีวิตอยู่ในทวีปยูเรเชียจนถึงเมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน

นีแอนเดอร์ทาลถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1856 ที่ถ้ำเฟลด์โฮเฟอร์ในหุบเขาเนอันเดอร์ ใกล้เมืองดึสเซลดอร์ฟ ทางตอนเหนือของเยอรมนี โดยคนงานเหมืองขุดค้นพบกระดูกโบราณซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหมี และได้ส่งกระดูกนั้นแก่นักธรรมชาติวิทยา โยฮันน์ คาร์ล ฟูลรอทท์ ฟูลรอทท์จึงได้ส่งต่อให้แก่นักกายวิภาควิทยา เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจึงพบว่าเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ จึงให้ชื่อว่า "นีแอนเดอร์ทาล" เพื่อเป็นเกียรติแก่หุบเขาเนอันเดอร์ สถานที่ที่ค้นพบ

เมื่อเปรียบเทียบทางกายวิภาคกับมนุษย์สมัยใหม่ นีแอนเดอร์ทาลมีรูปร่างที่กำยำล่ำสัน แข็งแรงกว่า มีขาและแขนท่อนล่างที่สั้นกว่า ซึ่งสื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการปรับตัวในสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดีกว่ามนุษย์ปัจจุบัน แต่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่า ด้วยเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักที่เชื่อว่าทำให้สูญพันธุ์ นีแอนเดอร์ทาลเพศชายมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 164 ถึง 168 เซนติเมตร ส่วนเพศหญิงมีความสูงเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 152 ถึง 156 เซนติเมตร ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่านีแอนเดอร์ทาลสามารถสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ระหว่างกันได้ในระดับสูง หรือสามารถใช้ภาษาได้เหมือนอย่างมนุษย์ Homo sapiens

João Zilhão ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยลิสบอนกล่าวว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลมีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์และคิดเชิงนามธรรมตามถ้ำในสเปน[7]

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้ถอดรหัสพันธุกรรมของนีแอนเดอร์ทาลได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 2010 พบว่า นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์ปัจจุบันได้พบกันครั้งแรกเมื่อราว 40,000 ปีก่อน ที่ทวีปแอฟริกา และหลังจากได้อพยพออกมาจากแอฟริกา มนุษย์ทั้งสองชนิดนี้ได้ผสมข้ามพันธุ์กัน จึงเกิดเป็นมนุษย์พันธุ์ผสม และจากการศึกษาพบว่าประชากรมนุษย์สมัยใหม่ (modern human) ในปัจจุบันที่อยู่นอกเหนือจากประชากรพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา ล้วนมียีน หรือข้อมูลพันธุกรรมของนีแอนเดอร์ทาลผสมอยู่ปะปนกันโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ โดยเชื้อชาติที่พบมากที่สุด คือ ชาวอิตาลี มี DNA ของนีแอนเดอร์ทาลผสมอยู่ที่ร้อยละ 4[8]

การวิวัฒนาการ

แก้

แต่เดิมเชื่อกันว่าทั้งนีแอนเดอร์ทาล และมนุษย์สมัยใหม่ล้วนแต่วิวัฒนาการมาจาก โฮโม อิเร็กตัส เมื่อราว 300,000 ถึง 200,000 ปีที่แล้ว โดย โฮโม อิเร็กตัส ปรากฏตัวขึ้นเมื่อราว 1.8 ล้านปีก่อน และดำรงอยู่สืบเนื่องมาเป็นเวลานานในสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ทั่วทวีปยูเรเชีย ต่อมาในช่วง 800,000 ถึง 400,000 ปีที่แล้ว มนุษย์นีแอนเดอร์ทาล และมนุษย์ Homo sapiens โบราณก็เริ่มวิวัฒนาการแยกออกจากกัน โดยปัจจุบันเชื่อว่ามนุษย์ โฮโม ไฮเดลเบอร์เจนซิส (Homo heidelbergensis) ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง 6 แสน ถึง 3 แสนปีก่อน เป็นบรรพบุรุษร่วมกันที่ใกล้ที่สุดของนีแอนเดอร์ทาล และมนุษย์สมัยใหม่ แต่หลักฐานทางพันธุกรรมจากฟอสซิล Sima de los Huesos ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ดูจะชี้ว่า H. heidelbergensis ทั้งสายพันธุ์อาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์นีแอนเดอร์ทาล, ในฐานะ "นีแอนเดอร์ทาลบุพกาล" หรือ "pre-Neanderthal," ทำให้ช่วงเวลาแตกสายพันธุ์ระหว่างนีแอนเดอร์ทาล และมนุษย์สมัยใหม่อาจจะต้องย้อนกลับไปจนถึงช่วงเวลาที่ H. heidelbergensis ปรากฏตัวขึ้น

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ haeckel
  2. Schwalbe, G. (1906). Studien zur Vorgeschichte des Menschen [Studies on the history of man] (ภาษาเยอรมัน). Stuttgart, E. Nägele. doi:10.5962/bhl.title.61918. hdl:2027/uc1.b4298459.
  3. Klaatsch, H. (1909). "Preuves que l'Homo Mousteriensis Hauseri appartient au type de Neandertal" [Evidence that Homo Mousteriensis Hauseri belongs to the Neanderthal type]. L'Homme Préhistorique (ภาษาฝรั่งเศส). 7: 10–16.
  4. Romeo, Luigi (1979). Ecce Homo!: a lexicon of man. John Benjamins Publishing Company. p. 92. ISBN 978-90-272-2006-6.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 McCown, T.; Keith, A. (1939). The stone age of Mount Carmel. The fossil human remains from the Levalloisso-Mousterian. Vol. 2. Clarenden Press.
  6. Szalay, F. S.; Delson, E. (2013). Evolutionary history of the Primates. Academic Press. p. 508. ISBN 978-1-4832-8925-0.
  7. Koto, Koray (2022-11-02). "The Origin of Art and the Early Examples of Paleolithic Art" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. หน้า 3 ในประเทศ, 'ถอดรหัสมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล' . "NationTV Unpdate" โดย นันทพร ไวศยะสุวรรณ์. คมชัดลึกปีที่ 15 ฉบับที่ 5444: วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Homo neanderthalensis ที่วิกิสปีชีส์