มิโคยัน มิก-29

(เปลี่ยนทางจาก มิก-29)

มิก-29 (อังกฤษ: MiG-29; รัสเซีย: МиГ-29) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่สี่ซึ่งถูกออกแบบโดยสหภาพโซเวียตสำหรับบทบาทครองความเป็นเจ้าอากาศ มันถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2513 โดยมิโคยัน มันได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2526 และยังคงถูกใช้โดยกองทัพอากาศรัสเซียเช่นเดียวกันกับหลาย ๆ ประเทศ เนโทเรียกมิก-29 ว่าฟัลครัม (Fulcrum ) ซึ่งถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการโดยนักบินโซเวียต[1] มันถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของสหรัฐฯ อย่างเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

มิก-29
บทบาทเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
 รัสเซีย
บริษัทผู้ผลิตมิโคยัน
บินครั้งแรก6 ตุลาคม พ.ศ. 2520
เริ่มใช้เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศฮังการี
กองทัพอากาศยูเครน
กองทัพอากาศอินเดีย
กองทัพอากาศแอลจีเรีย
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2525–ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 1,600 ลำ
มูลค่าลำละ 11$ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1999) 22$ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2013)
แบบอื่นมิก-29 เอ็ม
มิก-35

การพัฒนา แก้

ในปี พ.ศ. 2522 สหภาพโซเวียตได้เรียนรู้จากโครงการ"เอฟ-เอ็กซ์"ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดเอฟ-15 อีเกิลขึ้นมา ไม่นานผู้นำฝ่ายโซเวียตได้ตระหนักถึงเครื่องบินขับไล่ของอเมริกาที่อาจก้าวหน้ากว่าเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต สิ่งที่ต้องการก็คือเครื่องบินขับไล่ที่ดีกว่าทั้งความรวดเร็วและระบบที่ทันสมัย เหล่านายพลโซเวียตได้ประกาศความต้องการพีเอฟไอ (รัสเซีย: Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่สำหรับแนวหน้าที่ทันสมัย") รายละเอียดเฉพาะนั้นทะเยอทะยานอย่างมาก มันต้องมีพิสัยที่ไกล ทำงานในรันเวย์สั้นได้ มีความคล่องตัวสูง ทำความเร็วได้ตั้งแต่ 2 มัคขึ้นไป และมีอาวุธขนาดหนัก การออกแบบทางด้านอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินลำใหม่นี้ทำโดยทีเอสเอจีไอ (TsAGI) โดยร่วมมือกับซุคฮอย (สิ่งนี้ทำให้เกิดซุคฮอย ซู-27)

อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2524 โซเวียตตัดสินใจว่าเครื่องบินพีเอฟไอนั้นมีราคาแพงเกินไปที่จะสร้างให้ได้ตามความต้องการ และแบ่งความต้องการออกเป็นสองโครงการคือทีพีเอฟไอ (รัสเซีย: Tyazhyolyy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดหนัก") และแอลพีเอฟไอ (รัสเซีย: Lyogkiy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดเบา") มันคล้ายคลึงกับโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน และวายเอฟ-17 คอบรา เครื่องบินขับไล่ขนาดหนักทำโดยซุคฮอยจนได้ซุคฮอย ซู-27 ขึ้นมา ในขณะที่เครื่องบินขับไล่ขนาดเบาทำโดยมิโคยัน มันมีชื่อว่ามิก-29 เอโดยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เครื่องบินที่สร้างออกมาก่อนการผลิตถูกพบโดยดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐ เมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีนั้นเอง มันถูกเรียกว่าแรม-แอล (Ram-L) เพราะว่ามันถูกพบที่ศูนย์ทดสอบการบินซูคอฟสกีที่อยู่ใกล้กับเมื่องราเมนสคอย การพิจารณาในครั้งแรกแนะว่าแรม-แอลคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 คอบรา และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพร้อมสันดาปท้ายแบบทูแมนสกี อาร์-25

 
มิก-29 จอดในขณะทำการทดสอบการบินที่งานแสดงแอบบอทสฟอร์ดในปี พ.ศ. 2532


ถึงแม้ว่าการล่าช้าของโครงการเกิดจากการสูญเสียเครื่องต้นแบบสองเครื่องในอุบัติเหตุ มิก-29 บีรุ่นผลิตก็ถูกส่งเข้าประจำการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526 ที่ฐานทัพอากาศคูบินคา การตกลงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และการส่งก็เริ่มขึ้นในปีเดียวกันให้กับกองทัพอากาศรัสเซีย

การทำงานแบ่งออกระหว่างทีพีเอฟไอกับแอลพีเอฟไอกลายเป็นมิก-29 ที่เข้าประจำการในแนวหน้าในกลางทศวรรษ 2523 ในขณะที่ซู-27 ได้รับงานที่อันตรายกว่าในการต่อสู้ทางอากาศกับเนโท มิก-29 ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้ามาแทนที่มิก-23 ในบทบาทแนวหน้า มิก-29 ถูกวางตำนแห่งให้ใกล้กับแนวหน้า ทำงานน่านฟ้าของโซเวียต ล้อลงจอดและตะแกรงหน้าเครื่องยนต์ทำให้มิก-29 สามารถทำงานในสภาพที่ได้รับความเสียหายหรือซ่อมแซมอยู่ได้ มิก-29 ยังทำหน้าที่คุ้มกันให้กับการโจมตีทางอากาศ ปกป้องเครื่องบินจู่โจมภาคพื้นดินจากเครื่องบินขับไล่ของเนโทอย่างเอฟ-15 และเอฟ-16 มิก-29 ทำให้กองทัพบกของโซเวียตปลอดภัยจากด้านบน

 
มิก-29 ยูบีสำหรับฝึก

ในด้านตะวันตกเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ได้ชื่อจากเนโทว่าฟัลครัม-เอจากการสร้างก่อนการผลิตของมิก-29 เอ ซึ่งใช้ชื่อนี้มาก่อนในตอนที่ทางตะวันตกยังไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมัน มิก-29 บีถูกส่งออกอย่างกว้างขวางโดยมีชื่อว่ามิก-29 บี 9-12 เอและมิก-29 บี 9-12 บี (สำหรับประเทศในสนธิสัญญาวอซอว์ และประเทศนอกกลุ่มตามลำดับ) พวกมันมีระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ด้อยกว่าและไม่สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้ เครื่องบินถูกสร้างขึ้นทั้งหมดประมาณ 840 ลำ

รุ่นที่ดีกว่าของมิก-29 มีการพัฒนาด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ใช้โดยสหภาพโซเวียต แต่แบบอื่น ๆ ของมิโคยันที่รวมทั้งรุ่นสำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อว่ามิก-29 เคนั้นไม่เคยถูกสร้างออกมาในจำนวนมาก หลังยุคโซเวียตการพัฒนามิก-29 ได้รับอิทธิพลมาจากการแข่งขันของมิโคยันต่อคู่แข่งอย่างซุคฮอย บางรุ่นที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าได้ทำการส่งออกและใช้โดยรัสเซีย รุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่ามิก-29 เอสเอ็มทีและมิก-29 เอ็ม 1/เอ็ม 2 กำลังอยู่ในการพัฒนา นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาสำหรับรุ่นบนเรือบรรทุกเครื่องบินหรือมิก-29 เคนั้นถูกใช้ต่อไปโดยเรือบรรทุกเครื่องบินกอร์ชคอฟกองทัพเรืออินเดีย รุ่นนี้เดิมทีจะถูกใช้โดยเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเนทซอฟ แต่ซุคฮอย ซู-30 ถูกใช้แทน

สหภาพโซเวียตไม่ได้ให้ชื่ออย่างเป็นทางการให้กับเครื่องบินส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าชื่อเล่นจะถูกใช้ก็ตาม น่าแปลกที่นักบินโซเวียตใช้คำว่าฟัลครัมของเนโทเรียกมัน และบางครั้งรัสเซียก็ใช้ชื่อนี้อย่างไม่เป็นทางการ[1]

การออกแบบ แก้

จุดเด่น แก้

เพราะว่ามันถูกออกแบบมาจากเครื่องบินพีเอฟไอของทีเอสเอจีไอ มิก-29 จึงมีระบบอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับซุคฮอย ซู-27 แต่มีข้อแตกต่างที่โดดเด่นกว่าบ้าง โครงสร้างส่วนใหญ่ทำมาจากอะลูมิเนียมและวัสดุผสม มันมีปีกแบบลู่ที่กลืนเข้ากับปีกเสริมที่ส่วนหน้าโดยทำมุม 40 องศา มันมีส่วนหางที่ลู่ไปทางด้านหลังและหางคู่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายเครื่องยนต์ มันมีแพนปีกส่วนหน้าสี่ส่วนและห้าส่วนในรุ่นต่อ ๆ มา เมื่อมันถูกนำมาใช้งานมันเป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นแบบแรกของรัสเซียที่สามารถทำกระบวนท่าที่เรียกว่าปูกาเชฟส์คอบราได้

มิก-29 มีการควบคุมด้วยไฮดรอลิกและระบบนักบินอัตโนมัติเอสเอยู-451 แต่ไม่เหมือนกันซู-27 ตรงที่มันไม่มีระบบฟลาย-บาย-ไวร์ ถึงกระนั้นมันก็มีความว่องไวและการเลี้ยวที่ยอดเยี่ยม มันสามารถทำมุมปะทะได้ในระดับอัลฟา และมีการต้านทานการหมุน โครงสร้างถูกทำให้สามารถรับแรง 9 จีได้ การควบคุมมีการจำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้นักบินทำแรงมากกว่า 9 จี แต่ก็สามารถปลดระบบนี้ออกได้ ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐร่วมกับกองทัพอากาศเยอรมนี มิก-29 ของฝ่ายเยอรมนีได้เอาชนะเอฟ-16 ในการต่อสู้ระยะใกล้แทบจะทุกครั้งด้วยการใช้เซ็นเซอร์ไออาร์เอสทีและหมวกแสดงภาพ พร้อมกับขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73

ขุมกำลัง แก้

มิก-29 มีเครื่องยนต์คลิมอฟ อาร์ดี-33 ขนาดใหญ่สองเครื่องยนต์ที่ให้อัตราแรงขับ 11,240 ปอนด์ และ 18,277 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์มีไว้เพื่อลดน้ำหนักที่ปีกเพื่อเพิ่มความคล่องตัว เครื่องยนต์มีช่องรับลมทรงลิ่มที่อยู่ใต้ปีกเสริม ซึ่งมีส่วนลาดเอียงที่ปรับได้เพื่อทำความเร็วเหนือเสียงได้ เมื่อมีการนำมาใช้กับสนามบินที่ขรุขระ ช่องรับลมหลักจะถูกปิดสนิทและใช้ช่องรับลมสำรองที่ด้านบนของลำตัวแทนสำหรับการวิ่งขึ้น ลงจอด หรือบินในระดับต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอะไรเข้าไปในเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหาย ดังนั้นเครื่องยนต์จึงได้รับอากาศผ่านช่องบานเกล็ดบนปีกเสริมซึ่งจะเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อช่องรับลมหลักถูกปิด อย่างไรก็ตามในแบบล่าสุดของตระกูลมิก คือมิก-35 ได้นำส่วนบานเกล็ดนี้ออกไปและใช้ช่องรับลมที่มีตะแกรงแทน ซึ่งคล้ายคลึงกับของซู-27[2]
ถึงแม้เครื่องยนต์จะให้กำลังสูงมากพอที่จะทำให้เครื่องบินสามารถไต่ระดับได้เหนือกว่าเครื่องบินของกองทัพอมเริกา แต่อายุการใช้งานก็สั้นมาก ต้องทำการตรวจเช็คทุก ๆ 350 ชั่วโมงบินเป็นอย่างน้อย

พิสัยและระบบเชื้อเพลิง แก้

ความจุเชื้อเพลิงภายในของมิก-29 บีนั้นมีเพียง 4,365 ลิตรโดยแบ่งเป็นหกส่วนในถังเชื้อเพลิง สี่ส่วนในลำตัว และหนึ่งส่วนในปีกแต่ละข้าง ผลที่ได้คือเครื่องบินมีพิสัยที่จำกัดมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ป้องกันเฉาะบริเวณของโซเวียตแบบดั้งเดิม เพื่อให้ทำการบินได้นานมากขึ้นสิ่งนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ถังเชื้อเพลิงกลางที่ปลดได้ขนาด 1,500 ลิตร และถังเชื้อเพลิงข้างที่ปลดได้ขนาด 1,150 ลิตรสองถังโดยติดตั้งไว้ใต้ปีก นอกจากนี้มีส่วนน้อยที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ มิก-29 บีบางลำมีโครงสร้างที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นแบบที่เรียกว่า"แฟตแบ็ค" (Fatback) (มิก-29 9-13) ซึ่งเพิ่มเชื้อเพลิงภายในไปในส่วนแกนกลาง แม้ว่าจะไม่มีลำใดก็ตามที่เข้าประจำการ

ห้องนักบิน แก้

 
ห้องนักบินของมิก-29 ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2538

ห้องนักบินมีจุดเด่นคือคันบังคับตรงกลางและคันเร่งที่ด้านข้าง นักบินจะนั่งอยู่ในเก้าอี้ดีดตัวแบบซเวซดา เค-36 ดีเอ็ม ซึ่งมีการทำงานที่ดีมากในเหตุฉุกเฉิน

ห้องนักบินมีหน้าปัดอำนวยความสะดวกพร้อมกับหน้าจอฮัดหรือเฮด-อัพ ดิสเพลย์ และหน้าจอติดหมวกแบบชเชล-2 ยูเอ็ม ดูเหมือนว่าจะเป็นการเน้นไปที่การทำห้องนักบินให้เหมือนกับมิก-23 และเครื่องบินลำอื่น ๆ ของโซเวียตเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าความสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นมิก-29 มีมุมมองที่ดีกว่าเครื่องบินขับไล่ลำอื่น ๆ ของรัสเซียเพราะฝาครอบทรงโค้งที่อยู่ในตำแหน่งสูง

เซ็นเซอร์ แก้

ส่วนสำคัญของมิก-29 บีคือระบบควบคุมการยิงด้วยเรดาร์แบบอาร์แอลพีเค-29 ของพาโซตรอน ซึ่งรวมทั้งเรดาร์คลื่นพัลส์แบบติดตามแล้วยิงรุ่นเอ็นโอ 19 และคอมพิวเตอร์ดิจิทัลรุ่นทีเอส 100.02-02 เอ็นไอ 19 เอรุ่นเดิมถูกคาดว่าจะใช้กับมิก-29 แต่กลับไม่ตรงตามมาตรฐานในโครงการสร้างเครื่องบินขับไล่ใหม่ พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่มีเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น พิสัยต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดน้อยมากกว่านั้นเกือบเท่าตัว เป้าหมายสิบเป้าหมายสามารถปรากฏขึ้นในรูปแบบตรวจจับ แต่เรดาร์จะล็อกเพียงหนึ่งเป้าหมายสำหรับขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ ตัวประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหากับความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่ดีพอที่จะใช้กับขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นใหม่วิมเปล อาร์-27 อาร์ในพิสัยสูงสุดของมันได้

ข้อด้อยเหล่านี้มีมากขึ้นเมื่อความจริงของเรดาร์เอ็นโอ 19 ที่ว่ามันไม่ใช่การออกแบบใหม่ ระบบนั้นพัฒนามาจากแซปเย 2-23 เอ็มแอลของเดิมที่มีอยู่แล้ว ในการออกแบบมิก-29 เริ่มแรกทางพาโซตรอนได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นให้กับมิก-29 เพื่อเร่งการพัฒนาพาโซตรอนจึงใช้แบบจากโครงการอื่นที่บริษัทอื่น ตามที่กล่าวเอ็นโอ 19 เดิมทีนั้นตั้งใจที่จะเป็นเสาอากาศเรียบและมีการใช้สัญญาณดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทำให้มีพิสัยตรวจจับและติดตาม 100 กิโลเมตรต่อเครื่องบินขับไล้ ไม่นานการทดสอบและต้นแบบก็เผยให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด อย่างน้อยก็ไม่ใช่เรดาร์ซึ่งอยู่ที่ส่วนจมูกของมิก-29 มากกว่าที่จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมดพาโซตรอนได้ดัดแปลงรุ่นก่อนหน้าของแซปเฟีย-23 เอ็มแอลเพื่อลดเวลาและราคา ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแอนะล็อกแบบเดียวกันกับรุ่นก่อนหน้า พร้อมกับคอมพิวเตอร์ดิจิทัลทีเอส 100 ขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้จะสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินใหม่ได้ทัน แต่มันก็มีจุดอ่อนของรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด

การทำงานที่บกพร่องเหล่านี้เกิดจากความจริงที่ว่าเรดาร์เอ็นโอ 19 นั้นที่จริงแล้วไม่ใช่การออกแบบใหม่ มันคือระบบที่พัฒนามาจากระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในตอนแรกผู้สร้างเรดาร์ได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นสำหรับมิก-29 แต่เพื่อความรวดเร็วทางพาซาตรอนจึงได้ใช้แบบเก่ามาทำใหม่ เรดาร์เอ็นโอ 19 นั้นเดิมทีจะมีเสาอากาศแบบแบนและการประมวลผลสัญญาณแบบดิจิทัล ทำให้การตรวจจับและพิสัยการตรวจจับอย่างน้อย 100 กิโลเมตรลำหรับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ การพัฒนาเทคโนโลยีการบินของโซเวียตตอนนั้นเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน การทดสอบและต้นแบบก็ทำให้รู้ว่ามันจะต้องเสร็จภายในเวลาที่จำกัด แทนที่การออกแบบเรดาร์จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมด ทางพาโซตรอนได้ดัดแปลงระบบเก่ามาใช้แทนเพื่อประหยัดเวลาและเงิน ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแบบแอนาล็อกเช่นเดียวกับเก่า พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทีเอส 100 ในขณะที่การตัดสินใจนี้เป็นการสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินแบบใหม่ มันก็ได้นำไปสู่จุดอ่อนต่าง ๆ ของแบบเก่า แม้ว่าจะมีการออกแบบเรดาร์เอ็นโอ10 ขึ้นมา แต่มิก-29 ส่วนใหญ่ที่ยังประจำการอยู่นั้นก็ยังใช้เรดาร์เอ็นโอ19 ต่อไป แม้ว่าตามโครงการต้องการที่จะให้พัฒนาเครื่องบินมิก-29 ให้เข้าขั้นสมบูรณ์ก็ตาม

เรดาร์เอ็นโอ 19 เดิมได้รับการดูแลโดยนักออกแบบที่ได้ทรยศไปอยู่กับฝ่ายซีไอเอ ต่อมาเขาถูกประหารในปี พ.ศ. 2529 เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดทางโซเวียตรีบทำการพัฒนาเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มขึ้นมาให้กับมิก-29 เอส อย่างไรก็ตามโครงการก็ยังไม่พอใจในการทำงานของระบบและต้องการให้ทำการพัฒนาเพิ่ม การพัฒนาล่าสุดคือเอ็มโอ 10 ซึ่งมีเสาอากาศราบมากกว่าเป็นแบบจานกลม มีพิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการปะทะเป้าหมายจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และสามารถใช้วิมเปล อาร์-7 ได้ จุดเด่นที่มีประโยชน์ของมิก-29 ที่เหมือนกับซู-27 คือเลเซอร์หาระยะและระบบไออาร์เอสทีที่อยู่ในส่วนคล้ายลูกตาที่ด้านหน้าห้องนักบิน มันต้องพึ่งเรดาร์ในบางครั้งหรืออาจไม่ต้องใช้เรดาร์เลย

อาวุธ แก้

อาวุธของมิก-29 มีทั้งปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่โคนปีก เดิมทีนั้นมันใช้แมกกาซีน 150 นัดซึ่งต่อมาได้ลดเหลือ 100 นัด มิก-29 บีแบบเดิมนั้นไม่สามารถทำการยิงปืนได้เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงตรงกลางเพราะว่ามันจะไปบังช่องดีดกระสุน ต่อมาได้มีการแก้ไขในมิก-29 เอส และรุ่นต่อ ๆ มา มีจุดติดตั้งสามจุดใต้ปีกแต่ละข้าง (บางแบบก็สี่) จุดติดตั้งภายในสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 1,150 ลิตร ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางวิมเปล อาร์-27 หนึ่งลูก หรือระเบิดหรือจรวด เครื่องบินบางลำของโซเวียตสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไว้ภายในได้ จุดติดตั้งภายนอกมักติดตั้งขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73 แม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้มอลนิยา อาร์-60 ที่เก่ากว่า ถังเชื้อเพลิงขนาด 1,500 ลิตรหนึ่งถังสามารถติดเข้าไปที่ส่วนกลางระหว่างเครื่องยนต์สำหรับการบินขนส่ง (การบินส่งมอบเครื่องบิน) แต่จะไม่ใช้ในการต่อสู้ มิก-29 บีสามารถบรรทุกระเบิดทั่วไปและจรวด แต่จะไม่มีอาวุธนำวิถี รุ่นที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้เช่นเดียวกับขีปนาวุธอากาศสู่พื้น

ประวัติการใช้งาน แก้

สหภาพโซเวียตได้ส่งออกมิก-29 ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ เนื่องมาจากว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 นั้นต้องบินโดยนักบิน โครงสร้างระบบการป้องกัน และการดูแลรักษาที่ดี มิก-29 จึงมีหน้าที่ในกองทัพอากาศมากมาย[3] ตัวอย่างเช่น ในขณะที่มิก-29 มีประวัติการทำงานที่ดีในกองทัพอากาศอินเดียซึ่งลงทุนอย่างมากในด้านอากาศยาน แต่มันก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดีนักในกองทัพอากาศของอิรักและยูโกสลาเวีย

สหภาพโซเวียตและรัสเซีย แก้

มิก-29 ถูกพบเห็นโดยสาธารณะครั้งแรกในฝั่งตะวันตกเมื่อสหภาพโซเวียตนำมันไปแสดงที่ฟินแลนด์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 มิก-29 อีกสองลำถูกจัดแสดงในงานฟาร์นโบโรที่สหราชอาณาจักรเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2531 ปีต่อมามันได้แสดงการบินในงานแสดงที่ปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในสัปดาห์แรกของการแสดง[4] ผู้เฝ้ามองฝั่งตะวันตกประทับใจในความสามารถและความคล่องแคล่วของมัน เมื่อโซเวียตล่มสลายมิก-29 ส่วนมากเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย

ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 จอร์เจียได้กล่าวโทษมิก-29 ของรัสเซียที่ยิงอากาศยานไร้คนขับเฮอร์เมส 450 ของพวกเขาตกและได้ทำการบันทึกวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่ามิก-29 ที่กำลังยิงขีปนาวุธใส่ ทางรัสเซียปฏิเสธว่าเป็นเครื่องบินของพวกเขาและกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ทำการบินใด ๆ เลยในวันนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอับคาเซียอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยิงยูเอวีตกด้วยแอโร แอล-39 อัลบาทรอสเพราะว่ามันบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของพวกเขา[5] การสืบสวนของสหประชาชาติสรุปได้ว่าวิดีโอเป็นของจริงและ UAV ถูกยิงโดยมิก-29 หรือซู-27 ของรัสเซียโดยใช้ขีปนาวุธติดตามความร้อนวิมเปล อาร์-73[6]

กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งระงับการบินมิก-29 ทั้งหมดหลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตกในเซอร์เบียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551[7] หลังจากการตกครั้งที่สองของมิก-29 ในเซอร์เบียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[8][9] ทางการรัสเซียยอมรับว่ามิก-29 ส่วนใหญ่ในกองทัพอากาศของตนไม่สามารถทำหน้าที่ได้เนื่องจากการซ่อมบำรุงที่ไม่ดี อายุการใช้งานของเครื่องบินประมาณ 70% ถูกจัดว่าเก่าเกินไปที่จะทำการบิน[10] มิก-29 ของรัสเซียไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต นั่นก็เพราะกองทัพอากาศรัสเซียเลือกที่จะพัฒนาซู-27 และมิก-31 แทน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กองทัพอากาศรัสเซียได้กลับมาใช้มิก-29 อีกครั้ง[11] อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มิก-29 จำนวน 91 ลำของกองทัพอากาศรัสเซียต้องการการซ่อมแซมหลังจากการตรวจสอบ มิก-29 ประมาณ 100 ลำผ่านการตรวจและให้บินต่อได้[12][13]

ยูเครน แก้

 
มิก-29 ของยูเครน ในปี พ.ศ. 2561

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ระหว่างการแทรกแซงทางทหารในคาบสมุทรไครเมีย มีรายงานว่ามิก-29 ของกองทัพอากาศยูเครน 45 ลำ และเครื่องบินฝึกไอพ่น แอล-39 4 ลำ ถูกกองกำลังรัสเซียยึดที่ฐานทัพอากาศเบลเบ็ก (ตาตาร์ไครเมีย: Belbek Ava Limanı) เครื่องบินส่วนใหญ่ดูเหมือนจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้ ในเดือนพฤษภาคม กองทหารรัสเซียได้รื้อถอนเครื่องและส่งซากกลับไปยังยูเครน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลยูเครนระบุว่ามีมิก-29 จำนวนหนึ่งถูกนำกลับเข้าประจำการเพื่อสู้รบในสงครามทางภาคตะวันออกของประเทศ[14]

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามในดอนบัส ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 กองทัพอากาศยูเครนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ไอพ่นจำนวนหนึ่งไปยังภูมิภาคดอแนตสก์เพื่อทำการลาดตระเวนทางอากาศและแสดงพลัง อาจเนื่องมาจากจำนวนเครื่องบินขับไล่ที่มีอย่างจำกัด เครื่องมิก-29 ของทีมสาธิตการบินยูเครนฟัลคอนส์ (ยูเครน: Українські Соколи) ถูกตรวจพบว่าติดอาวุธอากาศสู่อากาศเต็มรูปแบบและทำการบินผ่านพื้นที่ในระดับต่ำ[15]

ในตอนเย็นของวันที่ 7 สิงหาคม 2014 เครื่องมิก-29MU1 หมายเลขเครื่อง (bort number) 02 Blue ของกองทัพอากาศยูเครน ถูกยิงโดยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานโดยกลุ่มกบฏนิยมรัสเซียใกล้กับเมืองเยนาคีเอวา (ยูเครน: Єнáкієве) และระเบิดกลางอากาศ นักบินดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัย[16][17][18]

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มิก-29 ของกองทัพอากาศยูเครนอีกลำหนึ่ง หมายเลขเครื่อง 53 White ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการรบทางอากาศสู่ภาคพื้นดินต่อตำแหน่งกบฏ[19] ถูกยิงโดยกบฏนิยมรัสเซียในภูมิภาคลูฮันสก์ รัฐบาลยูเครนยืนยันการตก นักบินดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือจากกองกำลังพันธมิตร[20][21]

ในปี พ.ศ. 2561 โรงงานซ่อมเครื่องบินแห่งรัฐที่เมืองลวิวได้เริ่มการปรับปรุงเครื่องมิก-29 ภายในประเทศยูเครน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจหลายบทบาท หรือที่เรียกว่ามิก-29MU2 การพัฒนาคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 และเข้าสู่การผลิตในปี 2563[22] มิก-29 ที่ปรับปรุงรุ่นแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศยูเครนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563[23] ในเดือนสิงหาคม 2563 ยูเครนเริ่มเจรจากับบริษัท Elbit Systems ของอิสราเอลเพื่อช่วยปรับปรุงฝูงบินมิก-29 ให้ทันสมัย[24]

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เครื่องบินขับไล่มิก-29 ของยูเครนได้เข้าร่วม "กองกำลังเฉพาะกิจปฏิบัติการทิ้งระเบิดในยุโรป" กับเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1บี ของอเมริกาเป็นครั้งแรกในภูมิภาคทะเลดำ[25] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เครื่องบินทิ้งระเบิดบี-52 จากฝูงบิน (Bomb Wing) ที่ 5 ได้ทำการฝึกร่วมที่สำคัญกับเครื่องมิก-29 และซู-27 ของยูเครนภายในน่านฟ้าของยูเครน[26][27]

ในช่วงการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565 มิก-29 เป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศยูเครน

อินเดีย แก้

อินเดียเป็นลูกค้ารายต่างประเทศรายแรกของมิก-29[28] กองทัพอากาศอินเดียได้วางแผนซื้อมิก-29 เพิ่มอีกกว่า 50 ลำ ในปี พ.ศ. 2523 ในขณะที่เครื่องบินยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนาเท่านั้น ตั้งแต่ที่มันได้ปรากฏตัวในกองทัพอากาศอินเดียในปี พ.ศ. 2528 มันก็ได้ประสบกับการดัดแปลงมากมาย อย่าง ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ ระบบสำรอง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน และเรดาร์[29] รุ่นพัฒนาของอินเดียใช้ชื่อว่าบาอาซ (ภาษาฮินดีแปลว่าเหยี่ยว ) และทำให้เกิดกองบินโจมตีขึ้นมาตามแบบซุคฮอย ซู-30 เอ็มเคไอ

สถิติการทำงานที่ดีของมิก-29 ทำให้อินเดียทำสัญญากับรัสเซียในปี พ.ศ. 2548 เพื่อพัฒนามิก-29 จำนวน 67 ลำ ภายใต้ข้อตกลงมิก-29 ของอินเดียถูกดัดแปลงให้ใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอาร์-77 อาร์วีวี-เออี ขีปนาวุธนี้ได้รับการทดสอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 และนำไปใช้กับมิก-29 ของกองทัพอากาศอินเดีย นอกจากนั้นทางกองทัพอากาศยังได้ทำสัญญาเพิ่มในการพัฒนา มิก-29 ทั้งหมด 69 ลำ การพัฒนานี้รวมทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศใหม่ เครื่องบินยังถูกติดตั้งความสามารถในการโจมตีเกินสายตาและระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[30] ในปี พ.ศ. 2551 รัสเซียอนุญาตให้อินเดียทำการผลิคเครื่องยนต์อาร์ดี-33 ซีรีส์ 3 จำนวน 120 เครื่องภายใต้ใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา[31] การพัฒนายังรวมทั้งระบบควบคุมอาวุธแบบใหม่ การจัดความเหมาะสมในห้องนักบิน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูง และระเบิดอัจฉริยะ มิก-29 หกลำแรกจะถูกพัฒนาในรัสเซียในขณะที่อีก 63 ลำที่เหลือจะถูกพัฒนาในอินเดีย อินเดียยังได้ทำสัญญากับอุตสาหกรรมอากาศยานของอิสราเอล เพื่อสร้างระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศและระบบรองรับเพื่อทำการพัฒนาต่อไป[32]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการรับมอบมิก-29 เค 12 ลำ และมิก-29 เคยูบี 4 ลำ[33] มิก-29 เคยูบี ลำแรกผลิตมาสำหรับกองทัพเรือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551[34] เครื่องบิน 4 ลำแรกถูกส่งมอบให้กับอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[35] นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากองทัพเรืออินเดียอาจจะสั่งซื้อมิก-29 เค และ เคยูบี เพิ่มอีก 30 ลำ เพื่อนำไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน[36][37]

กองทัพอากาศอินเดียเริ่มกังวลหลังจากที่มิก-29 จำนวน 90 ลำในรัสเซียถูกระงับการบิน[38] หลังจากที่ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดกองทัพอากาศอินเดียก็ได้ปล่อยให้มิก-29 ทำงานต่อไปได้[39]

ความขัดแย้งในคาร์จิล แก้

มิก-29 ของอินเดียได้ทำหน้าที่ในสงครามคาร์จิลในแคว้นแคชเมียร์เมื่อปี พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียได้ใช้มิก-29 บ่อยครั้งในการคุ้มกันมิราจ 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ตามแหล่งข้อมูลของอินเดียมิก-29 จากฝูงบินที่ 47 ได้พบเป้าหมายที่เป็นเอฟ-16 2 ลำของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่งทำการลาดตระเวนและล่วงล้ำเข้ามา เนื่องจากว่าทั้งสองประเทศไม่ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการในตอนนั้น มิก-29 จึงไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าโจมตี หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินทั้งหมด บินในน่านฟ้าของปากีสถานเท่านั้น[40]

ยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย แก้

ยูโกสลาเวียเป็นประเทศแรกในยุโรปหลังจากสหภาพโซเวียตที่ใช้มิก-29 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียได้สั่งซื้อมิก-29 ทั้งสิ้น 14 ลำ และมิก-29 เคยูบี สองลำจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1987 มิก-29 ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินที่ประจำการอยู่ในกรุงเบลเกรดซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเซอร์เบีย

มีเครื่องบินทั้งหมด 16 ลำที่ยังประจำการอยู่ ตั้งแต่ที่ยูโกสลาเวียต้องการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงของตนเอง มิก-29 ของยูโกสลาเวียนั้นไม่ค่อยได้ทำการต่อสู้ในสงคราม และถูกใช้โจมตีภาคพื้นดินเป็นหลัก เครื่องบินขนส่งแอนโตนอฟ แอน-2 จำนวนมากของโครเอเชียถูกทำลายโดยมิก-29 เมื่อปี ค.ศ.1991

ในขณะที่มิก-21 จำนวนมากถูกจัดการโดยกองกำลังของโครเอเชีย กลับไม่มีมิก-29 ลำใดเลยที่ถูกยิงตกในสงคราม[41]

การแทรกแซงของเนโทในยูโกสลาเวีย แก้

มิก-29 ยังคงทำหน้าที่ของมันในกองทัพอากาศของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรและในที่สุดก็เป็นกองทัพอากาศเซอร์เบีย ตลอดช่วงสงคราม มีการสั่งห้ามขนส่งอาวุธในประเทศ สภาพของมิกก็แย่ลง ก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซ มิกของยูโกสลาเวียนั้นมีอายุมากกว่า 10 ปีและขาดอะไหล่ บางลำถูกแยกชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้กับลำอื่น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียมีมิก-29 จำนวน 11 ลำเท่านั้นที่ใช้งานได้

มิก-29 ทั้งหมด 6 ลำถูกยิงตกโดย 4 ลำถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซี และอีก 1 ลำโดย เอฟ-16 ซีเจ ของกองทัพอากาศสหรัฐ หรือถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเองและถูกยิงโดย เอฟ-16 เอเอ็ม ของเนเธอร์แลนด์[42][43] ลำอื่นถูกทำลายขณะอยู่บนพื้นและอีก 1 ลำตกลงและถูกทำลายเนื่องจากว่ามันถูกใช้เป็นเป้าล่อ[44]

หลังสงคราม แก้

หน่วยยังคงบินมิก-29 ที่เหลืออีก 5 ลำต่อไปหลังจากสงคราม ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี พ.ศ. 2547 มีข่าวที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้หยุดใช้ มิก-29 เพราะว่ามันไม่สามารถซ่อมบำรุงได้อีกต่อไป[41]

กองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรยังคงบิน มิก-29 ห้าลำที่เหลืออยู่หลังสงครามในอัตราที่ต่ำมาก โดยหนึ่งในนั้นตกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2547 มีข่าวว่าการปฏิบัติการของมิก-29 ได้ยุติลงเนื่องจากไม่สามารถบำรุงรักษาเครื่องได้[41] แต่ต่อมา เฟรมเครื่องบินที่เหลืออีกห้าลำถูกส่งไปยังรัสเซียเพื่อทำการบูรณะ ฝูงบินมิก-29 ของเซอร์เบียและเครื่องบินเจ็ตแบบอื่น ถูกระงับการบินเป็นเวลาสี่เดือนในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากปัญหาการจัดซื้อแบตเตอรี ในปี พ.ศ. 2563 กองทัพอากาศเซอร์เบีย ใช้งานมิก-29 จำนวน 14 ลำ โดยจะเพิ่มอีก 2 ลำในปี 2564[45]

เยอรมนี แก้

 
มิก-29 ที่ทำสีตามธงชาติของเยอรมนี

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมันตะวันออก) ได้ซื้อมิก-29 จำนวน 24 ลำ (รุ่นเอ 20 ลำ และรุ่นยูบี 4 ลำ) ซึ่งได้เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2531–2532 หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และมีการรวมประเทศเยอรมนีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 มิก-29 และเครื่องบินลำอื่น ๆ ของกองทัพอากาศเยอรมนีตะวันออกเดิมถูกรวมเข้าในกองทัพอากาศเยอรมนี

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของอเมริกาอ้างว่ามิก-29 นั้นเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเอฟ-15 ซี ในบางจุดอย่างเช่น การปะทะระยะสั้น เพราะหมวกพิเศษและความคล่องตัวที่เหนือกว่าในความเร็วต่ำ[46] สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นเมื่อมิก-29 ของเยอรมนีได้ทำการฝึกรบกับเครื่องบินขับไล่ของอเมริกา[47][48] หมวกพิเศษนั้นให้การช่วยเหลืออย่างมาก มันทำให้นักบินเยอรมันมองไปที่เป้าหมายใดก็ได้ภายในระยะยิงของขีปนาวุธ[49] เมื่อเทียบกันแล้วเครื่องบินของอเมริกาทำได้แค่เพียงมองเห็นเป้าหมายในช่องแคบ ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐ และกองทัพเรือสหรัฐได้เริ่มโครงการสร้างหมวกพิเศษสำหรับการมองขึ้นมา

ในช่วงที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมัน มิก-29 ลำหนึ่งตกในอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากความผิดพลาดของนักบิน ในปี พ.ศ. 2546 นักบินของเยอรมันได้ทำการบินกว่า 30,000 ชั่วโมงด้วย มิก-29 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 มิก 29 ลำจาก 23 ลำถูกขายให้กับกองทัพอากาศโปแลนด์[50] เครื่องบินลำสุดท้ายถูกย้ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547[51] มิก-29 ลำที่ 23 ถูกนำไปแสดงในเยอรมนี[52]

โปแลนด์ แก้

มิก-29 12 ลำแรก (มิก-29 เอ 9 ลำ และมิก-29 ยูบี 3 ลำ) ถูกส่งมอบให้กับโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2532–2533 ในปี พ.ศ. 2538 มีการใช้เพื่อทดสอบโดยสาธารณรัฐเช็กจำนวน 10 ลำ หลังจากการปลดประจำการของ มิก-21 และ มิก-23 ในปี พ.ศ. 2546 โปแลนด์มี มิก-29 เพียง 22 ลำเท่านั้นที่ทำหน้าที่สกัดกั้น

ในปี พ.ศ. 2547 โปแลนด์ได้รับ มิก-29 จำนวน 22 ลำจากเยอรมนี 14 ลำในนั้นได้รับการยกเครื่องใหม่และนำเข้าประจำการแทนที่ มิก-21 ในปัจจุบันโปแลนด์มี มิก-29 32 ลำ (มิก-29 เอ 26 ลำ และ มิก-29 ยูบี 6 ลำ) ซึ่งจะทำหน้าที่จนถึงปี พ.ศ. 2555 ในปี พ.ศ. 2551 โปแลนด์เป็นประเทศในกลุ่มเนโทที่มี มิก-29 มากที่สุด ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องบินเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2563 กำลังอยู่ในการพิจารณา มันขึ้นอยู่กับว่ามิโคยันจะให้ความร่วมมือหรือไม่

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มิก ได้รับการสนับสนุนจาก เอฟ-16 บล็อก 52+ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เอฟ-16 ยังใช้เพื่อแทนที่ มิก-21 อีกด้วย

ไม่มีการยืนยันว่าโปแลนด์ได้ทำสัญญาให้เช่า มิก-29 อย่างน้อยหนึ่งลำให้กับอิสราเอลเพื่อทำการพัฒนา ตามที่มีรูปยืนยันการมีอยู่ของ มิก-29 ในอิสราเอล ตั้งแต่ที่เครื่องบินลำดังกล่าวกลับมาที่โปแลนด์

สหรัฐ แก้

ในปี พ.ศ. 2540 สหรัฐได้ซื้อเครื่องบินของมอลโดวาภายใต้สนธิสัญญาการลดอาวุธ มีมิก-29 14 ลำซึ่งติดตั้งตัวรบกวนเรดาร์และสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ การที่สหรัฐซื้อเครื่องบินเหล่านี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันถูกขายให้กับประเทศที่ชอบทำสงครามโดยเฉพาะอิหร่าน[53] การซื้อครั้งนี้ยังทำให้กองทัพอากาศสามารถทำการพัฒนาและศึกษาข้อมูลของ มิก-29 ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีประโยชน์ในอนาคตและช่วยในการออกแบบและทดสอบอาวุธในอนาคต ในปลายปี พ.ศ. 2540 มิก ถูกส่งมอบให้กับศูนย์อากาศและอวกาศแห่งชาติใกล้กับโอไฮโอ แม้ว่าจะเชื่อว่า มิก-29 หลายลำถูกทำลาย

ประเทศอื่น ๆ แก้

 
มิก-29 ของอิรักถูกยิงตกในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

มิก-29 ได้ทำการรบในสงครามอ่าวเมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งมันถูกใช้โดยอิรัก ตามข้อมูลของฝ่ายสหรัฐมี มิก-29 5 ลำที่ถูกยิงตกโดย เอฟ-15[54] มิก-29 8 ลำสามารถหลบหนีไปที่อิหร่านที่ซึ่งปัจจุบันมันอยู่ในกองทัพอากาศอิหร่าน ซึ่งซื้อ มิก-29 จากรัสเซียเช่นกัน

มิก-29 ยูบี ของคิวบาได้ยิงเซสนา 337 2 ลำตกในปี พ.ศ. 2539 หลังจากที่เครื่องบินดังกล่าวล่วงล้ำน่านฟ้าของคิวบา[55]

จากบางรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2542 มิก-29 ของเอริเทรียถูกยิงตกโดยซุคฮอย ซู-27 ของเอธิโอเปีย[56] ในขณะที่อีกรายงานกล่าวว่า มิก-29 ของเอริเทรียได้ยิง มิก-21 2 ลำ และ มิก-23 3 ลำของเอธิโปเปียตก[57]

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 มิก-29 2 ลำของกองทัพอากาศซีเรียถูกรายงานว่าถูกยิงตกโดย เอฟ-15 ซี ของกองทัพอากาศอิสราเอล ในขณะที่เข้าสกัดกั้นเครื่องบินของอิสราเอลนอกชายฝั่งเลบานอน นักบินซีเรียดีดตัวออกมาและได้รับการช่วยเหลือจากเรือของซีเรีย[58][59][60]

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทหารดาร์ฟูร์ได้ทำการโจมตีเมืองหลวงของซูดาน ในการรบ มิก-29 ของซูดานถูกยิงตกโดยทหารของกบฏดาร์ฟูร์ด้วยปืนกลหนักขนาด 12.7 ม.ม. และ 14.5 ม.ม. นักบินเสียชีวิตเมื่อร่มของเขาไม่ทำงานหลังจากการดีดตัว ฝ่ายซูดานสามารถยันการโจมตีกลับไปได้[61][62][63]

ผู้ใช้ที่เป็นไปได้ในอนาคต แก้

ศรีลังกากำลังวางแผนที่จะซื้อ มิก-29 เอสเอ็ม[64]

เลบานอนวางแผนที่จะซื้อ มิก-29 จำนวน 10 ลำจากรัสเซีย[65][66][67] เพื่อส่งมอบหลังจากต้องการทำรุ่นส่งออกและหลังจากที่นักบินของกองทัพอากาศเลบานอนได้ทำการฝึกเรียบร้อยแล้ว

แบบต่าง ๆ แก้

ปัจจุบันมีโครงการพัฒนามากมายสำหรับมิก-29 ที่จัดขึ้นโดยกองทัพอากาศรัสเซีย ซึ่งจะพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเทากับมาตรฐานของเนโท การยืดอายุการใช้งานเป็น 40 ปี ทำการพัฒนาความสามารถในการต่อสู้และความไว้ใจได้ และเพิ่มความปลอดภัย ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมิกเริ่มทำการผลิตเครื่องบินตระกูลใหม่ขึ้นมา

มิก-29 (โปรดักต์ 9.12)
เป็นรุ่นแรกในการผลิต เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2526 เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29 บี-12 (โปรดักต์ 9.12 เอ)
เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับประเทศที่ไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ รุ่นนี้ไม่มีระบบบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์และมีเรดาร์ที่ด้อยกว่า เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29 ยูบี-12 (โปรดักต์ 9.51)
เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก มันติดตั้งเพียงเซ็นเซอร์อินฟราเรด ไม่มีเรดาร์ เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29 เอส
มิก-29 เอสมีรูปร่างภายนอกที่เหมือนกับมิก-29 บีที่เก่ากว่า ความแตกต่างเริ่มที่การพัฒนาของระบบควบตุมการบิน คอมพิวเตอร์ใหม่สี่เครื่องให้เสถียรภาพที่มากกว่าและควบคุมได้แม้จะทำมุมปะทะที่สูงก็ตาม ระบบไฮดรอลิกที่พัฒนาของระบบควบคุมการบินทำให้มีการสะท้อนการควบคุมบนพื้นผิวได้ดีขึ้น มิก-29 เอสนั้นมีส่วนหลังที่นูนขึ้นมา ซึ่งเดิมทีนั้นเชื่อกันว่าเป็นที่เก็บเชื้อเพลิง อันที่จริงแล้วมีไว้สำหรับระบบตอบโต้อิเล็กทรอนิกส์ เชื้อเพลิงภายในเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 75 ลิตร มันยังสามารถติดตั้งถังขนาด 1,150 ลิตรใต้ปีกแต่ละข้างได้ หรือไม่ก็ใช้ถังที่ติดอยู่ตรงท้อง จุดติดตั้งใหม่ได้เพิ่มความจุในการบรรทุกได้ 4,000 กิโลกรัม น้ำหนักทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 กิโลกรัม
ในมิก-29 เอส ปืนกลอากาศจีเอสเอช-30-1 มีช่องดีดปลอกกระสุนที่ใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้มันสามารถยิงปืนได้ในขณะที่ติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลาง มิก-29 เอสสามารถใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างอาร์-27 อี ที่มีพิสัยมากกว่าแบบเดิม 1.5 เท่า
ในตอนแรกระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศของมิก-29 เอสมีเพียงระบบมองไออาร์เอสทีเท่านั้น อย่างไรก็ดีมิก-29 เอสได้ทำการพัฒนาสุดท้ายโดยการเพิ่มเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มเข้าไป ระบบอาวุธใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ของมิก-29 เอส มันสามารถจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและในเวลาเดียวกันก็ใช้ขีปนาวุธอาร์-77 ได้พร้อมกันสองลูก
มิก-29 เอสยังมีข้อจำกัดในการโจมตีภาคพื้นดินด้วยอาวุธธรรมดา แต่เพื่อที่เปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาททางมิโคยันจึงได้ออกแบบมิก-29 เอสเอ็มขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศให้ใช้อาวุธนำวิถีได้ การพัฒนามากมายของมิก-29 เอสเมื่อรวมกับการพัฒนาของมิก-29 เคทำให้เกิดการพัฒนาต่อของมิก-29 เอ็ม ซูเปอร์ฟัลครัม
การบินของมิก-29 เอสนั้นด้อยกว่ามิก-29 เล็กน้อยเนื่องมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงและระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ มีมิก-29 เอสเพียง 48 ลำเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมาให้กับรัสเซียก่อนที่จะเกิดการตัดทุน เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29 เอส-13 (โปรดักต์ 9.13)
เป็นแบบที่คล้ายกับ 9.12 แต่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อบรรทุกเชื้อเพลิงและตัวรบกวน เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29 เอส-13 (โปรดักต์ 9.13 เอส)
รุ่นที่ใช้โครงสร้างเดิมของ 9.13 แต่เพิ่มความจุอาวุธเป็น 4,000 กิโลกรัม และติดตั้งถังเชื้อเพลิงที่ใต้ปีก มีเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มอี ที่จับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตีได้สองเป้าหมายพร้อมกัน มันใช้ขีปนาวุธวิมเปล อาร์-77 เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29 เอสเอ็ม (โปรดักต์ 9.13 เอ็ม)
เป็นรุ่นที่คล้ายกับ 9.13 แต่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นและระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้ เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
 
มิก-29 เคยูบี
มิก-29 เค (โปรดักต์ 9.31)
เป็นแบบสำหรับกองทัพเรือ มันมีปีกที่หนา ตะขอเกี่ยว และล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น เดิมทีมันถูกวางแผนไว้ให้ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นแอมิรัลคุซเนทซอฟ มันเคยได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตโดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียแต่ก็ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2535 เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกองทัพและปัญหาทางการเงิน[68] บริษัทมิกเริ่มโครงการใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และได้นำการพัฒนาไปใช้กับแบบถัดไป ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการซื้อมิก-29 เค 12 ลำ และมิก-29 เคยูบี 4 ลำโดยจะส่งมอบในปี พ.ศ. 2550–2552[68][69] การดัดแปลงสำหรับกองทัพเรืออินเดียจึงเกิดขึ้น มันมีอาวุธแบบเดียวกับที่ใช้ในมิก-29 เอ็ม และมิก-29 เอสเอ็มที[70] เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
มิก-29 เคยูบี (โปรดักต์ 9.47)
มันคล้ายคลึงกับมิก-29 เคแต่ว่ามีที่นั่งเรียงกัน มันถูกใช้เพื่อฝึกนักบินมิก-29 เค และสามารถทำการรบเต็มรูปแบบได้ มิก-29 เคยูบีสร้างขึ้นครั้งแรกให้กับกองทัพเรืออินเดีย มันทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550[71] เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
 
มิก-29 เอ็ม
มิก-29 เอ็ม / มิก-33 (โปรดักต์ 9.15)
เป็นแบบหลากบทบาทที่ก้าวหน้าด้วยโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบใหม่และแทนที่ระบบควบคุมกลไลด้วยระบบฟลาย-บาย-ไวร์ และมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์อาร์ดี-33 เซอร์ 3 เอ็ม เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
มิก-29 ยูบีเอ็ม (โปรดักต์ 9.61)
เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29 เอ็ม มันไม่เคยถูกสร้างออกมา มันยังใช้ชื่อว่ามิก-29 เอ็ม 2 อีกด้วย
มิก-29 เอสเอ็มที (โปรดักต์ 9.17)
ในปี พ.ศ. 2531 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพของมิก-29 มีทั้งหมด 150–180 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29 เอสเอ็มทีซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย การพัฒนาเพิ่มถูกวางแผนให้กับเครื่องบินที่สร้างขึ้นในทศวรรษถัดมา โครงการเริ่มเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มิก-29 เอสเอ็มที 10-15 ลำถูกส่งมอบให้ก่อนสิ้นปี ในปี พ.ศ. 2542 มีมิก-29 ทั้งหมด 20-30 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29 เอสเอ็มที ในมีพ.ศ. 2543 คาดว่าจะมีมิก-29 เอสเอ็มที 40 ลำ โครงการทั้งหมดจะดัดแปลงมิก-29 150-180 ลำให้เป็นมิก-29 เอสเอ็มที และอีก 120 ลำเป็นมิก-29 ยูบีที (สองที่นั่ง)
การพัฒนาเป็นชุดของมิก-29 รุ่นแรก ๆ จะทำให้พวกมันกลายเป็นมิก-29 เอ็ม นอกจากถังเชื้อเพลิงพิเศษที่เพิ่มพิสัยเป็น 2,100 กิโลเมตร ห้องนักบินที่มีการปรับปรุง จอเอ็มเอฟดีขนาด 6x8 นิ้วสองจอ และแอลซีดีขนาดเล็กอีกสองจอ มีการพัฒนาเรดาร์ให้คล้ายคลึงกับมิก-29 เอ็ม ขุมกำลังเปลี่ยนเป็นอาร์ดี-33 เซอร์ 3 โดยให้แรงขับพร้อมสันดาป 81.4 นอต ความจุอาวุธเพิ่มเป็น 4,500 กิโลกรัมโดยใช้อาวุธที่เหมือนกับมิก-29 เอ็ม
มิก-29 ยูบีที (โปรดักต์ 9.51 ที)
เป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานของเอสเอ็มทีให้กับมิก-29 ยูบี ตัวอย่างเช่น แอลจีเรียและเยเมนที่ใช้มัน[72][73]
มิก-29 เอ็ม 2 / มิก-29 เอ็มอาร์ซีเอ
เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29 เอ็ม[74] มันเหมือนกับมิก-29 เอ็มโดยพิสัยลดลงไปเล็กน้อยเหลือ 1,800 กิโลเมตร[74] บริษัทมิกได้นำเสนอมันในการแสดงทางอากาศมากมาย ครั้งหนึ่งมันได้ใช้ชื่อมิก-29 เอ็มอาร์ซีเอสำหรับการตลาดและตอนนี้มันเกี่ยวข้องกับมิก-35
มิก-29 โอวีที
เป็นหนึ่งในหกลำที่สร้างออกมาก่อนมิก-29 เอ็มก่อนปี พ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับเครื่องยนต์ใหม่และระบบฟลาย-บาย-ไวร์ มันเป็นตัวทดสอบเครื่องยนต์ใหม่และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนามิก-29 เอ็ม มันมีระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่เหมือนกับมิก-29 เอ็ม ความแตกต่างเดียวคือห้องนักบิน เครื่องยน์อาร์ดี-133 ของมันมีปลายท่อไอเสียแบบหมุนซึ่งให้แรงขับสะท้อนไปทุกทิศทาง อย่างไรก็ดีความพิเศษอื่นของมันนั้นก็ไม่ได้โดดเด่นนัก มันถูกนำไปแสดงในงานต่าง ๆ พร้อมกับมิก-29 เอ็ม 2 ทั่วโลกเพื่อเพิ่มการขาย มันยังถูกใช้ในการบินผาดโผนอีกด้วย[75]
มิก-35
เป็นการพัฒนาที่เปิดเผยของมิก-29 เอ็ม/เอ็ม 2 และมิก-29 เค/เคยูบี เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอฟ
 
มิก-29 จีทีของเยอรมัน
มิก-29 จี/มิก-29 จีที
เป็นการพัฒนาสำหรับมิก-29 และมิก-29 ยูบีในกองทัพอากาศเยอรมนีที่ได้สืบทอดมาจากเยอรมนีตะวันออก งานนั้นเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2536[76]
มิก-29 เอเอส/มิก-29 ยูบีเอส (มิก-29 เอสดี)
กองทัพอากาศสโลวาเกียได้ทำการพัฒนามิก-29 และมิก-29 ยูบีของตนเพื่อให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันมันมีระบบนำร่องและระบบสื่อสารจากบริษัทร็อคเวล คอลลินส์ ระบบระบุฝ่าย ห้องนักบินแบบใหม่ที่มีจอแอลซีดีและหน่วยประมวลผลดิจิทัล และยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของตะวันตกในอนาคต อย่างไรก็ตามอาวุธของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มิก-29 12 ลำจาก 21 ลำถูกพัฒนาและส่งมอบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[77]
มิก-29 "สไนเปอร์"
เป็นการพัฒนาของกองทัพอากาศโรมาเนียโดยอิสราเอล การบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โครงการถูกระงับพร้อมกับการปลดประจำการมิก-29 ของโรมาเนียในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเกิดจากค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไปซึ่งทำให้รัฐบาลโรมาเนียทำการตัดสินใจหยุดโครงการมิก-29 และการลงทุนในโครงการมิก-21 แลนเซอร์

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งานมิก-29 แสดงในสีน้ำเงิน (อดีตผู้ใช้งานแสดงในสีแดง)
 
มิก-29 ของกองทัพอากาศเปรู

ปัจจุบัน แก้

อดีต แก้

รายละเอียด แก้

 
3-view drawing ของ มิก-29
  • นักบิน 1 นาย (2 นาย สำหรับรุ่น เอ็ม)
  • ความยาว 17.37 เมตร
  • ระยะระหว่างปีกทั้งสองข้าง 11.4 เมตร
  • ความสูง 4.73 เมตร
  • พื้นที่ปีก 38 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 11,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 16,800 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 21,000 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบ คลิมอฟ อาร์ดี-33 ให้แรงขับเครื่องละ 18,300 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2.25 มัค (2,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 1,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ในระดับความสูงต่ำ)
  • พิสัย 700 กิโลเมตร
  • พิสัยในการขนส่ง 2,100 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงแบบทิ้งได้ 1 ถัง
  • เพดานบินทำการ 60,000 ฟุต
  • อัตราไต่ระดับ 65,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักที่ปีกรับได้ 442 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราการเร่งต่อน้ำหนัก 1.13
  • อาวุธ

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ยูเซฟ, เอ และมัลคอล์ม แมคคอนเนลล์,ฟัลครัม: นักบินชั้นยอดหลบหนีจากโซเวียต, วอร์นเนอร์บุคส์, พ.ศ. 2536, ISBN 0-446-36498-3
  2. Lake 1987, p. 94.
  3. "More MiG Malfunctions." เก็บถาวร 24 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Strategy Page, 21 July 2009. Retrieved 14 October 2009.
  4. Johnson, Reuben F. "The Paris Air Show Twenty Years On." Weekly Standard, 18 June 2007. Retrieved: 10 March 2009.
  5. Long, Helen. "Russia ‘shot down Georgia drone’." BBC, 21 April 2008. Retrieved: 10 March 2009.
  6. Chivers, C.J. "Georgia." International Herald Tribune, 26 May 2008. Retrieved: 10 March 2009.
  7. . "Russia suspends MiG-29 fighter flights over Siberia crash." RIA Novosti, 17 October, 2008. Retrieved: 28 March 2009.
  8. "Russian MiG-29 fighter crashes in East Siberia, killing pilot." RIA Novosti, 12 May 2008. Retrieved: 28 March 2009.
  9. "Russian MiG-29 fighter crashes in East Siberia: Pilot dead." เก็บถาวร 2009-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Journal of the Turkish Weekly, 5 December 2008. Retrieved: 28 March 2009.
  10. " Some 70% of Russia's MiG-29 fighters unable to fly - experts." RIA Novosti, 2 June, 2009. Retrieved: 28 March 2009.
  11. "Russian MiG-29 fighters resume flights after December crash." RIA Novosti, 2 April, 2009. Retrieved: 28 March 2009.
  12. "Corrosion issue grounds one-third of Russian air force MiG-29 fleet". Flight International, 19 March 2009. Retrieved on 17 May 2009.
  13. Litovkin, Dmitry. "У новых истребителей МиГ-29 выявлена коррозия (MiG-29 pilot did everything to his notice)." Izvestia, 23 April 2008. Retrieved: 28 March 2009. (english translation).
  14. "Ukrainian Mig-29 Fulcrum evacuated from Crimea, back to operational status". The Aviationist. 4 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  15. "Ukrainian Mig-29 Fulcrum (in display team livery) performs low pass over pro-Russia separatists". The Aviationist. 16 เมษายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  16. "Militants down Ukrainian MiG-29 in Donetsk region, crew ejects". KyivPost. 7 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  17. Paton Walsh, Nick; Hanna, Jason; Shoichet, Catherine E. (7 สิงหาคม 2014). "Ukraine: Rebel leader resigns; military jet shot down". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  18. Harro Ranter. "ASN Aircraft accident 07-AUG-2014 Mikojan-Gurevic MiG-29 02 BLUE". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  19. France-Presse, Agence (17 สิงหาคม 2014). "Ukrainian fighter plane shot down by pro-Russia rebels". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2016.
  20. "Separatists shoot down Ukrainian Mig-29 fighter plane: military". Reuters. 17 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  21. "Pro-Russia separatists have shot down another Ukrainian Mig-29 Fulcrum". The Aviationist. 17 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  22. "Ukrainian MiG-29 Fighter Jet Being Upgraded with Multi-role Capability". Defenseworld.net. 1 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2019.
  23. "Ukraine Air Force Receives Upgraded Soviet-era MiG-29". Defenseworld.net. 31 กรกฎาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
  24. "Israel to help Ukraine modernize MiG-29 fighter jets". UAWire. 1 สิงหาคม 2020.
  25. Correll, Diana Stancy (29 พฤษภาคม 2020). "B-1Bs complete Bomber Task Force mission with Ukrainian, Turkish aircraft for the first time". Air Force Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2020.
  26. "U.S. Air Force B-52s Integrate with Ukrainian Fighters". United States European Command. 4 กันยายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
  27. "Bomber Task Force continues European mission push in Black Sea region". United States European Command. 15 กันยายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
  28. K. K. Thomas (1988). "USSR Foreign Relations". Asian Recorder. 34: 42.
  29. Pike, John. "MiG-29 Baaz." เก็บถาวร 5 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน globalsecurity.org, 12 March 2009. Retrieved 19 July 2009.
  30. "India's MiG-29 fighter jets to be upgraded by Russia." เก็บถาวร 9 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน India Defence, 8 February 2006. Retrieved 19 July 2009.
  31. "India has acquired the right to manufacture Saint-Petersburg’s engines." เก็บถาวร 2 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Klimov, 24 January 2007. Retrieved 19 July 2009.
  32. Pandit, Rajat. "India, Russia ink MiG-29 upgrade deal." เก็บถาวร 2 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times of India, 8 March 2008. Retrieved 19 July 2009.
  33. "Indian Navy chief to inspect MiG-29K assembly in Russia". RIA Novosti. 2008-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-08.
  34. "RAC MiG flies first MiG-29K for Indian Navy". FINN. 2008-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09.
  35. "Russia delivers 4 MiG-29 fighters to India". RIA Novosti. 2009-02-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-16.
  36. "MiG-29 Fulcrum Fighter Bomber, Russian Federation". airforce-technology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  37. "India may bag more Mig-29K fighters". rediff.com. 2008-09-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  38. "India is worried about its fleet of MIGS -29". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  39. "India says its MiG-29 safe despite Russian grounding of such aircraft." เก็บถาวร 11 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Xinhua News Agency, 14 March 2009. Retrieved 19 July 2009.
  40. "Warplanes Article Index: May 20, 2005". Strategy page. 2005-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-11. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  41. 41.0 41.1 41.2 "Yugoslav & Serbian MiG-29s." เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Combat Information Group, 30 November 2003. Retrieved 14 October 2009.
  42. Lok, Joris Janssen, "How Dutch F-16AMs shot down a Mig-29." janes.com. Retrieved 7 September 2009. เก็บถาวร 9 กรกฎาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  43. "F-15 Eagle vs MiG-29 Fulcrum | With "Dozer"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-28 – โดยทาง youtube.com.
  44. "Mikoyan-Gurevich MiG-29 Fulcrum, Losses & Ejections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  45. "Serbia receives 4 more MiG-29 fighter jets from Belarus – The Defense Post". 2019-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
  46. "MiG-29 Fulcrum (Mikoyan-Gurevich)." เก็บถาวร 4 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FAS. Retrieved 1 August 2010.
  47. Neely, SrA. Dan. "Aviano Vigileer: 'Buzzards' Fly With MiG 29s." AeroWeb. Retrieved 1 August 2010. เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  48. "Code One, 1995–07." codeonemagazine.com. Retrieved 30 September 2010. เก็บถาวร 24 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  49. Lake 1997, p. 70.
  50. "MiGi za 1 euro w Bydgoszczy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
  51. "Last of MiG-29s offered by Germany arrive in Poland". AP Worldstream. Associated Press. 4 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  52. "Bundeswehr." เก็บถาวร 28 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mgfa.de.Retrieved 1 August 2010.
  53. USA Air Force Milestones เก็บถาวร 2009-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 31 December 1999.
  54. "Cuba." เก็บถาวร 27 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน UMN. Retrieved 1 August 2010.
  55. Sander Peeters. "Different African Air-to-Air Victories -". acig.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  56. "Eritrean Fulcrums". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
  57. "Mikoyan-Gurevich MiG-29 Fulcrum, Losses & Ejections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  58. "Israel downed 2 Syrian MiGs in 2001". 2005-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
  59. Tom Cooper (30 กันยายน 2003). "Middle East Database, Israeli - Syrian Shadow-Boxing". Air Combat Information Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2009.
  60. "Attrition: Russian Fighter Pilot Shot Down In Sudan". StrtegyPage. 30 May 2008.
  61. Manyang Mayom (31 May 2008). Khartoum suspends repatriation of IDPs to South Sudan เก็บถาวร 2015-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sudan Tribune.
  62. "Russian pilots fly Sudan MIGs in Darfour missions". WorldTribune.com. 29 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
  63. Jon Grevatt (14 March 2008). Sri Lanka nears MiG-29 purchase. Defense & Security Intelligence & Analysis: IHS Jane's.
  64. "Russia to deliver 10 MiG fighter jets to Lebanon." เก็บถาวร 2011-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Zawaya, 16 December 2008. Retrieved: 12 March 2009.
  65. "Lebanon to Buy 10 Mig-29 Fighter Jets." เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Moscow Times, 17 December 2008.
  66. "Russia to 'donate' 10 MiG-29 jet fighters to Lebanon", RIA Novosti, 16 December 2008.
  67. 68.0 68.1 Products > Military Aircraft. Corporation "MiG". 2002. เก็บถาวร 2010-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  68. "India moves ahead with MiG-29KUB for the Navy". India Daily. 2005-03-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  69. "MiG Corp. started series production of MiG-29K/KUB for Indian Navy". Rac MiG News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  70. "MiG-29 K/KUB fighters for India". SputnikNews.com. 23 January 2007.
  71. Konstantin Makienko (19 February 2007). "Russia & CIS Observer, New Customers for Russian Fighters". Centre for Analysis of Strategies and Technologies - CAST comments. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
  72. "Largest identified transfers of Russian arms in 2004". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2006.
  73. 74.0 74.1 MiG-29M / MiG-29M2 page เก็บถาวร 2010-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. RAC MiG.
  74. "Mig-29VFT video from "Smotr" tv-series". Aviapedia. 6 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
  75. "EADS in Russia". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2007.
  76. "Russia's MiG hands 12 upgraded fighters over to Slovakia". SputnikNews.com. 29 February 2008.
  77. "Russian Air Force to get 34 warplanes rejected by Algeria". SputnikNews.com. 13 January 2009.
  78. "Jane's by IHS Markit". janes.ihs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2017-08-15.
  79. "บัญชีรายชื่อ: กองทัพอากาศของโลก", ไฟลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล, 11–17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
  80. "Russia delivers MiG-29 fighter-jets to Sudan". World Tribune. 6 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2 April 2009.
  81. "Sudan announces purchase of 12 Russian warplanes". Agence France Presse. 15 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2 April 2009.
  82. MiG-29/MiG-29UB/MiG-29SE page เก็บถาวร 2014-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, RAC MiG.

บรรณานุกรม แก้

  • Day, Jerry (April 2009). "Hot Hot Hot!". Air Classics. Vol. 45 no. 4. ISSN 0002-2241. OCLC 723409375.
  • Gordon, Yefim and Peter Davison. Mikoyan Gurevich MiG-29 Fulcrum. Specialty Press, 2005. ISBN 978-1-58007-085-0.
  • Lake, Jon. Jane's How to Fly and Fight in the MiG-29. New York: HarperCollins, 1997. ISBN 0-00472144-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้