แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-15 อีเกิล

เครื่องบินขับไล่
(เปลี่ยนทางจาก เอฟ-15 อีเกิล)

เอฟ-15 อีเกิล (อังกฤษ: F-15 Eagle) เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ทางยุทธวิธีทุกสภาพอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศ มันถูกพัฒนาให้กับกองทัพอากาศสหรัฐและได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1975 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยใหม่ เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบดัดแปลงสำหรับทำหน้าที่.ขับไล่.และ.โจมตีทุกสภาพซึ่งได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2532 กองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้เอฟ-15 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2568[1]

เอฟ-15 อีเกิล
บทบาทเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตMCDONNELL DOUGLAS /BOEING
เริ่มใช้9 มกราคม 1976
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศอิสราเอล
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย
มูลค่าF-15A/B 27.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542)
F-15C/D 29.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542)
แบบอื่นF-15ESTRIKEEAGLE
F-15ESMP

การพัฒนา แก้

ในช่วงสงครามเวียดนาม เมือกองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐกำลังแข่งขันกันเพื่อกำหนดอนาคตของเครื่องบินขับไล่ ทางยุทธวิถี เมื่อรัฐมนตรีกลาโหม Robert McNamara กดดันให้สองเล่าทัพใช่อากาศที่เป็น Common Fleet > (การใช้งานอากาศยานแบบเดียวกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน ที่ถึงแม้จะกระทบถึงความสามารถในการรบ).และในช่วงนันต้องการหา.เครื่องบินขับไล่มาต่อกรกับ MIG-25 ของโซเวียต.

ด้วยนโยบายของ กลาโหม กองทัพเรือและกองทัพอากาศจึงดำเนินโครงการ TF-X จึงกล้ายมาเป็นเครืองบิน F-111 แต่ในเดือนมกราคมปี 1965 รัฐมนตรีกลาโหม Robert McNamara  ได้ให้กองทัพอากาศตัดสินใจ สำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ราคาประหยัดแบบใหม่ ที่มีระยะทำการสันลง และรองรับภารกิจ Close air support  ที่จะมาแทนที่เครืองบินหลายๆแบบ ทั่ง  

NORTH AMERICA F-100D SUPER SADRE   และเครื้องบินทิ้งระเบิดเบาอีกหลายๆแบบ โดยในการทดแทนนี้มีเครื่องบินหลายลำที่ถูกเลือกเข้ามา. กองทัพเรือได้เลือก Douglas A-4 SKYHAWK  และ LTV A-7 CORSAIR II  ที่เป็นเครื่องบินโจมตีเบาแบบเพียวๆ  แต่กองทัพอากาศ กลับให้ความสนใจกับ Northrop F-5 ที่เป็นเครืองบินขับไล่และสามารถทำภารกิจโจมตีภาคพื่นได้เป็นภารกิจรอง  เนื่องจากถ้ากองทัพอากาศเลือกเครื่องบินทำภารกิจโจมตีภาคพื่นเป็นภารกิจหลัก พวกเขาจำเป็นต้องหาเครื่องบินขับไล่อีกแบบหนึ่ง เพื่อความเป็นต่อในการครองอากาศ แต่ในท้ายที่สุด ก็เหลือตัวเลือกเครืองบินขนาดเบาทางยุทธวิถี แบบ F-5 และ A-7 เท่านันที่จะถูกตัดสินใจ โดยไปให้ความสัมพันธ์กับการออกแบบเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ที่มี สมรรถนะสูงกว่านี้ เนื่องจากตั่งแต่เหตุการณ์ที่ F-105  ถูกยิงตกโดยเครื่องบินขับไล่อย่าง MIG-17 ในปี 1965

เดือน เมษายนปี 1965 Harold  Brown  ผู้อำนวยการ Director of Department Of Defense Research and Engineering  ได้ให้มีการเริ่มต้นศึกษาโครงการ  เครื่องบินขับไล่ F-X ที่ได้คาดหวังไว้ว่า จะถูกผลิตออกมา 800 ถึง 1000 ลำ โดยถูกเน้นไปที่ความคล่องตัวแทนความเร็วที่สูงและจะไม่สามารถการโจมตีภาคพื่นดิน โดยความต้งการของโครงการ F-X ถูกกำหนดขึ้นในเดือน ตุลาคมปี 1965 และถูกไปเป็น คำร้องขอข้อเสนอ Request For Proposals ถึง 13 บริษัท ผู้พัฒนาอากาศยาน. ในวันที่  8 ธันวาคม ปี 1965 ในตอนนันเองกองทัพอากาศก็ได้เลือกเครื่องบิน A-7 ในการที่เป็นเครื่องบินที่ขาดคุณลักษณะในการต่อสู้ทางอากาศ และมาคาดหวังความสามารถใยการครองอากาศจากโครงการ F-X แทน

มี 8 บริษัทที่ตอบรับข้อเสนอในครั้งนี้.แต่จากการคัดเลือกมีเพียง 4 บริษัทที่ให้ดำเนินการต่อในการเสนอเครื้องบินต้นแบบ มีการออกแบบที้มากถึง 500 แบบ ในช่วงเวลานี้.โดยการออกแบบส่วนใหญ่จะใช่เครื่องบินที่สามารถพับปีกได้.มีน้ำหนักลำตัวมากกว่า  60000 ปอนด์และมีความเร็วที้มากกว่ามัค 2.7 และมีอัตราสวน TTVLS อยู่ที่ 0.75 การศึกษาดำเนินการมาจนถึงปี 1966 ตัวเครื่องบินนันดูจะมีน้ำหนักมากๆพอกับ F-111 AARDVARK

ซึ่งนันจะทำให้มันไม่มีคุณสมบัติมากพอสำหรับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ช่วงที่กำลังวิจัยโครงการ บทเรียนจากการรบในสงครามเวียดนาม..ได้ก่อให้เกิดเป็นความกังวลจำนวนมาก.โดยกำหนดให้เครื่องบินเน้นไปที่การต่อสู้โจมตีอากาศสู้อากาศตั่งแต่ระยะไกล โดยทำให้เครื่องบินขับไล่ยุคก่อนนันถูกออกแบบมาให้มีเรดาห์ขนาดใหญ่ และมีความเร็วที่สูง แต่ก็มีข้อจำกัดในความคล่องตัว.และขาดการติดตั่งอาวุธดังเดิมอย่างปืนกลอากาศ ดังตัวอย่างที่เครื่องบินขับไล่ที่สหรัฐใช่อย่าง MCDONNELL DOUGLAS F-4 PHANTOM II ที่ใช่งานทั้งในกองทัพอากาศ กองทัพเรือ.และนาวิกโยธิน.สหรัฐ มีนเป็นเครื่องบินเพียงแบบเดียวที่พอจะรับมือกับภัยคุมคามอย่างเครื่องบินขับไล่ MIG ในสงครามเวียดนาม.แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ของ PHANTOM ทำให้เสียเปลี่ยนกับเครื่องบินขับไล่ที่เล็งอย่าง MIG-21 MIG-17 และ MIG-15 ในการรบระยะประชิด และจรวดนำวิถีอากาศสู้อากาศในขณะนันมีผลงานต้ำกว่าที่ขาดไว้.จึงถือกำเนิดและหลักการฝึกแบบใหม่ของนักบินเครื่องบินขับไล่สหรัฐที่ถูกสอนหลังจากช่วงเวลานัน รวมถึงการนำปืนใหญ่อากาศแบบ M61 VULCAN  มาติดตั่ง กลับมาติดตั่งบนเครื่องบิน F-4

จากปัญหานี้ JOHN BOYD อดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐ จึงได้ตั่งทฎษภี Energy-Maneuverubility(U) ที่ได้กล่าวไว้ว่า

"พลังงานที่มากกว่า และความคล่องตัวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบเครื่องบินขับไล่ที่สูงกว่าของเครื่องบินนัน."

ทำให้ในต้นปี 1967 ความต้องการของโครงการ ได้ถูกเปลียนให้ เปลี่ยนให้มี

อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักเท่าก้บ   1.1

ความเร็วสูงสุด    มัค  2.3

น้ำหนัก             40,000 ปอนด์  

ปีกรองรับน้ำหนักบรรทุดได้สูงสุด  80 ปอนด์/ต่อตารางฟุต

ในช่วงเวลาเดียวกับกาาพัฒนา สหภาพโซเวียตก็ได้เผยให้เห็นถึงเครื่องบินขับไล่ MIG-25 ที่สนามบิน โดโมเดโดโว่ ใกล้กับ Moscow  โดยเครื่องบิน MIG-25 นี้

ถูกออกแบบให้มีความเร็วและเพดานสูงสำหรับการเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกันโดยการออกแบบของเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่ามัค 2.8  ทำให้เครื่องบินลำนี้ต้องใช่วัสดุอย่างสแตนเลส steel แทนที่เครื่องบินขับไล่ปกติเขาใช้กันในการสร้างเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบาและมีปีกขนาดใหญ่สำหรับเพดานบินที่สูง ลักษณะภายนอกของ mig-25 มันมีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินต้นแบบในโครงการ F-X แต่มีขนาดใหญ่กว่าจึงนำไปสู้ความกังวลร้ายแรงทั่วกระทรวงกลาโหมสหรัฐ.ในเวลานัน.

เดือนกันยายนปี  1968 คำขอข้อเสนอได้ถูกส่งให้ไปย้ง บริษัทผลิตอากาศยาน 4 บริษัทด้วยกัน โดย กำหนดไว้ว่า  เป็น

เครื่องบินขับไล่ครองอากาศ ที่นั่งเดียว

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด. คือ 40,000 ปอนด์

มีความเร็วสูงสุดคือ มัค 2.5

อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก  1.1

มีเครื่องยนต์ 2 ตัว  ในเครื่องบิน 1 ลำ ที่คล้ายกับโครงการ VF-X ของกองทัพเรือ

ในเวลาเดียวกัน กระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ร้องของให้ NASA ตอบรับข้อเสนอของโครงการ VF-X  ในลักษณะของคู่สัญญาจ้าง ทางอุตสาหกรรมโดยผู้อยู่เบื่องหลังกับการทำงานของนาซ่านี้คือ

John Foster ผู้อำนวยการ Defense  Department Reseearch and Engineering  ด้วยเหตุผลสองข้อ โดยประการแรกการออกแบบจาก Nasa จะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยี ขั้นก้าวหน้า อุตสาหกรรม มาปรับใช่  สอง ด้วยประสบการณ์ ของ Nasa อาจจะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการพัฒนาภายหลังได้

การออกแบบคอนเซป 4 ตัว สำหรับเครื่องบินขับไล่นี้ มีชื่อว่า Langley Fighter/Attack Experimental  หรือ [LFAX]

ซึ่ง มีต้นแบบทั่ง 4 แบบคือ

LFAX-4 (แบบที่ใช้ปีกพับปรับองศาได้)

LFAX-8  เครื่องต่อยอดมาจาก LFAX-4 แต่มีปีกแบบตายตัว

LFAX-9  มีแบบเครื่องยนต์ที่ติดตั่งทีาใต้ปีก

LFAX-10 มีรูปร่างภายนอกคล้ายกับ MIG-25 ของโซเวียต

ทีมพัฒนาของ McDonnell Douglas ได้ให้ความสนใจ LFAX-8 เป็นพิเศษ  และมีผลต่อการออกแบบเครื่องบินของบริษัทนี้ โดย McDonnell Douglas ได้ทำการดัดแปลงรูปทรงของปีกเครื่องบินเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบังคับทิศทางในช่วงความเร็วต่ำกว่าเสียง

ในเดือนตุลาคมปี 1969 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เปลี่ยนชื่อโครงการ F-X เป็น ZF-15A จาก 4 บริษัท ที่ตอบรับมา กองทัพอากาศ ได้ตัด General Dynamics  ออก จึงเหลือเพียง Fairchild Republic  

North America Rockwell และ MCDONNELL DOUGLAS เพื่อให้ทั่ง 3 บริษัทส่งข้อเสนอทางด้านเทคโนโลยี.ในเดือนมิถุนายนปี 1969 และในวันที่ 23 ธันวาคม  1969 กองทัพอากาศก็ได้ประกาศให้ MCDonnell Douglas เป็นผู้ชนะโครงการ F-15

การเข้าร่วม.ปฎิบัติการของ F-15 แก้

 

แต้มการสอยแรกเครื่องบินของ F-15 เริ่มต้นโดยกองทัพอากาศอิสราเอล ในปี 1979 ในการบุกโจมตีกรุงปาเลนสไตน์ ในเลบาลอน ปี 1979 ถึง 1981 โดยยิงเครื่องบินของซีเรียตกที่ประกอบไปด้วย MIG-21 13 ลำ และ MIG-25 อีก 2 ลำ ในสงครามเลบาบอนปี 1982 ก็ยังมีแต้มสังหาเครื่องบินรบของซีเรียอีกกว่า 40 ลำ อีกทั่งอิสราเอล และ ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ดัดแปลง F-15 ให้สามารถทำภารกิจโจมตีภาคพื่นได้

ในปี 1984 มีรายงานว่า F-15C ของซาอุได้ยิง F-4E PHAMTON II สองลำของอิหร่านตก

ในช่วงปี 1984 ถึง 1986  มีการนำจรวดต่อต้านดาวเทียมมีติดตั้งบน F-15 อย่าง ASM-135 ASAT โดยติดตั้งที่กึ่งกลางใต้ท้อง เพื่อหวังทำลายดาวเทียมสอดแนมวงโครงจรต่ำ ในการทดสอบนักบินจะไต่ระดับขึ้น 65 องศา ไปยังจุดที่คำนวณไว้ เมื่อถึงระดับความสูง 38,100 ฟุต และความเร็วมัค 1.22 นักบินจะยิงลูกจรวดออกไปใส่ยังดาวเทียม ในการทดสอบคร้งที่ 3 ในการยิงดาวเทียมปลดประจำการ T-78-1 หรือโซวิน ที่อยู่ห่างจากพื่นโลก  555 กิโลเมตรจากพื่นดิน ทำให้นักบินนาวาอากาศตรี Wilbert D. "Doug" Pearson เป็นนักบินเพียงคนเดียวที่ประสบความสำเร็จ ในการยิงดาวเทียมด้วย F-15  เพราะหลังจากนันไม่นานโครงการนี้ก็ได้ถูกปิดตัวลง

ในปฎิบัติการพายุทะเลทรายสงครามอ่าวในปี 1991 F-15C/D ของสหรัฐ ได้เข้าร่วมรบทางอากาศ 36 ครั้งจากทังหมด 39 ครั่งตลอดช่วงของสงคราม  ข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐ ยื่นยันว่าเครื่องบินอิรักถูกทำลายโดย F-15C จำนวน 34 ลำ ซึงประกอบไปด้วย MIG-29 MIG-25 MIG-21 SU-25 SU-22 SU-7 Mirage F-1 รวมไปถึงเครื่องบินลำเลียง เครื่องบินฝึกและ ฮอ  

ในส่วน ซาอุ อาจเป็นผู้ใช้งาน F-15  ที่ใช้ไม่ได้เต็มดีพอสมควร โดยวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1990 มีนักบินของซาอุที่แปรพันต์นำเครื่องบินของ F-15C  ไปลงจอดที่ซูดาน  ทางรัฐบาลซาอุได้จ่ายเงินถึง 50 ล้านเหรียญ เพื่อขอซื้อเครื่องบิน คืน และในช่วงสงครามอ่าว  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 1991 มีรายงานว่า F-15 ของซาอุ ตกที่สนามบิน คามิมูซาอิ โดยในภายหลังอิรักอ้างว่า เป็นผู้ที่ยิงเครื่องบินลำนี้ด้วย MIG-25PD แต่ข้อมูลนี้ไม่มีการยื่นยันอีกทั้งในช่วง เวลานันกองกำลังพันธมิตร ของสหรัฐ ได้ทำรายระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิรักไปจนหมดแล้ว

ในสงครามโคโซโว F-15C ของกองทัพอากาศสหรัฐ ยังมีผลงานในการสอยเครื่องบิน MIG-29 อีก 1 ลำ

แบบต่างๆ แก้

แบบต่างๆของ F-15 แก้

F-15A
เป็นเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งที่นั่ง รุ่นแรก. สร้างออกมา 384 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[2]
F-15B
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก เดิมทีใช้ชื่อ TF-15A สร้างออกมา 61 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515-2522[2]
F-15C
เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศในทุกสภาพอากาศแบบหนึ่งที่นั่งที่ได้รับการพัฒนาเพิ่ม สร้างออกมา 483 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-2528[2]
F-15D
แบบสองที่นั่งสำหรับการฝึก สร้างออกมา 92 ลำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2528[2]
F-15J
เป็นเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งที่นั่งสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น สร้างออกมา 139 ลำภายใต้ใบอนุญาตโดยบริษัท มิตซูบิชิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524-2540 [2]
F-15DJ
แบบเครื่องบินรุ่นสองที่นั่งที่ออกแบบ.มาใช้ในฝูงบินข้าศึกสมมุติของญี่ปุ่น.และเป็นรุ่นฝึกของญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน[2]
F-15NPS
เป็นแบบที่เสนอให้ในปี 1970 ให้กับกองทัพเรือสหรัฐ F-15NPS ที่สามารถติดขีปนาวุธเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์. ได้เหมือนกับ F-14 TOMCAT ทุกรุ่น.แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ปฎิเสธ.[3]
F-15E STRIKE EAGLE
เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อมาจากF-15C EAGLE ให้สามารถทำภารกิจได้หลากหลายนอกจากการเป็นเครื่องบินขับไล่.แต่ต่างประเทศนันสนใจในรุ่นนี้...ก็เลยมีรุ่นแยกย่อยเช่น F-15K F-15I

แบบการวิจัยและทดสอบ แก้

เอฟ-15 สตรีคอีเกิล (72-0119)
เป็นเอฟ-15เอที่ใช้เพื่อสาธิตการเร่งความเร็วของเครื่องบิน มันได้ทำลายสถิติการไต่ระดับด้วยเวลาไป 8 ครั้งระหว่างวันที่ 16 มกราคมและ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มันถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523[4]
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดี (71-0290)
เป็นเอฟ-15บีลำแรกที่ถูกดัดแปลงให้วิ่งขึ้นและลงจอดในระยะสั้น มันเป็นเครื่องบินสาธิตเทคโนโลยีกระบวนท่า[5] ในปลายทศวรรษที่ 1980 มันได้รับการติดตั้งปีกเสริมพร้อมกับท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยม มันใช้เทคโนโลยีกระบวนท่าและวิ่งขึ้นระยะสั้นหรือเอสเอ็มทีดี (short-takeoff/maneuver-technology, SMTD) [6]
เอฟ-15 แอคทีฟ (71-0290)
เอฟ-15 เอส/เอ็มทีดีที่ต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยเทคโนโลยีควบคุมการบิน[5]
เอฟ-15 ไอเอฟซีเอส (71-0290)
เอฟ-15 แอคทีฟต่อมาถูกดัดแปลงให้เป็นเครื่องบินวิจัยระบบควบคุมการบินด้วยปัญญาประดิษฐ์ เอฟ-15บี หมายเลขเครื่อง 71-0290 เป็นเอฟ-15 ที่ยังทำการบินอยู่โดยมีอายุมากที่สุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551[6]
เอฟ-15 เอ็มเอเอ็นเอ็กซ์
เป็นชื่อของเอฟ-15 แอคทีฟที่ไม่มีหาง แต่ก็ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมา
เอฟ-15 สำหรับวิจัยการบิน (71-0281 และ 71-0287)
เอฟ-15เอสองลำถูกใช้ทดลองโดยศูนย์วิจัยการบินดรายเดนของนาซ่า การทดลองรวมทั้ง การควบคุมอิเลคทรอนิกดิจิตอลรวมหรือไฮเดก (Highly Integrated Digital Electronic Control, HiDEC) ระบบควบคุมเครื่องยนต์หรือเอเดกส์ (Adaptive Engine Control System, ADECS) ระบบควบคุมการบินค้นหาและซ่อมแซมตัวเองหรือเอสอาร์เอฟซีเอส (Self-Repairing and Self-Diagnostic Flight Control System, SRFCS) และระบบเครื่องบินควบคุมการเคลื่อนที่หรือพีซีเอ (Propulsion Controlled Aircraft System, PCA)[7] เครื่องหมายเลข 71-0281 ถูกส่งกลับให้กองทัพอากาศและถูกนำไปจัดแสดงที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในปีพ.ศ. 2526
เอฟ-15บี รีเซิร์จเทสท์เบด (74-0141)
ในปีพ.ศ. 2536 เอฟ-15บีลำหนึ่งถูกดัดแปลงและใช้โดยนาซ่าเพื่อทำการทดสอบการบิน[8]

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ-15 อีเกิล ในปีพ.ศ. 2550

สำหรับแบบที่มาจากเอฟ-15อีดูที่เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

  อิสราเอล
  • กองทัพอากาศอิสราเอลใช้เอฟ-15 มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้จัดเป็นเอฟ-15/เอบีสองฝูงบินและเอฟ-15ซี/ดี หนึ่งฝูงบิน เอฟ-15เอ/บี 15 ลำแรกมีโครงสร้างที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา[9] การส่งครั้งที่สองถูกหยุดชั่วคราวเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามเลบานอน [10]
  ญี่ปุ่น
  • กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นได้รับเอฟ-15เจ 202 ลำและเอฟ-15ดี 20 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 ซึ่งเอฟ-15เจสองลำและเอฟ-15ดีเจ 12 ลำถูกสร้างขึ้นในสหรัฐและที่เหลือถูกสร้างโดยมิตซูบิชิ ในปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กองกำลังป้องกันทางอากาศได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาเอฟ-15 ให้ใช้กระเปาะเรดาร์สังเคราะห์ เครื่องบินเหล่านี้จะถูกแทนที่โดยอาร์เอฟ-4 ที่ในปัจจุบันอยู่ในประจำการ[11]
  ซาอุดีอาระเบีย
  สหรัฐ
  • กองทัพอากาศสหรัฐมีเอฟ-15 630 ลำในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551[12] เอฟ-15 นั้นกำลังจะถูกแทนที่โดยเอฟ-22 แร็พเตอร์

เหตุการณ์และอุบัติเหตุครั้งสำคัญ แก้

  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะที่กองทัพอากาศอิสราเอลกำลังทำการซ้อมรบทางอากาศ เอฟ-15ดีหนึ่งลำได้ชนเข้ากับเอ-4 สกายฮอว์ค นักบินซิวิ เนดิวิและนักบินร่วมของเขาไม่รู้ว่าปีกของเอฟ-15นั้นถูกฉีกออกสองฟุตจากตัวถัง เอฟ-15 หมุนอย่างควบคุมไม่ได้หลังจากถูกชน ซิวิตัดสินใจที่จะพยายามควบคุมเครื่องและใช้สันดาปท้ายเพื่อเพิ่มความเร็ว ทำให้เขาควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง เพราะว่าการยกตัวที่เกิดจากพื้นที่ผิวหน้าขนาดใหญ่ของตัวถัง ปีหส่วนหาง และพื้นที่ปีกที่เหลือ เอฟ-15 ได้ลงจอดด้วยความเร็วสองเท่าจากปกติเพื่อสร้างแรงยกและตะขอที่หางของมันหลุดออกไปในตอนที่ลงจอด นักบินสามารถหยุดเอฟ-15 6 เมตรก่อนสุดทางวิ่ง ต่อมาเขาได้กล่าวว่า "ผมน่าจะดีดตัวออกมาถ้ารู้ว่ามันเกิดขึ้น"[13][14]
  • ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 เอฟ-15 ลำหนึ่งที่ฐานทัพอากาศเอลเมนดอล์ฟ ได้เกิดยิงเอไอเอ็ม-9เอ็มใส่เอฟ-15 อีกลำหนึ่งโดยอุบัติเหตุ เครื่องบินที่ได้รับความเสียหายสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ต่อมามันได้รับการซ่อมแซมและเข้าประจำการต่อ[15]
  • ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ในขณะซ้อมการเข้าสกัดกั้นเหนือทะเลญี่ปุ่น เอฟ-15เจลำหนึ่งถูกยิงตกโดยขีปนาวุธเอไอเอ็ม-9 ที่ยิงโดยลูกหมู่ของเขาโดยอุบัติเหตุเหมือนกับที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 นักบินดีดตัวได้อย่างปลอดภัย[16]
  • เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ขณะการซ้อมบินระดับต่ำเหนือสกอตแลนด์ เอฟ-15ซีสองลำของกองทัพอากาศสหรัฐได้ตกลงใกล้กับยอดเขาแห่งหนึ่ง[17] นักบินทั้งสองเสียชีวิตในอุบัติเหตุซึ่งต่อมาส่งผลต้องนำตัวผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของกองทัพอากาศอังกฤษไปขึ้นศาล แต่เขาก็บริสุทธิ์ [18]
  • ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15ซีตกลงขณะทำการซ้อมรบใกล้กับเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี นักบินดีดตัวได้แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัส การตกมาจากโครงสร้างที่เกิดเสียหายขณะทำการบิน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 ทั้งหมดถูกระงับการบินหลังจากทำการสืบสวนหาสาเหตุของการตก[19] และวันต่อมาก็ได้ทำการระงับเอฟ-15 ที่ทำการรบอยู่ในตะวันออกกลาง[20] เมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เอฟ-15 มากกว่า 1,100 ลำถูกระงับการบินทั่วโลกเช่นเดียวกับอิสราเอล ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[21] เอฟ-15 ได้รับการอนุญาตให้บินขึ้นอีกครั้งในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[22] ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 กองทัพอากาศสหรัฐให้เครื่องเอฟ-15เอ-ดี 60% กลับไปทำการบินได้[23] ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 มีการเปิดเผยว่าเกิดจากโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน[24] กองทัพอากาศอนุญาตให้เอฟ-15เอ-ดีทั้งหมดขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[25] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 นักบินที่ได้รับบาดเจ็บได้ทำการฟ้องบริษัทโบอิงที่ผลิตเอฟ-15[26]

รายละเอียด เอฟ-15ซี อีเกิล แก้

 
  • ลูกเรือ นักบิน 1 นาย
  • ความยาว 19.43 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.05 เมตร
  • ความสูง 5.63 เมตร
  • พื้นที่ปีก 56.5 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุก 20,200 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 30,845 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100-100 หรือ-220 จำนวน 2 เครื่อง ให้แรงขับเครื่องละ 17,450 ปอนด์ เมื่อไม่ใช้สันดาปท้าย, 25,000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย
  • ความเร็วสูงสุด
    • ระดับสูง 2.5 มัค (2,650 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ระดับต่ำ 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • รัศมีทำการรบ 1,967 กิโลเมตร
  • ระยะทำการขนส่ง 5,550 กิโลเมตร (มีถังเชื้อเพลิงเพิ่ม)
  • เพดานบินทำการ 65,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 50,000 ฟุตต่อนาที
  • บินทน: 5.25 ขั้วโมง เมื่อไม่ได้เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และ 9.7 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
  • อาวุธ

[27][28][29][30][31]

 
เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรทท์แอนด์วิทนีย์ เอฟ100 ของเอฟ-15ซี อีเกิล

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

เครื่องบินที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. Tirpak, John A. "Making the Best of the Fighter Force". Air Force magazine, March 2007.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ davies_2002
  3. Jenkins 1998, pp. 71–72.
  4. McDonnell Douglas F-15 Streak Eagle fact sheet, National Museum of the United States Air Force.
  5. 5.0 5.1 Jenkins 1998, pp. 65–70.
  6. 6.0 6.1 "Sonic Solutions". Aviation Week & Space Technology, 5 January 2009, p. 53. (online version, subscription required)[ลิงก์เสีย]
  7. F-15 Flight Research Facility fact sheet เก็บถาวร 2011-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dryden Flight Research Center.
  8. F-15B Research Testbed fact sheet เก็บถาวร 2010-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dryden Flight Research Center.
  9. "An Eagle evolves", Boeing, January 2004.
  10. Gething 1983
  11. "Lockheed Martin to Upgrade Radar for Reconnaissance Version of Japan's F-15" เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lockheed Martin press release, June 19, 2007.
  12. Mehuron, Tamar A., Assoc. Editor. 2009 USAF Almanac, Fact and Figures. Air Force Magazine, May 2009.
  13. No Wing F15 - crew stories - USS Bennington Retrieved 31 July 2006.
  14. F-15 flying with one wing by an Israeli pilot
  15. Jet Pilot Accidentally Fired Live Missile, Air Force Says. New York Times
  16. F-15 Eagle Losses and Ejections เก็บถาวร 2018-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved: 2 March 2008.
  17. body found at F-15 crash site Retrieved 8 March 2009.
  18. controller found not guilty Retrieved 8 March 2009.
  19. Air Force suspends some F-15 operations, U.S. Air Force, 4 November 2007.
  20. "Air Force grounds F-15s in Afghanistan after Missouri crash", CNN, 5 November 2007.
  21. Warwick, Graham. "F-15 operators follow USAF grounding after crash." Flight International, 14 November 2007.
  22. "Officials begin to clear F-15Es to full-mission status", U.S. Air Force, 15 November 2007.
  23. "Air Combat Command clears selected F-15s for flight", Air Force, January 9, 2008.
  24. "F-15 Eagle accident report released", US Air Force, 10 January 2008. Retrieved 26 January 2008.
  25. "ACC issues latest release from stand down for F-15s", Air Force, 15 February 2008.
  26. Lawsuit
  27. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  28. F-15 Eagle fact sheet, USAF, March 2008.
  29. Lambert 1993, p. 522.
  30. Davies 2002, Appendix 1.
  31. F-15 Eagle GlobalSecurity.org. Retrieved 27 January 2008.

บรรณานุกรม แก้

  • Bowman, Martin W. US Military Aircraft. London: Bison Books Ltd., 1980. ISBN 0-89009-292-3.
  • Braybrook, Roy. F-15 Eagle. London: Osprey Aerospace, 1991. ISBN 1-85532-149-1.
  • Crickmore, Paul. McDonnell Douglas F-15 Eagle (Classic Warplanes series). New York: Smithmark Books, 1992. ISBN 0-8317-1408-5.
  • Davies, Steve. Combat Legend, F-15 Eagle and Strike Eagle. London: Airlife Publishing, Ltd., 2002. ISBN 1-84037-377-6.
  • Davies, Steve and Doug Dildy. F-15 Eagle Engaged, The World's Most Successful Jet Fighter. Osprey Publishing, 2007. ISBN 978-1-84603-169-4.
  • Drendel, Lou. Eagle (Modern Military Aircraft Series). Carrollton, Texas: Squadron/Signal Publications, 1985. ISBN 0-89747-168-1
  • Drendel, Lou and Don Carson. F-15 Eagle in action. Carrollton, Texas: Squadron/Signal Publications, 1976. ISBN 0-89747-023-0.
  • Eden, Paul and Soph Moeng, eds. The Complete Encyclopedia of World Aircraft. London: Amber Books Ltd., 2002. ISBN 0-7607-3432-1.
  • Fitzsimons, Bernard. Modern Fighting Aircraft, F-15 Eagle. London: Salamander Books Ltd., 1983. ISBN 0-86101-182-1.
  • Gething, Michael J. F-15 Eagle (Modern Fighting Aircraft). New York: Arco, 1983. ISBN 0-668-05902-8.
  • Gething, Michael J. and Paul Crickmore. F-15 (Combat Aircraft series). New York: Crescent Books, 1992. ISBN 0-517-06734-X.
  • Green, William and Gordon Swanborough. The Complete Book of Fighters. New York: Barnes & Noble Inc., 1988. ISBN 0-07607-0904-1.
  • Gunston, Bill. American Warplanes. New York: Crescent Books. 1986. ISBN 0-517-61351-4.
  • Huenecke, Klaus. Modern Combat Aircraft Design. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1987. ISBN 0-87021-426-8.
  • Jenkins, Dennis R. McDonnell Douglas F-15 Eagle, Supreme Heavy-Weight Fighter. Arlington, TX: Aerofax, 1998. ISBN 1-85780-081-8.
  • Kinzey, Bert. The F-15 Eagle in Detail & Scale (Part 1, Series II). El Paso, Texas: Detail & Scale, Inc., 1978. ISBN 0-8168-5028-3.
  • Lambert, Mark, ed. Jane's All the World's Aircraft 1993-94. Alexandria, Virginia: Jane's Information Group Inc., 1993. ISBN 0-7106-1066-1.
  • Scutts, Jerry. Supersonic Aircraft of USAF. New York: Mallard Press, 1989. ISBN 0-7924-5013-2.
  • Spick, Mike. The Great Book of Modern Warplanes. St. Paul Minnesota: MBI, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.