พระแม่คงคา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ในศาสนาฮินดูนั้น แม่น้ำคงคาถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และมีรูปบุคลาธิษฐานเป็นเทวีพระนามว่า พระแม่คงคา (สันสกฤต: Gaṅgā) พระนางได้รับการเคารพบูชาในศาสนาพุทธ ที่ซึ่งมีความเชื่อว่าการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะเป็นการคลายบาปและช่วยหนุนไปสู่โมกษะ และเชื่อกันว่าน้ำในแม่น้ำคงคานั้นบริสุทธิ์มาก ผู้แสวงบุญที่เดินทางมานิยมนำเถ้าอัฐิของญาติผู้ล่วงลับมาลอยในแม่น้ำ เชื่อกันว่าจะช่วยนำพาดวงวิญญาณไปสู่โมกษะ เรื่องราวของพระนางพบได้ทั้งในฤคเวทและปุราณะต่าง ๆ
พระแม่คงคา | |
---|---|
เทวีแห่งความบริสุทธิ์ บุคลาธิษฐานของแม่น้ำคงคา | |
![]() พระคงคาประทับบนมกร | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทวีในศาสนาฮินดู, หนึ่งในเจ็ดแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู |
วิมาน | พระพรหม, พระวิษณุ, เขาไกลาศ, คงโคตริ |
มนตร์ | โอม ศรี คงคาไย นะมะหะ (Om Shri Gangayai Namaha) |
อาวุธ | กลัศ |
พาหนะ | มกร |
เทศกาล | คงคาทุสเสหรา, คงคาชยันตี และ นวราตรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระศิวะ ศานตนุ (ในมหาภารตะ) |
บุตร - ธิดา | ภีษมะ and นรรมทา |
บิดา-มารดา | หิมวาน และ Menavati |
ศาสนสถานสำคัญของฮินดูหลายแห่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคา ตั้งแต่ที่ คงโคตริ, หฤทวาร, ปรยาคราช, พาราณสี และกาลีฆัตในกัลกัตตา นอกจากการเคารพบูชาในศาสนาฮินดูแล้ว ในประเทศไทยยังมีเทศกาลลอยกระทงที่ซึ่งมีการลอยกระทงบนทางน้ำไหลเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณและพระแม่คงคา เพื่อเป็นการสร้างบุญและล้างความชั่วร้ายตามความเชื่อว่าให้ลอยไปกับสายน้ำ
ประติมานวิทยาแก้ไข
ในรูปเคารพพระแม่คงคานั้นนิยมสร้างรูปสตรีท่าทางใจดีมีผิวพระวรกายอ่อน ประทับบนจระเข้ ในพระหัตถ์ทรงดอกบัวในหัตถ์หนึ่ง และพิณอินเดียในอีกหัตถ์หนึ่ง หากเป็นรูปสี่พระหัตถ์อาจทรงหม้อกลัศ หรือหม้อใส่น้ำอมฤต, ประคำ, ดอกบัว, ศิวลึงค์, ตรีศูร หรือทรงวรทมุทราหรือมุทราอื่นขึ้นอยู่กับศิลปะ
ในศิลปะของเบงกอล มักแสดงพระองค์ทรงสังข์, จักร, ดอกบัว และทรงอภัยมุทรา พร้อมมั้งเทน้ำมนตร์จากหม้อกลัศ
พระวาหนะแก้ไข
ใน Brahma Vaivarta Purana พระแม่คงคานิยมสร้างรูปเคียงกับพระวาหนะ (พาหนะ) ของพระองค์คือมกร หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายมังกรในศาสนาฮินดู ลักษณะการใช้มกรเปนพระวาหนะนี้ได้รับการตีความอย่างหลากหลาย บ้างว่าเป็นตัวแทนของความฉลาดเฉลียว การเอาชนะความดุร้าย เป็นต้น
อ้างอิงแก้ไข
- Eck, Diana L. (1982), Banaras, city of light, Columbia University, ISBN 978-0231114479, สืบค้นเมื่อ 26 July 2011CS1 maint: ref=harv (link)
- Eck, Diana (1998), "Gangā: The Goddess Ganges in Hindu Sacred Geography", ใน Hawley, John Stratton; Wulff, Donna Marie (บ.ก.), Devī: Goddesses of India, University of California / Motilal Banarasidass, pp. 137–53, ISBN 8120814916CS1 maint: ref=harv (link)
- Vijay Singh: The River Goddess (Moonlight Publishing, London, 1994)
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระแม่คงคา |