นวราตรี (ฮินดี: नवरात्री คุชราต: નવરાત્રી ଓଡ଼ିଶା [oˑɽisaˑ]), เบงกอล: নবরাত্রী กันนาดา: ನವರಾತ್ರಿ มราฐี: नवरात्री ปัญจาบ: ਨਰਾਤੇ กัศมีร์: نَورات / नवरात เตลูกู: నవరాత్రీ ทมิฬ: நவராத்திரி มลยาฬัม: നവരാത്രി) เป็นเทศกาลที่อุทิศเพื่อการสักการบูชาประจำปีแด่พระแม่ทุรคา คำว่า นวราตรี หมายถึงคำว่า 'เก้าคืน' ในภาษาสันสกฤต ในช่วงเก้าคืนนี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาและพระแม่ปารวตีในภาคปางต่าง ๆ เก้าปาง และในวันสุดท้าย คือ วันที่สิบมักจะเรียกว่าเป็นวันวิชยาทศมี (สันสกฤต: विजयादशमी) หรือ "ทศหรา" (สันสกฤต: दशहरा) ซึ่งเป็นวันที่สำคัญสุดของเทศกาลนี้ และมีการเฉลิมฉลองทั่วไปทั้งประเทศอินเดีย

นวราตรี
Durga Puja celebration.jpg
ประเภทเทศกาลประจำปีของชาวฮินดู
การเฉลิมฉลอง9–10 วัน
วันที่Ashvin Shukla Pratipada, Ashvin Shukla Dwitiya, Ashvin Shukla Tritiya, Ashvin Shukla Chaturthi, Ashvin Shukla Panchami, Ashvin Shukla Shashthi, Ashvin Shukla Ashtami, Ashvin Shukla Navami

การบูชาเทวีภาคต่างๆส่วนใหญ่ในอินเดียแก้ไข

 
การบูชาพระเทวีปางต่างในเทศกาลนวราตรีที่ปราศักติมนเทียร สหรัฐ
ดูบทความหลักที่: นวทุรคา

การบูชาเทวีภาคต่าง ๆ ในอินเดียอาจแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มักกล่าวถึงภาคต่าง ๆ ดังนี้

  1. พระแม่ไศลปุตรี
  2. พระแม่พรหมจาริณี
  3. พระแม่จันทราฆัณฏา
  4. พระแม่กูษมาณฑา
  5. พระแม่สกันทมาตา
  6. พระแม่กาตยายนี
  7. พระแม่กาลราตริ
  8. พระแม่มหาเคารี
  9. พระแม่สิทธิทาตรี

อ้างอิงแก้ไข