โบสถ์พราหมณ์

ศาสนสถานของศาสนาฮินดู

โบสถ์พราหมณ์[1] หรือชื่ออื่น ๆ มนเทียร (mandir), เทวาลัย (devālaya) และ โกยิล (koil) เป็นชื่อเรียกศาสนสถานในศาสนาฮินดู โดยถือว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าฮินดู โครงสร้างของโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นเพื่อนำมนุษย์กับเทพเจ้าเข้าหากันผ่านทางสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงแนวคิดและความเชื่อของศาสนาฮินดู[2][3] สัญัลกษณ์และโครงสร้างของโบสถ์พราหมณ์มีรากฐานในความเชื่อแบบพระเวท ประกอบการใช้วงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัส[4] มนเทียรหนึ่ง ๆ จะนำเอาองค์ประกอบทั้งปวงของจักรวาลวิทยาฮินดูเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงสวรรค์ (พระเจ้า) มนุษย์ และความชั่วร้าย รวมถึงแนวคิดของเวลาและชีวิตผ่านธรรมะ, กามะ, อรรถะ, โมกษะ และ กรรมะ[5][6][7]

หลักสำคัญทางจิตวิญญาณที่ถูกแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ในโบสถ์พราหมณ์นั้นนำมาจากงานเขียนสันสกฤต เช่น พระเวท และอุปนิษัท ในขณะที่กฎเกณฑ์ทางโครงสร้างนั้นมีระบุในเอกสารเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสันสกฤตโบราณ เช่น พฤหตสังหิตา และวาสตุศาสตร์[8][9] มนเทียรต่าง ๆ ถือเป็นจุดหมายปลายทางทางจิตวิญญาณของชาวฮินดู ในขณะเดียวกันยังเป็นเหมือนศูนย์กลางที่ศิลปะโบราณ การเฉลิมฉลองของชุมชน รสมถึงเศรษฐกิจนั้นเฟื่องฟูและเจริญ[10][11]

มนเทียรนั้นมีลักษณะรูปแบบที่หลากหลาย รูปแบบความเชื่อ สัญลักษณ์ และกรรมวิธีก่อสร้างที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ชุมชน วัฒนธรรม ความเชื่อ ลัทธิ และเทพเจ้าเฉพาะองค์[12] มนเทียรสามารถพบได้ในเอเชียใต้โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา[13][14] และประเทศอื่น ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ของฮินดูหรือมีชาวฮินดูอาศัยอยู่เป็นชุมชน[15]

ในภาษาไทยได้นิยามความหมายว่าเป็นเทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี[16]

ประวัติคำและการตั้งชื่อ

แก้

ในแต่ละภาษามีคำเรียก โบสถ์พราหมณ์ แตกต่างกันไป ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 689
  2. Stella Kramrisch (1946). The Hindu Temple. Motilal Banarsidass. pp. 135, context: 40–43, 110–114, 129–139 with footnotes. ISBN 978-81-208-0223-0., Quote: "The [Hindu] temple is the seat and dwelling of God, according to the majority of the [Indian] names" (p. 135); "The temple as Vimana, proportionately measured throughout, is the house and body of God" (p. 133).
  3. George Michell (1977). The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms. University of Chicago Press. pp. 61–62. ISBN 978-0-226-53230-1.; Quote: "The Hindu temple is designed to bring about contact between man and the gods" (...) "The architecture of the Hindu temple symbolically represents this quest by setting out to dissolve the boundaries between man and the divine".
  4. Stella Kramrisch (1946). The Hindu Temple. Motilal Banarsidass. pp. 19–43, 135–137, context: 129–144 with footnotes. ISBN 978-81-208-0223-0.
  5. Stella Kramrisch, The Hindu Temple, Vol 2, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0222-3, pp. 346-357 and 423-424
  6. Klaus Klostermaier, The Divine Presence in Space and Time – Murti, Tirtha, Kala; in A Survey of Hinduism, ISBN 978-0-7914-7082-4, State University of New York Press, pp. 268-277.
  7. George Michell (1977). The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms. University of Chicago Press. pp. 61–76. ISBN 978-0-226-53230-1.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ susanlchap4
  9. MR Bhat (1996), Brhat Samhita of Varahamihira, ISBN 978-8120810600, Motilal Banarsidass
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bstein
  11. George Michell (1988), The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms, University of Chicago Press, ISBN 978-0226532301, pp. 58-65.
  12. Alice Boner (1990), Principles of Composition in Hindu Sculpture: Cave Temple Period, ISBN 978-8120807051, see Introduction and pp. 36-37.
  13. Francis Ching et al., A Global History of Architecture, Wiley, ISBN 978-0470402573, pp. 227-302.
  14. Brad Olsen (2004), Sacred Places Around the World: 108 Destinations, ISBN 978-1888729108, pp. 117-119.
  15. Paul Younger, New Homelands: Hindu Communities, ISBN 978-0195391640, Oxford University Press
  16. กรมการศาสนา. กรมการศาสนา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551. 194 หน้า. หน้า 176. ISBN 978-974-9536-49-0
  17. Shackle, C. (1 January 1990). Hindi and Urdu Since 1800: A Common Reader. Heritage Publishers. ISBN 9788170261629. Specifically Hindu cultural contexts such as the pūjā 'worship' in the mandir 'temple' will clearly generate a predominance of Sanskrit vocabulary in Urdu as well as Hindi usage.