อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ Space Krenovation Park (SKP) เป็นพื้นที่ของ Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศนั้นเป็นพื้นที่สร้างและรังสรรค์นวัตกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสมช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยยกระดับและสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศในอนาคต รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ
Space Krenovation Park
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง28 พฤศจิกายน 2555
สำนักงานใหญ่88 หมู่ 9 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
รัฐมนตรี
  • ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ(ประธานกรรมการ), ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , ผู้อำนวยการ
  • สุภาพิศ ผลงาม, รองผู้อำนวยการ
  • พีร์ ชูศรี, รองผู้อำนวยการ
  • เวียรเธียร คชบุตรธาดา, ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
  • ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด, รักษาการอธิการสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์http://skp@gistda.or.th
แผนที่

ประวัติ แก้

[1]อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ Space Krenovation Park (SKP) มีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมไทยโชต ณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติงานหลักของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการพัฒนาธุรกิจบนฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ จึงเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับภูมิภาค และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและระบบนวัตกรรมของประเทศเพื่อนให้รองรับการพัฒนาประเทศทังทางเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่มเน้นนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศนี้จะมีพื้นที่ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้าทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับให้บริการอันเป็นการสนับสนุนการวิจัยให้บังเกิดผลเชิงพาณิชย์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

Space Krenovation Park หรือ SKP โดยคำว่า Krenovation เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำจาก Knowledge ก็คือตัว K บวกกับ Creation และ Innovation จึงเกิดเป็นคำว่า Krenovation ดังนั้นภาพโดยรวมของโครงการจึงเป็นโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SME และระดับอุตสาหกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการพัฒนาธุรกิจบนฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นโครงการนี้ จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับภูมิภาค และเป็นโครงสร้่างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และระบบนวัตกรรม เพื่อให้รองรับการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน โดยที่โครงการนี้ จะมีพื้นที่ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้าทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับให้บริการอันเป็นการสนับสนุนการวิจัยให้บังเกิดผลเชิงพาณิชย์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

ภารกิจหลัก แก้

เป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการบินและอวกาศ (Aerospace) ซึ่งภายในพื้นที่ของอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศจะประกอบไปด้วย

  • ห้องปฏิบัติการด้านความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการบินและอวกาศ (GALAXI) - Aerospace Structures and Materials
  • GINNO - GNSS innovation Center
  • SCGI - Geo-informatics center
  • SOAR - Air-Space Management and Mission Planning
  • Space Inspirium - Space Learning Center

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้