ปัญญา จีนาคำ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นครูและนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 5 สมัย

ปัญญา จีนาคำ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดำรงตำแหน่ง
24​ มีนาคม​ พ.ศ. 2562​ – 20 มีนาคม​ พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าสมบัติ ยะสินธุ์
ถัดไปปกรณ์ จีนาคำ
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าบุญเลิศ สว่างกุล
ถัดไปสมบัติ ยะสินธุ์
อดุลย์ วันไชยธนวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าบุญเลิศ สว่างกุล
ถัดไปบุญเลิศ สว่างกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
อำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–2565, 2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ความหวังใหม่ (2535–2538)
ชาติไทย (2538–2539)
ประชาธิปัตย์ (2539–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2556)
ชาติพัฒนา (2556–2561)
เศรษฐกิจไทย (2565–2566)
บุตร

ประวัติ

แก้

ปัญญา เกิดวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นบุตรของนายพรหม นางเกี๋ยง จีนาคำ ด้านครอบครัวสมรสกับนางศิริลักษณ์ จีนาคำ มีบุตร 2 คน

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2512 และทางด้านนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท ทางด้านการบริหารการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2516[1]

การทำงาน

แก้

ปัญญา จีนาคำ เป็นนักการเมืองในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 และสมัยที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 นับเป็น 1 ใน 5 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน คู่กับนายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ แต่สอบตก โดยมีนายอดุลย์ และนายสมบัติ ยะสินธุ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายปัญญา จีนาคำ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเช่นเดิม[2] ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 ที่นั่ง (จากเดิม 2 ที่นั่ง) โดยมีผู้สมัครที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 4 คน คือ นายสมบัติ ยะสินธุ์ (ประชาธิปัตย์) นายปัญญา จีนาคำ (เพื่อไทย) นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (ชาติไทยพัฒนา) และสมบูรณ์ ไพรวัลย์ (ภูมิใจไทย) ซึ่งนายปัญญา ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ประมาณ 31,953 คะแนน (ร้อยละ 25.82)

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา[3] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นายปัญญา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายปัญญา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐแต่ลงในแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 20 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ""อ.ปัญญา"ชิงเก้าอี้ ส.ส.เมืองสามหมอกในนามพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-08.
  3. "รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัด แม่ฮ่องสอน เขตเลือกตั้งที่ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-25.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นเชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔๔, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๙๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘