ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก (History of Denmark) ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นเมื่อย้อนกลับไป 12,000 ปีก่อน ในช่วงการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ด้วยจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เรื่องราวของชาวเดนส์ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารครั้งแรกในช่วงปีค.ศ. 500 (พ.ศ. 1043) ซึ่งเอกสารเหล่านี้รวมทั้งงานเขียนของจอร์ดาเนสกับโปรโคไพอัส ด้วยการนับถือศาสนาคริสต์ของชาวเดนส์ราวค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) เป็นที่ชัดเจนว่ามีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ในสแกนดิเนเวียที่ซึ่งปกครองในดินแดนที่เป็นประเทศเดนมาร์กในปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระประมุของค์ปัจจุบันของเดนมาร์กทรงสืบราชสันตติวงศ์จากกษัตริย์ชาวไวกิงซึ่งก็คือ พระเจ้ากอร์ม เดอะ โอลด์และพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท พระมหากษัตริย์พระองค์แรกๆของเดนมาร์ก ถือว่าราชาธิปไตยแห่งเดนมาร์กนั้นมีอายุเก่าแก่และยาวนานที่สุดในยุโรป

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก

ประวัติศาสตร์เดนมาร์กได้รับอิทธิพลโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ซึ่งหมายความว่าประเทศได้ตั้งอยู่ระหว่างสวีเดนกับเยอรมนี และเพราะฉะนั้นประเทศจึงอยู่ศูนย์กลางอิทธิพลเหนือทะเลบอลติกหรือที่เรียกว่า "Dominium maris baltici" (จักรวรรดิทะเลบอลติก) เดนมาร์กมีข้อพิพาทกับสวีเดนมาเป็นระยะเวลานานในเรื่องการเข้าควบคุมเหนือสเคนลันด์ (ดินแดนทางตอนใต้ของสวีเดน) ในสงครามสเคนเนียน (Scanian War) และกรณีพิพาทในการครอบครองนอร์เวย์ และมีข้อพิพาทกับสันนิบาตฮันเซียติกในการครอบครองดัชชีชเลสวิชและฮ็อลชไตน์

ในที่สุดเดนมาร์กได้สูญเสียดินแดนพิพาทเหล่านี้ทั้งหมดและยุติบทบาทการอ้างสิทธิหลังจากสวีเดนผนวกสเคนลันด์และรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ไปเข้าร่วมกับจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากการให้เอกราชในท้ายสุดแก่นอร์เวย์ในปีพ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) เดนมาร์กได้เข้าครอบครองอาณานิคมของนอร์เวย์ตั้งแต่โบราณซึ่งได้แก่ หมู่เกาะแฟโร, กรีนแลนด์ และไอซ์แลนด์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราช กรีนแลนด์และแฟโรกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และรัฐชเลสวิชเหนือได้รวมเข้ากับเดนมาร์กอีกครั้งจากผลการลงประชามติค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เดนมาร์กถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีและได้รับการปลดปล่อยในปีค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากนั้นเดนมาร์กได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

เดนมาร์กยุคก่อนประวัติศาสตร์

แก้

ยุคหินและยุคสำริด

แก้

การเปลี่ยนสภาพของธารน้ำแข็งวิชเซลในยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย (Weichsel glaciation) ได้ปกคลุมทั่วทั้งเดนมาร์ก ยกเว้นชายฝั่งทางตะวันตกของคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งได้สิ้นสุดเมื่อ 13,000 ปีก่อนส่งผลให้มนุษย์ได้อพยพกลับมายังดินแดนที่เคยถูกน้ำแข็งปกคลุมและตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ในช่วงระหว่างระยะเวลาหนึ่งพันปีแรกหลังยุคน้ำแข็งสภาพภูมิประเทศได้เปลี่ยนจากทุนดราเป็นป่า และสัตว์หลากหลายรวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบันได้ปรากฏในช่วงนี้ วัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในช่วงยุคสมัยใหม่ของเดนมาร์กรวมทั้ง วัฒนธรรมมาเกิลโมเซียน (Maglemosian culture; 9,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช), วัฒนธรรมคองก์โมส (Kongemose culture; 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 5,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช), วัฒนธรรมเออร์เทโบล (Ertebølle culture; 5,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 3,950 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และ วัฒนธรรมฟุนเนลเบรเกอร์ (Funnelbeaker culture; 4,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 2,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

 
รถศึกพระอาทิตย์ทรุนด์โฮล์ม (Trundholm sun chariot) (เรียก ซอลว็อกเนน (Solvognen) ในภาษาเดนมาร์ก) รูปปั้นแกะสลักดวงอาทิตย์ถูกลากโดยม้า นักวิชาการคาดว่าน่าจะสร้างในช่วงศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาลและเชื่อว่าแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่สำคัญในความเชื่อยุคสำริดนอร์ดิก

การตั้งถิ่นฐานในระยะเริ่มต้นของช่วงหลังยุคน้ำแข็งได้เรียกว่า ยุคบอเรียล (Boreal) ซึ่เป็นยุคที่จำนวนประชากรมีเพียงเล็กน้อยและตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันไปดำรงชีพด้วยการล่ากวางเรนเดียร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และทำการเก็บผลไม้ในป่าตามฤดูกาล ในรอบ 8,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช อุณหภูมิได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนนี้ฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 15 องศา และภูมิประเทศได้เปลี่ยนไปเป็นป่าทึบ เป็นป่าอัสเพน, เบิร์ชและไพน์ และกวางเรนเดียร์ได้อพยพไปทางเหนือ ในขณะที่ควายอูรูสและกวางมูสได้อพยพมาถึงทางใต้ของเดนมาร์ก ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นโอ๊ค, เอลม์และเฮเซิลกำเนิดขึ้นในเดนมาร์กในช่วงรอบ 7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในตอนนี้สัตว์พวกหมูป่า, กวางแดง และโรอีได้เริ่มมีมากมายในเดนมาร์ก[1]

จากการฝังศพจากบ้อคบัคเคนในวีทเบ็คในช่วง 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีศพของมนุษย์ 22 ร่าง รวมทั้งศพทารก 4 ร่างและเด็กเล็ก 1 ร่าง แปดในยี่สิบตายก่อนที่จะมีอายุครบ 20 ปี แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่แข็งแกร่งของพวกนักล่าในเขตหนาวเย็นทางเหนือ[2] จากการประเมินของนักวิชาการด้านการแก่งแย่งแข่งขันของสัตว์ได้ประเมินว่ามีมนุษย์ในดินแดนเดนมาร์กประมาณ 3,300 - 8,000 คนในช่วงเวลารอบ 7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3] มีการเชื่อว่าก่อนที่พวกนักล่าจะดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน การกระทำที่กล้าหาญในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างในเวลาที่แตกต่างกันในรอบปี ได้เปลี่ยนสภาพวิถีชีวิตเป็นแบบกึ่งตั้งถิ่นฐาน[4]

ด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล ได้เรียกว่า ยุคแอตแลนติกในเดนมาร์ก ที่ซึ่งทวีปยังคงเชื่อมติดกันในช่วง 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดย 4,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชได้เปลี่ยนสภาพเป็นเกาะแก่ง มนุษย์ได้เปลี่ยนมากินอาหารทะเล ซึ่งส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของประชากรเพิ่มขึ้น

เกษตรกรรมได้มีการบุกเบิกใน 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคสำริดนอร์ดิกในเดนมาร์กได้มีวัฒนธรรมการฝังศพด้วยความดีภายใต้เนินสุสานเก่าแก่ เนินหินและหินสุสานมากมายได้มีขึ้นในช่วงนี้ สามารถค้นพบเครื่องสำริดจากยุคนี้มากมายรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางศาสนาที่สวยงามและเครื่องดนตรี และมีการค้นพบหลักฐานของชนชั้นทางสังคมและการแบ่งชนชั้นทางสังคม

ในช่วงยุคก่อนยุคเหล็กโรมัน สภาพภูมิอากาศในเดนมาร์กและสแกนดิเนเวียตอนใต้ได้เย็นและชื้นขึ้น ทำให้การเกษตรกรรมถูกจำกัดและลดอัตราการอพยพของชาวพื้นเมืองทางตอนใต้ของยุโรปเข้ามาสู่เยอร์มานิค ในยุคนี้มนุษย์สามารถแยกเหล็กออกจากแร่ในพรุ หลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับวัฒนธรรมเซลติกได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงยุคนี้ของเดนมาร์กและยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ และวัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงอยู่จากชื่อสถานที่เก่าแก่

 
มนุษย์โทลลุนด์ มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ที่พบใน ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2494) ฝังอยู่ในพรุพีตบนคาบสมุทรจัตแลนด์ใน เดนมาร์ก

จักรวรรดิโรมันได้หยุดการขยายอาณาเขตที่พรมแดนเดนมาร์ก อย่างไรก็ตามยังคงรักษาเส้นทางการค้าและความสัมพันธ์กับชาวเดนมาร์กหรือชาวเดนมาร์กดั้งเดิม ซึ่งเห็นได้ชัดจากหลักฐานการค้นพบเหรียญกษาปณ์ของโรมัน ได้เป็นที่รู้จักแรกๆจากการจารึกอักษรรูนที่ย้อนกลับไปราวพ.ศ. 743 (ค.ศ. 200) อักษรรูนถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชนชาติที่ใช้ภาษากลุ่มเยอรมัน มีการนำชื่อเทพเจ้าต่างๆ มารวมเข้ากับชื่ออักษร ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในสแกนดิเนเวีย มีการสลักอักษรรูนไว้ในเหรียญกษาปต์ โลงศพ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่ การเรียนรู้ภาษาได้มาจากทางตอนใต้ การสูญสิ้นของที่ดินเพาะปลูกในช่วงศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสต์ศักราชได้เพิ่มอัตราการอพยพสู่ยุโรปเหนือและเพิ่มความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าทิวทอนิคและชาวโรมันที่ตั้งถิ่นฐานในกอล ซึ่งก็คือดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ สิ่งประดิษฐ์ของโรมันในช่วงคริสตวรรษที่ 1 สามารถค้นพบได้มากมาย ได้แสดงให้เห็นถึงว่าบางส่วนของนักรบชนชั้นสูงได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพโรมัน[5]

 
สตรีฮัลเดรอโมสที่พบบนคาบสมุทรจัตแลนด์ในเดนมาร์กพบในปี ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422)

บางครั้งในช่วงเวลานี้ได้มีการฆ่ากันและโยนศพลงไปในพรุ และมักจะมีการค้นพบมนุษย์พรุพีตที่มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงสภาพสังคมเดนมาร์กในสมัยนั้น มนุษย์พรุพีต (Bog body หรือ bog people) คือร่างของมนุษย์ที่ได้รับการรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีโดยธรรมชาติที่พบในพรุพีตทางตอนเหนือของยุโรปและเกาะบริติช ร่างของมนุษย์ที่ตายในพรุพีตไม่เหมือนกับร่างของมนุษย์โบราณอื่นๆ ตรงที่ร่างที่ตายในพรุพีตจะยังคงมีหนังและอวัยวะภายในอยู่ เพราะได้รับการรักษาไว้โดยสภาพแวดล้อมที่มีคุณสมบัติพิเศษ สภาพแวดล้อมดังกล่าวก็รวมทั้งน้ำที่เป็นค่อนข้างเป็นกรด, อุณหภูมิที่ต่ำ และบรรยากาศที่ขาดออกซิเจน ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ผิวของผู้เสียชีวิตออกเป็นสีน้ำตาลแดงจัด แม้ว่าหนังจะอยู่ในสภาพดีแต่กระดูกจะไม่มีเหลืออยู่ เพราะกรดจากพีตทำการละลายแคลเซียมฟอสเฟตในกระดูก

ยุคเหล็กเยอร์มานิค

แก้

นักประวัติศาสตร์ได้บรรยายถึงวัสดุวัฒนธรรมในยุโรปเหนือระหว่างช่วงเพิ่มมวลการอพยพในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 7 ว่า ยุคเหล็กเยอร์มานิค ในยุคนี้ยังมีสิ่งที่มีชื่อเสียงจากยุคก่อนคือ "มนุษย์พรุพีต" และได้มีการค้นพบสองร่างในเดนมาร์กที่มีสภาพสมบูรณ์มากคือ มนุษย์โทลลุนด์และสตรีฮัลเดรอโมส

สมัยกลาง

แก้

แหล่งกำเนิดงานเขียนช่วงแรกๆ

แก้
 
ภาพของแซ็กโซ แกรมมาติคัส (Saxo Grammaticus) นักประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เดนมาร์กฉบับสมบูรณ์คนแรก ภาพวาดโดยหลุยส์ มอ (ค.ศ. 1857 - ค.ศ. 1945)

ในคำอธิบายของนักเขียนเกี่ยวกับสคันด์ซา (จากงานเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เรื่องเกติกา) ของนักเขียนสมัยก่อนชื่อ จอร์ดาเนส ได้กล่าวว่า ชาวเดนมาร์กหรือเดนิ (Dani) เหมือนกับ ซูติดิ (Suetidi) (ชาวสวีดส์ (ชนเผ่าเยอร์มานิค) Swedes) และทำการขับไล่ชาวเฮรูลิและยึดครองดินแดนของพวกเขา[6]

 
เรือแลดบี (The Ladby ship) ซากเรือขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งพบในเดนมาร์ก

บทกวีในภาษาอังกฤษเก่าเรื่องวิทซิธและเบวูล์ฟ วิทซิธเป็นบทกลอนที่ชาวแองโกลแซ็กซอนมักขับร้องและเบวูล์ฟ เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8[7] ถึง 11 โดยมีต้นฉบับที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน คาดว่าเขียนขึ้นในราวปี ค.ศ. 1010 (พ.ศ. 1553)[8] มีความยาวทั้งสิ้น 3183 บรรทัด ซึ่งถือเป็นบทกวีที่มีความยาวมาก ได้รับยกย่องเป็นวรรณกรรมมหากาพย์แห่งประเทศอังกฤษ[9] ตลอดจนงานเขียนจากนักประพันธ์ชาวสแกนดิเนเวียนหลังๆ ที่มีชื่อเสียงคือ แซ็กโซ แกรมมาติคัส (ราวค.ศ. 1200; พ.ศ. 1743) นักประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์กดังที่จะกล่าวในบทต่อไป ได้นำความรู้ในการอ้างอิงมาสู่ชาวเดนมาร์ก

ยุคสมัยแห่งไวกิง

แก้

ด้วยการเริ่มต้นของยุคไวกิ้งในคริสต์ศวรรษที่ 9 จบยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของเดนมาร์ก ชาวเดนมาร์กเกือบทั้งหมดกลายเป็นที่รู้จักในนาม "ไวกิง" (Viking) ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 11 นักสำรวจชาวไวกิงได้ค้นพบและตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในไอซ์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยเดินทางจากหมู่เกาะแฟโร จากที่นั่น กรีนแลนด์และไวน์แลนด์ (ปัจจุบันเป็นบริเวณของเกาะนิวฟันด์แลนด์) ก็ได้มีการตั้งถิ่นฐานด้วย พวกเขามีทักษะสูงในการสร้างเรือและการสำรวจทางทะเล พวกเขาได้ทำการเข้าปล้นและยึดครองบางส่วนของฝรั่งเศสและหมู่เกาะอังกฤษ

 
ภาพไวกิงชาวเดนมาร์ก วาดในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12

พวกเขายังมีความสามารถในการค้าขายตามแนวชายฝั่งและแม่น้ำในยุโรป เปิดเส้นทางการค้าจากกรีนแลนด์ทางตอนเหนือถึงคอนสแตนติโนเปิลทางใต้โดยผ่านทางแม่น้ำในรัสเซียและยูเครน โดยเฉพาะตามแม่น้ำนีเปอร์และเคียฟ ที่ซึ่งตอไปจะเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเคียฟรุส ไวกิงเดนมาร์กมักจะเข้าไปมีอิทธิพลในบริเตน, ไอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกสและอิตาลี ที่ซึ่งพวกเขาได้เข้าปล้น,ยึดครอง และตั้งถิ่นฐาน (การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกรวมถึงดินแดนในบริเวณเดนลอว์,ไอร์แลนด์และนอร์ม็องดี) บริเวณเดนลอว์ได้กลายเป็นของไวกิงเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ทรงถูกบีบบังคับให้มอบครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรแก่ไวกิง ที่ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนั้นในขณะนั้นและร่วมการค้าขายแบบสันติแต่การโจมตีก็ยังคงดำเนินต่อและกษัตริย์อังกฤษจะต้องทรงมอบราชบรรณาการ (เดนเกลด์)

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาร์เลอมาญแห่งจักรวรรดิคริสต์ได้ขยายอาณาเขตมายังชายแดนตอนใต้ของชาวเดนส์และจากแหล่งข้อมูลของชาวแฟรงก์ (อย่างเช่น รายงานของนักบวชน็อทเกอร์ ผู้ติดอ่าง) ได้รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาวเดนส์ มีการบันทึกเกี่ยวกับพระเจ้ากุดเฟรดแห่งเดนมาร์ก ผุ้ซึ่งปัจจุบันปรากฏในฮ็อลชไตน์กับกองทัพเรือในปีค.ศ. 804 (พ.ศ. 1347) สถานที่ซึ่งทรงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาวแฟรงก์ ในปีค.ศ. 808 (พ.ศ. 1351) พระเจ้ากุดเฟรดทรงโจมตีชาวโอโบไทรต์และเข้ายึดครองเมืองรีริค ที่ซึ่งประชากรถูกขับไล่ออกไปและพาไปที่เฮเดบี ในปีค.ศ. 809 (พ.ศ. 1352) พระเจ้ากุดเฟรดกับนักการทูตของชาร์เลอมาญได้ล้มเหลวในการเจรจาสงบศึก ถึงอย่างไรก็ตามพระขนิษฐาของพระเจ้ากุดเฟรดได้ทรงกลายเป็นพระสนมในจักรพรรดิชาร์เลอมาญ และในปีต่อมาพระเจ้ากุดเฟรดทรงเข้าโจมตีชาวฟรีเซียนด้วยเรือ 200 ลำ

 
แผนที่แนวป้องกันเดนเวอร์เกและฮาเออวีเจนที่สร้างในสมัยไวกิง

พวกไวกิงได้เข้าโจมตีแนวยาวตลอดชายฝั่งฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ได้ขยายขอบเขตขึ้นมาก เมืองปารีสถูกล้อมรอบและลอยรีวัลเลย์ถูกทำลายในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 กลุ่มหนึ่งของชาวเดนส์ได้รับสิทธิในการปกครองและตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยรอลโลได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ผู้เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งฝรั่งเศสให้ปกครองดินแดนตามสนธิสัญญาแซงต์ แคลร์-ซูร์-อิบเตในปีค.ศ. 911 (พ.ศ. 1454) เพื่อเป็นการปกป้องราชอาณาจักรจากการรุกราน เป็นผลให้กำเนิดดินแดนที่เรียกว่า "นอร์ม็องดี" รอลโลจึงกลายเป็นดยุคแห่งนอร์ม็องดี และเชื้อสายของรอลโลได้ทำการบุกอังกฤษในปีค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) โดยวิลเลียม ดยุคแห่งนอร์ม็องดีได้รับชัยชนะต่อกองทัพแองโกล-แซ็กซอนที่นำโดยพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน สงครามครั้งนี้รู้จักกันในนามว่า “ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ” (Norman Conquest) [10] และทรงเป็นเชื้อสายจากไวกิงและพระประมุขของอังกฤษปัจจุบันก็สืบเชื้อสายมาจากชาวไวกิงหรือนอร์มัน

นอกจากนี้ชาวเดนส์และนอร์วีเจียนได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปยังตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งถิ่นฐานบนไอซ์แลนด์, กรีนแลนด์และหมุ่เกาะเช็ทแลนด์ โดยรวมชาวไวกิงทำการสำรวจทวีปอเมริกาเหนือโดยรอบหนึ่งพันคนแต่ไม่ใช่ผลของการตั้งถิ่นฐานและพวกเขาได้ถูกขับไล่โดยชาวพื้นเมือง ไวกิงพวกอื่นโจมตีเยอรมนีและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ยึดเพียงช่วงสั้นๆ ไม่มีผลอะไรมากมายนัก

ส่วนเก่าแก่ของงานแนวป้องกันเดนเวอร์เกใกล้เฮเดบีอย่างน้อยตั้งแต่ฤดูร้อนค.ศ. 755 (พ.ศ. 1298) และได้รับการขยายด้วยกองกำลังที่ใหญ่กว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ขนาดและจำนวนทหารต้องการเกณฑ์บุรุษที่แข็งแกร่งในแต่ละท้องที่ ที่ซึ่งสามารถต้านทางอำนาจของกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ในค.ศ. 815 (พ.ศ. 1358) จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาทรงส่งกองทัพมาโจมตีคาบสมุทรจัตแลนด์อย่างชัดเจนหลังจากชาวไวกิงสนับสนุนศัตรูในราชบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งในบางครั้งคือพระเจ้าฮารัลด์ คล้ากแห่งเดนมาร์ก แต่ทรงถูกเรียกกลับโดยพระโอรสของพระเจ้ากุดเฟรด ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสที่ไม่มีการกล่าวชื่อของพระเจ้ากุดเฟรด ในเวลาเดียวกันนักบุญอันส์การ์ได้เดินทางสู่เฮเดบีและถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาคริสต์ในสแกนดิเนเวียนิกายโรมันคาทอลิก และยุคไวกิ้งได้สิ้นสุดในรัชสมัยของพระเจ้าคนุตที่ 4 แห่งเดนมาร์กดังจะกล่าวถัดไป

พระเจ้ากอร์มดิโอลด์ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 936 - ค.ศ. 958)

แก้
 
ภาพ พระเจ้ากอร์ม เดอะ โอลด์และพระราชินีไธราทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายคนุต พระโอรส วาดโดยออกุส คาร์ล วิลเฮล์ม ธอมเซน

พระเจ้ากอร์มดิโอลด์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฮาร์ทาคานูทแห่งเดนมาร์กซึ่งทรงเป็นกษัตริย์กึ่งตำนานพระองค์สุดท้าย และพระเจ้ากอร์มทรงได้รับการบันทึกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งเดนมาร์กอันเนื่องมาจากทรงรวมประเทศเป็นปึกแผ่น ตามตำนานโบราณเฮล์มสริงก์ลา (Heimskringla) ได้บันทึกว่า พระเจ้ากอร์มทรงยึดส่วนน้อยของราชอาณาจักรต่างๆและรวมเป็นหนึ่งเดียว พระองค์ทรงเป็นที่จดจำครั้งแรกโดยทรงเชิญบิชอปอุนนิแห่งฮัมบวร์คและเบรเมินเข้ามาในอาณาจักรในปีค.ศ. 936 (พ.ศ. 1479)[11] และเขาได้สานต่องานของนักบุญอันส์การ์ในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ตามที่กองหินเจลลิงในเจลลิงซึ่งเป็นหมู่บ้านในเดนมาร์กปัจจุบัน พระเจ้ากอร์มทรงประกาศ ณ ที่แห่งนั้นว่า "ชัยชนะต่อเดนมาร์กทั้งมวล" แต่ก็เป็นที่เลื่องลือว่าทรงปกครองคาบสมุทรจัตแลนด์ขณะทรงประทับที่เจลลิง[11]

พระเจ้ากอร์มทรงอภิเษกสมรสกับไธรา เดนเนบอด สตรีซึ่งเข้ามามีอิทธิพลมากในรัชสมัยนี้ด้วยความรอบคอบ และทรงอิทธิพลในราชสำนักเหนือพระสวามี ทั้งๆที่ภูมิหลังของพระนางยังไม่เป็นที่แน่ชัด พระนางอาจเป็นธิดาในหัวหน้าเผ่าแถบคาบสมุทรจัตแลนด์ทางใต้ บางข้อมูลกล่าวว่าทรงเป็นธิดาในพระเจ้าฮารัลด์ คลากหรือเป็นพระธิดาในพระเจ้าเอเธลเรดแห่งเวสเซ็กส์ ในตำนานกล่าวว่าทรงนำกองทัพเข้าโจมตีเยอรมนีด้วยตัวพระนางเอง พระนางทรงมีส่วนในการสร้างแนวป้องกันเดนเวอร์เกบริเวณชายแดนทางใต้ระหว่างเดนมาร์กกับศัตรูคือพวกแซ็กซอน ซึ่งปัจจุบันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่มาก

พระเจ้ากอร์มเสด็จสวรรคตในค.ศ. 958 (พ.ศ. 1501) สิริพระชนมายุราว 50 พรรษา พระโอรสได้ครองราชย์สืบต่อ

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธกับการเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ (ค.ศ. 958 - ค.ศ. 986)

แก้
 
ภาพนูน พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงเข้ารับพิธีบัพติศมาจากป็อปโป พระสมณะในราวปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของศานาคริสต์ในเดนมาร์ก

พระเจ้าฮารัลด์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก หรือ พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท กอร์มสัน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ากอร์มดิโอลด์กับพระนางไธรา เดนเนบอด ทรงครองราชย์สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในปีค.ศ. 958 (พ.ศ. 1501)

ชาวเดนส์ได้รวมชาติและนับถือศานาคริสต์อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 965 (พ.ศ. 1508) โดยพระบรมราชโองการของพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธ เรื่องราวได้ถูกบันทึกในกองหินเจลลิง[12] ขอบเขตของราชอาณาจักรของพระเจ้าฮารัลด์ในขณะนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้จะสมเหตุสมผลจากการยึดเอาแนวป้องกันเดนเวอร์เกที่สร้างในรัชกาลก่อนมาเป็นหลัก ซึ่งรวมทั้งเมืองไวกิงเฮเดบี, ตลอดคาบสมุทรจัตแลนด์, หมู่เกาะเดนมาร์กและทางภาคใต้ที่ปัจจุบันเป็นอาณาเขตของสวีเดนคือแคว้นสคาเนียและบางทีครอบครองส่วนของฮัลลันด์และเบรกิงก์ นอกจากนี้ กองหินเจลลิงยืนยันได้ว่า พระเจ้าฮารัลด์ทรงมี"ชัยชนะ"เหนือนอร์เวย์[13]

 
ก้อนหินเจลลิงขนาดใหญ่ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็น "ใบแจ้งเกิด"ของเดนมาร์ก บันทึกการประกาศรวมชาติเดนมาร์กและศานาคริสต์ในเดนมาร์กโดยพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธในปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503)

ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ในเดนมาร์กนั้นได้ทับซ้อนกับยุคสมัยของไวกิง และมีอาณาจักรน้อยใหญ่ในบริเวณเดนมาร์กมานานหลายปี พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงขยายอาณาเขตจากคาบสมุทรจัตแลนด์ไปยังสแคน ในรอบช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงรับมิชชันนารีชาวเยอรมันเข้ามา ผู้ซึ่งตามที่บันทึกในตำนาน[14] ได้รอดชีวิตจากการพิจารณาคดีโดยการทรมานที่ซึ่งทำให้สามารถโน้มน้าวพระทัยพระเจ้าฮารัลด์ให้เปลี่ยนมานับถือศานาคริสต์ ในความเป็นจริงแล้วพระองค์ทรงรบแพ้กองทัพของจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ทรงยอมเข้ารีตเป็นคริสเตียน

ศาสนาใหม่ที่ซึ่งได้เข้ามาแทนที่เทพปกรณัมนอร์สศาสนาในสมัยโบราณได้สร้างประโยชน์มากมายแก่กษัตริย์ การนับถือศานาคริสต์ได้นำมาซึ่งการสนับสนุนจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถทำให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการกำจัดศัตรูของพระองค์ผู้ซึ่งยังคงยึดมั่นในเทพปกรณัมนอร์สอยู่ ในช่วงต้นนั้นไม่มีหลักฐานว่าคริสตจักรเดนมาร์กได้จัดระเบียบการต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพที่ซึ่งพระเจ้าฮารัลด์สามารถใช้ศาสนจักรนี้เพื่อสร้างพระราชอำนาจควบคุมราชอาณาจักรของพระองค์แต่อาจมีส่วนพัฒนารากฐานการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองและคตินิยมทางศาสนาระหว่างอภิชนชั้นในสังคมที่ซึ่งทรงรักษาและยกระดับพระราชอำนาจของระบอบกษัตริย์ให้สูงยิ่งขึ้น

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์แห่งสวีเดน มีรัชทายาท 4 พระองค์ หลังจากพระนางกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 970 (พ.ศ. 1513) พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับเจ้าหญิงทอรา มิสทิวอจแห่งโอโบไทรต์ ไม่มีรัชทายาทด้วยกัน

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 986 (พ.ศ. 1529) สิริพระชนมายุราว 50 พรรษา พระโอรสได้ครองราชย์สืบต่อ

รัชสมัยพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด (ค.ศ. 986 - ค.ศ. 1014)

แก้
 
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดแห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าสเวนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก หรือ พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธกับเจ้าหญิงกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์แห่งสวีเดน พระมเหสีองค์แรก เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) ทรงอภิเษกเสกสมรสกับเจ้าหญิงกันฮิลด์แห่งเว็นเด็นและต่อมาอาจจะเป็นพระนางซิกริดผู้ทรนง (เรื่องของพระมเหสีของพระองค์ยังเป็นที่ถกเถียงจนทุกวันนี้) และทรงราชย์บัลลังก์เดนมาร์กระหว่างค.ศ. 986 (พ.ศ. 1529) ถึง 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 (พ.ศ. 1557) ในปี ค.ศ. 1000 (พ.ศ. 1543) พระองค์ทรงละทิ้งคริสต์ศาสนา โดยทรงกล่าวหาว่าการเข้ารีตเป็นคริสต์ของพระบิดาถือเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน

 
ภาพ ยุทธการสวอลเดอร์ ส่งผลให้เดนมาร์กได้ครองราชอาณาจักรนอร์เวย์เกือบทั้งหมด

พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดทรงเป็นพันธมิตรกับทรอนด์จาร์ล อีริคแห่งเลด ในการทำสงครามกับพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งนอร์เวย์ในยุทธการสวอลเดอร์ส่งผลให้พระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตในสนามรบ ซึ่งทำให้ได้ครองราชอาณาจักรนอร์เวย์เกือบทั้งหมดและทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ จากเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บริซ (St. Brice's Day massacre) ซึ่งเป็นการสังหารหมู่ชาวเดนส์ในราชอาณาจักรอังกฤษในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1002 (พ.ศ. 1545) โดยพระราชโองการของพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นการสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ของชาวเดนส์ ในจำนวนผู้ถูกสังหารเชื่อว่ารวมทั้ง เจ้าหญิงกุนฮิลด์แห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดกับพาลลิก โทเกเซน พระสวามีของเจ้าหญิงก็ถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย[15] เมื่อพระเจ้าสเวนทราบทรงพิโรธยิ่งที่พระขนิษฐาสิ้นพระชนม์[16]ทรงระดมทัพเพื่อพิชิตอังกฤษให้ได้

ตามบันทึกของไซมอน ไคนส์ พระองค์ทรงเข้ายึดครองเวสเซ็กส์และแองเกลียตะวันออกในปีค.ศ. 1003 (พ.ศ. 1546) - ค.ศ. 1004 (พ.ศ. 1547) และในปีค.ศ. 1004 (พ.ศ. 1547) อังกฤษได้ยอมจำนนต่อเดนมาร์กอย่างเด็ดขาด และพระเจ้าสเวนทรงเป็นปฐมกษัตริย์ชาวเดนส์พระองค์แรกของอังกฤษ แต่หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าสเวนและจากการขาดแคลนเสบียงทำให้กองทัพเดนมาร์กต้องยกทัพกลับในค.ศ. 1005 (พ.ศ. 1548)[17] ในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะเสด็จสวรรคตทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิทะเลเหนือ

พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1014 (พ.ศ. 1557) สิริพระชนมายุราว 54 พรรษา

รัชสมัยพระเจ้าคนุตมหาราช (ค.ศ. 1018 - ค.ศ. 1035)

แก้
 
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระเจ้าคนุตมหาราช วาดราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ภาพนี้ได้ปรากฏพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์คริสต์ศาสนิกชน

พระเจ้าคนุตมหาราช เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดกับพระนางซิกริดผู้ทรนง เสด็จพระราชสมภพราวค.ศ. 985 (พ.ศ. 1528) - ค.ศ. 995 (พ.ศ. 1538) ทรงเสกสมรสกับพระนางเอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน และต่อมา พระนางเอ็มมาแห่งอังกฤษ

ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก พระองค์ได้รับชัยชนะในอังกฤษจากยุทธการแอชชิงดัน ทรงชนะกองทัพของพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ พระเจ้าเอ็ดมันด์ ไอรอนไซด์ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์สองพระองค์ก็ทรงเจรจาต่อรองสงบศึกซึ่งระบุให้พระเจ้าเอ็ดมันด์ได้เอสเซ็กซ์ และพระเจ้าคานูทได้ดินแดนส่วนที่เหนือจากแม่น้ำเทมส์ นอกจากนั้นก็ยังทรงตกลงกันว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตดินแดนของผู้ที่เสียชีวิตก็จะตกไปเป็นของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) ที่อ็อกฟอร์ดหรือลอนดอน ดินแดนของพระองค์จึงตกไปเป็นของเจ้าชายคานูท และเจ้าชายคนุตทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษในปีค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) ถือเป็นการยึดครองอังกฤษอย่างสมบูรณ์ ในปีค.ศ. 1018 (พ.ศ. 1561) ทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาซึ่งเสด็จสวรรคต ทำให้ทรงราชบัลลังก์ทั้งเดนมาร์กและอังกฤษร่วมกัน พระเจ้าคนุตทรงใช้พระราชอำนาจร่วมโดยรวมชาวเดนส์และอังกฤษเข้าด้วยกันทั้งด้านเศรษฐกิจและขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าการปกครองอย่างกดขี่

 
จักรวรรดิทะเลเหนือภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าคนุตมหาราช

ในปีค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) พระเจ้าโอลาฟ ฮารัลด์สันแห่งนอร์เวย์ทรงได้รับชัยชนะจากกองทัพเดนส์ในนอร์เวย์ และต่อมาทรงร่วมมือกับพระเจ้าอนุนด์ จาค็อบแห่งสวีเดนโดยทรงอาศัยช่วงที่พระเจ้าคนุตมหาราชทรงจัดการความยุ่งยากในอังกฤษ ทั้งสองพระอค์ทรงวางแผนเริ่มโจมตีเดนมาร์กในปีค.ศ. 1026 (พ.ศ. 1569) ในยุทธการเฮลเกีย โดยกองทัพเรือสวีเดนและนอร์เวย์ได้รับกับดองทัพเรือของพระเจ้าคนุตซึ่งบัญชาการโดยอูล์ฟ จาร์ล[18] ขุนนางซึ่งเป็นพระสวามีในเจ้าหญิงแอสตริด สเวนสเด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าคนุต ในที่สุดสงครามจบลงโดยกองทัพเดนมาร์ก-อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้พระเจ้าคนุตมหาราชทรงมีอิทธิพลสูงสุดในสแกนดิเนเวียโดยในปีค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) พระเจ้าคนุตมหาราชทรงสถาปนาพระองค์เองเป็น พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและเดนมาร์กทั้งมวลและปวงชนชาวนอร์วีเจียนและบางส่วนของปวงชนชาวสวีดิช

หลังจากสิ้นสุดทศวรรษแห่งความขัดแย้งระหว่างศัตรูของพระองค์ในสแกนดิเนเวีย พระเจ้าคนุตทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์แห่งนอร์เวย์ที่ทรอนด์เฮมในปีค.ศ. 1028 (พ.ศ. 1571) เมืองซิกกูนาของสวีเดนได้ถูกยึดครองโดยพระเจ้าคนุต[19] พระองค์ทรงมีเหรียญตราที่มีการบันทึกถึงพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ในดินแดนนั้นแต่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับการเข้ายึดครองของพระองค์

ราชาธิปไตยแห่งอังกฤษมีการเชื่อมโยงทางทะเลโดยการกำหนดของชาวเดนส์ซึ่งเชื่อมระหว่างเกาะบริเตนใหญ่และเกาะไอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระเจ้าคนุตก็มีพระราชดำริเช่นเดียวกับพระราชบิดาในให้ความสนใจอย่างยิ่งและการขยายอิทธิพลเหนือบริเวณที่เรียกว่า แกล-กาเอดิล[20]

พระเจ้าคนุตทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, จักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าผู้ครองนครของชนเจอร์มานิค และทรงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระสันตะปาปา

พระเจ้าคนุตมหาราชเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) สิริพระชนมายุราว 40 พรรษา พระราชโอรสได้ครองราชย์ต่อ การเสด็จสวรรคตของพระองค์ทำให้ในรัชสมัยต่อมาสูญเสียราชอาณาจักรอังกฤษและการรุกรานของนอร์เวย์ทำให้ราชวงศ์กอร์มสิ้นสุดด้วย เป็นการแบ่งแยกอาณาจักรระหว่างเดนมาร์กกับอังกฤษอย่างชัดเจนและจะไม่มีวันรวมกันได้อีก

รัชสมัยพระเจ้าฮาร์ธาคนุต (ค.ศ. 1035 - ค.ศ. 1042)

แก้
 
เหรียญตราพระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฮาร์ธาคนุตแห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าฮาร์ธาคนุต หรือ สมเด็จพระเจ้าคานูทที่ 3 แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1018 (พ.ศ. 1561) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช และ เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) ถึงปี ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) และราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคต จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585)

 
ภาพ พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงพบพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ วาดโดยฮาล์ฟดาน อีเกดุส จิตรกรชาวนอร์เวย์

พระเจ้าฮาร์ธาคานูทได้รับราชบัลลังก์เดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคต แต่การรุกรานของพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ทำให้ไม่ทรงสามารถมารับราชบัลลังก์อังกฤษได้ ทางอังกฤษจึงตกลงยกพระราชบัลลังก์ให้ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเชษฐาต่างพระมารดาผู้เป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าคานูทมหาราชเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของพระองค์เองในปี ค.ศ. 1037 (พ.ศ. 1580) พระเจ้าฮาร์ธาคานูท “ถูกทิ้งเพราะไปอยู่เสียใกลในเดนมาร์ก”[21] — และเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีพระราชมารดาของพระเจ้าฮาร์ธาคานูทผู้ที่ประทับอยู่ที่วินเชสเตอร์กับกองทหารของฮาร์ธาคานูทก็ทรงถูกบังคับให้หนีไปบรูจส์ (Bruges) ในฟลานเดอร์ส พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงสงบศึกกับทางสแกนดิเนเวียด้วยสนธิสัญญาที่ทรงทำกับพระเจ้าแม็กนัสราวปี ค.ศ. 1038 (พ.ศ. 1581) หรือ ค.ศ. 1039 (พ.ศ. 1582) โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดสวรรคตดินแดนของผู้ที่สวรรคตก่อนไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นพระเจ้าฮาร์ธาคานูทก็เตรียมการรุกรานอังกฤษเพื่อที่จะไปปลดพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตจากราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) พระเจ้าฮาร์ธาคานูทจึงได้รับการอัญเชิญจากอังกฤษ ทรงขึ้นฝั่งอังกฤษที่แซนด์วิชในเค้นท์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) [21] พร้อมกับเรือรบ 62 ลำ เมื่อเสด็จมาถึงก็มีพระราชโองการให้ขุดร่างของพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นมาแล้วเอาไปโยนทิ้ง พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเป็นพระมหากษัตริย์ที่โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม ทรงเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อที่ทรงใช้ในการบำรุงกองทัพเรือของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1041 (พ.ศ. 1584) พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคานูทมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คานูท พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา สิ้นสุดราชวงศ์กอร์ม เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน ในการโจมตีอังกฤษครั้งสุดท้ายของชาวนอร์เวย์ล้มเหลว แต่เป็นการนำไปสู่การยึดครองอังกฤษของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิตในปีค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609)[13]

รัชสมัยพระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม (ค.ศ. 1042 - ค.ศ. 1047)

แก้
 
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรมแห่งนอร์เวย์

พระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม หรือ สมเด็จพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ เป็นพระโอรสนอกสมรสในพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งนอร์เวย์กับนางอัลวีฮิลด์ เสด็จพระราชสมภพราวค.ศ. 1024 (พ.ศ. 1567) ทรงราชบัลลังก์นอร์เวย์ระหว่างปีค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1587) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปีค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590)

เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์และพระมารดาต้องเสด็จลี้ภัยจากการที่พระบิดาถูกขับออกจากอำนาจในปีค.ศ. 1028 (พ.ศ. 1571) โดยพระราชโองการของพระเจ้าคนุตมหาราช พระองค์ได้เสด็จกลับนอร์เวย์ในปีค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1587) หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าคนุตมหาราช และทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ขณะมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษา พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะกำจัดศัตรูของพระราชบิดาทุกคน แต่ซืกวาร์ท ทอร์ดาร์สัน กวีในราชสำนักได้ห้ามปรามพระองค์ไว้ ที่ซึ่งทำให้พระองค์เป็นที่กล่าวขานในนาม "ผู้ทรงธรรม"[22]

พระองค์ได้ประกาศสงครามกับเดนมาร์กในรอบค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮาร์ธาคนุต ที่มีพระราชประสงค์ที่จะยึดครองนอร์เวย์มารวมกับเดนมาร์ก[23] แต่ทั้งสองพระองค์ก็ได้เจรจาสงบศึกกันโดยเสด็จมาพบปะกัน โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดสวรรคตดินแดนของผู้ที่สวรรคตก่อนไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่[22][24] พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ถือเป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์กอร์ม ทำให้พระเจ้าแม้กนัสได้เป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์และเดนมาร์ก สถาปนาราชวงศ์แฟร์แฮร์ในเดนมาร์ก พระองค์ต้องเผชิญกับการอ้างสิทธิของเจ้าชายสเวน แอสตริดเซนแห่งเดนมาร์ก พระนัดดาในพระเจ้าคนุตมหาราช ในขณะที่เจ้าชายฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์ พระปิตุลาในพระเจ้าแม็กนัสได้เสด็จกลับนอร์เวย์จากทางตะวันออกและทรงประกาศปกครองที่นั่น ในขณะที่เจ้าชายสเวนทรงคุกคามเดนมาร์ก เจ้าชายฮารัลด์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเจ้าชายสเวน[25][26] พระเจ้าแม็กนัสทรงจำใจทำให้พระปิตุลาพอพระทัย[25] โดยให้เจ้าชายฮารัลด์ครองราชบัลลังก์นอร์เวย์ร่วมกับพระองค์ในปีค.ศ. 1046 (พ.ศ. 1589)[27][28]

พระเจ้าแม็กนัสแห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุบนเรือพระที่นั่ง พระองค์ทรงหมดสติ ขณะกำลังยกกองทัพเพื่อไปพิชิตอังกฤษในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) สิริพระชนมายุราว 23 พรรษา พระองค์มิได้อภิเษกสมรสและไม่มีทายาท โดยมีการรายงานว่าพระองค์ทรงยินยอมให้เจ้าชายสเวนสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กต่อจากพระองค์ ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์แฟร์แฮร์สายนอร์เวย์ที่เข้ามาปกครองเดนมาร์ก ราชอาณาจักรนอร์เวย์-เดนมาร์กจึงแตกออกเป็นสองส่วน เจ้าชายฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์ทรงราชบัลลังก์นอร์เวย์และเจ้าชายสเวน แอสตริดเซนแห่งเดนมาร์กทรงราชบัลลังก์เดนมาร์ก

ศาสนาคริสต์ การขยายดินแดนและการสถาปนาราชอาณาจักรเดนมาร์ก

แก้
 
สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซน

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซน หรือ สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เป็นพระราชโอรสในอูล์ฟ จาร์ลกับเจ้าหญิงแอสตริด สเวนสเด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก พระองค์ทรงครองราชสมบัติเดนมาร์กในปีค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม และทรงสถาปนาราชวงศ์แอสตริดเซนขึ้นแทนที่ราชวงศ์แฟร์แฮร์แห่งนอร์เวย์

พระองค์ได้สถาปนาราชอาณาจักรเดนมาร์กที่เข้มแข็งขึ้นอีกครั้ง และทรงดำเนินการสานสัมพันธไมตรีที่ดีกับอาร์คบิชอปอดาลเบิร์ตแห่งฮัมบวร์ค ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาร์คบิชอปแห่งสแกนดิเนเวียทั้งมวลและมีอิทธิพลสูงสุด,[11] ภายใต้อิทธิพลของพระเจ้าสเวน ทำให้ขณะนั้นเดนมาร์กได้ถูกแบ่งเป็นแปดเขตปกครองโดยบิชอปในรอบปีค.ศ. 1060 (พ.ศ. 1603)[29]

การครองราชย์ของพระเจ้าสเวนและการประดิษฐานราชวงศ์แอสตริดเซนในเดนมาร์กนั้น พระองค์ทรงมีความเชื่อมโยงกับสายสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กผ่านทางพระมารดาของพระองค์คือ เจ้าหญิงแอสตริด และทรงได้รับชื่อตระกูลผ่านทางพระมารดาว่า "แอสตริดเซน" โดยมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของสายสันตติวงศ์ทางพระองค์ให้เชื่อมโยงกับพระราชวงศ์เดนมาร์ก[30] พระองค์ยังทรงผลิตเหรียญกษาปณ์เอง

พระเจ้าสเวนทรงสถาปนาและรวมพระราชอำนาจทั้งหมดมาไว้ที่ส่วนกลางโดยทรงสานสัมพันธ์กับคริสตจักรและมหาอำนาจต่างชาติ และทรงดำเนินการเป็นพันธมิตรกับพระสันตปาปา[25] พระองค์ทรงมีความทะเยอทะยานโดยมีพระราชประสงค์ให้พระราชโอรสองค์หนึ่งคือ เจ้าชายคนุต แม็กนัสแห่งเดนมาร์กสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระสันตปาปา แต่เจ้าชายทรงสิ้นพระชนม์ในระหว่างการเดินทางไปยังกรุงโรม พระองค์ทรงล้มเหลวในการพยายามผลักดันให้มีการล้างบาปของพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธ กษัตริย์ชาวคริสต์พระองค์แรก พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการต่อต้านจักรพรรดิบอลด์วินที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 1049 (พ.ศ. 1592) และพระเจ้าสเวนยังทรงสนับสนุนเจ้าชายก็อตต์ชอล์กแห่งโอโบไทรต์ พระชามาดา (ลูกเขย) ในการทำสงครามกับพวกสงครามกลางเมือลูติชิ ในปีค.ศ. 1057 (พ.ศ. 1600)[30]

หลังจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์พ่ายแพ้และเสด็จสวรรคตกลางสมรภูมิในการต่อสู้ที่สะพานสแตมฟอร์ดในอังกฤษและพระเจ้าวิลเลียม ผู้พิชิตสามารถพิชิตอังกฤษได้ พระเจ้าสเวนกลับมาให้ความสนพระทัยในอังกฤษที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยพระเจ้าคนุตมหาราช พระปิตุลาของพระองค์ พระองค์ทรงเข้าร่วมฝ่ายเดียวกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง ซึ่งเป็นเชื้อสายสุดท้ายแห่งราชวงศ์ชาวแองโกล-แซกซันและได้รวมกองทัพโจมตีพระเจ้าวิลเลียมในปีค.ศ. 1069 (พ.ศ. 1612) อย่างไรก็ตามหลังจากเข้ายึดเมืองยอร์ก พระเจ้าสเวนได้ยอมรับการจ่ายของพระเจ้าวิลเลียมที่ให้ละทิ้งพระเจ้าเอ็ดการ์ ผู้ซึ่งได้ลี้ภัยในสก็อตแลนด์ ที่ซึ่งพระเจ้าสเวนได้ล้มเหลวในการพิชิตในปีค.ศ. 1074/1075 (พ.ศ. 1617/1618)[30]

สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซนเสด็จสวรรคตวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1074/76 (พ.ศ. 1617/19) พระชนมายุราว 55 พรรษา หลังจากสวรรคต พระองค์ทรงถูกขนานนามว่า "พระบิดาแห่งเหล่ากษัตริย์" เนื่องจากพระโอรส 5 พระองค์จาก 15 พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์เดนมาร์กต่อมา[31]

 
ภาพ มรณสักขีแห่งพระเจ้าคานูทที่ 4 นักบุญ วาดโดย คริสเตียน อัลแบรชท์ ฟาน เบนซอน

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทที่ 4 นักบุญ เป็นพระราชโอรสนอกกฎหมายในสมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาซึ่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1080 (พ.ศ. 1623) พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเดลาแห่งฟลานเดอร์ มีพระราชโอรส 1 พระองค์และพระราชธิดา 2 พระองค์

พระเจ้าคานูทเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทะเยอทะยาน ทรงเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชาธิปไตยแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นผู้ศรัทธาในคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างยิ่ง และทรงมีแผนการที่จะครองราชบัลลังก์อังกฤษ

พระองค์ทรงศรัทธาในพระศาสนาอย่างยิ่ง ทรงทำการให้อำนาจแก่ฝ่ายศาสนาและทรงเฝ้าสังเกตพิธีกรรมในวันหยุดทางศาสนาอย่างเข้มงวด[25] พระองค์ทรงถวายธรรมทานอันมหาศาลแก่โบสถ์ในดาลบี, ออเดนส์, รอสกิลด์และวีบอร์ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลุนด์[25] การเพิ่มพระราชอำนาจให้แก่ศาสนจักรของพระองค์เป็นการสร้างพันธไมตรีที่แข็งแกร่ง ซึ่งเปลี่ยนมาสนับสนุนสถานะอำนาจของพระเจ้าคานูท[25]

ในรัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำในการสถาปนาพระราชอำนาจเพื่อเพิ่มอำนาจของราชสำนักเดนมาร์กด้วยการระงับอำนาจของขุนนางและบังคับให้ฝ่ายศักดินาอยู่ภายใต้กฎหมาย[25] ผลจากกฎหมายของพระเจ้าคานูทได้ทำให้การถือสิทธิ์ของพระองค์ในการที่ทรงเป็นเจ้าของที่ดินโดยรวม สิทธิ์ในสินค้าจากเรืออัปปาง และสิทธิสืบต่อการครอบครองทรัพย์สมบัติของชาวต่างชาติและประชาชนซึ่งไร้ญาติ ผลของกฎหมายยังทำการคุ้มครองอิสรภาพของทาส บุคคลในวงการศาสนาและพ่อค้าชาวต่างชาติ[30] พระกุศโลบายเหล่านี้ได้นำไปสู่ความไม่พอใจแก่บริวารของพระองค์ ซึ่งไม่คุ้นเคยกับการรวมพระราชอำนาจของกษัตริย์และทรงเข้าไปก้าวก่ายชีวิตประจำวันของพวกเขา[25]

แต่ความทะเยอทะยานของพระเจ้าคานูทยังคงไม่สิ้นสุดแต่เพียงภายในราชอาณาจักร ในฐานะเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าคนุตมหาราช ซึ่งทรงเคยปกครองอังกฤษ,เดนมาร์กและนอร์เวย์จนกระทั่งค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) พระเจ้าคานูททรงพิจารณาว่าราชบัลลังก์อังกฤษนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพระองค์ ในขณะนั้นพระองค์ทรงมองพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในฐานะผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ ในปีค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) ด้วยการสนับสนุนจากพระสัสสุระ โรเบิร์ตที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอส์และพระเจ้าโอลาฟที่ 3 แห่งนอร์เวย์ พระเจ้าคานูททรงวางแผนที่จะรุกรานอังกฤษและทรงรวมกำลังพลเรือที่ลิมฟยอร์ด เรียกว่า "เลดิง" (leding)[25] กองทัพเรือมิได้เคลื่อนออก โดยพระองค์ทรงเตรัยมการที่จะยึดครองดัชชีชเลสวิช เนื่องจากภัยคุกคามศัตรูที่สำคัญอย่างจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งไม่ทรงเป็นมิตรกับทั้งเดนมาร์กและฟลานเดอส์ พระเจ้าคานูททรงเกรงราชภัยจากการรุกรานของจักรพรรดิไฮน์ริช ที่ซึ่งศัตรูของพระจักรพรรดิอย่าง รูดอล์ฟแห่งไรน์เฟลเดนได้ลี้ภัยอยู่ในเดนมาร์ก[25]

เหล่านักรบในกองทัพเรือซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชน ต้องการที่จะกลับบ้านเดิมของตนในฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งเหนื่อยล้าจากการรอคำสั่ง ที่ซึ่งได้เลือกให้พระอนุชาของพระเจ้าคานูทคือ เจ้าชายโอลาฟ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งเดนมาร์ก) ให้ทรงแก้ไขปัญหา สิ่งนี้ได้นำมาซึ่งความระแวงในตัวเจ้าชายโอลาฟของพระเจ้าคานูท พระองค์จึงมีพระบัญชาให้จับกุมเจ้าชายโอลาฟและส่งไปยังฟลานเดอส์ ในที่สุดกลุ่มเลดิงก็กระจายตัวและประชาชนต่างกลับไปทำการเกษตรในภูมิลำเนาของตน[25] แต่พระเจ้าคานูทก็ทรงวางแผนที่จะระดมพลภายในปีนั้น

 
สมเด็จพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์ก

ก่อนที่จะมีการระดมพล ประชาชนได้ก่อจลาจลที่เวนด์ซิสเซล[30] ที่ซึ่งพระเจ้าคานูททรงประทับอยู่ ในต้นปีค.ศ. 1086 (พ.ศ. 1629) ในช่วงแรกพระเจ้าคานูททรงลี้ภัยไปยังชเลสวิชและในที่สุดเสด็จมาที่ออเดนส์ ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1086 (พ.ศ. 1629) พระเจ้าคานูทและข้าราชบริพารของพระองค์กำลังพาผู้ลี้ภัยเข้ามายังสำนักสงฆ์เซนต์อัลบานในออเดนส์ กลุ่มกบฏได้บุกเข้ามาในสำนักสงฆ์และปลงพระชนม์พระเจ้าคานูท รวมทั้งพระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายเบเนดิกต์และข้าราชบริพาร 17 คนก่อนที่จะถึงแท่นบูชา[30] สิริพระชนมายุราว 43 - 44 พรรษา จากการที่ทรงเป็นมรณสักขี ทำให้ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญในรัชสมัยต่อมาของสมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 พระอนุชาซึ่งเคยถูกพระองค์เนรเทศ การเสด็จสวรรคตของพระเจ้าคานูท นักบุญถือเป็นจุดสิ้นสุดยุคสมัยแห่งไวกิงของเดนมาร์ก

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 12 เดนมาร์กได้มีที่นั่งในภาคคริสตจักรอย่างเป็นอิสระในสแกนดิเนเวีย ไม่นานหลังจากนั้นสวีเดนและนอร์เวย์ได้สถาปนาตำแหน่งหัวหน้าบิชอปเองโดยเป็นอิสระจากเดนมาร์ก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นช่วงเวลาที่ยุ่งยากของเดนมาร์ก สงครามกลางเมืองที่รุนแรงได้ทำให้แผ่นดินสะเทือน ในที่สุดพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์ก ทรงควบคุมอาณาจักร ทรงทำให้มั่นคงและปรับโครงสร้างการจัดการ พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 และแอบซาลอน ผู้ดำรงเป็นบิชอปแห่งรอสคิลด์ได้สร้างประเทศขึ้นใหม่

ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 ได้มีการเริ่มต้นก่อสร้างปราสาทในหมู่บ้านฮาฟน์ ในที่สุดนำไปสู่การสถาปนาโคเปนเฮเกน เมืองหลวงสมัยใหม่ของเดนมาร์ก พระเจ้าวาลเดมาร์และแอบซาลอนได้สร้างเดนมาร์กให้เป็นมหาอำนาจหลักในทะเลบอลติก เป็นอำนาจที่ภายหลังได้แข่งขันกับสันนิบาตฮันเซียติก, บรรดาเคานท์แห่งฮ็อลชไตน์และอัศวินทิวทอนิกในการค้า ดินแดน และอิทธิพลต่อบอลติกทั้งหมด ในปีค.ศ. 1168 (พ.ศ. 1711) พระเจ้าวาลเดมาร์และแอบซาลอนได้รับฐานที่มั่นคงในชายหาดทางใต้ของทะเลบอลติก เมื่อทรงปราบปรามราชรัฐรือเกินได้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1180 เมคเลินบวร์คและดัชชีพอเมอเรเนียได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กเช่นกัน ในแคว้นใหม่ทางใต้ ชาวเดนส์ได้ส่งเสริมศาสนาคริสต์ (ภารกิจของชาวรานี พระอารามเหมือนอัลเดนาแอบบี) และการตั้งถิ่นฐาน (การร่วมของเดนมาร์กในออสเซียดลุงก์) ชาวเดนส์สูญเสียดินแดนทางใต้หลังจากสมรภูมิบอร์นโฮวีด แต่ราชรัฐรือเกินยังคงอยู่กับเดนมาร์กจนกระทั่งค.ศ. 1325 (พ.ศ. 1868)

 
ธงเดนเนบอร์กปลิวลงมาจากท้องฟ้า ในการรบที่ลินดันนิสเซ วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219 วาดโดยคริสเตียน ออกุสต์ โลเรนต์เซน เมื่อ ค.ศ. 1809

ในปีค.ศ. 1202 (พ.ศ. 1745) พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงขึ้นครองราชย์และทรงก่อ "สงครามครูเสด" หลายครั้งเพื่ออ้างสิทธิในดินแดนซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเอสโตเนีย มีตำนานว่าธงชาติเดนมาร์กคือ ธงแดนเนอบรอกได้ปลิวมาจากท้องฟ้าในสมรภูมิลินดันนิสเซในเอสโตเนียปีค.ศ. 1219 (พ.ศ. 1762) เดนมาร์กได้ชัยชนะสูงสุดในสมรภูมิบอร์นโฮวีดในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1227 (พ.ศ. 1770) ต่อมาด้วยการเสียดินแดนเยอรมันตอนเหนือของเดนมาร์ก พระเจ้าวาลเดมาร์เองก็ทรงได้รับการบันทึกในวีรกรรมที่กล้าหาญของอัศวินชาวเยอรมันผู้ซึ่งคุ้มครองพระองค์อย่างปลอดภัยบนม้าของเขา

 
สมเด็จพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

ในช่วงเวาลาที่พระเจ้าวาลเดมาร์ทรงพยายามจัดการกิจการภายใน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือพระองค์ทรงก่อตั้งระบอบศักดินาที่ซึ่งพระองค์ได้มอบที่ดินแก่บุรุษด้วยความเข้าพระทัยว่าพวกเขาจะเป็นหนี้บุญคุณพระองค์ การทำเช่นนี้ช่วยเพิ่มอำนาจของตระกูลขุนนาง (เดนมาร์ก: højadelen) และก่อให้เกิดขุนนางขนาดเล็ก (เดนมาร์ก: lavadelen) ผู้ซึ่งควบคุมเดนมาร์กส่วนใหญ่ ชาวนาสูญเสียสิทธิในแบบดั้งเดิมและสิทธิพิเศษที่พวกเขาเคยมีความสุขตั้งแต่สมัยไวกิง

พระมหากษัตริย์เดนมาร์กทรงมีความยากลำบากในการควบคุมรักษาสถานะของราชอาณาจักรในการเผชิญหน้ากับฝ่ายต่อต้านทั้งจากชนชั้นขุนนางและศาสนจักร เป็นการขยายระยะเวลาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสันตะปาปาแห่งโรม ที่เรียกว่า "ข้อพิพาทรองบาทหลวง" (archiepiscopal conflicts)

โดยในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 พระราชอำนาจได้ลดลงเรื่อยๆและขุนนางได้บีบบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงยอมรับกฎบัตรซึ่งได้มีการพิจารณาให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเดนมาร์ก ที่ตามมาคือสมรภูมิบอร์นโฮวีดในปีค.ศ. 1227 เดนมาร์กที่อ่อนแอได้ให้หน้าต่างแห่งโอกาสแก่ทั้งสันนิบาตฮันเซียติกและเคานท์แห่งชอนบวร์กและฮ็อลชไตน์ เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์ได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเดนมาร์กเพราะพระมหากษัตริย์จะพระราชทานที่ดินแก่พวกเขาเป็นการแลกเปลี่ยนสำหรับเงินเพื่อการดำเนินการในกิจการของพระราชวงศ์

พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 ทรงใช้พระชนม์ชีพที่เหลือของพระองค์ในการวางรากฐานประมวลกฎหมายแก่คาบสมุทรจัตแลนด์, เกาะเชลลันด์และสคาเนีย ประมวลกฎหมายเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นประมวลกฎหมายของเดนมาร์กจนกระทั่งค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่สำคัญจากกฎหมายท้องถิ่นที่รวมตัวกันทางภูมิภาค (เดนมาร์ก: landting) ที่เคยเป็นธรรมเนียมมาอย่างยาวนาน มีวิธีการหลายวิธีในการกำหนดความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ทำผิดกฎหมายรวทั้งการพิจารณาโดยการทดสอบและการพิจารณาโดยการต่อสู้ ประมวลกฎหมายจัตแลนด์ (เดนมาร์ก: Jyske Lov) ได้รับการอนุมัติโดยการประชุมของสภาขุนนางที่วอร์ดิงบอร์กในปีค.ศ. 1241 (พ.ศ. 1784) เพียงก่อนการสวรรคตของพระเจ้าวาลเดมาร์ เนื่อมาจากสถานะของพระองค์คือ "พระมหากษัตริย์แห่งเดนเนบอร์ก" (the king of Dannebrog) และทรงเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย พระเจ้าวาลเดมาร์ทรงเป็นศูนย์กลางในประวัติศาสตร์เดนมาร์ก ถึงสงครามกลางเมืองของชนรุ่นหลังและการสลายตัวที่เกอดขึ้นหลังจากการสวรรคตของพระองค์ได้ทำให้พระองค์กลายเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งยุคทอง

สมัยกลางเป็นช่วงเวลาที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์และโรมันคาทอลิก อาคารโบสถ์จำนวนหลายพันถูกสร้างขึ้นทั่วประเทศในช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ฐานส่วนใหญ่มาจากความร่ำรวยในการค้าปลาเฮร์ริง แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 กลายเป็นช่วงเวลาของความยุ่งยากและการล่มสลายชั่วคราวของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

สมัยยุ่งยากสำหรับพระมหากษัตริย์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Jensen 2003:12-18
  2. Jensen 2003:24
  3. Jensen 2003:32
  4. Jensen 2003:34
  5. Birger Storgaard, Cosmopolitan aristocrats, pp. 106-125 in: The Spoils of Victory - The North in the shadow of the Roman Empire, Nationalmuseet, 2003. ISBN 87-7602-006-1.
  6. Jordanes. Mierow (1908) (บ.ก.). Getica III (23).
  7. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958). เบวูล์ฟ : บทวิจารณ์แง่มุมของปีศาจ (Beowulf: the Monsters and the Critics) . ลอนดอน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
  8. เควิน เอส. เคียร์แนน (1997). Beowulf and the Beowulf Manuscript เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ann Arbor, MI: University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-08412-8.
  9. The Question of genre in byliny and Beowulf by Shannon Meyerhoff, 2006.
  10. Dr. Mike Ibeji (2001-05-01). "1066" (HTML). BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 Gorm den Gamle at Gyldendals Åbne Encyklopædi
  12. [1] C. Michael Hogan, "Jelling Stones", Megalithic Portal, editor Andy Burnham
  13. 13.0 13.1 Staff. Saint Brices Day massacre, Encyclopædia Britannica. Retrieved 26 December 2007.
  14. Adam of Bremen, History of the Archbishops of Hamburg-Bremen, trans. Francis J. Tschan (New York, 2002), pp. 77–78.
  15. แม่แบบ:MLCC
  16. Mike Ashley, British Monarchs; A complete genealogy, gazetteer and biographical Encyclopaedia of the Kings and Queens of Britain, Robinson Publishing (1998) p.483: "Probably his [Æthelred's] worst decision was the St. Brice's day massacre on 13 November 1002...he ordered the killing of every Dane who lived in England, except the Anglo-Danes in the Danelaw. The massacre brought back to English shores the Danish commander Swein, whose sister and brother-in-law had been killed in the massacre".
  17. Lapidge considers it uncertain whether Sweyn actually supported the raid of 1006–1007 and the raid led by Thorkell the Tall in 1009–1012, commenting that "whatever the case, he was quick to exploit the disruption caused by Thorkell's army." (p.467).
  18. Ulf Jarl (Nordisk familjebok)
  19. Graslund, B.,'Knut den store och sveariket: Slaget vid Helgea i ny belysning', Scandia, vol. 52 (1986), pp. 211–238.
  20. Forte, et al., Viking Empires, p. 196.
  21. 21.0 21.1 The Anglo-Saxon Chronicle
  22. 22.0 22.1 Larsen, p. 114 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "larsen113" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  23. Monarkiet i Danmark - Kongerækken เก็บถาวร 2009-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at The Danish Monarchy
  24. Palle Lauring, A History of the Kingdom of Denmark, tr. David Hohnen, Copenhagen: Høst, 1960, OCLC 5954675, pp. 57-59.
  25. 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 25.10 Carl Frederik Bricka, Dansk Biografisk Lexikon, vol. XI [Maar - Müllner], 1897, p.44.
  26. Johannes C. H. L. Steenstrup, "Magnus den Gode", Dansk biografisk lexikon, online at Project Runeberg แม่แบบ:Dk icon
  27. Hollander (Trans.), Heimskringla, pp. 593-96.
  28. Larsen, p. 111.
  29. Diocese of Lund, Diocese of Odense, Diocese of Ribe, Diocese of Roskilde, Diocese of Schleswig, Diocese of Viborg, Diocese of Vestervig, and Diocese of Aarhus.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 Stefan Pajung, Artikel: Svend Estridsen ca. 1019-1074/76 เก็บถาวร 2012-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, danmarkshistorien.dk, Aarhus University, January 19, 2010
  31. Huitfeldt, Arild. Danmarks Riges Krønike
  • Derry, T. K. A History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland and Iceland. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1979. ISBN 0-8166-3799-7.
  • Lauring, Palle. A History of Denmark. 3rd ed. Copenhagen: Høst, 1995. ISBN 87-14-29306-4.
  • Jespersen, Knud J. V. A History of Denmark (Palgrave Essential Histories) (2004) excerpt and text search
  • Barton, H. A. Scandinavia in the Revolutionary Era, 1760-1815 (Minneapolis, 1986)
  • Brincker, Benedikte. "When did the Danish nation emerge? A review of Danish historians' attempts to date the Danish nation," National Identities, December 2009, Vol. 11 Issue 4, pp 353–365
  • Campbell, John L., John A. Hall, and Ove Kaj Pedersen, eds. National Identity and the Varieties of Capitalism: The Danish Experience (Studies in Nationalism and Ethnic Conflict) (2006)
  • Etting, Vivian. Queen Margrete I, 1353-1412, and the Founding of the Nordic Union (Brill, 2004) online edition
  • Jespersen, Leon. "Court and Nobility in Early Modern Denmark," Scandinavian Journal of History, September 2002, Vol. 27 Issue 3, pp 129–142, covers 1588 to 1650
  • Munck, Thomas. "Absolute Monarchy in Later 18th-century Denmark: Centralized Reform, Public Expectations, and the Copenhagen Press" Historical Journal, March 1998, Vol. 41 Issue 1, pp 201–24 in JSTOR
  • Munck, Thomas. The peasantry and the early absolute monarchy in Denmark, 1660-1708 (Copenhagen, 1979)
  • Kirmmse, Bruce. Kierkegaard in Golden Age Denmark (Indiana University Press, 1990)
  • Michelson, William. "From Religious Movement to Economic Change: The Grundtvigian Case in Denmark," Journal of Social History, Summer 1969, Vol. 2 Issue 4, pp 283–301
  • Rossel, Sven H. A History of Danish Literature (University of Nebraska Press, 1992) 714pp online edition
  • Schwarz, Martin. Church History of Denmark (Ashgate, 2002). 333 pp. ISBN 0-7546-0307-5
  • Abildgren, Kim. "Consumer prices in Denmark 1502-2007," Scandinavian Economic History Review, 2010, Vol. 58 Issue 1, pp 2–24
  • Hornby, Ove. "Proto-Industrialisation Before Industrialisation? The Danish Case," Scandinavian Economic History Review, April 1982, Vol. 30 Issue 1, pp 3–33, covers 1750 to 1850
  • Johansen, Hans Chr. Danish Population History, 1600-1939 (Odense: University Press of Southern Denmark, 2002) 246 pp. ISBN 978-87-7838-725-7 online review
  • Johansen, Hans Chr. "Trends in Modern and Early Modern Social History Writing in Denmark after 1970," Social History, Vol. 8, No. 3 (Oct., 1983), pp. 375–381
  • Christiansen, Palle Ove. "Culture and Contrasts in a Northern European Village: Lifestyles among Manorial Peasants in 18th-Century Denmark, Journal of Social History Volume: 29#2 (1995) pp 275+.
  • Kjzergaard, T. The Danish Revolution: an ecohistorical interpretation (Cambridge, 1995), on farming
  • Topp, Niels-Henrik. "Unemployment and Economic Policy in Denmark in the 1930s," Scandinavian Economic History Review, April 2008, Vol. 56 Issue 1, pp 71–90
  • Barfod, Jörgen H.: The Holocaust Failed in Denmark. Kopenhagen 1985.
  • Berdichevsky, Norman. The Danish-German Border Dispute, 1815–2001: aspects of cultural and demographic politics. (2002) ISBN 1-930901-34-8
  • Buckser, Andrew: After the Rescue: Jewish identity and community in contemporary Denmark. ORT 2003.
  • Lund, Joachim. "Denmark and the ‘European New Order’, 1940–-1942," Contemporary European History, August 2004, Vol. 13 Issue 3, pp 305–321
  • Robert Bohn: Dänische Geschichte. München: Beck, 2001. – (Beck'sche Reihe; 2162). – ISBN 3-406-44762-7
  • Steen Bo Frandsen: Dänemark – der kleine Nachbar im Norden. Aspekte der deutsch-dänischen Beziehungen im 19. und 20. Jahrhundert. Darmstadt 1994. – ISBN 3-534-11712-3
  • Eva Heinzelmann / Stefanie Robl / Thomas Riis (Hrsg.) : Der dänische Gesamtstaat, Verlag Ludwig, Kiel 2006, ISBN 978-3-937719-01-6.
  • Lars Hermanson: Släkt, vänner och makt: en studie av elitens politiska kultur i 1100-talets Danmark, Göteborg 2000. (= Avhandlingar från Historiska institutionen i Göteborg; 24), Zusammenfassung in englischer Sprache (Zugl.: Göteborg, Univ., Diss., 2000), ISBN 91-88614-30-1
  • Erich Hoffmann: „Der heutige Stand der Erforschung der Geschichte Skandinaviens in der Völkerwanderungszeit im Rahmen der mittelalterlichen Geschichtsforschung.“ In: Der historische Horizont der Götterbild–Amulette aus der Übergangsepoche von der Spätantike zum Frühmittelalter. Göttingen 1992. S. 143–182.
  • Jørgen Kühl / Robert Bohn: Ein europäisches Modell? Nationale Minderheiten im deutsch-dänischen Grenzland 1945–2005. Bielefeld 2005. – ISBN 3-89534-541-5
  • Arndt Ruprecht: Die ausgehende Wikingerzeit im Lichte der Runeninschriften. Göttingen 1958.
  • Therkel Stræde: "Dänemark: Die schwierige Erinnerung an Kollaboration und Widerstand." – In: Mythen der Nationen: 1945 – Arena der Erinnerungen. / hrsg. von Monika Flacke. – Mainz 2004. – ISBN 3-8053-3298-X – S. 123–144
  • Hans-Martin Ottmer: “Weserübung”. Der deutsche Angriff auf Dänemark und Norwegen im April 1940. München 1994. ISBN 3-486-56092-1
  • Jörg-Peter Findeisen: Dänemark. Von den Anfängen bis zur Gegenwart. Regensburg 1999.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้