ยอร์ก
ยอร์ก (อังกฤษ: York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์
ยอร์ก | |
---|---|
นครยอร์ก | |
สมญา: "นครช็อกโกแลต"[1] | |
คำขวัญ: "Let the Banner of York Fly High"[2] | |
ที่ตั้งภายในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์ | |
พิกัด: 53°57′30″N 1°4′49″W / 53.95833°N 1.08028°W | |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
ประเทศ | อังกฤษ |
ภูมิภาค | ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ |
เทศมณฑลพิธีการ | นอร์ทยอร์กเชอร์ |
เทศมณฑลประวัติศาสตร์ | ยอร์กเชอร์ |
การปกครอง | |
• ประเภท | องค์กรปกครองระดับเดียว |
• องค์กร | สภานครยอร์ก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 271.94 ตร.กม. (105.00 ตร.ไมล์) |
ประชากร (กลางปี 2019) | |
• ทั้งหมด | 210,618 คน |
• อันดับ | (อันดับ87) |
• ความหนาแน่น | 687 คน/ตร.กม. (1,780 คน/ตร.ไมล์) |
• ชาติพันธุ์ (สำรวจปี ค.ศ. 2011) | คนผิวขาว 94.3% |
เดมะนิม | Yorker • Yorkie[3] |
เขตเวลา | UTC+0 (เวลามาตรฐานกรีนิช) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 (เวลาฤดูร้อนบริติช) |
พื้นที่รหัสไปรษณีย์ | YO |
รหัสโทรศัพท์ | 01904 |
เว็บไซต์ | york.gov.uk |
ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี ค.ศ. 71 โดยโรมัน และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของบริทาเนียน้อย (Britannia Inferior)[4] ระหว่างสมัยโรมันบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เช่นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมือง จักรวรรดิโรมันทั้งหมดปกครองจากยอร์กเป็นเวลาสองปีโดยจักรพรรดิเซปตีมิอุส เซเวรุส (Septimius Severus)[5]
หลังจากชาวแองเกิลส์เข้ามาตั้งถิ่นฐานยอร์กก็ได้รับชื่อใหม่เป็น “Eoferwic” ของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย[6] เมื่อชนไวกิงเข้ายึดเมืองในปี ค.ศ. 866 ก็เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจอร์วิกของราชอาณาจักรจอร์วิก (Jórvík) ที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมทางบริเวณตอนเหนือของอังกฤษเกือบทั้งหมด จนกระทั่งราว ค.ศ. 1000 เมืองจึงมารู้จักกันในชื่อ “ยอร์ก”[6]
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งยอร์คเป็นเมืองหลวงของอังกฤษแต่ก่อนที่จะสำเร็จพระองค์ก็ทรงถูกถอดจากการเป็นพระมหากษัตริย์เสียก่อน[6] หลังจากสงครามดอกกุหลาบ ยอร์คก็กลายเป็นที่ตั้งของสภาแห่งภาคเหนือ (Council of the North) และมีฐานะที่ยอมรับกันว่าเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ จนกระทั่งหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์เท่านั้นที่ความสำคัญทางการเมืองของยอร์คเริ่มลดถอยลง[6] ภาคยอร์กเป็นหนึ่งในภาคคริสตจักรในคริสตจักรแห่งอังกฤษเช่นเดียวกับภาคแคนเทอร์เบอรี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 คำว่า “นครยอร์ก” หมายถึงบริเวณที่รวมทั้งบริเวณรอบนอกออกไปจากเขตตัวเมืองเก่า บริเวณปริมณฑลยอร์กมีประชากรด้วยกันราว 137,505 คน แต่เมื่อรวมทั้งรอบนอกแล้วก็มีด้วยกัน 193,300 คน
ระเบียงภาพ
แก้-
ทิวทัศน์เมืองยอร์กที่มีอาสนวิหารยอร์กอยู่ตรงกลาง
-
ตึกกิลด์ฮอลล์ที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15
-
สิ่งก่อสร้างที่เดิมเป็นวิทยาลัยสำหรับนักบวช
-
เทศบาลเมือง
-
โบสถ์เซนต์เด็นนิส
-
กำแพงรอบเมืองยอร์ค
-
หอคลิฟฟอร์ด
-
ประตูเมืองบูทแธม
-
แม่น้ำอูส
อ้างอิง
แก้- ↑ "York - The Chocolate City". York's Chocolate Story. York's Chocolate Story. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
- ↑ "Yorkshire City Facts". The Press. WordPress. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
- ↑ "Demonyms of the United Kingdom". Peoplefrom.co.uk. Peoplefrom.co.uk. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
- ↑ "Lower (Britannia Inferior) and Upper Britain (Britannia Superior)". Vanderbilt University. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
- ↑ "Roman York - a brief introduction to York's Roman History". YorkRomanFestival.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-25.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Timeline". VisitYork.org. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยอร์ก
- (อังกฤษ) เยี่ยมเมืองยอร์ก