พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Monarchy of the United Kingdom) บ้างเรียกว่า พระมหากษัตริย์บริติช (British Monarchy) เป็นระบบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ ซึ่งทรงปกครองสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลในฐานะประมุขแห่งรัฐ และมีพระราชอำนาจตามที่ถูกกำหนดไว้โดยธรรมนูญและประเพณีการปกครองสหราชอาณาจักร เจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ซึ่งครองราชย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2022
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร | |
---|---|
King of the United Kingdom | |
อยู่ในราชสมบัติ | |
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ตั้งแต่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 | |
รายละเอียด | |
รัชทายาท | เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ |
ที่ประทับ | พระราชวังบักกิงแฮม |
เว็บไซต์ | royal |
ที่มาของพระประมุขแห่งสหราชอาณาจักร
แก้ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ อำนาจของพระองค์จึงจำกัดอยู่แต่เพียงอำนาจที่ไม่แสดงความเป็นฝักฝ่าย เช่น การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญกล้าหาญ แต่อำนาจสูงสุดเหนือรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังถือว่าอยู่ใต้พระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามกฎหมายที่อนุมัติโดยรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร หรือภายในข้อจำกัดของจารีตที่ปฏิบัติกันมา
ระบอบราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรมีที่มาเริ่มต้นย้อนไปในสมัยกษัตริย์ในยุคของชาวแองเกิล (Kings of the Angles) และในยุคเริ่มของราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ในระหว่างปี ค.ศ. 1000 ราชอาณาจักรอังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมตัวและพัฒนามาจากเจ็ดอาณาจักรหรือเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน ของช่วงต้นสมัยอังกฤษยุคกลาง และต่อมาในสมัยกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์แองโกล-แซ็กซัน ซึ่งก็คือ พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน ได้ถูกรุกรานและพ่ายแพ้จนถูกปลงพระชมน์ในระหว่างการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและหลังจากนั้นดยุกวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีจากฝรั่งเศสจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่หนึ่งแห่งอังกฤษ เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน'
ในปี ค.ศ. 1603 ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์จากราชวงศ์สจวต พระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระราชินีนาถอลิซาเบธ จึงได้ครองบัลลังก์อังกฤษ เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ถือเป็นการรวมสองอาณาจักร (Union of Crowns) โดยพฤตินัย แต่ในทางนิตินัยแล้วสองอาณาจักรนี้ยังแยกกันอยู่ มีรัฐสภาเป็นของตน เพียงแต่มีกษัตริย์องค์เดียวกัน จนกระทั่งระหว่าง ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 ซึ่งเป็นช่วงสงครามกลางเมืองของอังกฤษ ระบบราชาธิปไตยบนหมู่เกาะบริติช ถูกสั่นคลอนโดยขบวบการรวมชาติเป็นเครือจักรภพอังกฤษและสงครามสามอาณาจักร (War of the Three Kingdoms) พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 เป็นพระราชบัญญัติที่ประกาศใช้โดยรัฐสภาอังกฤษเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์แห่งอังกฤษต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ โดยมีการบัญญัติห้ามไม่ให้ผู้ที่เป็นโรมันคาทอลิก หรือเสกสมรสกับผู้เป็นโรมันคาทอลิกมีสิทธิในการขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ปี ค.ศ. 1707 ราชอาณาจักรอังกฤษและสกอตแลนด์ได้ตกลงร่วมกันในการออกพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (Acts of Union 1707) ที่ควบรวมอังกฤษและสกอตแลนด์เป็นราชอาณาจักรเดียวกันในชื่อ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1707 รัฐสภาของอังกฤษและสกอตแลนด์ยุบตัวลงเป็น รัฐสภาบริเตนใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้มีการออกพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ที่ผนวกราชอาณาจักรไอร์แลนด์ อันเป็นประเทศราชของอังกฤษมาตั้งแต่สมัยทิวดอร์ ควบรวมกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นสหราชอาณาจักร มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 1801 หลังจากนั้นเป็นต้นมา ภายหลังไอร์แลนด์ประกาศอิสรภาพ สหราชอาณาจักรจึงครอบคลุมอยู่เพียงดินแดนทางตอนเหนือของไอร์แลนด์ในชื่อ ไอร์แลนด์เหนือ ราชวงศ์อังกฤษจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำสูงสุดแห่งจักรวรรดิอังกฤษที่ได้แผ่ขยายอาณานิคมไปเกือบหนึ่งในสี่ส่วนของพื้นที่ทุกภูมิภาคโลกในช่วงรุ่งเรืองสูงสุดในปี ค.ศ. 1921
ที่ประทับ
แก้ที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์ในราชวงศ์อังกฤษคือพระราชวังบักกิงแฮมในกรุงลอนดอน และยังมีที่ประทับอย่างเป็นทางการอีกแห่งคือพระราชวังวินด์เซอร์ ซึ่งมักใช้พำนักในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เทศกาลอีสเตอร์ และระหว่างงานเทศกาลแข่งม้าที่รอยัลแอสคอต (Royal Ascot) [1] สำหรับที่ประทับอย่างเป็นทางการในสกอตแลนด์คือพระราชวังฮอลีรูดในเมืองเอดินบะระ เป็นที่แปรพระราชฐานของพระราชวงศ์อังกฤษ โดยจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับชั่วคราวที่พระราชวังฮอลีรูดอย่างน้อยนาน 1 สัปดาห์ เป็นประจำทุกปีในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินไปราชการที่สกอตแลนด์ [2]
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ และหอคอยแห่งลอนดอน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่งของเมืองลอนดอนก็เคยเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์ในราชวงศ์อังกฤษในอดีต จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 มีพระราชดำริให้ย้ายไปใช้ที่พำนักที่พระราชวังไวต์ฮอลเป็นที่ประทับแทน และต่อมาเมื่อพระราชวังไวต์ฮอลถูกไฟใหม้ในปี ค.ศ. 1698 จึงมีการย้ายที่ประทับของราชวงศ์อีกครั้งเป็นที่พระราชวังเซนต์เจมส์ จนมาในปี ค.ศ. 1837 สมัยพระราชินีวิคตอเรียเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชวงศ์อังกฤษจึงได้เปลี่ยนมาใช้พระราชวังบักกิงแฮมเป็นที่ประทับจนถึงปัจจุบัน
ยังมีพระราชวังที่ประทับแห่งอื่น คือ พระตำหนักเคลียร์เรนซ์, พระราชวังเค็นซิงตันในกรุงลอนดอน ซึ่งถือเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของรัชทายาทแห่งสหราชอาณาจักร, พระตำหนักซานดริงแฮมในนอร์ฟอล์ก และปราสาทแบลมอรัลในอเบอร์ดีนแชร์ เป็นต้น
ตราแผ่นดิน
แก้ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร โล่ในตราแบ่งเป็นสี่ส่วน ในส่วนที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และส่วนที่สี่หรือช่องล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในส่วนที่สองหรือช่องบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในส่วนที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์ปเกลลิก (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์ เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตตบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ มีคำขวัญของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ส่วนล่างของตรา ข้อความว่า "Dieu et mon droit" (ฝรั่งเศส: "God and my Right") “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และคำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ที่บริเวณโดยรอบโล่ในตราข้อความว่า "Honi soit qui mal y pense". (Old French: "Shame be to him who thinks evil of it") “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย”
ส่วนในสกอตแลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถทรงใช้ตราแผ่นดินที่มีลักษณะแตกต่างออกไป โดยโล่ในตราในส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่จะเป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ ในส่วนที่สองเป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในส่วนที่สามเป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์ มีคำขวัญที่ส่วนล่างของตรา ข้อความว่า "Nemo me impune lacessit". (ลาติน: "No-one provokes me with impunity") และคำขวัญที่บริเวณด้านบนของตราข้อความว่า "In Defens" (เป็นคำย่อมาจาก "In My Defens God Me Defend") ประคองข้างด้านซ้ายเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ประคองข้างด้านขวาเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ
ธงพระราชอิสริยศ ธงมหาราชของกษัตริย์จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับตราแผ่นดิน โดยธงประจำพระราชวงศ์สำหรับใช้ทึ่อื่นตามปกติ (ธงนี้เป็นธงพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล) ในส่วนที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และส่วนที่สี่หรือช่องล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในส่วนที่สองหรือช่องบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลีที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในส่วนที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์ปเกลลิก (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์ ส่วนธงมหาราชสำหรับใช้ในสกอตแลนด์จะมีลักษณะแตกต่างกันคือ จะกลับเอาสัญลักษณ์สิงโตสกอตเเลนด์ขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ส่วนหลักแทนที่อังกฤษ ในส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สี่จะเป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ ในส่วนที่สองเป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในส่วนที่สามเป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์
|
เมื่อพระองค์ไม่ได้ทรงพำนักอยู่ในพระราชวังบักกิงแฮม ปราสาทวินด์เซอร์ และพระตำหนักซานดริงแฮม ธงชาติสหราชอาณาจักร จะถูกชักขึ้น สำหรับที่พระราชวังฮอลีรูด และปราสาทแบลมอรัล จะใช้ธงหลวงของสก็อตเเลนด์ (Royal banner of Scotland) ขึ้นแทน[3]
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "Windsor Castle", Official website of the British Monarchy, The Royal Household, สืบค้นเมื่อ 14 July 2009
- ↑ "The Palace of Holyroodhouse", Official website of the British Monarchy, The Royal Household, สืบค้นเมื่อ 14 July 2009
- ↑ "Union Jack". The Royal Household. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-05. สืบค้นเมื่อ 9 May 2011.
สารานุกรม
แก้- Ashley, Mike (1998). The Mammoth Book of British Kings and Queens. Robinson. ISBN 1-84119-096-9.
- Bagehot, Walter (2001). Smith, Paul (บ.ก.). The English Constitution. Cambridge University Press.
- Brazier, Rodney (1997). Ministers of the Crown. Oxford University Press.
- Brock, Michael (September 2004; online edition, January 2008). "William IV (1765–1837)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. Retrieved 22 April 2008 (subscription required).
- Castor, Helen (2010). She-Wolves: the Women who Ruled England Before Elizabeth. Faber and Faber.
- Cannon, John; Griffiths, Ralph (1988). The Oxford Illustrated History of the British Monarchy. Oxford University Press. ISBN 0-19-822786-8.
- Crabbe, V.C.R.A.C. (1994). Understanding Statutes. Cavendish Publishing. ISBN 978-1-859-41138-4.
- Flanagan, M. T. (2004). "Mac Murchada, Diarmait (c.1110–1171)" and Clare, Richard fitz Gilbert de, second earl of Pembroke (c.1130–1176)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. Retrieved 14 October 2008 (subscription required).
- Fraser, Antonia, บ.ก. (1975). The Lives of the Kings & Queens of England. Weidenfeld & Nicolson. ISBN 0-297-76911-1.
- Ives, E. W. (September 2004; online edition, January 2008). "Henry VIII (1491–1547)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. Retrieved 20 April 2008 (subscription required).
- Matthew, H. C. G. (2004). "Edward VIII (later Prince Edward, duke of Windsor) (1894–1972)" and "George VI (1895–1952)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. Retrieved 14 October 2008 (subscription required).
- Pimlott, Ben (1998). The Queen: A Biography of Elizabeth II. HarperCollins. ISBN 978-0-471-28330-0.
- Pimlott, Ben (2001). The Queen: Elizabeth II and the Monarchy. HarperCollins. ISBN 0-00-255494-1.
- Sayers, Jane E. (2004). "Adrian IV (d. 1159)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. Retrieved 20 April 2008 (subscription required).
- Seldon, Anthony (2021). The Impossible Office? The History of the British Prime Minister.
- Tomkins, Adam (2003). Public Law. Clarendon Law. Oxford University Press.
- Waldron, Jeremy (1990). The Law. Routledge.
- Weir, Alison (1996). Britain's Royal Families: The Complete Genealogy (Revised ed.). Pimlico. ISBN 0-7126-7448-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการของราชาธิปไตยของสหราชาอาณาจักร (อังกฤษ)
- ช่องยูทูบอย่างเป็นทางการ (อังกฤษ)