โอลิมปิกฤดูร้อน
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ ซัมเมอร์โอลิมปิกเกมส์ (อังกฤษ: Summer Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระหว่างประเทศ ซึ่งตามปกติจะมีการจัดแข่งขันทุกสี่ปี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) ในแต่ละครั้งจะมีการมอบเหรียญรางวัล ผู้ชนะเลิศได้เหรียญทอง อันดับสองได้เหรียญเงิน และอันดับสามได้เหรียญทองแดง การมอบเหรียญนี้เป็นประเพณีตั้งแต่ปี 1904 ต่อมามีการจัดแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว อันสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโอลิมปิกฤดูร้อน
ตราวงแหวนโอลิมปิก | |
ชื่อย่อ | Olympiad |
---|---|
คำขวัญ | Citius, Altius, Fortius เร็วขึ้น, สูงขึ้น, แกร่งขึ้น |
ก่อตั้ง | สมัยโบราณ: 776 ปีก่อน ค.ศ. สมัยใหม่: พ.ศ. 2439 กรุงเอเธนส์, กรีซ |
จัดขึ้นทุก | 4 ปี |
ครั้งล่าสุด | ครั้งที่ 33 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส(อีเว้นท์จะเริ่มขึ้นเดือนหน้า) |
วัตถุประสงค์ | กีฬาสำหรับนานาชาติ |
สำนักงานใหญ่ | คณะกรรมการโอลิมปิกสากล โลซาน, สวิตเซอร์แลนด์ |
ประธาน | โทมัส บัค |
เว็บไซต์ | คณะกรรมการโอลิมปิกสากล |
การแข่งขันนั้นเริ่มต้นครั้งแรกด้วยกีฬาเพียง 42 ประเภท และนักกีฬาชายเพียง 250 คน จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 10,000 คน ของนักกีฬาชายและหญิงจาก 202 ประเทศทั่วโลก คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง คาดการณ์ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน เข้าชิงชัยใน 302 รายการ ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ประมาณการไว้ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน แต่ก็เกิดการคลาดเคลื่อนขึ้นเพราะมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 11,099 คน ใน 301 รายการแข่งขัน
นักกีฬาถูกส่งเข้าแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศต่าง ๆ (NOC) เพื่อแสดงจำนวนพลเมืองในบังคับของประเทศตน เพลงชาติและธงชาติประกอบพิธีมอบเหรียญ และตารางแสดงจำนวนเหรียญที่ชนะ โดยถูกใช้อย่างกว้างขวางในบางประเทศ โดยปกติแล้วเฉพาะประเทศที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะมีผู้แทนได้ แต่มีแค่เพียงประเทศมหาอำนาจบางประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วม
โดยมีเพียง 4 ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร กรีซ และสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ชนะและได้รับเหรียญทองอย่างน้อย 1 เหรียญจากการแข่งขันทุกครั้ง คือ สหราชอาณาจักร โดยได้รับตั้งแต่ 1 เหรียญทอง ในปี 1904 1952 และ 1996 จนถึงได้รับ 56 เหรียญทอง ในปี 1908
วิวัฒนาการของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ ปี 1896-2032
แก้1896 เอเธนส์
แก้การแข่งขันโอลิมปิกมีขึ้นที่ยุโรปเป็นครั้งแรก โดยกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1896 หลังจากที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้หยุดไปเป็นเวลานาน โดยจัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ที่สนามกีฬา Olympic Stadium ซึ่งได้ถูกทำลายไปโดยทหารฝรั่งเศส
การแข่งขันครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของกรีก ไม่ใช่แค่เพียงได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้เท่านั้น แต่เพราะนักกีฬาชาติกรีกได้นำชัยชนะมาให้กรีซ เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันวิ่งมาราธอนซึ่งถือเป็นกีฬาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก ในครั้งนี้กรีกเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันทั้งหมดด้วยการกวาดเหรียญรางวัลชนะเลิศถึง 47 เหรียญ
ชัยชนะของนักกีฬากรีกในครั้งนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Loues ผู้ชนะในการแข่งขันวิ่งมาราธอนและได้กลายเป็นขวัญใจของคนทั้งประเทศของตน
1900 ปารีส
แก้จริง ๆ แล้วได้มีความพยายามที่จะให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นในกรีกเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ Coubertin ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ขึ้นได้ยืนยันเจตนารมณ์เดิมที่จะให้มีการแข่งขันเวียนไปตามประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมการแข่งขันกีฬา
การแข่งขันในครั้งนี้ชัยชนะในการแข่งขันในกีฬาประเภทต่าง ๆ กระจายกันไปอยู่ในหมู่นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ
1904 เซนต์หลุยส์
แก้สหรัฐเป็นประเทศแรกในอเมริกาเหนือที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีนักกีฬาจากประเทศในยุโรปมาร่วมการแข่งขันในครั้งนี้น้อยมากเนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทาง นักกีฬาจากสหรัฐอเมริกาจึงได้ครอบครองเหรียญชัยชนะมากที่สุด กีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้จัดว่าเป็นครั้งที่น่าอดสูที่สุด เริ่มจากการแย่งกันระหว่าง เซนต์หลุยส์ และ ชิคาโก ว่ารัฐใดจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน นอกจากนั้นนักกีฬาผู้ที่ได้เข้าเส้นชัยในการแข่งขันวิ่งมาราธอนยังใช้วิธีการสกปรกในการได้มาซึ่งชัยชนะครั้งนั้นด้วยการแอบโดยสารรถบรรทุกระหว่างการแข่งขันเพื่อย่นระยะทาง
การแข่งขันในครั้งนั้นมีนักกีฬาเข้าแข่งขันเป็นชาย 681 คน เป็นหญิง 6 คน
1908 ลอนดอน
แก้การแข่งขันกีฬาครั้งที่ 4 มีขึ้นที่กรุงลอนดอน โดยจัดการแข่งขันขึ้นระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ผู้นำในการแข่งขันครั้งนี้ได้แก่ประเทศอังกฤษ โดยสามารถครอบครองเหรียญชัยได้ถึง 145 เหรียญโดยมีสหรัฐอเมริกาตามมาเป็นอันดับที่ 2
ในการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้มีนักกีฬาจำนวนมากจากหลายประเทศมาเข้าร่วมทำการแข่งขันโดยมาจาก แอฟริกาใต้, แคนนาดา, และ ออสเตเรีย ซึ่งจัดว่าเป็นการแข่งขันนานาชาติครั้งแรกจริง ๆ
การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 2,036 คน เป็นชายประมาณ 2,000 คน หญิง 36 คน และการแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ชนะจากการแข่งขันในแต่ละประเภทได้รับเหรียญทอง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ชนะเลิศจะได้รับเหรียญเงิน
1912 สต็อกโฮล์ม
แก้ในครั้งนี้กษัตริย์ Gustav ที่ 5 แห่งสวีเดนได้ตรัสยกย่อง Jim Thorpe นักกีฬาจากสหรัฐอเมริกาว่าเป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคำยกย่องนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เกินความจริงเลย โดยเขาชนะเลิศการแข่งขันกีฬาลู่-ลาน 5 ประเภท (Pentathalon) รวมทั้งชนะเลิศการแข่งขันกีฬาลู่-ลาน 10 ประเภท (Decathalon) ด้วย ซึ่งได้ทำให้ Thorpe ได้กลายเป็นดาวของกีฬาโอลิมปิกจากสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง
แต่ต่อมา Thorpe ได้ถูกยึดเหรียญชัยชนะคืนมาหลังจากที่ IOC พบว่าเขาอยู่ในทีมนักเบสบอลอาชีพในปี 1909 แต่หลังจากนั้นต่อมาถึง 73 ปี Thorpe ก็ได้รับเหรียญรางวัลกลับคืนมาด้วยความสนับสนุนของผู้ที่นิยมและเห็นอกเห็นใจ Thorpe แต่ก็หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตไปแล้ว
โอลิมปิก 1912 ถูกจัดว่าเป็นครั้งที่ดีที่สุดครั้งหนึ่ง สวีเดนซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพได้มีการเตรียมพร้อมให้การแข่งขันครั้งนี้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด มีนักกีฬา 26 ประเทศหรือประมาณกว่า 3,000 คนมาร่วมในการแข่งขันครั้งนี้
1916
แก้ไม่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
1920 อันทเวิร์ป
แก้ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่เป็นรูปห่วง 5 ห่วงคล้องกันอยู่ (Olympic Rings) กีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ไม่สามารถที่กล่าวได้ว่าเป็นกีฬานานาชาติอย่างแท้จริงเนื่องจากได้กีดกันไม่ให้ประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน ดาวรุ่งกีฬาครั้งนี้คือ Paavo Nurmi ซึ่งครองชัยชนะการวิ่งระยะไกลทั้งหมดมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่อันทเวิร์ปเป็นชาย 2,453 คน หญิง 64 คน
1924 ปารีส
แก้การแข่งขันที่ปารีสครั้งนี้ Harold Abrahans นักกีฬาจากประเทศอังกฤษชนะเลิศการวิ่ง 100 เมตร แต่ในภายหลังได้พบว่า Abrahans ใช้ยาที่ชื่อว่า Easton Syrup ซึ่งมีส่วนผสมของสตริกไนน์ และเขาไม่ได้รับชัยชนะในครั้งนี้หากมีการตรวจพบว่า Abrahans ใช้ยา
นักกีฬาว่ายน้ำจากสหรัฐอเมริกา Johnny Weismuller ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็นดาราชนะเลิศการแข่งขันว่ายน้ำถึง 3 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง
1928 อัมสเตอร์ดัม
แก้เป็นครั้งแรกที่ IOC ได้ทำการย่นระยะเวลาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลงเหลือเพียง 16 วัน ก่อนหน้านั้นการแข่งขันจะกินเวลาเป็นเดือน การแข่งขันครั้งนี้ประเทศที่เป็นเจ้าภาพมีความหวังที่จะได้ชัยชนะในกีฬาฟุตบอล แต่ก็ต้องพลาดหวังเมื่ออุรุกวัยและอาร์เจนตินาได้เข้าร่วมชิงชนะเลิศ Paavo Nurmi ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าแห่งการแข่งขันวิ่งระยะไกลอีกครั้งหนึ่ง ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ครองเหรียญทองเป็นจำนวนมากมาจากการแข่งขันว่ายน้ำ โอลิมปิกครั้งนี้มีประเทศที่เริ่มฉายแววทางกีฬาเพิ่มขึ้นมาคือ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ในปีนี้ยังเป็นปีแรกที่มีการจัดการแข่งขันประเภทลู่ลาน หญิงเป็นครั้งแรก
1932 ลอสแอนเจลิส
แก้ลอสแอนเจลิสมีเวลาในการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ถึง 9 ปี ได้ทำการก่อสร้างโคลิเซียมขนาด 100,000 ที่นั่ง ซึ่งในปี 1984 ได้ใช้ที่แห่งนี้เป็นที่จัดการแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง ปีนี้เป็นปีที่ริเริ่มสิ่ง ๆ ใหม่หลายอย่าง อาทิ มีการจัดค่าเดินทางแก่นักกีฬาต่างประเทศที่มาร่วมการแข่งขัน การสร้างหมู่บ้านโอลิมปิกเพื่อให้นักกีฬาจากหลายประเทศมาอยู่ร่วมกัน
1936 เบอร์ลิน
แก้นักกีฬาผิวดำจากประเทศสหรัฐ Jesse Owens ได้ลบคำสบประมาทของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่กล่าวว่าชาวเยอรมันเหนือกว่าชาติอื่นในทุกด้าน ด้วยการคว้าเหรียญทองได้ถึง 4 เหรียญ
การแข่งขันในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดจาก 49 ประเทศ เป็นชาย 3,738 คน หญิง 328 คน
1940 และ 1944
แก้ไม่มีการแข่งขันกีฬาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
1948 ลอนดอน
แก้เป็นครั้งที่ 2 ที่มีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทางวิทยุทั่วโลกในครั้งนี้ได้มีนักกีฬาจากสหรัฐอเมริกา Bob mathias ได้กลายเป็นขวัญใจโดยสามารถครองเหรียญทองจากการแข่งขัน Decathalon ซึ่งจัดว่าเป็นกีฬาที่ยากต้องอาศัยความแข็งแรงและความอดทนอย่างสูง นอกจากนั้นการแข่งขันในครั้งนี้ เยอรมันและญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกลอนดอน มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันจาก 59 ประเทศ เป็นชาย 3,741 คน และหญิง 385 คน
1952 เฮลซิงกิ
แก้Emil Zatopek จากเชโกสโลวะเกียได้กลายเป็นดาวเด่นในหมู่นักกีฬาในปี 1952 เมื่อเขาได้ชัยชนะในการแข่งขันวิ่งระยะไกล 10,000 เมตร และ 50,000 เมตร รวมทั้งการแข่งขันวิ่งมาราธอน และภรรยาของเขาก็ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันพุ่งแหลนครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกรวมทั้งประเทศไทยก็เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกเช่นกัน
1956 เมลเบิร์น
แก้ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกในโอเชียเนียที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันครั้งนี้ประเทศที่พิชิตเหรียญทองกีฬาว่ายน้ำได้มากที่สุดคือ ออสเตรเลีย โดยมี Dawn Fraser นักว่ายน้ำหญิงเป็นผู้ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดเพราะนอกจากพิชิตเหรียญทองได้แล้วยังสร้างสถิติเวลาใหม่และไม่มีผู้ใดทำลายได้ถึง 15 ปี ในการแข่งขันครั้งนี้เหตุการณ์ทางการเมืองประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันได้เกิดความกระทบกระทั่งกันระหว่างนักกีฬาจากโซเวียตกับฮังการีในระหว่างการแข่งขันโปโล
1960 โรม
แก้Cassius Clay นักมวยจากสหรัฐผู้ชนะเลิศการแข่งขันชกมวยในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 17 การแข่งขันครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของสิ่งใหม่ ๆ เช่น มีการให้ความสนับสนุนในเรื่องการเดินทางทางอากาศแก่นักกีฬา นักกีฬามีการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้มาอย่างเต็มที่นักกีฬาทุกคนให้ความสำคัญในการได้รับชัยชนะในการแข่งขันอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้สถิติที่นักกีฬาโอลิมปิกปีก่อน ๆ ทำไว้จึงถูกลบล้างไปเกือบหมด
1964 โตเกียว
แก้ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยการแข่งขันในครั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดสดกีฬาผ่านดาวเทียมครั้งแรก ซึ่ง คัทสึมิ มาซารุ หัวหน้าทีมออกแบบของ Tokyo 1964 ได้ออกแบบระบบสื่อสารเพื่อทำลายอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรมที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารตลอดการแข่งขัน ด้วยระบบสัญลักษณ์พิกโตแกรม (pictogram) โดยมีการออกแบบสัญลักษณ์สำหรับใช้แทนการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 20 ชนิด และใช้แทนข้อมูลการบริการทั่วไปอีก 39 ชนิด โดยการนำองค์ประกอบมาจากลักษณะของอักษรคันจิบนพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสและใช้เพียง 1 สี ที่ให้ความรู้สึกคล้ายกับการออกแบบสัญลักษณ์ประจำตระกูลของซามูไรและชนชั้นนำของญี่ปุ่นในสมัยโบราณ Tokyo 1964 เป็นโอลิมปิกครั้งแรกที่มีการออกแบบพิกโตแกรมให้เข้ากับการแข่งขันในแต่ละครั้ง และกลายเป็นมาตรฐานสำหรับการแข่งขันครั้งต่อๆ ไปที่จะต้องมีการออกแบบระบบพิกโตแกรมขึ้นมาใหม่เสมอ การแข่งขันครั้งนี้มีดาวรุ่งเกิดขึ้นหลายราย คนแรกคือ Bob Hayes ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นนักดังในทีม Dallas Cowboys คนต่อมาคือ Joe Frazier ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันชกมวยในกีฬาโอลิมปิก และต่อมาได้เป็นแชมเปี้ยนรุ่นเฮฟวี่เวตของโลก Abebe Bikila จากเอธิโอเปียก็ชนะการวิ่งมาราธอนเป็นครั้งแรก
1968 เม็กซิโกซิตี้
แก้การแข่งขันโอลิมปิกมีขึ้นที่ลาตินอเมริกาเป็นครั้งแรก โอลิมปิกคราวนี้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำการแข่งขันทั้งหมดมีสถิติใหม่ ๆ เกิดขึ้นเช่นการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร โดย Jim Hines วิ่ง 400 เมตร โดย Lee Evans จากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
1972 มิวนิก
แก้โซเวียตมองเห็นช่องทางในการเผยแพร่ลัทธิทางการเมืองของตนโดยอาศัยการแข่งขันโอลิมปิก โดยพยายามที่เป็นผู้นำในการแข่งขัน และโน้มน้าวชาติอื่น ๆ ให้เห็นว่าโซเวียตเป็นประเทศมหาอำนาจ ภายหลังพบว่านักกีฬาโซเวียตเป็นนักกีฬาอาชีพที่รัฐบาลว่าจ้างให้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น และยังพบอีกว่านักกีฬาจากสหภาพโซเวียตใช้ยาเสริมกำลัง ในปีนั้นสหภาพโซเวียตสามารถพิชิตเหรียญทองได้ถึง 99 เหรียญ นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในกรุงมิวนิก มีความพยายามลักพาตัวนักกีฬาอิสราเอลในการแข่งขันบาสเกตบอลนักกีฬาจากสหรัฐได้พ่ายแพ้แก่นักกีฬาจากสหภาพโซเวียตเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกจากการแข่งขัน 63 ครั้ง ซึ่งสหรัฐได้ปฏิเสธไม่ขึ้นรับเหรียญเงิน ในปีนี้นั้นมีนักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขันถึง 122 ประเทศ
1976 มอลทรีออล
แก้สหรัฐโชว์ความสามารถในกีฬาชกมวยด้วยการมีทีมนักกีฬาที่ดีที่สุดได้แก่ Ray Leonard Leon Spinks โดยสามารถพิชิตเหรียญทองได้และต่อมาได้กลายเป็นแชมเปี้ยนมวยอาชีพ ส่วนในการแข่งขันยิมนาสติก Nadai Comaneci ได้กลายเป็นดาวดวงใหม่ที่ทำให้ผู้คนหันมาให้ความนิยมในกีฬายิมนาสติกขึ้น
1980 มอสโก
แก้สหรัฐไม่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้เนื่องจากกรณีที่สหภาพโซเวียตส่งกองกำลังบุกรุกอัฟกานิสถาน ญี่ปุ่นและเยอรมันตะวันตกก็เป็นอีก 2 ประเทศจากทั้งหมด 63 ประเทศที่บอยคอตสหภาพโซเวียตและไม่เข้าร่วมการแข่งขัน ในปีนั้นจึงมีเพียง 81 ประเทศจากทั่งโลกที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งในปีนั้นสหภาพโซเวียตครองเหรียญทองมากที่สุด
1984 ลอสแอนเจลิส
แก้สหภาพโซเวียตบอยคอตการแข่งขันในปีนี้ ไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ส่วนหนึ่งเพื่อแก้คืนที่สหรัฐไม่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งก่อนที่ มอสโก ในปี 1980 ส่วนหนึ่งเป็นห่วงความปลอดภัยของนักกีฬาจากประเทศตน แต่บุคคลบางกลุ่มเชื่อว่าสหภาพโซเวียตเกรงว่านักกีฬาของตนจะไม่ผ่าน Drug Test ซึ่งจะทำให้ทั่วโลกรู้ถึงที่มาแห่งชัยชนะทางการกีฬาของตน นักกีฬาที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันในปีนี้ได้แก่ Carl Lewis จากสหรัฐโดยสามารถครอง 4 เหรียญทองจากการแข่งขันกรีฑา Mary lou Retton ครองเหรียญทองยิมนาสติกมากที่สุด นอกจากนั้นยังมี Greg Louanis ซึ่งเป็นนักกีฬาคนแรกที่สามารถครองเหรียญทอง 2 เหรียญทองพร้อมกันจากการแข่งขัน Springbroad และ Platform diving
1988 โซล
แก้หลังจากที่โซล ประเทศเกาหลีได้รับเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 10 ปี 1986 ชุน ดูวัน หมดวาระจากการเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี โรห์ แทวู ขึ้นตำแหน่งแทนและได้รับเป็นเกียรติในประธานพิธีโอลิมปิกครั้งที่ 24 หลังจากนั้น ผจญ มูลสัน คว้าเหรียญทองแดงและได้รับชัยชนะจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น
1992 บาร์เซโลนา
แก้สิ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วไปจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 1992 ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้แก่ Dream Team ซึ่งในครั้งนั้น Michael Jordan, Magic Jordan, Larry Bird, Charles Barkley, Patrick Ewing, David Robinson, Karl malone และ Scottie เป็นนักบาสเกตบอลที่โดดเด่นมากในทีมสหรัฐอเมริกา ทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาในปีนั้นได้เอาชนะคู่ต่อสู้จากประเทศต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบภายใต้การนำของโค้ช Chuck Daly นักกีฬาจากประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับความชื่นชมในการแข่งขันกีฬาปีนั้นเช่น Joynor-Kersee ผู้ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันขันสัตตกรีฑา หญิงในปีนั้นนักกีฬาว่ายน้ำหญิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สร้างความหวาดผวาให้กับนักว่ายน้ำชาติอื่น ๆ ด้วยการชนะการแข่งขันประเภทต่าง ๆ แบบทำลายสถิติ แต่ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ได้ว่านักกีฬาหญิงผู้นั้นได้ใช้ยากระตุ้นกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นกีฬาโอลิมปิกที่ Bracelona ในปี 1992 ถูกเรียกว่าเป็น Money Game เพราะว่านักกีฬาทั้งชายและหญิงต่างทำการแข่งขันเพื่ออะไรก็ตามที่สามารถทำเงินได้ หรือแม้แต่ Jordan ได้ใช้ธงชาติสหรัฐอเมริกาคลุมป้ายผู้สนับสนุนกีฬาอย่างเป็นทางการของทีมบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ใช้เป็นบริษัทผลิตรองเท้ากีฬาที่ใช้ชื่อของเขาในการขายสินค้า
1996 แอตแลนต้า
แก้การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 26 ปี 1996 จัดการแข่งขันที่เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐ ระหว่างวันที่ 19 ก.ค.-4 ส.ค. ซึ่งถือเป็นการจัดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นการครบรอบ 100 ปีของการจัดโอลิมปิกเกมส์ และได้สร้างสถิติการแข่งขันมากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนนักกีฬา เจ้าหน้าที่รวมทั้มประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันอีกด้วยสำหรับนักกีฬาไทยที่ส่งไปแข่งขันเมื่อ 4 ปีที่แล้วถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่จากการส่งนักกีฬาไป 9 ชนิดกีฬา ซึ่งประเทศไทยได้ฮีโร่กำปั้นคนแรกในประวัติศาสตร์ "สมรักษ์ คำสิงห์" นักชกรุ่นเฟอเธอร์เวต คว้าเหรียญทองแรกในประวัติศาสตร์ของไทย และว่ากันว่ามีกระแสสมรักษ์ฟรีเวอร์ตามมายาวนานอีกหลายเดือนท่ามกลางความสุขที่แบ่งปันกันไปทุกหนทุกแห่งทั่วฟ้าเมืองไทย
2000 ซิดนีย์
แก้การแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 27 ปีนี้จัดที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 15 กันยายน-1 ตุลาคม 2543 ประเทศไทยจะส่งกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 12 สมาคมกีฬา คือ กรีฑา, ยกน้ำหนัก, เรือพาย, เรือใบ, วินด์เซิร์ฟ, ว่ายน้ำ, แบดมินตัน, เทนนิส, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอล, ยิงปืน และมวยสากลสมัครเล่นจาก 12 ชนิดกีฬาที่ไทยส่งไปแข่งขันครั้งนี้ มีเพียง 2 ชนิดกีฬาที่มีโอกาสมากที่สุดในการลุ้นเหรียญทอง คือ ยิงปืน (เทวฤทธิ์ มัจฉาชีพ) และมวยสากลสมัครเล่นที่คนส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปที่ สมรักษ์ คำสิงห์ เจ้าของเหรียญทองเมื่อ 4 ปีก่อน
2004 เอเธนส์
แก้กีฬาโอลิมปิกกลับสู่บ้านเกิดที่กรุงเอเธนส์อีกครั้ง เจ้าภาพกรีซจัดการแข่งขังขันขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีพิธีเปิดการแข่งขันที่งดงามน่าจดจำ แต่การแข่งขันดังกล่าวเต็มไปด้วยปัญหาการก่อการร้าย เจ้าภาพใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อจัดให้กองกำลังนาโต้ดูแลความปลอดภัย ทำให้ใช้งบประมาณอย่างมหาศาล จนภายหลังกรีซประสบปัญหาสภาพเศรษกิจครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง แต่โอลิมปิกที่กรีซก็ถูกกล่าวขานถึงการจัดการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ ด้วยบรรยากาศของสนามแข่งขันที่สวยงามแม้ภายหลังจะถูกทิ้งร้างจากพิษเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
2008 ปักกิ่ง
แก้การแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง นับเป็นการดำเนินการจัดการแข่งขันที่มีความยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ใช้เงินลงทุนมากมายมหาศาลกว่า 7 แสนล้านบาท มีการจัดพิธีเปิดสุดอลังการวิจิตรตะการตา โอลิมปิกครั้งนี้เป็นการประกาศศักดาของจีน และจบลงด้วยชัยชนะเจ้าเหรียญทองของเจ้าภาพ แต่ตามมาด้วยปัญหาการเมือง สิ่งแวดล้อมมากมาย
2012 ลอนดอน
แก้โอลิมปิกปี 2012 ที่กรุงลอนดอน จัดการแข่งขันด้วยงบประมาณน้อยกว่ากรุงปักกิ่งถึงเท่าตัว แต่มีการนำแนวคิดใหม่ๆมาใช้จัดการแข่งขัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีสุดทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยังมีการนำสนามกีฬาชั่วคราวขนาดใหญ่มาใช้ เรียกว่าการแข่งขันครั้งนี้สามารถเป็นต้นแบบการจัดการแข่งขันโอลิมปิกที่คุ้มค่า ยั่งยืน เป็นตัวอย่างแก่ชาติเจ้าภาพต่อไปได้อย่างดีเยี่ยม โดยงานครั้งจัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ที่ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปีอีกด้วย
2016 รีโอเดจาเนโร
แก้บราซิลเป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 31 ปี 2016 จัดการแข่งขันที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 5 - 21 ส.ค.
2020 โตเกียว
แก้การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 32 ปี 2020 จัดการแข่งขันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24 ก.ค. - 9 ส.ค. 2020 แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นระหว่างวันที่ 23 ก.ค. - 8 ส.ค. 2021 ในครั้งนี้ เป็นการจัดในรูปแบบเรียบง่ายโดยไม่มีผู้ชมที่ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรุงโตเกียว เพื่อความปลอดภัยของการระบาดทั่วของโควิด-19 และไฮไลท์ในพิธีเปิดที่สำคัญคือ การแสดงโลโก้พิกโตแกรมแบบลองเทค และพิธีปิดเป็นการแสดงจินตลีลาเพลง Gurenge เวอร์ชั่นออเครสตรา และส่งต่อให้กับเจ้าภาพ ปารีส ในปี 2024 อีกด้วย
2024 ปารีส
แก้การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 33 ปี 2024 จัดการแข่งขันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. - 11 ส.ค. ในครั้งนี้ ได้จัดขบวนพาเหรดทางน้ำเป็นครั้งแรกที่ แม่น้ำแซนจากปงต์เดาสเตอร์ลิทซ์ถึงปงต์ดีเอนา และพิธีการอย่างเป็นทางการที่จะจัดขึ้นที่ปาแลเดอชาโยในสนามกีฬาขนาดเล็กชั่วคราว เส้นทางขบวนพาเหรด 6 กิโลเมตร และ มีแสดงโชว์ต่าง ๆ ตระการตาท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมา โดยที่ต้องแสดงต่อไป โดยนักกีฬาในแต่ละประเทศจะนั่งเรือโดยสารในขบวนพาเหรดตามจำนวนขนาดเรือและจำนวนนักกีฬา (บางประเทศอาจได้ขึ้นร่วมกัน) ส่วนพิธีปิดมีกำหนดจะจัดขึ้นที่สตาดเดอฟร็องส์ในวันที่ 11 สิงหาคม 2024 ได้ขึ้นชื่อโอลิมปีกในปีนี้ว่า เป็นโอลิมปิกรักษ์โลก และ เป็นการเป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่จัดในปารีส และกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 ที่จัดในเมืองชามอนี ประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
2028 ลอสแอนเจลิส
แก้การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 34 ปี 2028 จัดการแข่งขันที่เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐ ระหว่างวันที่ 14 - 30 ก.ค.
2032 บริสเบน
แก้การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 35 ปี 2032 จัดการแข่งขันที่เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 23 ก.ค. - 8 ส.ค.
รายชื่อเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน
แก้ปี (ค.ศ.) |
ครั้งที่ | เจ้าภาพ | เปิดโดย | วันที่ | จำนวนประเทศ | กีฬา | จำนวนนักกีฬา | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เมือง | ประเทศ | รายการ | ชนิด | ชาย | หญิง | รวม | |||||
1896 | I | เอเธนส์ | กรีซ | พระเจ้าเยออร์ยีโอสที่ 1 | 6 – 15 เมษายน | 13 | 43 | 9 | 311 | 0 | 311 |
1900 | II | ปารีส | ฝรั่งเศส | - | 14 พฤษภาคม – 28 ตุลาคม | 21 | 85 | 17 | 1,319 | 11 | 1,330 |
1904 | III | เซนต์หลุยส์ | สหรัฐ | อดีตผู้ว่าการมลรัฐเดวิด ฟรานซิส | 1 กรกฎาคม – 23 พฤศจิกายน | 13 | 96 | 14 | 681 | 6 | 687 |
1908 | IV | ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 | 27 เมษายน – 31 ตุลาคม | 22 | 110 | 21 | 1,999 | 36 | 2,035 |
1912 | V | สต็อกโฮล์ม | สวีเดน | สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 | 6 – 22 กรกฎาคม | 29 | 102 | 13 | 2,490 | 57 | 2,547 |
1916 | VI | เบอร์ลิน | เยอรมนี | ||||||||
1920 | VII | อันทเวิร์ป | เบลเยียม | สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 | 14 สิงหาคม – 12 กันยายน | 29 | 152 | 21 | 2,543 | 64 | 2,607 |
1924 | VIII | ปารีส | ฝรั่งเศส | ประธานาธิบดีกัสตง ดูแมร์ก | 4 พฤษภาคม – 27 กรกฎาคม | 45 | 126 | 17 | 2,956 | 136 | 3,092 |
1928 | IX | อัมสเตอร์ดัม | เนเธอร์แลนด์ | เจ้าชายเฮนรี | 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม | 46 | 109 | 14 | 2,724 | 290 | 3,014 |
1932 | X | ลอสแอนเจลิส | สหรัฐ | รองประธานาธิบดีชาลส์ เคอร์ทิส | 30 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม | 37 | 117 | 14 | 1,281 | 127 | 1,408 |
1936 | XI | เบอร์ลิน | เยอรมนี | นายกรัฐมนตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ | 1 – 16 กรกฎาคม | 49 | 129 | 19 | 3,738 | 328 | 4,066 |
1940 | XII | โตเกียว→เฮลซิงกิ | ญี่ปุ่น→ ฟินแลนด์ |
||||||||
1944 | XIII | ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | ||||||||
1948 | XIV | ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 | 29 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม | 59 | 136 | 17 | 3,714 | 385 | 4,099 |
1952 | XV | เฮลซิงกิ | ฟินแลนด์ | ประธานาธิบดียุโฮ กุสติ ปาสิกิวิ | 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม | 69 | 149 | 17 | 4,407 | 518 | 4,925 |
1956 | XVI | เมลเบิร์น | ออสเตรเลีย | เจ้าฟ้าชายฟิลิป | 22 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม | 67 | 145 | 16 | 2,958 | 384 | 3,342 |
1960 | XVII | โรม | อิตาลี | ประธานาธิบดีจิโอวานี กรองกี | 25 สิงหาคม – 11 กันยายน | 84 | 150 | 17 | 4,738 | 610 | 5,348 |
1964 | XVIII | โตเกียว | ญี่ปุ่น | สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ | 10 – 24 ตุลาคม | 94 | 163 | 19 | 4,457 | 683 | 5,140 |
1968 | XIX | เม็กซิโกซิตี | เม็กซิโก | ประธานาธิบดีกุสตาโว เดียซ ออดาซ | 12 – 27 ตุลาคม | 113 | 172 | 18 | 4,750 | 781 | 5,531 |
1972 | XX | มิวนิก | เยอรมนีตะวันตก | ประธานาธิบดีกุสทัฟ ไฮเนอมัน | 26 สิงหาคม – 10 กันยายน | 122 | 195 | 21 | 6,659 | 1,171 | 7,830 |
1976 | XXI | มอนทรีออล | แคนาดา | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | 17 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม | 93 | 198 | 21 | 4,915 | 1,274 | 6,189 |
1980 | XXII | มอสโก | สหภาพโซเวียต | ประธานเลโอนิด เบรจเนฟ | 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม | 81 | 203 | 21 | 4,320 | 1,192 | 5,512 |
1984 | XXIII | ลอสแอนเจลิส | สหรัฐ | ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน | 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม | 140 | 221 | 21 | 5,458 | 1,620 | 7,078 |
1988 | XXIV | โซล | เกาหลีใต้ | ประธานาธิบดีโน แท-อู | 17 กันยายน – 2 ตุลาคม | 160 | 237 | 23 | 6,983 | 2,438 | 9,421 |
1992 | XXV | บาร์เซโลนา | สเปน | สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 | 25 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม | 171 | 257 | 25 | 7,555 | 3,008 | 10,563 |
1996 | XXVI | แอตแลนตา | สหรัฐ | ประธานาธิบดีบิล คลินตัน | 19 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม | 197 | 271 | 26 | 7,060 | 3,684 | 10,744 |
2000 | XXVII | ซิดนีย์ | ออสเตรเลีย | ผู้สำเร็จราชการวิลเลียม ดีนน์ | 15 กันยายน – 1 ตุลาคม | 199 | 300 | 28 | 6,582 | 4,069 | 10,651 |
2004 | XXVIII | เอเธนส์ | กรีซ | ประธานาธิบดีคอนแสตนติน สเตปฮาโนโปลุส | 13 – 29 สิงหาคม | 201 | 301 | 28 | 6,452 | 4,412 | 10,864 |
2008 | XXIX | ปักกิ่ง | จีน | ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา | 8 – 24 สิงหาคม | 204 | 302 | 28 | 6,305 | 4,637 | 10,942 |
2012 | XXX | ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | 27 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม | 204 | 302 | 26 | 5,892 | 4,676 | 10,568 |
2016 | XXXI | ริโอ เดอ จาเนโร | บราซิล | รักษาการประธานาธิบดีมีแชล เตเมร์ | 5 – 21 สิงหาคม | 207 | 306 | 28 | 6,179 | 5,059 | 11,551 |
2020 | XXXII | โตเกียว | ญี่ปุ่น | สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | 23 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2021 | 206 | 339 | 33 | 5,982 | 5,494 | 11,676 |
2024 | XXXIII | ปารีส | ฝรั่งเศส | ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง | 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม | 206 | 329 | 32 | 5,357 | 5,357 | 10,714 |
2028 | XXXIV | ลอสแอนเจลิส | สหรัฐ | ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ | 21 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม | ยังไม่เกิดขึ้น | |||||
2032 | XXXV | บริสเบน | ออสเตรเลีย | ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลีย | 23 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม | ยังไม่เกิดขึ้น |
สรุปเหรียญโอลิมปิกตลอดกาล
แก้ตารางด้านล่างใช้ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สถานะหลังโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
# | ประเทศ | เหรียญทอง | เหรียญเงิน | เหรียญทองแดง | รวม | เข้าร่วม |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | สหรัฐ | 1101 | 874 | 780 | 2755 | 29 |
2 | สหภาพโซเวียต | 395 | 319 | 296 | 1010 | 9 |
3 | จีน | 303 | 226 | 198 | 727 | 12 |
4 | สหราชอาณาจักร | 298 | 340 | 343 | 981 | 30 |
5 | ฝรั่งเศส | 239 | 277 | 299 | 815 | 29 |
6 | อิตาลี | 229 | 201 | 228 | 658 | 29 |
7 | เยอรมนี | 213 | 220 | 255 | 688 | 18 |
8 | ญี่ปุ่น | 189 | 162 | 191 | 542 | 24 |
9 | ฮังการี | 187 | 161 | 182 | 530 | 28 |
10 | ออสเตรเลีย | 182 | 192 | 226 | 600 | 28 |
11 | เยอรมนีตะวันออก | 153 | 129 | 127 | 409 | 5 |
12 | สวีเดน | 151 | 181 | 182 | 514 | 28 |
13 | รัสเซีย | 147 | 126 | 150 | 423 | 6 |
14 | เนเธอร์แลนด์ | 110 | 112 | 134 | 356 | 28 |
15 | เกาหลีใต้ | 109 | 100 | 111 | 320 | 19 |
16 | ฟินแลนด์ | 101 | 85 | 119 | 305 | 27 |
17 | โรมาเนีย | 93 | 101 | 123 | 317 | 23 |
18 | คิวบา | 86 | 70 | 88 | 244 | 22 |
19 | แคนาดา | 80 | 117 | 156 | 353 | 28 |
20 | โปแลนด์ | 73 | 93 | 142 | 308 | 23 |
เจ้าเหรียญทองแบ่งตามปี
แก้อันดับ | ประเทศ | จำนวนเกม |
---|---|---|
1 | สหรัฐ (USA) | 19 ครั้ง |
2 | สหภาพโซเวียต (URS) | 6 ครั้ง |
3 | จีน (CHN) | 1 ครั้ง |
ฝรั่งเศส (FRA) | ||
สหราชอาณาจักร (GBR) | ||
เยอรมนี (GER) | ||
ทีมรวม (EUN) |