สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีในโอลิมปิก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (GDR) ซึ่งมักเรียกกันว่าเยอรมนีตะวันออกซึ่งเป็นฝ่ายสังคมนิยม ได้ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสำหรับเยอรมนีตะวันออกแยกต่างหากเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1951 ที่อาคารศาลากลางโรเท็ส รัทเทาส์ (Rotes Rathaus) ในเบอร์ลินตะวันออก เป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเยอรมนีคณะสุดท้ายจากทั้งหมดสามคณะในเวลานั้น โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่ให้การยอมรับคณะกรรมการชุดนี้นานกว่าทศวรรษ

เยอรมนีตะวันออก
ในโอลิมปิก
รหัสประเทศGDR
เอ็นโอซีNational Olympic Committee of the GDR
เหรียญ
อันดับ 11
ทอง
192
เงิน
165
ทองแดง
162
รวม
519
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูร้อน
การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น
เยอรมนี (1896–1936, 1992–)
เยอรมนี (1956–1964)

สรุปเหรียญรางวัล

แก้

โอลิมปิกฤดูร้อน

แก้
ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
1896–1912 ส่วนหนึ่งของ   เยอรมนี (GER)
  แอนต์เวิร์ป 1920 ไม่ได้เข้าร่วม'
  ปารีส 1924
1928–1936 ส่วนหนึ่งของ  /  เยอรมนี (GER)
  ลอนดอน 1948 ไม่ได้เข้าร่วม
  เฮลซิงกิ 1952
1956–1964 ส่วนหนึ่งของ   เยอรมนี (EUA)
  เม็กซิโกซิตี 1968 226 9 9 7 25 5
  มิวนิก 1972 297 20 23 23 66 3
  มอนทรีอัล 1976 267 40 25 25 90 2
  มอสโก 1980 345 47 37 42 126 2
  ลอสแอนเจลิส 1984 ไม่ได้เข้าร่วม
  โซล 1988 259 37 35 30 102 2
1992–ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของ   เยอรมนี (GER)
รวม 153 129 127 409 11

ประวัติ

แก้

ความสำเร็จของเยอรมนีตะวันออก

แก้

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นในปี ค.ศ. 1961 ระหว่างสงครามเย็น ประเทศได้เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติเป็น Nationales Olympisches Komitee der DDR ในปี ค.ศ. 1965 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ยอมรับคณะกรรมการดังกล่าวแยกเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1968 หลังจากนั้นเยอรมนีตะวันออกได้หยุดเข้าร่วมทีมรวมเยอรมนีในโอลิมปิก และส่งทีมเยอรมนีตะวันออกเป็นอิสระตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ถึง 1988 ยกเว้นแต่การเป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมในโอลิมปิกฤดูร้อนปี ค.ศ. 1984 ที่นำโดยสหภาพโซเวียต

ในขณะที่เยอรมนีตะวันออกซึ่งเป็นรัฐเล็ก ๆ มีประชากรประมาณ 16 ล้านคนมีประวัติสั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาโอลิมปิก แต่ประเทศก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 ถึงปี 1988 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 3 ครั้ง เยอรมนีตะวันออกได้อันดับที่สองรองจากสหภาพโซเวียต และนำหน้าเยอรมนีตะวันตกที่มีพื้นที่ใหญ่กว่า มีการพัฒนาที่ดีกว่าในโอลิมปิกฤดูหนาว 5 ครั้ง โดยเยอรมนีตะวันออกได้อันดับที่สอง 4 ครั้ง และครองอันดับหนึ่งเป็นครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูหนาวปี ค.ศ. 1984

เป็นที่เชื่อกันในวงกว้างว่าสารกระตุ้น (ส่วนใหญ่เป็นอะนาบอลิกสเตอรอยด์) ทำให้เยอรมนีตะวันออกซึ่งมีประชากรน้อยกลายเป็นผู้นำระดับโลกในทางกีฬาภายในเวลาสองทศวรรษ โดยได้รับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิกและเหรียญทองการแข่งขันระดับโลกจำนวนมากรวมถึงการได้รับบันทึกสถิติ นักกีฬาจำนวนหนึ่งมีผลไม่ผ่านการทดสอบสารกระตุ้นและขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถูกสงสัยว่าใช้ยาที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ[1][2] อย่างไรก็ตาม ในหลายกรณีที่มีข้อสงสัย ไม่พบหลักฐานการกระทำผิด ส่งผลให้สถิติและเหรียญรางวัลส่วนใหญ่ที่นักกีฬาชาวเยอรมนีตะวันออกได้รับนั้นยังคงอยู่ นอกเหนือจากโครงการที่กล่าวกันว่าใช้สารกระตุ้นอย่างกว้างขวางแล้ว เยอรมนีตะวันออกยังลงทุนอย่างมากในด้านกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาโอลิมปิก ด้วยเหตุผลด้านศักดิ์ศรี การโฆษณาชวนเชื่อ และการแข่งขันกับเยอรมนีตะวันตก มีระบบองค์กรของรัฐที่ครอบคลุมการคัดเลือกและฝึกอบรมทั้งนักกีฬาที่มีแนวโน้มและผู้ฝึกสอนระดับโลก

บุคคลสำคัญในเยอรมนีตะวันออกคือ มันเฟรท เอวัลท์ (Manfred Ewald, ค.ศ. 1926–2002) ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลางพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เขาเป็นประธานของ "Staatliches Komitee für Körperkultur und Sport" (Stako) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 ถึง 1960 ต่อมาในปี 1961 เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานของ "Deutscher Turn- und Sportbund" (DTSB) ซึ่งควบคุมกีฬาทั้งหมดในเยอรมนีตะวันออก และในปี ค.ศ. 1973 ได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ "Sportwunder DDR" ทำให้ต่อมาในช่วงหลังปี ค.ศ. 1990 เขาได้เขียนอัตชีวประวัติโดยใช้ชื่อเรื่องว่า Ich War der Sport เขาหลุดพ้นจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1988 หลังจากถูกปลดออกจากตำแหน่งใน DTSB ในปี ค.ศ. 2001 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Tagliabue, John (12 กุมภาพันธ์ 1991). "Political Pressure Dismantles East German Sports Machine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. Janofsky, Michael (3 ธันวาคม 1991). "OLYMPICS; Coaches Concede That Steroids Fueled East Germany's Success in Swimming". 'The New York Times.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้