กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น
กรีฑาสถานแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国立競技場; โรมาจิ: Kokuritsu Kyōgijō)[2][3][4][5][6] หรือเรียกว่า สนามกีฬาโอลิมปิก (ญี่ปุ่น: オリンピックスタジアム; โรมาจิ: Orinpikku Sutajiamu; ระหว่างโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020)[7][8] สนามกีฬาแห่งชาติใหม่ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตชินจูกุ กรุงโตเกียว เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสนามกีฬาแห่งชาติเดิม ใช้สำหรับจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพ
国立競技場 | |
มุมมองทางอากาศ ปี 2020 | |
ชื่อเต็ม | กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น |
---|---|
ที่ตั้ง | 10-2 เมืองคาสึมิกาโอกะ เขตชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
พิกัด | 35°40′41.5″N 139°42′52.5″E / 35.678194°N 139.714583°E |
ขนส่งมวลชน | E25 โคคุริตสึ-เคียวกิโจ JB12 เซนดากายะ |
เจ้าของ | สภากีฬาประเทศญี่ปุ่น |
ความจุ | 68,000 (กรีฑา) 68,698 (ฟุตบอล)[1] 80,016 (ฟุตบอลและรักบี้ยูเนียน สูงสุดโดยมีที่นั่งชั่วคราวเหนือลู่วิ่ง) |
ขนาดสนาม | 107 × 71 m |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 11 ธันวาคม 2016 |
ก่อสร้าง | ธันวาคม 2016 – 30 พฤศจิกายน 2019 |
เปิดใช้สนาม | 21 ธันวาคม 2019 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (157 พันล้านเยน) |
สถาปนิก | เค็งโงะ คูมะ |
การใช้งาน | |
รักบี้ยูเนียนทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น |
ประวัติ
แก้สนามกีฬาแห่งชาติเดิมถูกรื้อทิ้งแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2015 และในอีกสองเดือนถัดมา นายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศปรับดีไซน์ใหม่ของสนามกีฬาหลังดีไซน์เดิมต้องใช้งบประมาณก่อสร้างสูงมาก ดีไซน์โดยสถาปนิกเค็งโงะ คูมะ ได้รับอนุมัติในเดือนธันวาคม 2015 และมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2019
รายละเอียดสนาม
แก้สนามกีฬาแห่งนี้มีความแปลกตรงที่ไม้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง โดยทั้งหมดได้มาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบไม้หลายชิ้นอยู่ในรูปแบบโมดูลาร์ ซึ่งสามารถทดแทนได้เมื่อไม้เสื่อมสภาพ ไม้ที่ได้รับการรับรองนั้นได้มาจากทั้ง 47 จังหวัดของญี่ปุ่นตามประเพณีที่เริ่มต้นโดยศาลเจ้าเมจิ การออกแบบชายคาได้รับแรงบันดาลใจจากวัดโฮริวจิ และรวมเอาช่องว่างอากาศที่ใช้ประโยชน์จากสภาพลมที่พัดเข้ามาเพื่อระบายอากาศภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งของหลังคาประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์โปร่งใส และน้ำฝนจะถูกเก็บในถังเก็บน้ำใต้ดิน และใช้ในการชลประทานสนามหญ้าในสนามกีฬาตลอดจนพืชพรรณนานาชนิดบนทางเดินเล่นชั้นบนสุด การเข้าถึงเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลให้มีสถานที่สำหรับผู้ใช้รถเข็นมากกว่า 450 แห่ง รวมถึงห้องน้ำที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
สมุดภาพ
แก้การก่อสร้าง
แก้-
พฤศจิกายน 2016
พื้นที่สนามก่อนการก่อสร้าง -
พฤษภาคม 2017
-
กรกฎาคม 2017
-
กันยายน 2017
-
พฤศจิกายน 2017
-
ธันวาคม 2017
-
มีนาคม 2018
-
สิงหาคม 2018
-
ตุลาคม 2018
-
มกราคม 2019
-
มีนาคม 2019
-
พฤษภาคม 2019
-
กันยายน 2019
-
ธันวาคม 2019
-
ธันวาคม 2019
-
ธันวาคม 2019
-
ธันวาคม 2019
อ้างอิง
แก้- ↑ "FIFA Women's World Cup 2023: Bid Evaluation Report" (PDF). FIFA. 10 June 2020. pp. 177–178. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
- ↑ "Olympic Stadium". 2020 Summer Olympics official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ "国立競技場 一般の皆さまへ初めてのお披露目イベント開催のお知らせ 「国立競技場オープニングイベント ~HELLO, OUR STADIUM~」 日本を代表するアスリートやアーティストなどと一緒に競技場完成を祝う 1日限りのスペシャルイベント!" (PDF) (Press release) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Sport Council. 3 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 3 July 2019.
- ↑ "Japan National Stadium, Main Venue of 2020 Games, Completed". nippon.com. 30 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ "Olympics: National Stadium launched ahead of 2020 Tokyo Games". Kyodo News. 30 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ "New National Stadium declared finished nearly eight months ahead of Tokyo Olympics". The Japan Times. 30 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ "オリンピックスタジアム|競技会場等|大会情報|東京2020大会開催準備|東京都オリンピック・パラリンピック準備局". www.2020games.metro.tokyo.lg.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
- ↑ "オリンピックスタジアム(新国立競技場)|東京オリンピック2020会場:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ)
- Japan National Stadium — Architecture | Kengo Kuma and Associates
ก่อนหน้า | กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สนามกีฬามารากานัง รีโอเดจาเนโร |
โอลิมปิกฤดูร้อน พิธีเปิดและพิธีปิด (สนามกีฬาโอลิมปิก) (2020) |
สตาดเดอฟร็องส์ ปารีส | ||
สนามกีฬาโอลิมปิกนิลตง ซังตุส รีโอเดจาเนโร |
กีฬากรีฑา สนามกีฬาหลัก (2020) |
สตาดเดอฟร็องส์ ปารีส | ||
สนามกีฬาโอลิมปิกนิลตง ซังตุส รีโอเดจาเนโร |
กีฬากรีฑาพาราลิมปิก สนามกีฬาหลัก (2020) |
สตาดเดอฟร็องส์ ปารีส |