พนมเปญ

เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา
(เปลี่ยนทางจาก กรุงพนมเปญ)

พนมเปญ[4] หรือ พนุมปึญ[4] (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ, ออกเสียง: [pʰnum pɨɲ]; อังกฤษ: Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งที่เป็นทางการคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส

พนมเปญ

ភ្នំពេញ
ราชธานีพนมเปญ
ក្រុងភ្នំពេញ
ตราอย่างเป็นทางการของพนมเปญ
ตรา
สมญา: 
ไข่มุกแห่งเอเชีย (ก่อนทศวรรษ 1960)
เมืองที่มีเสน่ห์
ที่ตั้งของพนมเปญ
พิกัด: 11°33′N 104°55′E / 11.550°N 104.917°E / 11.550; 104.917พิกัดภูมิศาสตร์: 11°33′N 104°55′E / 11.550°N 104.917°E / 11.550; 104.917
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดพนมเปญ
ตั้งรกรากคริสต์ศตวรรษที่ 5[1]
ก่อตั้ง1372
สถานะเมืองหลวง1434–1497
เป็นเมืองหลวงอีกครั้ง1865
ตั้งชื่อจากวัดพนม และยายเพ็ญ
การแบ่งเขตการปกครอง12 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ)
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • ผู้ว่าราชการยูง เสรง (พรรคประชาชนกัมพูชา)
 • รองผู้ว่าราชการตาน สินา
มาบ สาริน
แสง ทอง
 • ที่นั่งรัฐสภาในพระราชอาณาจักร
12 / 125
พื้นที่
 • ทั้งหมด678.46 ตร.กม. (261.95 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 23
ความสูง11.89 เมตร (39.01 ฟุต)
ประชากร
 (2012)[2]
 • ทั้งหมด2,301,725 คน
 • อันดับอันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น3,400 คน/ตร.กม. (8,800 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 1
เดมะนิมPhnom Penher
เขตเวลาUTC+7 (กัมพูชา)
รหัสพื้นที่+855 (023)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2562)0.731[3]
สูง · อันดับที่ 1
เว็บไซต์Phnom Penh Website

กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 15.2 ล้านคน

ประวัติศาสตร์แก้ไข

 
วัดพนม เป็นที่มาของชื่อพนมเปญ

พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก

ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติ กษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรทรงย้ายราชธานีจากเมืองนครธมซึ่งถูกทำลายและยึดครองโดยกองทัพสยาม มาตั้งอยู่ที่ ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบันและทรงก่อร่างสร้างนครหลวงใหม่สร้างพระราชวัง ทรงตั้งนามเมืองหลวงแห่งนี้ว่า จตุมุข (ចតុមុខ) มีความหมายแปลว่า "เมืองที่มีสี่ใบหน้า" สื่อถึง พระพรหมผู้มีพระพักตร์ 4 หน้า กรุงจตุมุขมีชื่อเต็มว่า จตุรมุข มงคลสกลกัมพูชาธิบดี ศรีโสธรบวรอินทปัตถ์ บุรีรัฏฐราชสีมามหานคร (ក្រុងចតុមុខមង្គលសកលកម្ពុជាធិបតី សិរីធរបវរ ឥន្ទបត្តបុរី រដ្ឋរាជសីមាមហានគរ) มีความหมายว่า "สถานที่แห่งแม่น้ำสี่สายที่ให้ความสุขและความสำเร็จของอาณาจักรเขมรผู้นำสูงสุดและเมืองที่ไม่อาจทำลายได้ของพระอินทร์แห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่" เป็นชื่อเรียกกรุงพนมเปญสมัยนั้น[5] และยุคสมัยนี้จึงเรียกว่ายุคสมัยจตุมุขทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

กรุงพนมเปญยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ 73 ปีจากปี ค.ศ. 1432 - 1505 และถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 360 ปี (จากปี ค.ศ. 1505 ถึง 1865) โดยกษัตริย์ที่ตามมาเนื่องจากการต่อสู้ภายในราชวงศ์ระหว่างผู้อ้างสิทธิชิงบัลลังก์ หลังจากนั้นกษัตริย์ก็ย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายครั้งและสร้างเมืองหลวงขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศรีสันธร, ละแวกและกรุงอุดงมีชัย

ในระหว่างอานามสยามยุทธในสมัยพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังกรุงพนมเปญอีกครั้งเพื่อเข้ากับญวนจนจบศึกพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) ครองราชย์จึงได้ย้ายกลับมาอยู่ ณ อุดงมีชัย

จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงมีชัยกลับมาที่พนมเปญทรงแต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนั้น หลังจากการมีการทำสัญญากับฝรั่งเศสแล้วต่อมากัมพูชาก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส

แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่

เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ความตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

ภูมิศาสตร์แก้ไข

 
แม่น้ำจากโตนเลสาบ

พนมเปญ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางค่อนใต้ของกัมพูชา และล้อมรอบด้วยเขตกันดาล ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและโตนเลสาบ พิกัดภูมิศาสตร์ 11°33′00″N 104°55′00″E / 11.55°N 104.91667°E / 11.55; 104.91667 (11°33' เหนือ, 104°55' ตะวันออก,[6]) ครอบคลุมพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์) เป็นตัวเมือง 11,401 เฮกตาร์ (28,172 เอเคอร์) และถนน 26,106 เฮกตาร์ (64,509 เอเคอร์)

ภูมิอากาศแก้ไข

ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงพนมเปญ (ปี 1988–2013)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.1
(97)
38.1
(100.6)
40.0
(104)
40.5
(104.9)
40.0
(104)
39.2
(102.6)
37.2
(99)
37.8
(100)
35.5
(95.9)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
37.2
(99)
40.5
(104.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
33.2
(91.8)
34.6
(94.3)
35.3
(95.5)
34.8
(94.6)
33.8
(92.8)
32.9
(91.2)
32.7
(90.9)
32.2
(90)
31.4
(88.5)
31.1
(88)
30.8
(87.4)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.6
(79.9)
28.0
(82.4)
29.4
(84.9)
30.2
(86.4)
30.0
(86)
29.2
(84.6)
28.7
(83.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.2
(81)
27.1
(80.8)
26.3
(79.3)
28.3
(82.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.8
(71.2)
22.8
(73)
24.3
(75.7)
25.5
(77.9)
25.6
(78.1)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.2
(73.8)
21.9
(71.4)
24.0
(75.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.8
(55)
15.2
(59.4)
19.0
(66.2)
17.8
(64)
20.6
(69.1)
21.2
(70.2)
20.1
(68.2)
20.0
(68)
21.1
(70)
17.2
(63)
16.7
(62.1)
14.4
(57.9)
12.8
(55)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 12.1
(0.476)
6.6
(0.26)
34.8
(1.37)
78.8
(3.102)
118.2
(4.654)
145.0
(5.709)
162.1
(6.382)
182.7
(7.193)
270.9
(10.665)
248.1
(9.768)
120.5
(4.744)
32.1
(1.264)
1,411.9
(55.587)
ความชื้นร้อยละ 73 71 71 73 77 78 80 81 84 84 78 73 77
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.2 1.1 3.4 6.8 15.9 17.0 18.1 18.3 21.5 19.3 10.2 4.5 137.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 260 226 267 240 202 192 143 174 129 202 213 242 2,490
แหล่งที่มา 1: Deutscher Wetterdienst[7]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun, 1931–1960)[8]

เขตการปกครองแก้ไข

 
รัฐสภาชาติกัมพูชา

เทศบาลพนมเปญ มีพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (261.95 ตารางไมล์) มีสถานะเป็นจังหวัด มีทั้งหมด 9 เขต 76 แขวง และ 637 หมู่บ้าน

เขตในพนมเปญ
เขต (เขมร: ខណ្ឌ ขณฺฑ) แขวง (เขมร: សង្កាត់ สงฺกาต่) หมู่บ้าน (เขมร: ភូមិ ภูมิ) ประชากร (2008)
เขตจ็อมการ์มน 12 95 182,004
เขตดังเกา 15 143 257,724
เขตโฎนปึญ 11 134 126,550
เขตตวลกอร์ก (เขตตวล โกก) 10 143 171,200
เขตปรัมปีร์เมียะเกอะรา 8 33 91,895
เขตปอร์แซนเจ็ย (เขตปอร์แสนชัย) 13
เขตใหม่
183,826
เขตเมียนเจ็ย (เขตมีชัย) 8 30 327,801
เขตรุสเซ็ยแกว 12 59 196,684
เขตแซนซก (เขตแสนสุข) 6 147,967
เขตจบา ออมโปว (เขตจบาอ๊อม โปว) 8 30 เขตใหม่
เขตจโรย จองวา (เขต จโรย จ่อง วา) 5 22 เขตใหม่
เขตแปรก พโนว (เขต แปรก พโนว) 5 59 เขตใหม่

สถานที่สำคัญทางราชการแก้ไข

 
ทำเนียบรัฐบาล(วิมานสันติภาพ)
 
รัฐสภา
 
ศาลฎีกา

ประชากรแก้ไข

ใน ค.ศ. 2008 พนมเปญมีประชากร 2,009,264 คน มีครัวเรือน 5,358 หลัง อัตราการเติบโต 3.92% ชนชาติอื่น ๆ ในพนมเปญ ได้แก่ ชนชาติจีน เวียดนาม ฯลฯ และชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยสยาม บูดง มนง กุย ชง และ จาม ศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท คิดเป็น 90% ของชาวพนมเปญทั้งหมด ภาษาทางการคือ ภาษาเขมร ส่วนภาษาอื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส

พนมเปญ เป็นเมืองที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (ข้อมูลปี 2562) มากที่สุดในประเทศ มีค่าอยู่ที่ 0.731 ซึ่งอยู่ในระดับสูง[9]

เศรษฐกิจแก้ไข

ดูบทความหลักที่: เศรษฐกิจกัมพูชา

พนมเปญเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา มีอัตราการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปี เป็นศูนย์รวมของโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ และสิ่งก่อสร้างมากมาย

การเติบโตทางเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าแบบตะวันตกชื่อว่า ศูนย์การค้าโสรยา และ ศูนย์การค้าสุวรรณา รวมทั้งกิจการภัตตาคารและแฟรนไชส์ตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่

ตึกที่สูงที่สุดในพนมเปญ คือ ตึกวัฒนะ (Vattanac Capital Phnom Penh)[13] สูง 200 เมตร (656 ฟุต) สร้างถึงยอดเมื่อ พฤษภาคม ค.ศ. 2012 สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ทั่ว

สายการบิน กัมพูชานครแอร์ มีที่ทำการใน พนมเปญ

การศึกษาแก้ไข

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศกัมพูชา

สถานที่สำคัญแก้ไข

       
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา สร้างในปี ค.ศ. 1920 โดยจอร์จ โกลสเลอร์ พระบรมราชวังกรุงพนมเปญ สร้างในปี ค.ศ. 1860 สมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ โรงแรมหลวงกัมพูชา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1929 สมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ สิ่งก่อสร้างสมัย กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส

หนังสือพิมพ์แก้ไข

 
ภาพถ่ายทางอากาศของกรุงพนมเปญ
 
พระราชวังสันติภาพ
 
อาคารสภารัฐมนตรี

รายวันแก้ไข

เขมรแก้ไข

อังกฤษแก้ไข

จีนแก้ไข

  • 《柬華日報》(Jianhua Daily)
  • 《星洲日報》(Sinchew Daily)
  • 《華商日報》(Huashang Daily)
  • 《新柬埔寨》(นิวแคมโบเดีย)

นิตรสารแก้ไข

กีฬาแก้ไข

ดูบทความหลักที่: กีฬาในประเทศกัมพูชา

สนามกีฬาที่สำคัญในพนมเปญ ได้แก่ สนามกีฬาโอลิมปิกพนมเปญ จุคนได้ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม สนามนี้ไม่เคยถูกใช้ในกีฬาโอลิมปิกเลย สนามนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา

การคมนาคมแก้ไข

การเดินทางในพนมเปญใช้รถตุ๊กตุ๊กและรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เริ่มมี บริษัท มายลิง โอเพ่นทัวร์ (Mai Linh Open Tou) จากเวียดนามมาบริการแท๊กซี่มิเตอร์หลังคาสีเขียว จะคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 1.50 ดอลลาร์ [14]

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ห่างจากตัวเมืองพนมเปญ 7 กิโลเมตร (4.3 ไมล์)

ทางหลวงแผ่นดินแก้ไข

ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ยาว เริ่มต้น สิ้นสุด
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 10001 167.10 km 103.83 mi พนมเปญ ชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 10002 120.60 km 74.94 mi พนมเปญ ชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 10003 202.00 km 125.52 mi พนมเปญ วีล รินห์
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 10004 226.00 km 140.43 mi พนมเปญ เมืองพระสีหนุ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 10005 407.45 km 253.18 mi พนมเปญ ชายแดนไทย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 10006 416.00 km 258.49 mi พนมเปญ จังหวัดบันทายมีชัย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 10007 509.17 km 316.38 mi พนมเปญ ชายแดนลาว

เมืองพี่น้องแก้ไข

พนมเปญมีเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้[15]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Bennett Murray (14 February 2015). "Ancient kiln site poised to 'disappear forever'". สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
  2. "Facts Phnom Penh City". Phnompenh.gov.kh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-31.
  3. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  5. Sopheak wordpress, [1]. Retrieved August 23, 2009.
  6. "GNS: Country Files". Earth-info.nga.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-08-12. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  7. "Klimatafel von Phnom Penh / Kambodscha" (PDF). Baseline climate means (1961-1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
  8. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Cambodia - Phnom Penh" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931-1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 44. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 27, 2013. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  9. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  10. "Qsr Brands On Kfc Expansion Plans In Cambodia". My Sinchew. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  12. [2]
  13. "Vattanac Capital". Riverpalace.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  15. "Sister Cities". Phnompenh.gov.kh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-31.
  16. Xinhuall. "Cambodia's Phnom Penh, Thailand's Bangkok become "sister cities"". Global Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  17. Higgins, Randall. "Cleveland, Tenn., is now sister city to... Phnom Penh?". Times Free Press.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข