ละแวก (เขมร: លង្វែក) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา เป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ในช่วงยุคมืดของกัมพูชา ซึ่งเริ่มขึ้นหลังยุคเมืองพระนคร ในอดีตเคยเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม[1] เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางการทหารของประเทศ เป็นที่รวมของผู้มีความรู้รวมถึงนักวิชาการและนักศิลปะการต่อสู้[2]

ละแวก

លង្វែក
เมือง
ภาพวาดของเมืองละแวก
ภาพวาดของเมืองละแวก
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดจังหวัดกำปงฉนัง
อำเภออำเภอกำปงตระลาจ

ละแวกได้รับเลือกจากพระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) ให้เป็นเมืองหลวงใหม่หลังจากการปล้นเมืองพระนครโดยอยุธยา เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สามารถป้องกันได้ง่ายกว่า หลังจากที่พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) ปราบเจ้ากองได้สำเร็จ พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากจตุมุขไปยังเมืองละแวกในปี ค.ศ. 1528 เมืองใหม่นี้เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1528 ถึง ค.ศ. 1594

ประวัติ

แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 15 กัมพูชาอยู่ในสถานะเสื่อมถอย หลังการทำลายล้างเมืองพระนครเกือบทั้งหมด ละแวกจึงได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงใหม่ของรัฐกัมพูชาขนาดเล็ก ละแวกตั้งอยู่ระหว่างพนมเปญและปลายทางตอนใต้ของโตนเลสาบ และสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี (ค.ศ. 1516–1566) ทรงเลือกเป็นเมืองหลวง

ละแวกกลายเป็นเมืองหลวงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังสงครามกลางเมืองระหว่างพระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) กับเจ้ากอง หลังพระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) ได้รับชัยชนะ พระองค์จึงกลายเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของกัมพูชา

นักผจญภัยและมิชชันนารีชาวสเปนและโปรตุเกส อย่างบลัส รูอีซ เด เอร์นัน กอนซาเลซ (Blas Ruiz de Hernán Gonzáles) จากซิวดัดเรอัล เข้าเยี่ยมชมอาณาจักรครั้งแรกในสมัยนี้ บลัสกลายเป็นพระสหายของสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา) แห่งละแวกที่มีอัธยาศัยดีต่อชาวต่างชาติ[3] และขณะอยู่ในอาณาจักรนี้ ก็รู้จักกับ Diogo Beloso นักผจญภัยชาวโปรตุเกสจากAmarante ชาวไอบีเรียเรียกพนมเปญว่า "Churdumuco" และเรียกเสร็ยสันธอร์ว่า "Sistor"[4]

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งสยามเข้ายึดครองละแวกใน ค.ศ. 1593[5]: 143 

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

มีการจำลองท้องพระโรงและวิหารวัดตรอแลงแกงของพระราชวังหลวงละแวก เพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมัยละแวก ณ โรงถ่ายภาพยนตร์พร้อมมิตรสตูดิโอ อยู่ภายในบริเวณค่ายสุรสีห์ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นครั้งแรก และใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ในประเทศไทยที่มีฉากเนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรกัมพูชาในภาพยนตร์ไทย หรือละครโทรทัศน์ไทยจนถึงปัจจุบัน[6][7][8][9][10][11]

อ้างอิง

แก้
  1. Hamilton (M.R.A.S.), Walter (1815). The East India Gazetteer: Containing Particular Descriptions of the Empires, Kingdoms, Principalities, Provinces, Cities, Towns, Districts, Fortresses, Harbours, Rivers, Lakes, &c. of Hindostan, and the Adjacent Countries, India Beyond the Ganges, and the Eastern Archipelago; Together with Sketches of the Manners, Customs, Institutions, Agriculture, Commerce, Manufactures, Revenues, Population, Castes, Religion, History, &c. of Their Various Inhabitants (ภาษาอังกฤษ). J. Murray.
  2. Sony, Ouch, and Danielle Keeton-Olsen. "An Ancient Martial Art, Transformed by Time, War, Seeks Return to Prominence." VOD, 12 Jan. 2021, vodenglish.news/an-ancient-martial-art-transformed-by-time-war-seeks-return-to-prominence/. Accessed 26 Feb. 2021.
  3. Trudy Jacobsen, Lost goddesses ISBN 87-7694-001-2 ISBN 978-8776940010
  4. The Philippine islands, 1493-1803
  5. Rajanubhab, D., 2001, Our Wars With the Burmese, Bangkok: White Lotus Co. Ltd., ISBN 9747534584
  6. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=century&month=11-2009&date=16&group=22&gblog=22
  7. https://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=net-mania&month=30-10-2009&group=1&gblog=10
  8. https://w.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10523266/E10523266.html
  9. https://th.foursquare.com/v/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%81/4ee582252c5b5fc6cd669577
  10. https://www.sanook.com/travel/1391932/
  11. https://mgronline.com/travel/detail/9670000053918

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

11°51′53″N 104°45′14″E / 11.86472°N 104.75389°E / 11.86472; 104.75389