มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: Bansomdejchaopraya Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | |
---|---|
Bansomdejchaopraya Rajabhat University | |
![]() ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มบส. / BSRU |
คติพจน์ | มุ่งมั่น ทุ่มเทให้เป็นเลิศของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพสากลชั้นนำ |
สถาปนา | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (22 ปี) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา[1] |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ คชสิทธิ์[2] |
ที่ตั้ง | ส่วนกลาง 1061 ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี 95 หมู่ 1 ซอยเทศบาล 2/4 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72220 |
ประเทศ | ![]() |
ชื่อเดิม | โรงเรียนราชวิทยาลัย |
สีประจำสถาบัน | ████ สีม่วง สีขาว |
เพลง | ช่อชงโค |
เว็บไซต์ | www.bsru.ac.th |
ประวัติแก้ไข
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2439 เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่จะตั้งโรงเรียนแบบ public school ของอังกฤษ
อาคารสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยแก้ไข
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งหน้า
ตึก 1 อาคารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ตึก 2 อาคารเรียนรวม
ตึก 3 อาคารเรียนรวม
ตึก 4 อาคารเรียนรวม
ตึก 5 อาคารบริหารกิจการนักศึกษา
ตึก 6 อาคาร 100 ปี ศรีสุริยวงศ์
ตึก 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา คณะวิทยาการจัดการ
ตึก 8 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตึก 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตึก 10 อาคารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ทัต บุนนาค)
ตึก 11 อาคารสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
ตึก 12 อาคารเรียนรวม
นอกเหนืออาคาร
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งโรงเรียนสาธิต
ตึก 15
ตึก 16 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตึก 17 (อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สัญญาเริ่ม 21 มี.ค. 2561 สิ้นสุดสัญญา 18 มี.ค. 2564 ผู้รับจ้าง บริษัท สิทธิชัยเอนจิเนียริ่ง จำกัด)
ตึก 18 อาคารฝึกปฎิบัติการวิชาชีพครู โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตึก 19 อาคารสุริยาคาร โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตึก 20 อาคารเรียนรวม โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตึก 21 หอพักศีตลาคาร
ตึก 22 อาคารช่อชงโค
ตึก 24 อาคารสมเด็จพุฒาจารย์ (นวม)
ตึก 27 อาคารพระยาสีหราชเดโชชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และวิทยาลัยการดนตรี
ตึก 29 อาคารวิเศษศุภวัฒน์
ตึก 30 คณะครุศาสตร์
ตึก 31 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นอกเหนืออาคาร
ผังมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแก้ไข
สัญลักษณ์ประจำสถาบันแก้ไข
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์แก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการวัดประเมินและวิจัยทางการศึกษา
- สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะเเนว
- สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการประถมศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาจีน
- สาขาวิชาภาษาไทย
- ภาษาและวรรณกรรม
- ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมวลชน
- สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
- ประวัติศาสตร์เพื่อการพัฒนา
- สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาประยุกต์
- สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
- สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (ภาษาเกาหลีและญี่ปุ่น)
- สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต (ศป.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาศิลปกรรม
- สาขาวิชานาฎยศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชา
- นาฎยศิลป์ไทย
- นาฎยศิลป์สากล
- สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและอินโฟร์
หลักสูตรนิติศาตรบัณฑิต (น.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชานาฎยศิลป์ศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย
- สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ สาขาใหม่ 2562
- สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรสภาวิชาชีพ)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา
- สาขาวิชาเคมีศึกษา
- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต (ส.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
คณะวิทยาการจัดการแก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรนิเทศศาตรบัณฑิต (นศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง
- สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ
- สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา
- สร้างสรรค์และผลิตรายการวิทยุ
- สร้างสรรค์และผลิตรายการโทรทัศน์
- ผู้ประกาศและการแสดง
- ข่าวและการเขียนเชิงวารสารศาสตร์
- สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการประกอบการธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาบัญชี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการท่องเที่ยว
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรวิศวกรรมศาตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
- สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน สาขาใหม่ 2561
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ สาขาใหม่ 2562
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมการผลิตและโลจิสติกส์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ. 2 ปี ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
วิทยาลัยการดนตรีแก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาดนตรีตะวันตก แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มวิชา
- การประพันธ์เพลง
- ดนตรีคลาสสิค
- ดนตรีโยธวาฑิต
- ดนตรีแจ๊ส
- เทคโนโลยีดนตรี
- ดนตรีสมัยนิยม
- ดนตรีวิทยา
- การสอนดนตรี
- สาขาวิชาดนตรีไทย
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยแก้ไข
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
- ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ระดับปริญญาโท
- หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
- สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศึกษาและภาวะผู้นำ
- สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
- สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
- สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะสาขาวิชาภาษาสากล
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐสมัยใหม่
- หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
- สาขาวิชาทัศนศิลป์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
- สาขาวิชาเภสัชกรรมไทย
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
- สาขาวิชาภาษาไทย
ระดับปริญญาเอก
- หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.)
- สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- สาขาวิชาบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาเภสัชกรรมไทย
- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีแก้ไข
ประวัติแก้ไข
- พ.ศ. 2543 เปิดการเรียนการสอนตามโครงการการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ
- พ.ศ. 2544 ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ เป็นอาคาร คสล.สูง 3 ชั้น ด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัยและเปิดใช้อาคารเมื่อ พ.ศ. 2545
- พ.ศ. 2552 ก่อสร้างอาคารเรียน คสล. สูง 3 ชั้น 18 ห้องเรียน ด้วยเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยและเปิดใช้อาคารเมื่อ พ.ศ. 2553
- พ.ศ. 2557 ได้รับงบประมาณจากสภามหาวิทยาลัย 120 ล้านบาทในการพัฒนาให้เป็นวิทยาเขตที่สมบูรณ์
- ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกสถาบัน โดยดำเนินการขออนุญาตเปิดสอนระดับปริญตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการเกษตรและซัพพลายเชน
ที่ตั้งแก้ไข
95 หมู่ 1 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72220 บนเนื้อที่ 162.93 ไร่
หลักสูตรแก้ไข
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สาขารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สาขานวัตกรรมการจัดการเกษตรและซัพพลายเชน
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแก้ไข
เนื้อหาส่วนนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์ หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้าอภิปรายแล้วนำป้ายนี้ออกได้ กรุณาศึกษาวิธีเขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณทราบว่าเนื้อหาส่วนนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ลบเนื้อหาดังกล่าวออก |
- สำนักอธิการบดี เป็นส่วนงานบริหารกลางของอธิการบดี หน่วยงานนี้จัดระบบบริหารงานส่วนกลาง มีงานบริหารบุคคล งบประมาณ อาคารสถานที่ และพัสดุ เป็นต้น มีภารกิจหลักในการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการและทำงานเป็นทีม พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เริ่มดำเนินงานในชื่อ “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม” ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูและสถาบันราชภัฏในปี พ.ศ. 2538 มีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่จัดให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากซึ่งนิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้โดยปฏิบัติตามกฏระเบียบของสำนักวิทยบริการ
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีภารกิจเกี่ยวข้องกับกับด้านวิชาการ
- สำนักกิจการนักศึกษา มีหน้าที่ดำเนินจัดกิจกรรมและดูแล จัดบริการแนะแนวสำหรับนิสิต นักศึกษาทุกคน
- สำนักคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน และดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
- สำนักประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัย และเป็นสื่อกลางไปยังองค์กรภายนอก
- สำนักวิเทศสัมพันธ์และเครื่อข่ายอาเซียน
- สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านการวิจัย
- สถาบันภาษา
- สถาบันขงจื้อ
- บัณฑิตวิทยาลัย
- ประกันคุณภาพ
- หน่วยตรวจสอบภายใน
- ฝ่ายวิชาการ
- สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
- สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงเรียนสาธิตแก้ไข
โรงเรียนสาธิต ประกอบด้วย 3 หน่วยงานย่อย ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนประถมสาธิต และโรงเรียนมัธยมสาธิต มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ประถม)
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มัธยม)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงแก้ไข
- หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) บิดาแห่งการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย และหนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ขุนสุนทรภาษิต (ถนอม เกยานนท์) นักประพันธ์ผลงานภาษาไทยทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ได้แต่งหนังสือแบบเรียนและกวีนิพนธ์ไว้อยู่หลายเล่มให้เป็นประโยชน์สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
- เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- ชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตองคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตประธานศาลฎีกา
- บุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- พนม พงษ์ไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- มณีนุช เสมรสุต นักร้องนานาชาติรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดดีกรีนักร้องยอดเยี่ยมสมัครเล่นแห่งเอเชีย ที่ ประเทศฮ่องกง ปี พ.ศ. 2523
- ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- บุญเลิศ ไพรินทร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ หรือที่เป็นที่รู้จักในนาม "โหร ส.ว."
- สมพงษ์ พละสูรย์ หรือ "ครูคำหมาน คนไค" ผู้เขียนเรื่อง "ครูบ้านนอก" ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
- ประยอม ซองทอง นักเขียนกลอน และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2548
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ก่อตั้งวงดนตรีคลาสสิกเยาวชน ดร.แซ็ก เชมเบอร์ ออร์เคสตรา
- จุก เบี้ยวสกุล (หมู) นักเขียนการ์ตูน และนักวาดนิยายภาพชาวไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในช่วงสมัย พ.ศ. 2490 ถึง 2500
- พิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อดีตนายกองค์การนักศึกษาฯ
- ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ อาจารย์ พิธีกร นักแสดง และนักจัดรายการเกี่ยวกับอาหาร
- ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ (แอ้ด) อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร นักสิทธิมนุษยชนทำงานกับเด็กยากไร้ในสลัมคลองเตย ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ
- ดำรง พุฒตาล นักธุรกิจและนักสื่อสารมวลชน เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือนิตยสารคู่สร้างคู่สม
- ภิญโญ จิตต์ธรรม อาจารย์ นักวิชาการ นักเขียน ผู้ฟื้นฟูศิลปะการละเล่นพื้นบ้านโนราของจังหวัดสงขลา
- ดิเรก อมาตยกุล (ตู้) นักร้อง
- อิสริยะ อภิชัย (เร) มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี พ.ศ. 2534
- ศิริโรจน์ ศิริเจริญ (อาร์ม โต้รุ่ง) นักร้อง
- ธีระศักดิ์ อุ่มมล (นุ) สมาชิกวงกะลา สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ประมูล อุณหธูป นักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า อุษณา เพลิงธรรม มีผลงานเด่น เช่น เรื่องของจัน ดารา ที่นำไปทำเป็นภาพยนตร์
- ฐาปนา ณ บางช้าง (แฮ้ค) นักดนตรี ตำแหน่งกีตาร์ แห่งวงแคลช
- สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) มือกลองแห่งวงบอดี้สแลม
- กานต์ อ่ำสุพรรณ (กานต์) มือกลองแห่งวงโปเตโต้
. ประ ภ า พ ตันเจริญ (เฟ้น) นักร้องนำวงพอส