คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University) ถือกำเนิดมาจาก โรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นับเป็นคณะแรก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University
สถาปนา17 มีนาคม พ.ศ. 2439
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร อินทรสมพันธ์
ที่อยู่
อาคาร 30 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ซอยอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
วารสารวารสารครุศาสตร์สาร
(Journal of Educational Studies)[1]
สี  สีแสด[2]
สถานปฏิบัติโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เว็บไซต์edu.bsru.ac.th

ประวัติ แก้

  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "โรงเรียนราชวิทยาลัย"
  • พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก"
  • พ.ศ. 2449 โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก เรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนฝึกอาจารย์ฝั่งตะวันตก" และต่อมาเรียกว่า "โรงเรียนฝึกอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
  • ระหว่างปี พ.ศ. 2446-2458 โรงเรียนฝึกอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ยุบกลายเป็น "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
  • พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดแผนกครูขึ้นเรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
  • พ.ศ. 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" และประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518[3]
  • พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" และประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ[4] เมื่อปี พ.ศ. 2538
  • พ.ศ. 2542 คณะครุศาสตร์ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542[5] ขึ้น
  • วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"[6]
  • พ.ศ. 2554 ทุกสาขาวิชาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education : TQF : HEd.)[7] และจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.2) โดยพัฒนาปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน

คณาจารย์ แก้

ตำแหน่งทางวิชาการ แก้

รวม 83 ท่าน

วุฒิการศึกษา แก้

รวม 83 ท่าน

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2555

หลักสูตรการศึกษา แก้


หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[8]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
  • สาขาวิชาจิตวิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี)

  • สาขาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาศิลปศึกษา


หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาประเมินผลทางการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน


หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ทำเนียบคณบดี (ผู้บริหาร) แก้

ทำเนียบคณบดี (ผู้บริหาร) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
รายนามคณบดี (ผู้บริหาร) วาระการดำรงตำแหน่ง
1. เอ.ซี.คาร์เตอร์ (A.C.Carter) พ.ศ. 2439 - พ.ศ. 2446
2. หลวงบำเหน็จวรญาณ พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2447
3. ขุนวิเทศดรุณการ พ.ศ. 2448 - พ.ศ. 2458
4. พระประมวลวิชาพูล พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2470
5. พระปวโรฬาร พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2472
6. พระยาวิเศษศุภวัตร์ พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2480
7. หลวงทรงวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482
8. หลวงภารสาร พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2491
9. นายจรูญ วงศ์สายัณห์ พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2499
10. หลวงบุญปาลิตวิชาสาสก์ พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2500
11. นายสวัสดิ์ สิงหพงษ์ พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2501
12. นายโชค สุคันธวณิช พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2504
13. นายพร ทองพูนศักดิ์ พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509
14. นายศิริ ศุขกิจ พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2511
15. นายจรูญ มิลินทร์ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2518
16. หม่อมราชวงศ์ทวีโภค เกษมศรี พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521
17. นายบุญเลิศ ศรีหงส์ พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2528
18. รองศาสตราจารย์สุรพันธ์ ยันต์ทอง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532
19. รองศาสตราจารย์ฉลอง ภิรมย์รัตน์ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2536
20. รองศาสตราจารย์ ดร.พรพิพัฒน์ เพิ่มผล พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2546
21. รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2555
22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลิ้มสุขวัฒน์ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558
23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร อินทรสมพันธ์ พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, [1]
  2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ปรัชญาครุศาสตร์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘, เล่ม 92, ตอนพิเศษ 48 ก., 27 กุมภาพันธ์ 2518, หน้า 1-23.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘, เล่ม 112, ตอน 4 ก., 24 มกราคม 2538, หน้า 1.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, เล่ม 116, ตอน 74 ก., 19 สิงหาคม, 2542, หน้า 1.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗, เล่ม 121, ตอนพิเศษ 23 ก., 14 มิถุนายน 2547, หน้า 1-25.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 125 ง., 31 สิงหาคม, 2552, หน้า 17-19.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕, เล่ม 129, ตอน 89 ก., 14 กันยายน พ.ศ. 2555, หน้า 25. มาตรา 3 (3).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้