ดิเรก อมาตยกุล ชื่อเล่น ตู้ เป็นนักร้องชาวไทย ที่มีชื่อเสียงช่วงปี พ.ศ. 2525 - 2528 และเป็นอดีตนักร้องนำวงเพรสซิเดนท์ และในฐานะนักร้องเดี่ยวที่มีจุดเด่นที่ลีลาการเต้นประกอบการร้อง จนได้รับฉายาว่า "มนุษย์ไร้กระดูก" [2] เพลงที่เป็นรู้จักได้แก่ "กระบี่ไร้เทียมทาน" (พ.ศ. 2524) และ "สาวบางโพ" (พ.ศ. 2525) [3] เพลง "เด็กวัด" และ "ไอ้เหมียน" จากอัลบั้มเดี่ยว พ.ศ. 2528 [4]

ดิเรก อมาตยกุล
เกิด29 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี) [1]
ดิเรก อมาตยกุล
คู่สมรสชาลดา อมาตยกุล (เสียชีวิต)
อาชีพนักฟุตบอล, นักร้อง, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
สังกัดอโซน่า
นิธิทัศน์
ThaiFilmDb

ประวัติ

แก้

ดิเรก อมาตยกุล เป็นหลานชายของ มาริษา อมาตยกุล นักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) [1] เข้าสู่วงการจากการเป็นนักฟุตบอล ตำแหน่งผู้รักษาประตู สังกัดสโมสรฟุตบอลราชประชา ของหม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร [5] เริ่มหัดร้องเพลง พร้อมกับตั้งวงดนตรีราชประชาร่วมกับเพื่อนนักฟุตบอล

ปัจจุบัน ดิเรก อมาตยกุล หันไปเป็นนักแสดง มีผลงานแสดงละครสังกัดค่ายดีด้า ของ สยม สังวริบุตร นอกจากนี้ยังมีผลงานแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นาง ชาลดา อมาตยกุล (เสียชีวิตแล้ว)

ผลงาน

แก้

เพลง

แก้
  • คนขายควาย (เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ)
  • รำวงลักไก่ (เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ)
  • รถเอ๋ยรถไฟ (เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ)
  • ต้อนควาย (เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ)
  • นับเงิน (เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ)
  • สมบัติมหาเฮง (เพลงประกอบละคร สมบัติมหาเฮง)

อัลบั้มเดี่ยว

แก้
  • Super Boom (2534)
  • ติ๊ด ตะ ลิด ติ๊ด ชิ่ง (เมษายน 2535)
  • ไม่ธรรมดา (พฤศจิกายน 2536)
  • ผมเปล่านามันอ้าเอง (มิถุนายน 2537)
  • รวยง่าย (สิงหาคม 2539)
  • รวมฮิต โป๊ะแตก (ธันวาคม 2547)

อัลบั้มพิเศษ

แก้
  • เมดเล่ย์ซูเปอร์ฮิต มันส์ไม่หยุด (มกราคม 2535)
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ ความรัก ความฝัน ความตาย (30 กันยายน 2546)
  • ที่สุดของอิส อารีย์ (กรกฎาคม 2556)

ศิลปินรับเชิญ

แก้
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง คนใจร้าย (She's so wild) ในอัลบั้ม Discovery ของ กรู๊ฟไรเดอร์ส (2544)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ฝันว่าเปียก ในชิงเกิ้ล ฝันว่าเปียก ของ คาวบอย (2558)

ภาพยนตร์

แก้
  • มนต์รักเพลงทะเล้น (2531) รับบท ตู้
  • มือปืนเก๋าเจ๋ง (2548) รับบท เฮียเก๊า
  • เดอะเมีย (2548) รับบท นักร้อง (รับเชิญ)
  • ลูกตลก....ตกไม่ไกลต้น (2549) รับบท พ่อของแซลลี่
  • Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (2550) รับบท หมอเกรียงไกร
  • อีเห็ดสด เผด็จศึก (2553) รับบท ผู้พัน (รับเชิญ)
  • หมาแก่ อันตราย (2554) รับบท หัวหน้าคะแนน
  • ยังบาว (2556) รับบท ตู้
  • วัยอลวนฮ่า! (2564)

ละครโทรทัศน์

แก้
ปีที่แสดง พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2540 ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน ไสยศาสตร์มนต์ดำ ช่อง 5
2542 นางเอกหลังบ้าน ช่อง 7
พิศวาสอลเวง
ดาวกลางดง
2543 กามเทพลวง ลุงแทน
แค่เอื้อม วิรุฬ
2544 นายฮ้อยทมิฬ บุญเพ็ง
ขุนทรัพย์แม่น้ำแคว
2545 สาวน้อยในตะเกียงแก้ว โจร
รอยไถ เปลี่ยน
2548 โคกคูนตระกูลไข่ ตอน หอยโข่งขาร็อก จิมมี่ 9 นิ้ว
2550 หนุ่มผมยาว สาวโปงลาง
2551 ปมรัก รอยอดีต เฮียเพ้ง
สุดแต่ใจจะไขว่คว้า (รับเชิญ) ช่อง 3
2553 บ้านนาคาเฟ่ ชัย ช่อง 7
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ตอน เราขาดกัน รับเชิญ ช่อง 7
2554 สุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ท้าวกะหมังกุหนิง ช่อง 9
2555 ลับ ลวง หลอน ลุงมี ช่อง 3
2557 คู่หูคู่เฮี้ยน (รับเชิญ) ช่อง 7
คู่ปรับสลับร่าง ลุงตู้ ช่อง 3
2558 หวานใจนายจิตระเบิด โส่ย ช่อง 7
สาวน้อยอ้อยควั่น ลุงตำรวจ
2559 ขุนกระทิง สมหมาย
2560 ภูตสาวสื่อรัก ผู้กำกับพิทยา
แหวนปราบมาร ภูติอำพัน
2561 อังกอร์ ลุงพจน์ ช่อง 3
2562 รักแท้ของนายถึก ทรงยศ
ยอดรักนักรบ เฮียเก๊า (รับเชิญ) ช่อง 7
2563 สมบัติมหาเฮง ลุงรัง (รับเชิญ)
2564 กำนันหญิง เฒ่าเทิ้ม
แด่คุณพ่อด้วยแข้งขวา ทรงศักดิ์ ทรงอำนาจ (ป๋าซ้ง) ไทยรัฐทีวี
คทาสิงห์ ส่างปา ช่อง 7
2565 หุบพญาเสือ สัปเหร่อเปลื่อง
2566 กล้า ผาเหล็ก พรานอ่วม
ฤทัยบดี โหราธิบดีคำยิ่ง
สามสหายกับคุณนายสะอาด แสง ช่อง 3

ละครเทิดพระเกียรติ

แก้
ปีที่แสดง เรื่อง บทบาท
2559 เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์
2561 ป่ารักษ์ช้าง ผู้ใหญ่จุ่น

ละครเวที

แก้
ปีที่แสดง เรื่อง บทบาท
2546 คู่กรรมเดอะมิวสิคัล ตาผล
2555 ลำซิ่งซิงเกอร์ เฮียเขี้ยว


อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ดิเรก อมาตยกุล กระบี่ไร้เทียมทาน[ลิงก์เสีย] ไทยโพสต์ 30 กรกฎาคม 2549
  2. RMS Karaoke[ลิงก์เสีย]
  3. คอลัมน์ จับกระแสลูกทุ่ง[ลิงก์เสีย] อนงค์ จันทร หนังสือพิมพ์ข่าวสด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
  4. “ตู้ ดิเรก” แจ้นเคาะสนิม แจมส์คอนเสิร์ต “ศิลปินในดวงใจ”[ลิงก์เสีย]
  5. "ชื่นมื่นกับงาน "วงการฟุตบอล สดุดี หม่อมลูกหนัง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-06-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้