ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (พ.ศ. 2101–2317)

หัวเมืองเชียงใหม่ (อักษรธรรมล้านนา: ᩉ᩠ᩅᩫ​ᨾᩮᩬᩥᨦ​ᨩ᩠ᨿᨦ​ᩉᩲ᩠ᨾ᩵) เป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดี กรุงศรีอยุธยา และกรุงอังวะ โดยระยะแรก (พ.ศ. 2101–2206) ยังมีอำนาจในการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2207-2317) จึงถูกยุบรวมเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของพม่า[1]

หัวเมืองเชียงใหม่

ᩉ᩠ᩅᩫ​ᨾᩮᩬᩥᨦ​ᨩ᩠ᨿᨦ​ᩉᩲ᩠ᨾ᩵
พ.ศ. 2101–พ.ศ. 2317
สถานะประเทศราช
ของกรุงหงสาวดี กรุงศรีอยุธยา และกรุงอังวะ
เมืองหลวงเวียงเชียงใหม่
ภาษาทั่วไปไทยวน
การปกครองราชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• ทัพพระเจ้าบุเรงนองยึดครองล้านนา
พ.ศ. 2101
• นรธาเมงสอสวามิภักดิ์กรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2139
• ทัพอังวะยึดครองเชียงใหม่
พ.ศ. 2158
• ทัพพม่าถูกขับจากเชียงใหม่
พ.ศ. 2317
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา
นครรัฐเชียงแสน
นครเชียงใหม่
นครลำปาง
นครลำพูน
นครแพร่
นครน่าน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเป็นส่วนหนึ่งของ
- ภาคเหนือของไทย
- บางส่วนของรัฐฉาน

ประวัติศาสตร์ แก้

อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป ในยุคนี้ล้านนาถูกเข้าแทรกแซงอำนาจจากอาณาจักร์ล้านช้างและอยุธยาซึ่งล้านช้างเป็นฝ่ายชนะในการแทรกแซงล้านนา ส่งผลให้ล้านช้างได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ ส่งผลให้อาณาจักร์ล้านนากลายเป็นรัฐในอารักขาของล้านช้างในที่สุดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งพระยาโพธิสาลราชได้กลายเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างในช่วงสั้นๆโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่เป็นประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์มังรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง มาปกครองแทน

พ.ศ. 2157 พระเจ้าอโนเพตลุนแห่งอังวะ ซึ่งเป็นราชนัดดาในพระเจ้าบุเรงนอง เห็นว่าตั้งแต่สิ้นเจ้าเมืองเชียงใหม่สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ ซึ่งยอมเป็นประเทศราชของอยุธยา ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันระหว่างฝ่ายพม่าคือ พระช้อย และฝ่ายล้านนาคือ พระชัยทิพ เห็นเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งเลยยกมาตีเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่รู้ว่าพม่ายกมาก็ทิ้งเมืองพากันลงมาอยู่ที่ลำปาง แต่ในที่สุดก็เสียเมืองลำปางให้พม่า

พ.ศ. 2207 พระเจ้าปเยแห่งอังวะได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ตั้งเมืองเชียงแสนเป็นอีกหัวเมืองหนึ่งคู่กับเมืองเชียงใหม่ และใช้เป็นฐานสำคัญในการยกกองทัพเข้าไปตีกรุงศรีอยุธยา นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[2]

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับรายนามผู้ปกครองเชียงใหม่ แก้

รายนามผู้ปกครองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2175 - 2270 เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยอ้างอิงจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูกที่ 6[3] หรือหลักฐานชั้นหลังที่อ้างอิงตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เช่น พงศาวดารโยนก[4] อย่างไรก็ตาม ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ส่วนนี้ได้ถูกโต้แย้งว่านำเอาบันทึกของเชียงแสนและพม่ามาใช้โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง[5] และมีเนื้อหาขัดแย้งกับหลักฐานของพม่า เชียงแสน และอยุธยา[6]

ผู้ปกครอง ข้อโต้แย้งโดยย่อ ดูเพิ่ม
พระยาหลวงทิพเนตร พื้นเมืองเชียงแสนและราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่บ่งชี้ว่า เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรครองเมืองเชียงแสน ในขณะที่เมืองเชียงใหม่ว่างเจ้าเมือง พญาแสนหลวง
พระแสนเมือง เจ้าเมืองเชียงใหม่ถูกกวาดต้อนไปยังอยุธยาในปี พ.ศ. 2207

เจ้าฟ้าแสนเมืองครองเมืองเชียงแสนไปจนถึงปี พ.ศ. 2215

เจ้าเมืองแพร่ ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้าปเย

ซึ่งทรงเคยเป็นเจ้าเมืองแปรมาก่อน

มีนเยละจอ

มีนเยยานดา

อุปราชอึ้งแซะ ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้านะราวะระ

ซึ่งทรงเป็นพระมหาอุปราชาพม่าในขณะนั้น

เจพูตราย ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้ามังกะยอดิน

ซึ่งทรงเป็นพระโอรสของเจ้าชายแห่งซีบุดะรา (Siputtara)

มีนเยนอระทา

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 257
  2. 200 ปี พม่าในล้านนา
  3. Minister, Office of the Prime, English: Fundamental History of the City of Chiang Mai (PDF), p. 81-82, สืบค้นเมื่อ 2023-02-22
  4. ประชากิจกรจักร, พระยา (2516). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. pp. 408–418.
  5. สุขคตะ, เพ็ญสุภา (16 กรกฎาคม 2023). "ตระหนัก 'ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่' (จบ) ความคลาดเคลื่อนที่ควรแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมชำระใหม่แบบขยายความ". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2023.
  6. Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 272–282 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
บรรณานุกรม