ฟุตบอลทีมชาติบริเตนใหญ่
ฟุตบอลทีมชาติบริเตนใหญ่ในโอลิมปิก (อังกฤษ: Great Britain Olympic football team; ชื่อย่อ: Team GB) เป็นผู้แทนทีมฟุตบอลชายในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนของสหราชอาณาจักร ซึ่งเข้าแข่งขันในนามบริเตนใหญ่ ภายใต้ตรา “ทีมจีบี” จัดสร้างขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (Football Association; FA) ซึ่งมีสถานะเป็นผู้แทนฟุตบอลของสมาคมโอลิมปิกแห่งสหราชอาณาจักร (British Olympic Association)
ฉายา | ทีม จีบี | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอล (ตั้งแต่ ค.ศ. 1907) | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | จิม ลูวิส ไมก์ พินเนอร์ (11)[1] | ||
ทำประตูสูงสุด | วิลล์ แคมป์เบลล์ (10)[1] | ||
รหัสฟีฟ่า | GBR | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
บริเตนใหญ่ 12–1 สวีเดน (ลอนดอน บริเตนใหญ่; 20 ตุลาคม ค.ศ. 1908) | |||
ชนะสูงสุด | |||
บริเตนใหญ่ 12–1 สวีเดน (ลอนดอน บริเตนใหญ่; 20 ตุลาคม ค.ศ. 1908) | |||
แพ้สูงสุด | |||
บัลแกเรีย 6–1 บริเตนใหญ่ (เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956) บัลแกเรีย 5–0 บริเตนใหญ่ (โซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย; 5 ะฤษภาคม ค.ศ. 1971) | |||
กีฬาโอลิมปิก | |||
เข้าร่วม | 8[2] (ครั้งแรกใน 1900) | ||
ผลงานดีที่สุด | ทอง: 1900,[2]1908,[2] 1912[2] | ||
เกียรติยศ |
ฟุตบอลทีมชาติสหราชอาณาจักร ไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า และเข้าแข่งขันเฉพาะในกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น ซึ่งไม่มีการจัดเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) จนถึงปัจจุบัน แต่อาจมีการรวมทีมลงแข่ง ในนัดกระชับมิตรบางโอกาสเท่านั้น โดยทุกวันนี้ แต่ละประเทศร่วมสหราชอาณาจักรคือ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ต่างจัดทีมชาติของแต่ละประเทศเอง เพื่อเป็นผู้แทนร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ
ประวัติ
แก้ฟุตบอลทีมชาติสหราชอาณาจักร เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกรวมทั้งรอบคัดเลือก ตั้งแต่ครั้งที่ 3 จนถึงครั้งที่ 20[3] ก่อนหน้านั้นมีการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยเป็นกีฬาสาธิตในครั้งที่ 2 แต่ต่อมา คณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรองย้อนหลัง โดยสโมสรฟุตบอลอัปตันปาร์ก ซึ่งลงแข่งขันในนามผู้แทนของสหราชอาณาจักร และชนะเลิศรางวัลเหรียญทองด้วย หลังจากนั้นทีมก็ชนะเลิศเหรียญทองอีก ในกีฬาครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5[4][5] ซึ่งฟุตบอลทีมชาติสหราชอาณาจักรในโอลิมปิกทุกชุด จัดสร้างขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ด้วยการยินยอมของชาติร่วมสหราชอาณาจักร และหลังจากเอฟเอยกเลิกการแบ่งแยก ระหว่างนักฟุตบอลสมัครเล่นกับนักฟุตบอลอาชีพ เมื่อปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ก็ไม่มีทีมโอลิมปิกของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมอีก แต่มีการรวบรวมทีมขึ้นใหม่สำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ซึ่งกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพเอง
ผู้เล่น
แก้สัดส่วน
แก้สัดส่วนของผู้เล่นเปลี่ยนแปลงตลอด โดยผู้เล่นทั้งหมดใน ค.ศ. 1908, 1912, 1920 และ 1956 เป็นชาวอังกฤษ ในขณะที่ปีอื่นมีการรวมผู้เล่นจากไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์[1] ทีมชุดใน ค.ศ. 2012 ประกอบด้วยชาวอังกฤษ 13 คนและชาวเวลส์ 5 คน แต่ไม่มีผู้เล่นชาวสกอตหรือไอร์แลนด์เหนือ[6] แจ็ก บัตแลนด์ ผู้เฝ้าประตูทางเลือกที่สามของอังกฤษ เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ได้เข้าแข่งขันทั้งในโอลิมปิกและทีมชุดอังกฤษในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012[7] ไรอัน กิกส์, เคร็ก เบลลามี และไมคาห์ ริชาดส์ ได้รับเลือกเป็น 3 ผู้เล่นที่อายุเกิน[8] เดวิด เบคแคม อดีตกัปตันอังกฤษ ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโอลิมปิก แต่ถูกกันออกจากทีมชุดสุดท้าย[8]
ทีมชุดโอลิมปิกลอนดอน 2012
แก้รายชื่อทีมบริเตนใหญ่สำหรับโอลิมปิก 2012 ประกาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 โดยไรอัน กิกส์ มีชื่อเป็นหัวหน้าทีม[9]
- ผู้เล่นที่มีอายุเกิน 3 คนระบุเป็น *
- สโมสรที่ระบุคือสโมสรที่ผู้เล่นอยู่ขณะเข้าเล่นโอลิมปิก
- อายุของผู้เล่นอยู่ในวันแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | แจ็ก บัตแลนด์ | 10 มีนาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 19 ปี) | 5 | 0 | เบอร์มิงแฮมซิตี | ||
18 | GK | เจสัน สตีล | 18 สิงหาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 21 ปี) | 1 | 0 | มิดเดิลส์เบรอ | ||
2 | DF | นีล เทย์เลอร์ | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (อายุ 23 ปี) | 5 | 0 | สวอนซีซิตี | ||
3 | DF | ไรอัน เบอร์ทรันด์ | 5 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 22 ปี) | 4 | 0 | เชลซี | ||
5 | DF | สตีเวน คอลเกอร์ | 29 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 20 ปี) | 5 | 0 | ทอตนัมฮอตสเปอร์ | ||
6 | DF | เคร็ก ดอว์สัน | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 22 ปี) | 3 | 0 | เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | ||
12 | DF | เจมส์ ทอมกินส์ | 29 มีนาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 23 ปี) | 2 | 0 | เวสต์แฮมยูไนเต็ด | ||
14 | DF | ไมคาห์ ริชาดส์* | 24 มิถุนายน ค.ศ. 1988 (อายุ 24 ปี) | 5 | 0 | แมนเชสเตอร์ซิตี | ||
4 | MF | แดนนี โรส | 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 22 ปี) | 4 | 0 | ทอตนัมฮอตสเปอร์ | ||
7 | MF | ทอม เคลเวอร์ลีย์ | 12 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 22 ปี) | 5 | 0 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | ||
8 | MF | โจ อัลเลน | 14 มีนาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 22 ปี) | 5 | 0 | สวอนซีซิตี | ||
11 | MF | ไรอัน กิกส์* (กัปตัน) | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973 (อายุ 38 ปี) | 4 | 1 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | ||
13 | MF | แจ็ค คอร์ก | 25 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (อายุ 23 ปี) | 4 | 0 | เซาแทมป์ตัน | ||
15 | MF | แอรอน แรมซีย์ | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 21 ปี) | 5 | 1 | อาร์เซนอล | ||
16 | MF | สกอตต์ ซินแคลร์ | 25 มีนาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 23 ปี) | 4 | 1 | สวอนซีซิตี | ||
9 | FW | เดเนียล สเตอร์ริดจ์ | 1 กันยายน ค.ศ. 1989 (อายุ 22 ปี) | 5 | 2 | เชลซี | ||
10 | FW | เคร็ก เบลลามี* | 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 (อายุ 33 ปี) | 5 | 1 | ลิเวอร์พูล | ||
17 | FW | มาร์วิน ซอร์เดลล์ | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (อายุ 21 ปี) | 3 | 0 | โบลตันวอนเดอเรอส์ |
บันทึกและสถิติ
แก้บันทึกโอลิมปิกทั้งหมด
แก้นี่คือรายการการแข่งขันทั้งหมดในกีฬาโอลิมปิกของบริเตนใหญ่[10][11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 โอลิมปิก 2012 – รอบแบ่งกลุ่ม | บริเตนใหญ่ | 1–1 | เซเนกัล | แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร |
20:00 | เบลลามี 20' | รายงาน | Konaté 82' | สนามกีฬา: โอลด์แทรฟฟอร์ด ผู้ชมในสนาม: 72,176[12] ผู้ตัดสิน: Irmatov (อุซเบกิสถาน) |
29 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 โอลิมปิก 2012 – รอบแบ่งกลุ่ม | บริเตนใหญ่ | 3–1 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
19:45 | กิดส์ 16' ซินแคลร์ 73' .สเตอร์ริดจ์ 76' |
รายงาน | อีซา 60' | สนามกีฬา: สนามกีฬาเวมบลีย์ ผู้ชมในสนาม: 85,137[13] ผู้ตัดสิน: การ์เซีย (เม็กซิโก) |
1 สิงหาคม ค.ศ. 2012 โอลิมปิก 2012 – รอบแบ่งกลุ่ม | บริเตนใหญ่ | 1–0 | อุรุกวัย | คาร์ดิฟ สหราชอาณาจักร |
19:45 | สเตอร์ริดจ์ 45+1' | รายงาน | สนามกีฬา: มิลเลนเนียมสเตเดียม ผู้ชมในสนาม: 70,438[14] ผู้ตัดสิน: นิชิมูระ (ญี่ปุ่น) |
4 สิงหาคม ค.ศ. 2012 โอลิมปิก 2012 – รอบรองชนะเลิศ | บริเตนใหญ่ | 1–1 (ต่อเวลาพิเศษ) (4–5 ลูกโทษ) | เกาหลีใต้ | คาร์ดิฟ สหราชอาณาจักร |
19:30 | แรมซีย์ 36' (ลูกโทษ) | รายงาน | จี ดอง-วอน 29' | สนามกีฬา: มิลเลนเนียมสเตเดียม ผู้ชมในสนาม: 70,171[15] ผู้ตัดสิน: โรลดัน (โคลอมเบีย) |
ยิงลูกโทษ | ||||
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Menary, Steve (2010). GB United? British Olympic Football and the End of the Amateur Dream. Durington: Gardners Books. ISBN 978-1-905411-92-4.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 In some years, notably 1908, 1912 and 1956, the Great Britain Olympic team was the England national amateur football team playing in the colours of the United Kingdom. Sources differ as to whether this team should be considered a GB team or an England national team
- ↑ ทีมเป็นผู้แทนสหราชอาณาจักร ซึ่งรู้จักทั่วไปว่า บริเตนใหญ่ หรือในไม่กี่ปีหลังนี้ว่า ทีม จีบี เมื่อเข้าแข่งขันในโอลิมปิก [1] เก็บถาวร 2018-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Happy to discuss Olympic team". The Football Association. 10 July 2003. สืบค้นเมื่อ 20 February 2010.
- ↑ Games of the IV Olympiad. Aarhus, Lars; RSSSF, 15 October 1999. Retrieved on 5 July 2006.
- ↑ Owen, Paul (2 July 2012). "London 2012 Olympics: 25 days to go - live blog". สืบค้นเมื่อ 2 January 2020 – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ "London 2012: Stuart Pearce wanted Euro 2012 players". BBC Sport. 19 July 2012. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
- ↑ 8.0 8.1 "David Beckham not selected for London 2012 football squad". BBC Sport. 28 June 2012. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
- ↑ "Giggs to captain GB". BBC Sport. 8 July 2012.
- ↑ EnglandStats.com Retrieved 12 August 2012
- ↑ Great Britain's Amateur History 1908-71 Full list of Great Britain's internationals, including non-Olympics-related friendlies, as well as a list of warm-up friendlies against British club sides England Football Online; Retrieved 14 August 2012
- ↑ "Great Britain – Senegal". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 26 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
- ↑ "Great Britain – United Arab Emirates". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 29 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2012. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
- ↑ "Great Britain – Uruguay". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 1 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
- ↑ "Great Britain – South Korea". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 4 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2012. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.