ประเทศไทยใน พ.ศ. 2556
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 232 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 68 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีที่ผ่านมา มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งนำไปสู่ภาวะวิกฤตทางการเมือง และการสิ้นสุดของรัฐบาล
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น)
- นายกรัฐมนตรี: ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (เพื่อไทย)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 24 (ถึง 9 ธันวาคม)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (เพื่อไทย) (จนถึง 9 ธันวาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 10
- ประธานวุฒิสภา: นิคม ไวยรัชพานิช (อิสระ)
- ประธานศาลฎีกา:
- ไพโรจน์ วายุภาพ (จนถึง 30 กันยายน)
- ดิเรก อิงคนินันท์ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม – โรงพยาบาลศิริราชสามารถผ่าตัดส่องกล้องทารกในครรภ์เพื่อรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในเอเชีย
- 3 มกราคม – ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคมในพื้นที่ ก่อตั้ง “สถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ภาษามลายู” เพื่อเป็นสื่อของประชาชนที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม
ตุลาคม
แก้- 3 ตุลาคม – สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ในวันดังกล่าว
- 24 ตุลาคม – สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สิ้นพระชนม์ หลังจากทรงเจริญพระชันษา 100 ปี เพียงไม่กี่วัน และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ถึง 24 ปี
พฤศจิกายน
แก้- 1 พฤศจิกายน – สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ[1]
- 4 พฤศจิกายน – วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557: เกิดการประท้วงหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ตลอดจนต่างจังหวัด หลายมหาวิทยาลัยและองค์การออกแถลงการณ์ประณามร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้ตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ถนนราชดำเนินกลางเป็นสถานที่ชุมนุม
- 25 พฤศจิกายน – วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557: กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีสุเทพเป็นผู้นำเริ่มเดินขบวนไปบุกยึดสถานที่ราชการของรัฐบาลหลายแห่ง รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[2]
ธันวาคม
แก้- 9 ธันวาคม – ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎร
- 26 ธันวาคม – คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)เปิดประมูลทีวีดิจิตอลเป็นครั้งแรกที่อาคาร CAT ทาวเวอร์ หรือ กสท โทรคมนาคม บางรัก กทม.
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 4 มกราคม – รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ แม่ทัพภาคที่ 3 คนที่ 17 (เกิด พ.ศ. 2469)
- 9 มกราคม – เปรม มาลากุล ณ อยุธยา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2480)
- 16 มกราคม – ไพศาล ยิ่งสมาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2482)
- 19 มกราคม – สมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 88 (เกิด พ.ศ. 2504)
- 21 มกราคม – ชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 108 (เกิด พ.ศ. 2483)
กุมภาพันธ์
แก้- 8 กุมภาพันธ์ – ยอดธง ศรีวราลักษณ์ (ยอดธง เสนานันท์) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2480)
- 15 กุมภาพันธ์ – สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 42 (เกิด พ.ศ. 2478)
- 17 กุมภาพันธ์ – อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2485)
- 27 กุมภาพันธ์ – ปัญญวัฒน์ บุญมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2483)
มีนาคม
แก้- 2 มีนาคม – พิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์) นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2482)
- 7 มีนาคม – เภา สารสิน รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 49 (เกิด พ.ศ. 2472)
- 18 มีนาคม – พระธรรมวงศ์มุนี (วิชัย เมตติโก) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2453)
- 19 มีนาคม – บารมี การุณวงศ์ (กานท์ การุณวงศ์) นักดนตรีลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2476)
- 20 มีนาคม – พิชาญเมธ ม่วงมณี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2489)
- 30 มีนาคม – ประชุม รัตนเพียร อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2469)
เมษายน
แก้- 4 เมษายน – ณรงค์ ทรงมณี (อภิเดช ศิษย์หิรัญ) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2484)
- 14 เมษายน – สอาด ปิยวรรณ อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2469)
- 16 เมษายน – หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2473)
- 22 เมษายน – ชัยสิทธิ์ เตชะสว่างวงศ์ ทหารเรือ (เกิด พ.ศ. 2528) (ดูเพิ่ม)
- 26 เมษายน – จินดา ศิริมานนท์ นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2460)
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม – ชบ ยอดแก้ว นักเศรษฐศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2478)
- 23 พฤษภาคม – อัญชลี ไชยศิริโกสินทร์ (อัญชลี ไชยศิริ) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2499)
- 24 พฤษภาคม – พร ธนะภูมิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 (เกิด พ.ศ. 2460)
- 28 พฤษภาคม – สรจักร ศิริบริรักษ์ นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2498)
มิถุนายน
แก้- 7 มิถุนายน – เอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2497)
- 14 มิถุนายน – เกียรติ วัธนเวคิน นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2452)
กรกฎาคม
แก้- 8 กรกฎาคม – หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2473)
- 9 กรกฎาคม – พระธรรมปัญญาจารย์ (สุพจน์ ปภสฺสโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เกิด พ.ศ. 2462)
- 28 กรกฎาคม – เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์ นักแสดง (ไม่ทราบปีเกิด)
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม – สุธี สิงห์เสน่ห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 30 (เกิด พ.ศ. 2471)
- 10 สิงหาคม – สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (เกิด พ.ศ. 2471)
กันยายน
แก้- 1 กันยายน – ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2501)
- 2 กันยายน – พระมงคลวิสุทธิ์ (สุภา กนฺตสีโล) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2439)
- 11 กันยายน – พรสายัณห์ มีโชคดีเสมอ (สายัณห์ สัญญา) นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2496)
- 16 กันยายน – ไพรเวศ วงศ์ธนบัตร นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2490)
- 23 กันยายน – สมบุญ ระหงษ์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 52 (เกิด พ.ศ. 2475)
- 28 กันยายน – ชอุ่ม แย้มงาม (ชอุ่ม ปัญจพรรค์) นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2464)
ตุลาคม
แก้- 5 ตุลาคม – สุคนธ์ทิพย์ บุญญวัฒน์ (สุคนธ์ทิพย์ เสนะวงศ์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2492)
- 6 ตุลาคม – ก้าน แก้วสุพรรณ (เกิด พ.ศ. 2482) นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 16 ตุลาคม – พรทิพย์ ณรงค์เดช นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2489)
- 19 ตุลาคม – จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม นักกีฬายิงปืน (เกิด พ.ศ. 2516)
- 22 ตุลาคม – เทพพร บุญสุข (เทพพร เพชรอุบล) นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2490)
- 24 ตุลาคม – สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ประสูติ พ.ศ. 2456)
- 28 ตุลาคม – แชน วรงคไพสิฐ ตำรวจ (เกิด พ.ศ. 2506) (ดูเพิ่ม)
- 29 ตุลาคม – หม่อมเจ้าอรุณแสงไข ภาณุพันธุ์ พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2474)
ธันวาคม
แก้- 18 ธันวาคม – เงิน บุญสุภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 38 (เกิด พ.ศ. 2476)
- 22 ธันวาคม – กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต (เกิด พ.ศ. 2469)
- 27 ธันวาคม – ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ ศาสตราจารย์ (เกิด พ.ศ. 2493)
- 30 ธันวาคม – ถนอม นวลอนันต์ นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2474)
อ้างอิง
แก้- ↑ Campbell, Charlie (2013-11-01). "Thailand's Amnesty Bill Unites Political Foes Against Government | TIME.com". World.time.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-13.
- ↑ "Protesters storm key ministries". Bangkok Post. 26 November 2013. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.