เงิน บุญสุภา
เงิน บุญสุภา (26 มกราคม พ.ศ. 2476 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี 7 สมัย และอดีตประธานสภาจังหวัดสระบุรี 4 สมัย
เงิน บุญสุภา | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 56 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มกราคม พ.ศ. 2476 |
เสียชีวิต | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (80 ปี) |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2550) |
คู่สมรส | จินตนา บุญสุภา |
ประวัติ
แก้เงิน บุญสุภา เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของธรรม บุญสุภา กับหุ่น บุญสุภา[1] สมรสกับจินตนา บุญสุภา มีบุตร 4 คน เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่พุแควิทยาคม จังหวัดสระบุรี
เงิน ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ สายบริหารธุรกิจ และการจัดการ โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏเทพสตรี เมื่อ พ.ศ. 2537
การทำงาน
แก้เงิน บุญสุภา ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และหันมาทำธุรกิจหินอ่อน โดยก่อตั้งบริษัท โรงโม่หินและโรงงานหินอ่อนบุญสุภา[2] รวมถึงโรงโม่หินเกียรติกมล เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสระบุรี (สจ.) ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นประธานสภาจังหวัดสระบุรี 4 สมัย
ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย พร้อมกันกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร และนายปองพล อดิเรกสาร จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 เขาย้ายมาสังกัดพรรคราษฎร ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
เงิน บุญสุภา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร (ครม.48) เมื่อปี พ.ศ. 2535[3][4] ดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน ก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
จากนั้นเขาได้ย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เงิน บุญสุภา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 รวมอายุ 80 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ การเปลี่ยนแปลงบทบาทและอำนาจทางการเมือง ของตระกูลอดิเรกสาร
- ↑ ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗