ชอุ่ม ปัญจพรรค์
ชอุ่ม ปัญจพรรค์ หรือ ชอุ่ม แย้มงาม (10 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 28 กันยายน พ.ศ. 2556) นักเขียน นักแต่งเพลงชาวไทย ได้รับการเชิดชูเกียรติรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546
ชอุ่ม ปัญจพรรค์ | |
---|---|
เกิด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2464 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี |
เสียชีวิต | 28 กันยายน พ.ศ. 2556 (91 ปี) กรุงเทพมหานคร |
นามปากกา | ชอุ่ม ปัญจพรรค์ |
อาชีพ | ข้าราชการพลเรือน, นักเขียน,นักแต่งเพลง |
คู่สมรส | จำโนทย์ แย้มงาม |
ชีวิตตอนต้น
แก้ชอุ่มเกิดที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรสาวคนโตของขุนปัญจพรรค์พิบูล อดีตข้าหลวงจังหวัด (ผู้ว่าราชการ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครปฐม จังหวัดพังงาและจังหวัดตราด กับกระแส ปัญจพรรค์ (สกุลเดิม โกมารทัต) เป็นพี่สาวของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534) โดยมีพี่น้องร่วมท้อง 4 คน ได้แก่ [1]
- ชลอ ปัญจพรรค์
- ลัดดา ปัญจพรรค์
- อาจินต์ ปัญจพรรค์
- วัฒนา คชรัตน์
จบการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และนครปฐม ศึกษาชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 เลขประจำตัวที่ 1 [2] แล้วเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 11
การทำงาน
แก้รับราชการที่กรมโฆษณาการ ทำงานในแผนกและกองต่าง ๆ เช่น กองกระจายเสียงวิทยุแห่งประเทศไทย แผนกนิตยสารและห้องสมุด, บรรณาธิการหนังสือโฆษณาสาร, หัวหน้าคณะละครวิทยุ คณะโฆษณาสาร และคณะวัฒนธรรมบันเทิง รวมทั้งแต่งบทละครและเพลงประกอบเรื่องให้คณะสุนทราภรณ์
เขียนเรื่องสั้นเป็นงานอดิเรกขณะทำงานอยู่ที่กองกระจายเสียงวิทยุแห่งประเทศไทย จำนง รังสิกุล ซึ่งทำงานอยู่อีกแผนกหนึ่งได้พบเรื่องสั้นที่เขียนเก็บใส่แฟ้มไว้ จึงได้นำผลงานเรื่องสั้นชื่อ “ฉันกับกามเทพ” ส่งให้ นิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการนิตยสารสตรีสารอ่าน ปรากฏว่าได้ลงตีพิมพ์เป็นเรื่องแรกในชีวิตและเริ่มงานเขียนเป็นอาชีพตั้งแต่นั้น
ละครวิทยุ ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่สร้างจากผลงานเขียน/นวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น "ทัดดาวบุษยา" "บ้านนอกเข้ากรุง" "เมียนอกกฎหมาย" "มารพิศมัย" "สร้อยฟ้าขายตัว" นอกจากนี้ยังมีผลงานคำร้อง เพลงข้องจิต หนึ่งในดวงใจ ช่อรักซ้อน วิมานใยบัว รักเอาบุญ ดอกพุดตาน สำคัญที่ใจ ฝากลมวอน เกิดเป็นคน แผ่นดินทอง หน้าที่ของเด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี) เป็นต้น [3]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ชอุ่มสมรสกับจำโนทย์ แย้มงาม ไม่มีบุตรด้วยกัน
ชอุ่มถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ของวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556[4] สิริอายุ 91 ปี โดยหน้าที่สุดท้ายคือทำงานที่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นกรรมการเซ็นเซอร์ของสถานี
ความภูมิใจ
แก้การยกย่องเชิดชูเกียรติ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546 [5]
เกร็ด
แก้- นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 เลขประจำตัว 1
- ผู้ประพันธ์เพลงปิ่นหทัย เพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ สำราญภูติ, ไพบูลย์. ชอุ่ม ปัญจพรรค์ คีตกวีผู้สร้างสรรค์ บทเพลงรักหวาน อันแสนไพเราะ (2 ed.). วิช กรุ๊ป (ไทยแลนด์). p. 1. ISBN 978-616-8056-63-9.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ ประวัติ ชอุ่ม ปัญจพรรค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติจากเว็บไซต์ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น[ลิงก์เสีย]
- ↑ สิ้น ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ผู้ประพันธ์ทัดดาว บุศยา และน้าวี วีรศักดิ์ ขุขันธิน สองวัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติและทำเนียบรางวัลนราธิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗