พรทิพย์ ณรงค์เดช
คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช (สกลุเดิม; พรประภา) (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด และอดีตผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามกลการ จำกัด[1]
พรทิพย์ ณรงค์เดช | |
---|---|
เกิด | พรทิพย์ พรประภา 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 |
เสียชีวิต | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (67 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด |
คู่สมรส | ดร.เกษม ณรงค์เดช (พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2556) |
บุตร | กฤษณ์ ณพ กรณ์ |
บุพการี | ถาวร พรประภา รำไพ พรประภา |
อีกทั้งคุณหญิงพรทิพย์ก็ยังทำงานด้านสังคมอีกนับไม่ถ้วน โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมและมูลนิธิต่าง ๆ เช่น มูลนิธิรามาธิบดี มูลนิธิช่วยการศึกษากรุงเทพมหานคร มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติ
แก้คุณหญิงพรทิพย์ เป็นบุตรสาวของถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้งสยามกลการ กับนางรำไพ พรประภา มีพี่น้อง 3 คน ได้แก่ นางพรทิวา พรประภา คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช และ นายพรเทพ พรประภา ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ
คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2551[2]
ด้านธุรกิจ
แก้สยามกลการ
แก้คุณหญิงพรทิพย์ ขึ้นรับตำแหน่งประธานกรรมการของสยามกลการ หลังจากถาวร พรประภา เสียชีวิต
แยกตัวกับสยามกลการ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2536 คุณหญิงพรทิพย์ได้แยกตัวออกจากสยามกลการ ออกมาปลุกปั้นธุรกิจของตนเองร่วมกับสามี คือ เกษม ณรงค์เดช ที่ทำก่อนหน้านี้ ในชื่อ "บริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด" (KPN Group Corporation Co., Ltd.) โดยจะเน้นไปทางธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์เป็นหลัก[3]
ชีวิตส่วนตัว
แก้คุณหญิงพรทิพย์ สมรสกับ ดร.เกษม ณรงค์เดช เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 และมีบุตรชายด้วยกัน 3 คน คือ
การเสียชีวิต
แก้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 07.00 น คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชถึงแก่อนิจกรรมลงด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว
รางวัล
แก้- รางวัลนักธุรกิจชั้นนำแห่งปี พ.ศ. 2534
- รางวัลนักธุรกิจสตรีตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. 2534 จากสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิขาชีพแห่งประเทศไทย
- รางวัลสตรีดีเด่นปี พ.ศ. 2536 สาขานักธุรกิจสตรี จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ
- รางวัลแม่ดีเด่น ประเภทแม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม พ.ศ. 2543 (ประทานรางวัลจาก จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- รางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่นของโลก พ.ศ. 2543[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[10]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช
- ↑ ปิดตำนาน'คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช'
- ↑ R.I.P. คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช หญิงเหล็กแห่งอาณาจักร KPN
- ↑ ประวัติกฤษณ์ ณรงค์เดช ข้อมูลล่าสุดของกฤษณ์ ณรงค์เดช
- ↑ ไม่ธรรมดา! เปิดโปรไฟล์ ไฮโซ "ณพ ณรงค์เดช" ศึกตระกูลดัง พ่อเศร้าลูกปลอมลายเซ็น
- ↑ ประวัติกรณ์ ณรงค์เดช ข้อมูลล่าสุดของกรณ์ ณรงค์เดช
- ↑ สิ้นตำนานหญิงเหล็ก คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช เจ้าของอาณาจักรเคพีเอ็น
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗