เกียรติ วัธนเวคิน
เกียรติ วัธนเวคิน (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556) หรือ คู เส้เกี้ยน (丘細見) เป็นนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีบทบาทในวงการธุรกิจของประเทศไทย เป็นประธานกิตติศักดิ์ของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย ผู้ก่อตั้งธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และบุกเบิกธุรกิจอุตสาหกรรมหลายสาขา อาทิ ธุรกิจการเงินและธนาคาร ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ธุรกิจผลิตและจำหน่ายสุราในภาคตะวันออก ธุรกิจก่อสร้างทางหลวง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น[1]
เกียรติ วัธนเวคิน | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2452 |
เสียชีวิต | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2556 (103 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | คู เส้เกี้ยน (丘細見) |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
ประวัติแก้ไข
เกียรติ วัธนเวคิน เกิดที่ประเทศจีน เป็นบุตรของนายเซ็น และนางฮวย อพยพเข้ามาอาศัยที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมกับมารดา เขาสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนฮั่วมิ้นกงลิบหักเหา (โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์มัธยม)
เกียรติ วัธนเวคิน มีบุตรธิดา รวม 18 คน อาทิ
- คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานกลุ่มบริษัทน้ำตาลตะวันออกจำกัด ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ และอดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
- นายสุพล วัธนเวคิน ประธานคณะกรรมการธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
- นางพนิดา เทพกาญจนา สมรสกับ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นางวรรณสมร วรรณเมธี กรรมการบริหารบริษัทโรงแรมไฮแอทรีเจนซี่ หัวหิน และเดอะบาราย สมรสกับนายธีร์ วรรณเมธี กรรมการศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
เกียรติ วัธนเวคิน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ด้วยโรคชรา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน คือ วันที่ 15-21 มิถุนายน 2556 พร้อมโกศ 8 เหลี่ยม ณ ศาลากวีนิรมิต (ศาลากลางน้ำ) วัดเทพศิรินทราวาส [2]
เกียรติยศแก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2525 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2520 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2508 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ภ.)
- พ.ศ. 2502 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ภ.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ. "ปิดตำนานเจ้าสัว'เกียรติ วัธนเวคิน'." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130614/511425/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4--%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99.html 2556. สืบค้น 4 มีนาคม 2557.
- ↑ ชุมชนชาวฮากกา. "กำหนดการงานพิธีกรรมศพ เจ้าสัว เกียรติ วัธนเวคิน 丘細見 (คิ้วเส่เกี้ยน)'." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://hakkapeople.com/node/3779 2556. สืบค้น 4 มีนาคม 2557.