ไพศาล ยิ่งสมาน (2 เมษายน พ.ศ. 2482 - 16 มกราคม พ.ศ. 2556) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา 4 สมัย

ไพศาล ยิ่งสมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2482
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
เสียชีวิต16 มกราคม พ.ศ. 2556 (73 ปี)
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
คู่สมรสจรูญ ยิ่งสมาน

ประวัติ แก้

ไพศาล ยิ่งสมาน เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายแวสามะ (ชื่อเดิม:อรุณ) และ นางแวสะลาเมาะ (ชื่อเดิม:นงเยาว์) ยิ่งสมาน[1] มีพี่น้อง 4 คน โดยนายไพศาล เป็นบุตรคนที่ 2 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนเทพศิรินทร์ และเคยเข้าศึกษาที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 ปี ก๋อนที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์

การทำงาน แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษา ไพศาล ได้เข้าทำงานเป็นข้าราชการครูที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ตามลำดับ ก่อนที่จะลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว[2]

งานการเมือง แก้

ไพศาล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดยะลา เขตอำเภอเมือง เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 4 ครั้ง

พ.ศ. 2554 ไพศาล ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13 สังกัดพรรคมาตุภูมิ ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากทางพรรค ได้รับเลือกแค่ที่นั่งเดียวเท่านั้น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ไพศาล ยิ่งสมาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย

ข้าราชการเมือง แก้

  1. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2538[3]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

ไพศาล ยิ่งสมาน เสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 สิริอายุรวม 73 ปี [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยะลา. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓๕/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  4. "ทุกชีวิตต้องกลับสู่พระเจ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-24.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓