มหาวิทยาลัยคอร์เนล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (อังกฤษ: Cornell University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในไอวีลีกตั้งอยู่ที่เมืองอิทาคา ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดย เอซรา คอร์เนล และ แอนดรูว์ ดิกสัน ไวต์ เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกลุ่มไอวีลีก และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง คอร์เนลมีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน ในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มีวิทยาลัยขนาดใหญ่ 2 แห่งด้วยกัน คือ College of Arts and Sciences และ College of Agriculture and Life Sciences นอกจากนี้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษายังได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับสูง อาทิ Johnson Graduate School of Management, College of Engineering, Law School, Weill Cornell Medical College และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทางด้านศึกษาศาสตร์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักติดอันดับ คือ College of Veterinary Medicine และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก คือ School of Hotel Management ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมีชื่อเล่นว่า Big Red เพราะดินที่นั่นเป็นสีแดง มี Mascot คือ หมี Cornell Big Red Bear
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยคอร์เนล | |
คติพจน์ | "I would found an institution where any person can find instruction in any study." -Ezra Cornell, พ.ศ. 2408[1] |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Land-grant Sea-grant Space-grant Sun grant |
สถาปนา | พ.ศ. 2408 |
ทุนทรัพย์ | 7.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[2] |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | Martha E. Pollack |
ผู้เป็นประธาน | Michael Kotlikoff |
อาจารย์ | 1,639 คน วิทยาเขตอิทากา 1,235 คน วิทยาเขตนครนิวยอร์ก 34 คน วิทยาเขตโดฮา |
ผู้ศึกษา | 23,600 คน (ฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2561)[3] |
ปริญญาตรี | 15,182 คน (ฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2561)[3] |
บัณฑิตศึกษา | 8,418 คน (ฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2561)[3] |
ที่ตั้ง | , , |
วิทยาเขต | Small city, 745 เอเคอร์ (3.01 ตารางกิโลเมตร) |
สี | Carnelian, en:White |
ฉายา | Big Red |
เครือข่าย | ไอวีลีก, AAU |
มาสคอต | bear (ไม่เป็นทางการ) บางครั้งเรียก "Touchdown"[4] |
เว็บไซต์ | cornell.edu |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ศิษย์เก่าคอร์เนลจะรู้จักในชื่อ "คอร์เนลเลียน" (Cornellians)
- เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน อดีตอธิการบดี
ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
แก้รายชื่อผู้ได้รับรางวัลรวมถึงอาจารย์และศิษย์เก่าจากคอร์เนล[5]
- โรเบิร์ต เอนเกิล รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ค.ศ. 2003
- โรเบิร์ต โฟเจล รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ค.ศ. 1993
- เชลดอน แกลโชว์ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1979
นักธุรกิจ
แก้- วิลลิส แคเรียร์ เครื่องปรับอากาศแคเรียร์
- ไมเคิล อีแกน ธุรกิจบริษัทเช่ารถอลาโม
- เดวิด เอดเกอร์ตัน ธุรกิจอาหารเบอร์เกอร์คิง
- สแตนฟอร์ด วีลล์ ธุรกิจการเงินซิตีกรุป
- อดอฟ คูรส์ เบียร์คูรส์
- เจฟฟ์ ฮอว์คินส์ คอมพิวเตอร์พกพาพาล์ม
- เจย์ วอล์เกอร์ การท่องเที่ยวไพรซ์ไลน์
- ไมยา ฮาร์ต อุปกรณ์สำนักงานสเตเปิลส์
- ราตัน ทาทา อุตสาหกรรมเหล็กทาทา
นักแสดง
แก้- คริสโตเฟอร์ รีฟ นักแสดงในบทบาทซูเปอร์แมน
- แฟรงก์ มอร์แกน นักแสดงตลก
ชาวไทย
แก้มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา - ปริญญาโท (พ.ศ. 2545) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย (พ.ศ. 2548)
- หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ระดับอุดมศึกษามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2481)
- ศาสตราจารย์ โชติ สุวัตถิ ราชบัณฑิตสาขาชีววิทยา และอดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2532 สาขา พฤกษศาสตร์ -ปริญญาตรีด้านเกษตรศาสตร์ สาขาไม้ดอกไม้ประดับ, ปริญญาเอกด้านพฤกษศาสตร์ สาขาเซลล์พันธุศาสตร์
- ศาสตราจารย์ ดร. อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปี 2555, 2558 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ วช. ปี 2559 และ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช. ปี 2563
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง; อดีตอธิการบดี; อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผลงานศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519
- ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์6 ตุลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รองศาสตราจารย์ ดร. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา อาจารย์และอดีคคณบดีคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปริญญาเอก
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ด้านความสัมพันธ์ไทย-พม่าอันดับหนึ่งของประเทศไทย; ผู้อำนวยการสถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ปริญญาโท-เอก สาขาประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
- รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร - สถาปนิกและนักเขียน
- องอาจ สาตรพันธุ์ - สถาปนิกและศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย - สถาปนิก และหัวหน้าพรรคถิ่นไทย
- รองศาสตราจารย์ต่อพงษ์ ยมนาค
- รองศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต ชุ่มวัฒนะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ - ปริญญาโท-เอก สาขาประวัติศาสตร์ยุโรปและอังกฤษ
- แดน วงศ์ประสาสน์
- ตรัยยานนท์ พลประสาน
- อาจารย์โชติ กัลยาณมิตร อดีตอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- กิตติพงษ์ กิติยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. 2551)
- อาจารย์ วันชัย รุจนวงศ์ อดีตอธิบดีกรมคุมประพฤติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิโรจน์ อนามบุตร (สถาปนิกและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- สิริ ธัมปัญญวัฒน์ (สถาปนิก)
- ศัลยเวทย์ ประเสริฐวิทยาการ (สถาปนิก)
- ดร.จุลภาค คุ้นวงศ์ ปริญญาเอก(Plant Breeding)
- ดร.เชษฐ์ เรืองรักษ์ลิขิต ปริญญาโท(Chemical Engineering)และปริญญาเอก(Food Science and Technology)
- โชคชัย บูลกุล นักธุรกิจเจ้าของธุรกิจ ฟาร์มโชคชัย
- ญารินดา บุนนาค
- ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ โปษยานนท์
- ดร. อริยา จิระเลิศพงษ์ ปริญญาโท Food Science & Technology (2005) ปริญญาเอก Flavour Science (University of Nottingham) รองกรรมการผู้จัดการ บ. เขาช่องอุตสาหกรรมจำกัด 1979 และ บ. เขาช่องกรุ๊ป
- พินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- จิระนันท์ พิตรปรีชา นักเขียน นักแปล ผู้จัดทำบทบรรยายภาพยนตร์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2532
- ศาสตราจารย์ ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร[6] อดีตคณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Ph.D.(Plant Beeeding) 1976
- แถบ นีละนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ อดีตอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แทนไท ประเสริฐกุล นักวิทยาศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ "University Mission". Cornell University. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.
- ↑ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 "U.S. and Canadian Institutions Listed by Fiscal Year (FY) 2018 Endowment Market Value and Change in Endowment Market Value from FY 2017 to FY 2018" (PDF). National Association of College and University Business Officers and Commonfund Institute. 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-06-29.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "University Factbook – Student Enrollment". Cornell University. November 9, 2018. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
- ↑ Holmes, Casey (April 30, 2006). "Wild Cornell Mascot Wreaks Havoc". Cornell Daily Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2012. สืบค้นเมื่อ September 21, 2010.
- ↑ รายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากคอร์เนล
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/238/1.PDF