โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

โหราศาสตร์เป็นระบบความเชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่า ปรากฏการณ์ในท้องฟ้า (คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์) สัมพันธ์กับเหตุการณ์และบุคลิกภาพในโลกมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธโหราศาสตร์เพราะว่า ไม่สามารถอธิบายความเป็นไปในจักรวาลได้จริง มีการทดสอบหลักวิชาโหราศาสตร์ตะวันตกตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่สนับสนุนเหตุหรือผลที่กล่าวไว้ในหลักโหราศาสตร์ต่าง ๆ[1]: 424 

เมื่อไรก็ตามที่โหราศาสตร์พยากรณ์เหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ ข้อทำนายเหล่านั้นล้วนแต่ถูกพิสูจน์ว่าเท็จแล้วทั้งสิ้น[1]: 424  งานทดสอบที่มีชื่อเสียงที่สุดทำโดยนักฟิสิกส์ ดร. ชอน คาร์ลสัน รวมทั้งคณะนักวิทยาศาสตร์และนักโหราศาสตร์ ซึ่งสรุปว่า โหราศาสตร์ที่ตรวจสอบวันเวลาการเกิด (โดยแผนภูมิการเกิด) สามารถทำนายบุคลิกภาพหรือเหตุการณ์ในชีวิตไม่ดีกว่าบังเอิญ ถึงแม้จะมีนักโหราศาสตร์และนักจิตวิทยาคนหนึ่งคือนายมิเชล โกเคลอน ที่อ้างว่าพบหลักฐานทางสถิติที่สนับสนุน "ปรากฏการณ์ดาวอังคาร" (Mars effect) ที่สัมพันธ์ความเก่งของนักกีฬากับเวลาเกิดและโคจรของดาวอังคาร แต่ว่า ผลเช่นนี้ไม่มีใครสามารถทำซ้ำได้ในงานศึกษาต่อ ๆ มา ผู้ทำงานศึกษาต่อมาบางท่านอ้างว่านายโกเคลอน พยายามเปลี่ยนกฎเกณฑ์รับนักกีฬาของพวกเขาโดยเสนอว่า นักกีฬาเฉพาะบางคนไม่ควรจะรับ และก็ยังมีนักวิชาการท่านอื่นอีกที่เสนอว่า กระบวนการแจ้งวันเกิดของผู้ปกครองก่อนคริสต์ทศวรรษ 1950 อาจเป็นเหตุให้เกิดผลตามที่พบ

โหราศาสตร์ยังไม่เคยแสดงประสิทธิภาพในการทดลองที่มีการควบคุม ดังนั้นจึงไม่มีความสมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์ (scientific validity)[1][2]: 85  และจึงถูกพิจารณาว่า เป็นวิทยาศาสตร์เทียม[3][4]: 1350  นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีการเสนอกลไกลการทำงานที่ตำแหน่งและโคจรของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ จะมีผลต่อบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลก ซึ่งไม่ขัดแย้งกับความรู้ด้านต่าง ๆ ทางชีววิทยาและฟิสิกส์ ที่เข้าใจกันดีแล้ว[5]: 249 [6]

บทนำ แก้

โหรมืออาชีพโดยมากเลี้ยงชีพโดยการทำนายบุคลิกภาพและทำนายอนาคตของลูกค้าโดยใช้หลักโหราศาสตร์[2]: 83  มีการกล่าวถึงบุคคลที่ยังเชื่อในโหราศาสตร์ว่า ยังคงเชื่อต่อไป "แม้ต้านความจริงว่า ไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบแล้วในเรื่องที่เชื่อ และจริง ๆ แล้วมีหลักฐานตรงกันข้ามที่ชัดเจน"[7] นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้เผยแพร่วิทยาศาสตร์ทางทีวีผู้หนึ่งกล่าวถึงความเชื่อในโหราศาสตร์ว่า "ส่วนหนึ่งของการรู้จักคิด ก็คือต้องรู้ว่า กฎธรรมชาตินั้นจำกัดโลกของเราให้เป็นอย่างไร ถ้าไม่มีความรู้นี้ ถ้าไม่มีสมรรถภาพในการคิดเช่นนี้ คุณจะสามารถตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่ต้องการจะเอาเปรียบคุณ"[8]

การคงความเชื่อในโหราศาสตร์แม้ว่าจะไม่น่าเชื่อถือ เป็นตัวแสดงถึงการมีความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์น้อยในสังคม[9]

ประวัติความสัมพันธ์กับดาราศาสตร์ แก้

รากฐานทางทฤษฎีที่ใช้ในโหราศาสตร์เริ่มขึ้นในสมัยของชาวบาบิโลเนียประมาณ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช แม้ว่าจะไม่ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางจนกระทั่งหลังยุคอารยธรรมเฮลเลนิสติกประมาณ 200 ปีหลังพุทธกาลที่อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ทรงรวบรวมพระราชอาณาจักรกรีกแล้ว ชาวบาบิโลเนียไม่ได้รู้ความจริงว่า กลุ่มดาวต่าง ๆ ไม่ได้อยู่เป็นทรงกลมท้องฟ้า และจริง ๆ อยู่ห่างจากกันมาก และการดูเหมือนว่าอยู่ใกล้กันจริง ๆ เป็นสิ่งลวงตา การกำหนดว่า กลุ่มดาวไหนดูเหมือนเป็นรูปอะไร จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และจะไม่เหมือนกันในอารยธรรมต่าง ๆ[10]: 62  แม้งานดาราศาสตร์ของทอเลมีก็ยังมีแรงจูงใจจากความต้องการที่จะคำนวณโคจรของดาวเคราะห์ เหมือนกับโหรในสมัยนั้น[11]: 40  โหราศาสตร์ตะวันตกในยุคเบื้องต้น ใช้หลักที่สืบทอดมาจากกรีซโบราณ และดังนั้น โหราศาสตร์การแพทย์จึงเป็นหลักแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไปของดาวเคราะห์และวัตถุบนท้องฟ้าอื่น ๆ กับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการศึกษาดาราศาสตร์[11]: 73  แม้ว่าจะยังแก้ต่างให้กับโหราศาสตร์ ทอเลมีก็ยอมรับว่า อำนาจการทำนายโคจรของดาวเคราะห์และวัตถุอื่น ๆ บทท้องฟ้า ดีกว่าการทำนายของโหราศาสตร์[12]: 344 

ในช่วงยุคทองของอิสลาม (ประมาณ พ.ศ. 1329-1801) มีการสนับสนุนให้ทุนกับนักดาราศาสตร์เพื่อว่า ตัวแปรเสริมบางอย่าง เช่น ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรดวงอาทิตย์ ที่จำเป็นในการใช้แบบจำลองของทอเลมี จะสามารถคำนวณให้แม่นยำได้อย่างพอเพียง ผู้ที่อยู่ในอำนาจ เช่น รัฐมนตรีของราชวงศ์ฟาติมียะห์ปี พ.ศ. 1663 ได้ออกทุนสร้างหอสังเกตการณ์หลายแห่ง เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลที่แม่นยำในการทำนายทางโหราศาสตร์ได้[11]: 55–56  แต่เนื่องจากเป็นการสร้างเพื่อช่วยการทำนายทางโหราศาสตร์ หอสังเกตการณ์เหล่านั้นจึงอยู่ได้ไม่นาน เพราะต่อมาโหราศาสตร์ในศาสนาอิสลามถูกห้าม หอจึงถูกรื้อแม้ในระหว่างหรือหลังจากการสร้างเสร็จใหม่ ๆ[11]: 57 

การปฏิเสธโหราศาสตร์ในงานดาราศาสตร์เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2222 ในการตีพิมพ์ประจำปีของ Connaissance des Temps (ความรู้เรื่องเวลา) โดยบาทหลวงนักดาราศาสตร์ชอน พิการ์ด[11]: 220  แต่ว่าในอิหร่าน โดยที่ไม่เหมือนชาวตะวันตก การปฏิเสธว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์คงเป็นไปจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษ 20 (พุทธศตวรรษ 25) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกรงว่า ความรู้ใหม่จะค่อย ๆ ทำลายความเชื่อที่มีอย่างกว้างขวางในโหราศาสตร์และในจักรวาลวิทยาอิสลาม[13]: 10  งานปฏิเสธโหราศาสตร์ในอิหร่านชิ้นแรกก็คือ Falak al-sa'ada ของ Ictizad al-Saltana ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทำลายความเชื่อในโหราศาสตร์และ "ดาราศาสตร์แบบเก่า" ได้ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2404 โดยหนังสือวิจารณ์ว่าโหรต่าง ๆ ไม่สามารถให้คำทำนายอย่างเดียวกันได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะอย่างหนึ่ง (คือ Conjunction) แล้วกล่าวถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ที่โหรกำหนดเฉพาะให้กับดาวเคราะห์ต่าง ๆ ว่าไม่น่าเชื่อถือ[13]: 17–18 

ปรัชญาวิทยาศาสตร์ แก้

 
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ศ.ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ เสนอว่า การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability) เป็นเกณฑ์ที่แยกแยะวิทยาศาสตร์จากศาสตร์ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แล้วใช้โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างแนวคิดที่ไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จในการทดลอง

โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างสำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์เทียม เพราะว่าถึงแม้จะมีการทดสอบอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ล้มเหลวทั้งหมด[10]: 62 

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ แก้

วิทยาศาสตร์และศาสตร์ที่ไม่ใช่ บ่อยครั้งจะแยกแยะด้วยการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability) กฎเกณฑ์นี้ เสนอเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ศ.ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ สำหรับ ดร.ป็อปเปอร์แล้ว วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องการคิดหาเหตุผลโดยอุปนัย (Inductive reasoning) เพียงอย่างเดียว แต่การทดสอบทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ เป็นความพยายามพิสูจน์ทฤษฎีที่มีอยู่ว่าเป็นเท็จโดยใช้วิธีการทดสอบใหม่ ๆ และถ้าทฤษฎีเพียงแค่ล้มเหลวในการทดสอบเดียว ทฤษฎีนั้นก็พิสูจน์ว่าเป็นเท็จแล้ว[14][15]: 10  ดังนั้น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีฤทธิ์เหมือนกับห้ามไม่ให้เกิดผลประเภทที่พิสูจน์ทฤษฎีว่าเป็นเท็จ และผลการทดลองประเภทอื่นทั้งหมดก็ควรจะคล้องจองกับทฤษฎี โดยใช้กฎเกณฑ์นี้ โหราศาสตร์ก็จะจัดว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[14]

โหราศาสตร์เป็นตัวอย่างที่ใช้บ่อยที่สุดของ ดร.ป็อปเปอร์ ในเรื่องวิทยาศาสตร์เทียม[16]: 7  เขาพิจารณาโหราศาสตร์ว่า เป็นเรื่องอาศัย "หลักฐานเชิงประสบการณ์เทียม (pseudo-empirical)" เพราะว่า "มันเรียกร้องให้มีการสังเกตและการทดลอง" แต่ว่า "ไม่มีมาตรฐานที่เทียบเท่ากับวิทยาศาสตร์"[17]: 44  คือเมื่อเทียบกับสาขาต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์แล้ว โหราศาสตร์จะไม่เปลี่ยนเมื่อพิสูจน์ว่าเท็จผ่านการทดลอง ซึ่งตามนักเขียนวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง นี่เป็นเครื่องหมายหลักของวิทยาศาสตร์เทียมอย่างหนึ่ง[18]: 206 

ไม่มีปริศนาที่ต้องไข แก้

โดยเปรียบเทียบกับความเห็นของ ดร.ป็อปเปอร์ นักปรัชญา ศ.ดร.โทมัส คูน อ้างว่า การไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ ไม่ได้ทำให้โหราศาสตร์ให้ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นเพราะว่าทั้งกระบวนการและแนวคิดของโหราศาสตร์ไม่ได้อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์[19]: 401  สำหรับ ดร.คูน แล้ว แม้ว่าโดยประวัติ โหราศาสตร์จะมีการทำนายที่ "ผิดโดยสิ้นเชิง" แต่นี่ก็ยังไม่ใช่เหตุที่โหราศาสตร์ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือแม้ว่าโหรจะอธิบายความล้มเหลวโดยอ้างว่า การวิเคราะห์ดวงชะตาราศีเป็นเรื่องที่ยากมาก นี่ก็ยังไม่ใช่เหตุเช่นกัน ดังนั้นในทัศนคติของ ดร.คูน โหราศาสตร์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เพราะมันเหมือนกับการแพทย์สมัยกลาง (medieval medicine) ที่เป็นแค่การทำตามลำดับกฎระเบียบและแนวทาง ตามศาสตร์ที่ดูเหมือนจำเป็นและมีจุดอ่อน แต่กลับไม่มีงานวิจัยที่อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์ เพราะว่าเป็นศาสตร์ที่ยอมรับงานวิจัยไม่ได้[16]: 8  และดังนั้น "พวกเขาจึงไม่มีปริศนาที่จะไข และดังนั้น จึงไม่มีวิทยาศาสตร์ที่จะประพฤติปฏิบัติ"[16]: 8 [19]: 401 

แม้ว่านักดาราศาสตร์จะสามารถปฏิบัติการเพื่อแก้ความล้มเหลวของทฤษฎีได้ แต่โหรไม่สามารถทำได้ โหรได้แต่อธิบายแก้ต่างความล้มเหลว แต่ไม่สามารถแก้ไขสมมติฐานทางโหราศาสตร์ให้เหมาะสมได้ ดังนั้น สำหรับ ดร.คูน แม้กระทั่งว่าถ้าดวงดาวมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ได้จริง โหราศาสตร์ก็ยังไม่เป็นวิทยาศาสตร์[16]: 8 

ความก้าวหน้า การปฏิบัติ และความสม่ำเสมอ แก้

นักปรัชญา ศ.ดร.พอล ธาการ์ด เชื่อว่า โหราศาสตร์ไม่สามารถพิจารณาว่าเป็นเท็จ ถ้ายังไม่ได้รับการทดแทนโดยศาสตร์อื่น แต่ในเรื่องการทำนายพฤติกรรม จิตวิทยาสามารถใช้ทดแทนได้[20]: 228  นอกจากนั้นแล้ว กฎเกณฑ์อื่นที่จำแนกวิทยาศาสตร์และศาสตร์ที่ไม่ใช่ก็คือ จะต้องมีความก้าวหน้า และชุมชนนักวิจัยนักศึกษาควรจะทำความพยายามเปรียบเทียบทฤษฎีปัจจุบันกับทฤษฎีที่เป็นไปได้อื่น ๆ โดยไม่ได้จัดแจงเลือกสรรระหว่างหลักฐานที่ยืนยันกับหลักฐานที่คัดค้าน[20]: 227–228 

ความก้าวหน้านิยามในที่นี้ว่า สามารถอธิบายปรากฏการณ์ใหม่ ๆ และสามารถตอบคำถามที่มีอยู่ แต่ว่า โหราศาสตร์แทบจะไม่ก้าวหน้าเลยคือแทบจะไม่ได้เปลี่ยนเลยภายใน 2,000 ปีที่ผ่านมา[20]: 228 [21]: 549  สำหรับ ดร.ธาการ์ด โหรปฏิบัติเหมือนกับใช้ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ปกติ โดยเชื่อว่า หลักของโหราศาสตร์หยั่งลงดีแล้วแม้ว่าจะมี "ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้" และแม้ว่าจะมีทฤษฎีอื่นที่ใช้อธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่า เช่น จิตวิทยา ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เขาจึงพิจารณาโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[20]: 228 

แต่สำหรับ ดร.ธาการ์ดแล้ว โหราศาสตร์ไม่ควรพิจารณาว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมโดยเพราะเหตุเพียงว่า ไม่สามารถหาสหสัมพันธ์ระหว่างนิมิตต่าง ๆ ทางโหราศาสตร์กับความเจริญด้านอาชีพของบุคคล หรือไม่สามารถหาสหสัมพันธ์ที่ควรจะพบระหว่างคู่แฝดที่เกิดในราศีเดียวกัน หรือว่าโหรไม่เห็นพ้องกันเรื่องความสำคัญของดาวเคราะห์ที่พบหลังจากยุคของทอเลมี และเรื่องมหาภัยพิบัติที่ฆ่าบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากที่มีราศีต่าง ๆ กันในเวลาเดียวกัน[20]: 226–227  ดังนั้น การกำหนดว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์อะไรไม่ใช่ต้องพิจารณาหลักอีก 3 อย่างคือ ทฤษฎี ชุมชน และพื้นเพทางประวัติศาสตร์

การทดสอบและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จสามารถใช้พิจารณาทฤษฎี งานของ ดร.คูน เป็นการพิจารณาพื้นเพทางประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น จึงต้องมาพิจารณาเรื่องชุมชนโหรว่า มีลักษณะต่อไปนี้หรือไม่ คือ[20]: 226–227 

  • มีความสนใจในการเปรียบเทียบวิธีการของตนกับคนอื่นหรือไม่
  • มีวิธีการที่สม่ำเสมอหรือไม่
  • พยายามที่จะพิสูจน์ทฤษฎีของตนว่าเท็จผ่านการทดลองหรือไม่

ในกระบวนการเช่นนี้ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ จะเกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีการเสนอทฤษฎีอื่น ที่ไม่ใช่เป็นการปรับทฤษฎีเพื่อป้องกันไม่ให้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จ [20]: 228 

ความไม่มีเหตุผล แก้

สำหรับนักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ โหราศาสตร์ไม่มีเหตุผลไม่ใช่เพราะมีปัญหามากมายในประเด็นเรื่องกลไกและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จด้วยการทดลอง แต่เป็นเพราะว่า การวิเคราะห์วรรณกรรมทางโหราศาสตร์แสดงว่ามันเต็มไปด้วยเหตุผลวิบัติและวิธีคิดหาเหตุผลที่ไม่ดี[22]: 34 

ถ้าในวรรณกรรมทางโหราศาสตร์เราพบแต่ข้อความที่ไม่สอดคล้องกัน ความเมินเฉยต่อหลักฐานที่ชัดเจน ความปราศจากลำดับชั้นของเหตุผล การไม่มีกฎเกณฑ์ การไม่เต็มใจที่จะตามเหตุผลไป ความไร้เดียงสาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของคำอธิบาย และอื่น ๆ ผมคิดว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ เราสมควรที่จะปฏิเสธโหราศาสตร์ว่าไร้เหตุผล ... โหราศาสตร์ล้มเหลวในการให้เหตุผลที่สมควรในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อย่างชัดเจน

— เอ็ดวาร์ด เจมส์[22]: 34 

เหตุผลที่ไม่ดีรวมทั้ง การอ้างโหราศาสตร์โบราณเช่นโยฮันเนส เคปเลอร์ แม้ว่า จะไม่ได้อ้างถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกันหรือให้เหตุผลอะไรโดยเฉพาะ ๆ และมีข้ออ้างที่คลุมเครือ ตัวอย่างเช่น การอ้างว่า คนที่เกิด "ที่เดียวกัน มีวิถีชีวิตที่คล้ายกันมาก"

  1. เป็นคำที่คลุมเครือ
  2. ละเลยความจริงว่า เวลาเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับกรอบอ้างอิง (reference frame) กำหนดโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
  3. ไม่ได้นิยามของคำว่า "ที่เดียวกัน" ในโลกที่โคจรไปในกรอบอ้างอิงของระบบสุริยะ

นอกจากนั้น ข้อคิดเห็นของโหรเกี่ยวกับฟิสิกส์ยังประกอบด้วยการตีความที่ผิดพลาด เช่น มีโหรคนหนึ่งที่อ้างว่า ระบบสุริยะดูเหมือนกับอะตอม เจมส์ยังให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า การตอบโต้คำวิจารณ์ของโหรอาศัยตรรกะที่ผิดพลาด แล้วยกตัวอย่างข้อตอบโต้เรื่องการศึกษาคู่แฝดที่โหรอ้างว่า ความคล้ายคลึงกันที่พบในคู่แฝดมีเหตุจากหลักทางโหราศาสตร์ แต่ความแตกต่างกันมาจาก "กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม" และสำหรับโหรคนอื่น ๆ ประเด็นปัญหาเหล่านี้ก็ซับซ้อนเกินไป จึงพยายามกลับไปคิดแต่ในศาสตร์ของตนเท่านั้น[22]: 32  นอกจากนั้นแล้ว สำหรับโหร ถ้าอะไรปรากฏเป็นผลบวก พวกเขามักจะบอกว่านั่นไงเครื่องพิสูจน์ โดยไม่พยายามตรวจสอบว่า มีเหตุอะไรอื่น ๆ ได้อีกหรือไม่ ชอบใจใช้แต่ผลบวกว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งใดที่เป็นผลลบกลับละเลยไม่ใส่ใจทั้งหมด[22]: 33 

การแบ่งเป็นทวิภาคของไควน์ แก้

ส่วนในทฤษฎีเว็บแห่งความรู้ของ ศ.ดร.วิลลาร์ด แวน ออร์แมน ไควน์ มีการแบ่งออกเป็นสองภาคว่า บุคคลต้องปฏิเสธโหราศาสตร์ หรือไม่ก็ยอมรับโหราศาสตร์แต่ต้องปฏิเสธสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่มั่นคงเชื่อถือได้แล้วว่า ไม่เข้ากับโหราศาสตร์[15]: 24 

การตรวจสอบโหราศาสตร์ แก้

โหรมักจะหลีกเลี่ยงคำทำนายที่ตรวจสอบได้ คือจะกล่าวคำคลุมเครือที่หลีกเลี่ยงการพิสูจนว่าเป็นเท็จได้[17]: 48–49  ในหลายศตวรรษที่มีการทดสอบ การทำนายทางโหราศาสตร์ไม่เคยแม่นยำกว่าเรื่องบังเอิญ[2] วิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบโหราศาสตร์เชิงปริมาณก็คือผ่านการทดลองแบบอำพราง ซึ่งเมื่อทดสอบคำทำนายที่เฉพาะเจาะจงของโหร เช่นโดยการทดสอบที่จะกล่าวต่อไป เรื่องที่ทำนายเหล่านั้นก็จะพิสูจน์ว่าไม่เป็นจริง[1] และการทดลองทางโหราศาสตร์ที่มีกลุ่มควบคุมทั้งหมดที่เคยทำ ล้วนแต่ล้มเหลวที่จะแสดงผลบวก[15]: 24 

การทดลองของคาร์ลสัน แก้

การทดสอบของนักฟิสิกส์ ดร.ชอน คาร์ลสัน ที่เป็นการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blind) ที่โหร 28 คนตกลงที่จะจับคู่แผนภูมิการเกิด (natal chart) กับบทวิเคราะห์ลักษณะบุคลิกภาพทางจิตวิทยาที่ทำโดยการทดสอบแบบ California Psychological Inventory เป็นการทดสอบโหราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดการหนึ่ง[23][24] และผลงานทดลองได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อถือสูงคือ เนเจอร์[10]: 67  การอำพรางทั้งสองด้าน เป็นการปิดไม่ให้ทั้งโหรและผู้ดำเนินการทดลองรู้ว่า แผนภูมิการเกิดและบทวิเคราะห์ทางจิตวิทยา เป็นของใครต่อของใคร เป็นวิธีกำจัดความเอนเอียงที่อาจจะเกิดได้ในการทดลอง[10]: 67 

ทั้งกลุ่มนักฟิสิกส์และกลุ่มโหรตกลงยอมรับกฏเกณฑ์การทดลองก่อนจะทำ[1] องค์กรโหราศาสตร์คือ คณะกรรมการงานวิจัยโลกและจักรวาลแห่งชาติ (National Council for Geocosmic Research) เป็นผู้เสนอโหรหลายคนให้เป็นผู้ให้คำแนะนำ และช่วยให้มั่นใจว่า การทดสอบยุติธรรม[24]: 117 [25]: 420  โหรเหล่านั้นยังเลือกโหรอื่น 26 คนเพื่อการทดสอบ โดยโหรอีก 2 คนที่เหลือเป็นอาสาสมัคร[25]: 420  โหรมาจากทั้งยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา โหรเป็นผู้ช่วยเลือกหลักโหราศาสตร์แบบ natal astrology (โหราศาสตร์การเกิด) เพื่อการทดสอบ[25]: 419  ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ ในปี ค.ศ. 1985 พบว่า การทำนายโดยใช้หลักโหราศาสตร์อย่างที่ว่าไม่ได้ดีกว่าความบังเอิญ และการทดสอบ "พิสูจน์สมมติฐานทางโหราศาสตร์ว่าเป็นเท็จอย่างชัดเจน"[25]

งานของดีนและเค็ลลี่ แก้

 
แผนภูมิโหราศาสตร์คำนวณสำหรับวันที่ 1 มกราคม 2543 ณ เวลา 00:00:01 (EST) ในนครนิวยอร์ก (074W00'23", 40N42'51")

นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นอดีตโหรเจ็ฟฟรี่ ดีน และนักจิตวิทยาไอแวน เค็ลลี่[26] ทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ ที่วัดตัวแปรทางประชาน ทางพฤติกรรม และทางสรีระ มากกว่า 100 ตัว แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่สนับสนุนโหราศาสตร์[27] มีการทดสอบต่อไปอีก กับโหรที่มั่นใจในหลักของตน 45 คน ผู้มีประสบการณ์เป็นโหรโดยเฉลี่ย 10 ปี และผู้รับทำนายอีก 160 คน (จากกลุ่มที่มีให้เลือก 1198 คน) โดยเลือกเอาแต่คนที่มีบุคคลิกลักษณะต่าง ๆ แบบสุด ๆ ดังที่วัดโดยใช้คำถามตรวจสอบบุคลิกภาพแบบ Eysenck Personality Questionnaire[27]: 191  โหรทำนายได้แย่กว่าวิธีการทำนายโดยใช้อายุ และแย่กว่าผู้ทำนายในกลุ่มควบคุม 45 คนที่ไม่ได้ใช้แผนภูมิการเกิดอย่างสิ้นเชิง[27]: 191 [28]

การทดสอบอื่น ๆ แก้

มีงานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ที่วิเคราะห์งานศึกษา 40 งานประกอบด้วยโหร 700 คน และใช้แผนภูมิการเกิด 1,000 แผ่น งานศึกษา 10 งานจากนั้น มีโหรกว่า 300 คนเข้าร่วม โหรต้องเลือกบทความทำนายให้เข้ากับแผนภูมิ โดยบทความที่เข้าจะรวมอยู่กับที่ไม่เข้า 3-5 บทความ เมื่อบทความไม่แสดงวันที่และตัวช่วยแบบชัดเจนอื่น ๆ โดยรวมแล้ว ไม่ปรากฏกว่าโหรต่าง ๆ จะเลือกแผนภูมิใดแผนภูมิหนึ่งโดยเฉพาะ คือโหรเลือกแผนภูมิที่ไม่เหมือนกัน[27]: 190 

ในงานศึกษา 10 งาน ที่โหรจะเลือกการทำนายราศีที่ตนรู้สึกว่าแม่น โดยมีการกำหนดแผ่นที่ "ถูก" แต่โหรก็ไม่สามารถเลือกให้ดีได้กว่าบังเอิญ[10]: 66–67 

ในงานศึกษาที่ตรวจดูคน 2011 คู่ที่เกิดภายในเวลา 5 นาทีเดียวกัน เพื่อจะดูว่ามีผลต่อวิถีชีวิตหรือไม่ ก็ไม่ปรากฏว่ามี[10]: 67 

นักสังคมศาสตร์เชิงปริมาณคนหนึ่งตรวจดูข้อมูลสำมะโนประชากรของคน 20 ล้านคนในประเทศอังกฤษและเวลส์ เพื่อจะดูว่า ราศีมีผลต่อการแต่งงานหรือไม่ ก็ไม่ปรากฏว่ามี[10]: 67 

ปรากฏการณ์ดาวอังคาร แก้

 
ปรากฏการณ์ดาวอังคาร (Mars effect) ที่นายมิเชล โกเคลอน ค้นพบ แสดงความชุกชุมของการเกิดของนักกีฬาที่มีชื่อเสียง 570 คน เทียบกับตำแหน่งประจำวันของดาวอังคาร โดยมีจุดชุกชุมที่สุดที่ภาค 1 และ 4[29]

ในปี ค.ศ. 1955 นักโหราศาสตร์[30]และนักจิตวิทยา มิเชล โกเคลอน กล่าวว่า แม้ว่าตนจะไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนนิมิตทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ เช่นราศี และมุมดาวในแผนภาพการผูกดวงโหราศาสตร์ แต่เขาก็ได้พบสหสัมพันธ์ระหว่างโคจรประจำวันของดาวเคราะห์ กับความสำเร็จในอาชีพ (เช่นแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักกีฬา นักแสดง นักเขียน จิตรกร เป็นต้น) ซึ่งโหราศาสตร์ปกติสัมพันธ์กับดาวเคราะห์[29] สิ่งค้นพบที่รู้จักดีที่สุดของเขาเป็นตำแหน่งของดาวอังคารในแผนภูมิการเกิด (natal chart) ของนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ต่อมารู้จักกันว่า ปรากฏการณ์ดาวอังคาร (Mars effect)[31]: 213  ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส 7 ราย พยายามทำซ้ำงานศึกษานี้ แต่ก็ไม่พบหลักฐานทางสถิติอะไรเลย[31]: 213–214  แล้วโทษผลที่พบว่าเป็นผลจากความเอนเอียงโดยการเลือก (selective bias) ของนายโกเคลอน และกล่าวหาเขาว่า พยายามที่จะชักชวนให้พวกเขาเพิ่มหรือลบนักกีฬาบางคนออกจากงานศึกษาของพวกเขา[32]

ส่วนอดีตโหรเจ็ฟฟรี่ ดีนเสนอว่า ผลที่พบอาจเกิดจากการแจ้งวันเกิดของผู้ปกครอง ไม่ใช่เป็นปัญหาในงานศึกษา คือผู้ปกครองส่วนน้อยจำนวนหนึ่งอาจจะเปลี่ยนเวลาแจ้งเกิด เพื่อให้มีแผนภูมิการเกิดทางโหราศาสตร์ที่ดีตรงกับอาชีพที่ต้องการ เพราะว่า กลุ่มตัวอย่างมาจากสมัยที่ความเชื่อทางโหราศาสตร์เป็นเรื่องสามัญกว่าปัจจุบัน และนายโกเคลอน ก็ไม่พบปรากฏการณ์ดาวอังคารในกลุ่มประชากรหลังจากนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่แพทย์พยาบาลเป็นผู้บันทึกข้อมูลการเกิด นอกจากนั้น ยังปรากฏอีกด้วยว่า จำนวนการเกิดในช่วงเวลาทางโหราศาสตร์ที่ไม่เป็นมงคล ต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่ชี้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้เลือกวันที่เวลาการเกิดตามความเชื่อของตน[24]: 116 

ปัญหาทางทฤษฎี แก้

นอกจากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่โหราศาสตร์ไม่ผ่าน หลักต่าง ๆ ของโหราศาสตร์ยังมีอุปสรรคในการยอมรับเพราะมีข้อบกพร่องทางทฤษฎีหลายอย่าง[10]: 62 [15]: 24  รวมทั้งไม่มีความสม่ำเสมอ ไม่สามารถทำนายดาวเคราะห์อื่น ๆ ที่ก่อนนี้ไม่รู้จัก ไม่มีความสัมพันธ์อะไรระหว่างราศีกับกลุ่มดาว และการไม่มีกลไกการทำงานของทฤษฎี นอกจากนั้นแล้ว รากฐานต่าง ๆ ของโหราศาสตร์มักจะไม่สอดคล้องกับความจริงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย[15]: 24 

ไม่มีความสม่ำเสมอ แก้

การทดสอบความสมเหตุสมผล (validity) ของโหราศาสตร์เป็นเรื่องยาก เพราะว่าไม่มีมติส่วนใหญ่ของโหรว่า อะไรคือโหราศาสตร์และว่า มันควรจะทำนายอะไรได้[2]: 83  ดีนและเค็ลลี่แสดงงาน 25 งานที่พบระดับความคล้อยตามกัน (Inter-rater reliability) ของหมู่โหรวัดได้ที่ 0.1[10]: 66  เทียบกับค่าความคล้อยตามกันสัมบูรณ์ที่ 1 และความคล้อยตามกันที่นับว่าใช้ไม่ได้ของสาขาสังคมศาสตร์ที่ 0.8[10]: 66  คือพวกโหรมีความคล้อยตามกันในระดับที่ต่ำกว่าที่ยอมรับได้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก โหรมืออาชีพหากินโดยทำนายอนาคต หรือบอกถึงบุคลิกภาพและวิถีชีวิตของลูกค้า แต่ว่า การบอกดวงชะตาราศีโดยมากเป็นข้อความที่คลุมเครือใช้ตรวจสอบไม่ได้และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกคน[2]: 83 

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ศ.ดร.จอร์จส ชาร์พาค และผู้เขียนร่วม เขียนถึงข้ออ้างทางโหราศาสตร์ชาวตะวันตกในหนังสือ Debunked! ESP, Telekinesis, and other Pseudoscience (แฉ! การรับรู้นอกประสาทสัมผัส การเคลื่อนวัตถุได้ด้วยใจ และวิทยาศาสตร์เทียมอื่น ๆ)[33] พวกเขาชี้ว่า พวกโหรมีความรู้แค่นิดหน่อยเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และมักจะไม่ได้คิดถึงคุณลักษณะทางดาราศาสตร์ขั้นพื้นฐานต่าง ๆ เช่นการเคลื่อนถอยของวิษุวัต ซึ่งจะเปลี่ยนตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไปตามกาลเวลา พวกเขายกตัวอย่างของโหรผู้หนึ่งผู้อ้างว่า "ดวงอาทิตย์มีตำแหน่งเดียวกันในท้องฟ้าในวันเดียวกันทุก ๆ ปี" ซึ่งใช้เป็นมูลฐานทางโหราศาสตร์ว่า ทำไมคนสองคนที่เกินวันเดียวกันแต่หลายปีต่างกัน จึงควรจะได้รับอิทธิพลจากดาวเคราะห์เหมือน ๆ กัน พวกเขาให้ข้อสังเกตว่า "โลกอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันประมาณ 22,000 ไมล์ในวันเดียวกันของสองปีติด ๆ กัน" และดังนั้น คนสองคนจึงไม่ควรได้รับอิทธิพลเหมือนกันตามหลักของโหราศาสตร์ และในช่วง 40 ปี ความแตกต่างกันจะเกินกว่า 780,000 ไมล์[34]: 6–7 

ไม่มีมูลฐานทางกายภาพ แก้

นักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ให้ความเห็นว่า การให้ความสำคัญทางโหราศาสตร์แก่กลุ่มดาวบนทรงกลมท้องฟ้าเขตที่พระอาทิตย์อยู่ในช่วงพระอาทิตย์ตก มีเหตุมาจากมนุษย์ ซึ่งก็คือ โหรไม่ต้องการที่จะตื่นนอนเช้านัก และเวลาเที่ยงวันเป๊ะ ๆ ก็เป็นเรื่องที่รู้ได้ยาก นอกจากนั้นแล้ว การสร้างระบบราศี โดยไม่เชื่อมกับกลุ่มดาวก็เพราะว่า พระอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มดาวต่าง ๆ นานเท่า ๆ กัน[22]: 25  ความไม่เชื่อมกับกลุ่มดาวทำให้เกิดปัญหา คือการหมุนควงจะแยกสัญลักษณ์ราศีจากกลุ่มดาว ที่เคยเชื่อมกันมาก่อน[22]: 26  นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้ต่อต้านวิทยาศาสตร์เทียมและส่งเสริมให้มีการศึกษาวิทยาศาสตร์มากขึ้นท่านหนึ่งจึงกล่าวว่า "ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมควรจะดูที่ราศีอะไรเมื่อเปิดดูหนังสือพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ ผมล่ะสงสัยจริง ๆ"[10]: 64 

ระบบราศี tropical zodiac ไม่มีการเชื่อมโยงกับดาว และตลอดที่ไม่อ้างว่า กลุ่มดาวอยู่ในราศีนั้นหรือราศีนี้ โหรก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการพูดถึงความจริงว่า การหมุนควงทำให้กลุ่มดาวนั้นเคลื่อนไป[34] ดร. ชาร์พาคเห็นอย่างนี้แล้วจึงกล่าวถึงโหราศาสตร์ที่อาศัยระบบ tropical zodiac ว่า "เป็นกล่อง (ในท้องฟ้า) ว่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรสักอย่าง และไม่มีความสม่ำเสมอหรือคล้องจองอะไรเลยกับดวงดาว"[34] การใช้ระบบราศี tropical zodiac โดยลำพังของโหร จะไม่เข้ากับการอ้างถึงช่วงเวลากลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Age of Aquarius) ของโหรอีกนั่นแหละ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไรพระอาทิตย์จะเข้าไปสู่ส่วนของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ[1]

ไม่สามารถทำนายอะไรได้จริง ๆ แก้

 
ภาพแสดงดาวพลูโตและบริวาร โหราศาสตร์ตั้งขึ้นก่อนจะค้นพบดาวเนปจูน ยูเรนัส และพลูโต ดังนั้น ดาวเหล่านี้จะกล่าวถึงในโหราศาสตร์แบบเฉพาะกิจ ๆ อย่างไม่เป็นระบบ

แม้ว่าโหรจะกล่าวว่า ตำแหน่งของดาวเคราะห์ทั้งหมดเป็นเรื่องจำเป็นในการคำนวณโชคชะตา แต่ว่าโหรกลับไม่สามารถทำนายได้ว่า มีดาวเนปจูนก่อนที่จะมีการค้นพบดาว โดยอาศัยความผิดพลาดในการทำนายดวงชะตาราศี แต่ว่า กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน สามารถทำนายความมีอยู่ของดาวเนปจูนก่อนการค้นพบได้[2] การรวมดาวเนปจูน ยูเรนัส และพลูโต เข้าในการคำนวณทางโหร จึงเป็นการกระทำเป็นกรณีพิเศษอย่างไม่เป็นระบบ[1]

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ลดระดับดาวพลูโตให้เป็นดาวเคราะห์แคระ มีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งสงสัยว่าโหรจะกล่าวตอบว่าอย่างไร คือ[1]

พวกโหรควรที่จะเอามันออกจากรายการสิ่งส่องสว่างบนท้องฟ้า (รวมทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวเคราะห์ 8 ดวงอื่นนอกจากโลก) แล้วสารภาพว่า มันไม่ได้ช่วยให้ (การทำนายโชคชะตาราศี) มีอะไรดีขึ้น หรือไม่ (แต่) ถ้าพวกเขาตัดสินที่จะเก็บมันไว้ แล้วจะเอายังไงกับไอ้พวกดาวเคราะห์แคระที่พึ่งค้นพบใหม่อื่น ๆ อีกนั่นหล่ะ (รวมทั้ง Sedna, Quaoar, และอื่น ๆ) บางดวงมีบริวารรอบ ๆ ด้วยซ้ำ (เช่น Xena, 2003EL61)

การปราศจากกลไกการทำงานที่พิสูจน์ได้ แก้

มีการวิจารณ์โหราศาสตร์ว่า ไม่ได้ให้กลไกทางกายภาพ ที่เชื่อมโคจรของดาวกับผลที่อ้างในพฤติกรรมมนุษย์ ในบรรยายปี ค.ศ. 2001 ดร.สตีเฟน ฮอว์คิงกล่าวว่า "เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์โดยมากไม่เชื่อเรื่องโหราศาสตร์ก็เพราะว่า มันไม่สอดคล้องกับทฤษฎีของเราที่ทดสอบโดยการทดลองมาแล้ว"[35] ในปี ค.ศ. 1975 เมื่อโหราศาสตร์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น วารสารมนุษยนิยม The Humanist พิมพ์บทความคัดค้านโหราศาสตร์ที่เรียบเรียงโดยนักวิทยาศาสตร์และนักมนุษยนิยมหลายท่าน[7] โดยมีชื่อบทความว่า ข้อคัดค้านโหราศาสตร์ และลงชื่อโดยนักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์แนวหน้าอื่น ๆ รวมกัน 186 ท่าน พวกเขากล่าวว่า ไม่มีมูลฐานทางวิทยาศาสตร์อะไรเลยสำหรับความเชื่อทางโหราศาสตร์ และเตือนสาธารณชนไม่ให้ยอมรับคำแนะนำทางโหราศาสตร์อย่างไม่มีเงื่อนไข คำวิจารณ์ของพวกเขาชี้ความจริงว่า มันไม่มีกลไกอะไรที่จะให้เกิดผลทางโหราศาสตร์ คือ

เราสามารถเห็นได้ว่า ผลทางแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาวเคราะห์ที่ห่างไกลและดาวฤกษ์ที่ห่างไกลยิ่งกว่านั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงไร

เป็นความผิดพลาดแท้ ๆ ที่จะจินตนาการว่า พลังแห่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในช่วงเวลาเกิด จะมีผลอะไรต่ออนาคตของเรา[7]

แต่ว่านักดาราศาสตร์ ดร.คาร์ล เซแกน ปฏิเสธที่จะลงชื่อสำหรับบทความนี้ โดยกล่าวว่า มีจุดยืนเช่นนี้ไม่ใช่เพราะตนคิดว่า โหราศาสตร์สมเหตุสมผล แต่เพราะคิดว่า บทความฟังดูจะเผด็จการ และการปฏิเสธแบบไม่แยแสต่อโหราศาสตร์เพียงเพราะว่า ไม่มีกลไก (แม้ว่า "จะเป็นเรื่องในประเด็นอย่างหนึ่งแน่นอน") ไม่น่าเชื่อถือ ในจดหมายที่เขาพิมพ์ตามหลังในฉบับต่อมาของวารสาร The Humanist ดร.เซแกนยืนยันว่า เขายินดีที่จะเซ็นชื่อกับบทความเช่นที่ว่า ถ้ามันได้อธิบายและปฏิเสธหลักต่าง ๆ ที่เป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ เขาเชื่อว่า การกระทำเช่นนั้นน่าเชื่อถือกว่า และจะทำให้เกิดการโต้เถียงน้อยกว่า[7]

การใช้สุนทรภาพในแนวคิดของกรีกโบราณที่เรียกว่า "macrocosm and microcosm" หรือที่กล่าวว่า "ข้างบนเป็นเช่นไร ข้างล่างก็เป็นเช่นนั้น" เพื่อหาความหมายในโลกโดยลักษณะดาว ดังที่นักปรัชญาเอ็ดวาร์ด เจมส์ ยกตัวอย่างไว้ว่า "ดาวอังคารเบื้องบนมีสีแดง ดังนั้น ดาวอังคารเบื้องล่างจึงหมายถึงเลือดและสงคราม" เป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุที่ผิด (false cause fallacy)[22]: 26 

มีโหรเป็นจำนวนที่อ้างว่า โหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์[36] แต่ว่าถ้าต้องอธิบายโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ต้องจำกัดคำอธิบายว่ามีพลังทางธรรมชาติโดยหลักแค่ 4 อย่าง ซึ่งจำกัดกลไกการทำงานเกี่ยวกับโหราศาสตร์[10]: 65  ดังนั้น โหรบางท่านจึงเสนอว่ากลไกของโหราศาสตร์เป็นเรื่องที่รับรองโดยวิทยาศาสตร์ เช่น สภาวะแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วง[36][37] แต่ว่า เพราะกำลังของพลังเหล่านี้ลดลงไปตามระยะทาง[10]: 65  ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงปฏิเสธว่า กลไกที่เสนอเหล่านี้เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เกิดผลทางโหราศาสตร์[36] ยกตัวอย่างเช่น กำลังสนามแม่เหล็กที่วัดบนโลกจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่แต่ไกลเช่นดาวพฤหัสบดี ความจริงน้อยกว่าที่เกิดจากเครื่องใช้ในบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ[37] มีนักดาราศาสตร์ท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า ถ้าจะพูดถึงกำลังแล้ว พระอาทิตย์เป็นวัตถุเดียวบนท้องฟ้าที่มีกำลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพอจะพูดถึงได้ แต่ว่า โหราศาสตร์ไม่ใช่แค่อาศัยพลังของพระอาทิตย์อย่างเดียว[10]: 65 [38] แต่ถ้าโหรจะเสนอพลังธรรมชาติอย่างที่ 5 นี่ก็จะไม่เข้ากับแนวโน้มในฟิสิกส์ที่จะรวมพลังแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับ weak force รวมเป็น electroweak force และถ้าโหรยืนยันที่จะใช้ทฤษฎีที่ไม่เข้ากับความเข้าใจปัจจุบันที่มีรากฐานมาจากฟิสิกส์ที่อิงหลักฐาน นี่ก็จะเป็นข้ออ้างวิสามัญ (extraordinary claim)[10]: 65  และก็จะไม่เข้ากับพลังธรรมชาติอย่างอื่น ๆ ที่มีกำลังลดลงตามระยะทาง[10]: 65  และถ้าระยะทางไม่สำคัญ วัตถุทั้งหมดในอวกาศก็ควรจะรวมเข้าเพื่อการทำนายด้วย[10]: 66 

นักจิตบำบัดและจิตวิทยาคาร์ล ยุง ตั้งแนวคิดที่เรียกว่า synchronicity ที่อ้างว่า สามารถมีเหตุการณ์ 2 อย่างที่มีความเชื่อมต่อกันหรือเป็นการแสดงความมุ่งหมาย แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันโดยเหตุและผล เพื่ออธิบายความปราศจากผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติในงานศึกษาโหราศาสตร์งานเดียวที่เขาทำ แต่ว่า แนวคิดเรื่อง synchronicity เป็นเรื่องที่พิจารณาว่า ทดสอบไม่ได้ และพิสูจน์ว่าเป็นเท็จไม่ได้[39] งานศึกษานั้นต่อมาจึงได้รับคำวิจารณ์อย่างหนักว่า ไม่ใช้ตัวอย่างสุ่ม ใช้วิธีการทางสถิติที่ไม่ดี และเข้ากับโหราศาสตร์เองก็ไม่ได้[39][40]

แม้ว่าจะมีหลักฐาน[41] ที่แสดงว่าฤดูกาลที่เกิด อาจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางบุคลิกภาพและลักษณะทางจิตอย่างอื่น ๆ ของบุคคล และฤดูก็มีสหสัมพันธ์กับตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้า แต่นี่ก็เป็นข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างจากของโหราศาสตร์ โดย ศ. หัวหน้าทีมนักวิจัยที่พบหลักฐานนั้นกล่าวไว้ว่า "เป็นเรื่องสำคัญที่จะเน้นว่า แม้นี่จะฟังดูเหมือนกับโหราศาสตร์ แต่มันก็ไม่ใช่ มันเป็นเรื่องชีวภาพตามฤดู"[41]

จิตวิทยา แก้

มีหลักฐานที่แสดงว่าความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) ซึ่งเป็นความเอนเอียงทางประชานอย่างหนึ่ง[42]: 553  เป็นองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่มีส่วนทำให้เชื่อในโหราศาสตร์[9]: 344 [43]: 180–181 [44]: 42–48  คือในเรื่องที่พบในวรรณกรรม คนที่เชื่อในโหราศาสตร์มักจะระลึกถึงคำทำนายที่ตรงกับความเป็นจริงได้ แต่ระลึกคำทำนายที่ไม่ตรงไม่ได้ และก็ยังมีความเอนเอียงทางประชานอีกอย่างหนึ่งด้วย ที่คนเชื่อบ่อยครั้งไม่สามารถแยกแยะระหว่างข้อความที่แสดงว่ามีความสามารถพิเศษเหนือธรรมชาติ หรือที่ไม่มี[43]: 180–181  ดังนั้น จึงมีความเอนเอียง 2 อย่างที่อยู่ใต้การศึกษาในเรื่องความเชื่อทางโหราศาสตร์[43]: 180–181 

ความเอนเอียงที่ 2 ก็คือ ปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum effect) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะให้คะแนนว่ามีความแม่นยำสูง แก่คำพรรณนาบุคคลิกของตนถ้าคิดว่า คำพรรณนานั้นทำเฉพาะเจาะจงตน แต่ความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะเป็นจริงกับคนเป็นจำนวนมาก ยิ่งมีการขอข้อมูลเพียงเท่าไรสำหรับคำทำนาย ก็จะเชื่อผลที่ได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น[9]: 344  ในปี ค.ศ. 1949 ดร. เบอร์แทรม ฟอร์เรอร์ ทดสอบกับนักศึกษาของตน[9]: 344  โดยนักศึกษาแต่ละคนได้รับการประเมินที่บอกว่าเป็นของเฉพาะตน แต่ความจริงเป็นบทความที่เหมือนกันสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นบทความที่ได้จากหนังสือโหราศาสตร์เล่มหนึ่ง เมื่อให้นักศึกษาประเมินความแม่นยำของบทความ มากกว่า 40% ให้คะแนนเต็ม 5 โดยที่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.2[45]: 134, 135  ผลงานศึกษานี้ทำซ้ำได้ในงานศึกษาอื่นเป็นจำนวนมาก[46]: 382 

งานศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์บาร์นัม/ฟอร์เรอร์ พุ่งความสนใจไปที่ระดับการยอมรับการทำนายราศีหลอก และบทความแสดงบุคลิกภาพทางโหราศาสตร์หลอก[46]: 382  ผู้ที่ได้รับบทประเมินบุคลิกภาพเช่นนี้ ปกติไม่สามารถแยกแยะคำแสดงบุคลิกภาพที่สามัญและไม่สามัญ[46]: 383  ต่อมาในงานศึกษาในปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยก็ได้ผลคล้อยตามผลงานวิจัยในประเด็นเดียวกันก่อน ๆ ซึ่งก็คือ ผู้ที่เชื่อในโหราศาสตร์มักจะได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์บาร์นัมมากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยเชื่อ[46]: 393 

โดยกระบวนการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า self-attribution มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงว่า บุคคลที่มีความรู้ด้านโหราศาสตร์มักจะกล่าวถึงบุคคลิกของตน โดยเป็นคุณลักษณะที่เข้ากับราศี เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกถ้าบุคคลรู้ว่าคำกล่าวถึงบุคคลิกนั้น จะนำไปใช้สนทนาเรื่องโหราศาสตร์ ส่วนบุคคลที่ไม่คุ้นเคยต่อโหราศาสตร์ไม่มีแนวโน้มเช่นนี้[47]

สังคมศาสตร์ แก้

ในปี ค.ศ. 1953 นักสังคมศาสตร์ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ทำงานศึกษาเกี่ยวกับคอลัมน์โหราศาสตร์ในหนังสือพิมพ์ที่นครลอสแอนเจลิส โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจสอบสื่อมวลชนในสังคมทุนนิยม[48]: 326  เขาเชื่อว่าโหราศาสตร์นิยม เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ข้อความที่สนับสนุนการปฏิบัติตามกัน และโหรที่แหวกแนวโดยชักชวนไม่ให้ทำงานให้ดีเป็นต้น อาจจะดำรงอาชีพอยู่ไม่ได้[48]: 327  เขาสรุปว่า โหราศาสตร์เป็นการสำแดงออกของความไร้เหตุผลอย่างเป็นระบบ ที่คำชมและการพูดรวม ๆ แบบคลุมเครือ ทำให้บุคคลเชื่อว่าผู้เขียนคอลัมน์กล่าวถึงตนโดยตรง[49] เขากล่าวเลียนประโยคยอดนิยมของคาร์ล มากซ์ที่ว่า "ศาสนาเป็นฝิ่นของมวลชน" โดยกล่าวว่า "เรื่องไสยศาสตร์เป็นอภิปรัชญาของคนโง่"[48]: 329 

ความสมดุลหลอก (False balance) เป็นความเอนเอียงในสื่อ ที่มีการนำความเห็นที่ไม่จริง ไม่ได้รับการยอมรับ หรือเป็นของเทียม มาพูดพร้อมกับความเห็นที่มีเหตุมีผล เป็นความเอนเอียงที่ชวนให้เห็นว่า เรื่องนี้มีสองด้านเท่าเทียมกัน ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่มี[50] ในรายการทีวีของบีบีซี Wonders of the Solar System (สิ่งมหัศจรรย์ในระบบสุริยะ) นักฟิสิกส์นักพรีเซ็นเต้อร์ท่านหนึ่งกล่าวว่า "ถึงโหราศาสตร์จริง ๆ จะเป็นเรื่องเหลวไหล แต่ดาวพฤหัสบดีจริง ๆ ก็มีอิทธิพลที่ลึกซึ้งต่อโลกของเรา โดยผ่านพลังอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือ...แรงโน้มถ่วง" ซึ่งเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ชมที่เชื่อในโหราศาสตร์หัวเสีย ผู้บ่นว่า ไม่มีนักโหราศาสตร์มาให้ความเห็นเพื่อความสมดุล หลังจากรับฟังคำบ่นจากผู้เชื่อในโหราศาสตร์ นักฟิสิกส์ท่านนั้นให้คำพูดนี่แก่บีบีซี "ผมขอโทษต่อชุมชนโหราศาสตร์ที่ไม่ได้กล่าวจุดยืนของผมให้ชัดเจน ผมควรจะพูดว่า เรื่องเหลวไหลสมัยใหม่เช่นนี้ กำลังขุดรากทำลายฐานอารยธรรมของเรา"[50] และในรายการ Stargazing Live (การดูดาว สด) นักฟิสิกส์ท่านนั้นก็กล่าวเพิ่มอีกว่า "(ผมขอพูดอะไรหน่อย)เพื่อให้เกิดความสมดุลในรายการบีบีซี ครับ โหราศาสตร์เป็นเรื่องเหลวไหล"[51] บทความบรรณาธิการของวารสารการแพทย์อังกฤษบทความหนึ่ง อ้างเหตุการณ์นี้เพื่อแสดงว่า ความสมดุลเทียมสามารถเกิดขึ้นได้ในที่ไหนบ้าง[50]

ทั้งงานศึกษาทั้งโพลสำรวจแสดงว่า ความเชื่อในโหราศาสตร์ในประเทศตะวันตกอยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่คาด[9] ในปี ค.ศ. 2012 โพลแสดงว่า คนอเมริกัน 42% กล่าวว่า ตนคิดว่าโหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์โดยบางส่วน[52]: 7/25  ความเชื่อเช่นนี้ลดลงตามระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น และระดับการศึกษามีสหสัมพันธ์สูงกับระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์[9]: 345 

ระดับความเชื่อที่แจ้งเองดังที่พบในงานต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากความสับสนระหว่างคำอังกฤษว่า astrology (โหราศาสตร์) และ astronomy (ดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า) แต่ความใกล้เคียงกันของสองคำนี้ต่าง ๆ กันในภาษาต่าง ๆ[9]: 344, 346  และคำอธิบายแบบโต้ง ๆ ของโหราศาสตร์ว่าเป็น "อิทธิพลเหนือธรรมชาติของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ เป็นต้น ต่อวิถีชีวิตมนุษย์" ในโพล์ยุโรปปี ค.ศ. 1992 ไม่มีผลอะไรต่อการประเมินของสาธารณชนทั่วไปว่า โหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ นี้อาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ใต้จิตสำนึกในสาธารณชนทั่วไป ว่าคำอังกฤษที่ลงท้ายด้วย "ology" เป็นสาขาวิชาความรู้ที่มีเหตุมีผล[9]: 346  ในปี ค.ศ. 2004 มีการใช้โพลแบ่งส่วนเพื่อกำจัดความสับสนเรื่องคำ ครึ่งหนึ่งของโพลใช้คำว่า "astrology" อีกครึ่งหนึ่งใช้คำว่า "horoscope" (ดวงชะตาราศี)[9]: 349  ความเชื่อว่า astrology (โหราศาสตร์) เป็นวิทยาศาสตร์โดยบางส่วน อยู่ที่ระดับ 76% แต่ความเชื่อว่า horoscopes (ดวงชะตาราศี) เป็น อยู่ที่ระดับ 43% และความเชื่อว่าโหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์โดยระดับสูง อยู่ที่อัตรา 26% ในขณะที่ความเชื่อในดวงชะตาราศีอยู่ที่อัตรา 7%[9]: 352  ซึ่งเป็นงานที่ดูเหมือนจะชี้ว่า การสนับสนุนโหราศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในยุโรปเกิดจากความสับสนในคำพูด[9]: 362 

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Zarka, Philippe (2011). "Astronomy and astrology". Proceedings of the International Astronomical Union. 5 (S260): 420–425. Bibcode:2011IAUS..260..420Z. doi:10.1017/S1743921311002602.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bennett, Jeffrey; Donohue, Megan; Schneider, Nicholas; Voit, Mark (2007). The cosmic perspective (4th ed.). San Francisco, CA: Pearson/Addison-Wesley. pp. 82–84. ISBN 978-0-8053-9283-8.
  3. Hansson, Sven Ove; Zalta, Edward N. "Science and Pseudo-Science". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
  4. Hartmann, P; Reuter, M.; Nyborga, H. (May 2006). "The relationship between date of birth and individual differences in personality and general intelligence: A large-scale study". Personality and Individual Differences. 40 (7): 1349–1362. doi:10.1016/j.paid.2005.11.017. To optimise the chances of finding even remote relationships between date of birth and individual differences in personality and intelligence we further applied two different strategies. The first one was based on the common chronological concept of time (e.g. month of birth and season of birth). The second strategy was based on the (pseudo-scientific) concept of astrology (e.g. Sun Signs, The Elements, and astrological gender), as discussed in the book Astrology: Science or superstition? by Eysenck and Nias (1982).
  5. Vishveshwara, S.K.; Biswas, D.C.V.; Mallik, C.V., บ.ก. (1989). Cosmic perspectives : essays dedicated to the memory of M.K.V. Bappu (1. publ. ed.). Cambridge [England]: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-34354-1.
  6. Peter D. Asquith, บ.ก. (1978). Proceedings of the Biennial Meeting of the Philosophy of Science Association, vol. 1. Dordrecht u.a.: Reidel u.a. ISBN 978-0-917586-05-7.
    • "Chapter 7: Science and Technology: Public Attitudes and Understanding". science and engineering indicators 2006. National Science Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012. About three-fourths of Americans hold at least one pseudoscientific belief; i.e., they believed in at least 1 of the 10 survey items[29]" ..." Those 10 items were extrasensory perception (ESP), that houses can be haunted, ghosts/that spirits of dead people can come back in certain places/situations, telepathy/communication between minds without using traditional senses, clairvoyance/the power of the mind to know the past and predict the future, astrology/that the position of the stars and planets can affect people's lives, that people can communicate mentally with someone who has died, witches, reincarnation/the rebirth of the soul in a new body after death, and channeling/allowing a "spirit-being" to temporarily assume control of a body.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Objections to Astrology: A Statement by 186 Leading Scientists". The Humanist, September/October 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2009.
    • The Humanist, volume 36, no.5 (1976).
    • Bok, Bart J.; Lawrence E. Jerome; Paul Kurtz (1982). "Objections to Astrology: A Statement by 186 Leading Scientists". ใน Patrick Grim (บ.ก.). Philosophy of Science and the Occult. Albany: State University of New York Press. pp. 14–18. ISBN 978-0-87395-572-0.
  8. "Ariz. Astrology School Accredited". The Washington Post. 27 August 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2022-08-16.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 Allum, Nick (13 December 2010). "What Makes Some People Think Astrology Is Scientific?". Science Communication. 33 (3): 341–366. CiteSeerX 10.1.1.598.6954. doi:10.1177/1075547010389819. S2CID 53334767. This underlies the "Barnum effect". Named after the 19th-century showman Phineas T. Barnum, whose circus act provided "a little something for everyone", it refers to the idea that people believe a statement about their personality that is vague or trivial if they think that it derives from some systematic procedure tailored especially for them (Dickson & Kelly, 1985; Furnham & Schofield, 1987; Rogers & Soule, 2009; Wyman & Vyse, 2008). For example, the more birth detail is used in an astrological prediction or horoscope, the more credulous people tend to be (Furnham, 1991). However, confirmation bias means that people do not tend to pay attention to other information that might disconfirm the credibility of the predictions.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 10.15 10.16 Pigliucci, Massimo (2010). Nonsense on stilts : how to tell science from bunk ([Online-Ausg.]. ed.). Chicago: University of Chicago Press. ISBN 9780226667850.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Hoskin, Michael, บ.ก. (2003). The Cambridge concise history of astronomy (Printing 2003. ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0521572910.
  12. Evans, James (1998). The history & practice of ancient astronomy. New York: Oxford Univ. Press. ISBN 9780195095395.
  13. 13.0 13.1 Arjomand, Kamran (1997). "The Emergence of Scientific Modernity in Iran: Controversies Surrounding Astrology and Modern Astronomy in the Mid-Nineteenth Century". Iranian Studies. 30 (1–2): 5–24. doi:10.1080/00210869708701857.
  14. 14.0 14.1 Stephen Thornton; Edward N. Zalta (older edition) (2018). "Karl Popper". Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Pigliucci, Massimo; Boudry, Maarten (2013). Philosophy of pseudoscience : reconsidering the demarcation problem. Chicago [u.a.]: Univ. of Chicago Press. ISBN 9780226051796.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Kuhn, Thomas (1970). Imre Lakatos; Alan Musgrave (บ.ก.). Proceedings of the International Colloquium in the Philosophy of Science [held at Bedford college, Regent's Park, London, from July 11th to 17th 1965] (Reprint. ed.). Cambridge: Cambridge Univ. Press. ISBN 978-0521096232.
  17. 17.0 17.1 Popper, Karl (2004). Conjectures and refutations : the growth of scientific knowledge (Reprint ed.). London: Routledge. ISBN 978-0-415-28594-0.
    • The relevant piece is also published in, Schick Jr, Theodore (2000). Readings in the philosophy of science : from positivism to postmodernism. Mountain View, CA: Mayfield Pub. pp. 33–39. ISBN 978-0-7674-0277-4.
  18. Cogan, Robert (1998). Critical thinking : step by step. Lanham, Md.: University Press of America. ISBN 978-0761810674.
  19. 19.0 19.1 Wright, Peter (1975). "Astrology and Science in Seventeenth-Century England". Social Studies of Science. 5 (4): 399–422. doi:10.1177/030631277500500402. PMID 11610221. S2CID 32085403.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 Thagard, Paul R. (1978). "Why Astrology is a Pseudoscience". Proceedings of the Biennial Meeting of the Philosophy of Science Association. 1: 223–234. doi:10.1086/psaprocbienmeetp.1978.1.192639. S2CID 147050929.
  21. Hurley, Patrick (2005). A concise introduction to logic (9th ed.). Belmont, Calif.: Wadsworth. ISBN 978-0534585051.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 James, Edward W. (1982). Patrick Grim (บ.ก.). Philosophy of science and the occult. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-0873955720.
  23. Muller, Richard (2010). "Web site of Richard A. Muller, Professor in the Department of Physics at the University of California at Berkeley". สืบค้นเมื่อ 2 August 2011.My former student Shawn Carlson published in Nature magazine the definitive scientific test of Astrology.
    Maddox, Sir John (1995). "John Maddox, editor of the science journal Nature, commenting on Carlson's test". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2011. "... a perfectly convincing and lasting demonstration."
  24. 24.0 24.1 24.2 Smith, Jonathan C. (2010). Pseudoscience and extraordinary claims of the paranormal : a critical thinker's toolkit. Malden, MA: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-8123-5.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Carlson, Shawn (1985). "A double-blind test of astrology" (PDF). Nature. 318 (6045): 419–425. Bibcode:1985Natur.318..419C. doi:10.1038/318419a0. S2CID 5135208.
  26. Matthews, Robert (17 Aug 2003). "Astrologers fail to predict proof they are wrong". The Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 13 July 2012.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Dean G.; Kelly, I. W. (2003). "Is Astrology Relevant to Consciousness and Psi?". Journal of Consciousness Studies. 10 (6–7): 175–198.
  28. Martens, Ronny; Trachet, Tim (1998). Making sense of astrology. Amherst, N.Y.: Prometheus Books. ISBN 1-57392-218-8.
  29. 29.0 29.1 Gauquelin, Michel (1955). L'influence des astres : étude critique et expérimentale. Paris: Éditions du Dauphin.
  30. Pont, Graham (2004). "Philosophy and Science of Music in Ancient Greece". Nexus Network Journal. 6 (1): 17–29. doi:10.1007/s00004-004-0003-x.
  31. 31.0 31.1 Carroll, Robert Todd (2003). The skeptic's dictionary : a collection of strange beliefs, amusing deceptions, and dangerous delusions. Hoboken, NJ: Wiley. ISBN 978-0-471-27242-7.
  32. Benski, Claude; Nienhuys, Jan Willem; และคณะ (1995). The "Mars effect": a French test of over 1,000 sports champions. Amherst, NY: Prometheus Books. ISBN 978-0-87975-988-9.
  33. Giomataris, Ioannis (2010-10-27). "Nature Obituary Georges Charpak (1924–2010)". Nature. 467 (7319): 1048. doi:10.1038/4671048a. PMID 20981084.
  34. 34.0 34.1 34.2 Charpak, Georges; Holland, Henri Broch (2004). Debunked! : ESP, telekinesis, and other pseudoscience. Physics Today. Vol. 58. แปลโดย Bart K. Baltimore u.a.9: Johns Hopkins Univ. Press. pp. 6, 7. Bibcode:2005PhT....58e..67C. doi:10.1063/1.1995751. ISBN 978-0-8018-7867-1.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  35. "British Physicist Debunks Astrology in Indian Lecture". Associated Press.
  36. 36.0 36.1 36.2 Chris, French (7 February 2012). "Astrologers and other inhabitants of parallel universes". 7 February 2012. London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
  37. 37.0 37.1 Randi, James. "UK MEDIA NONSENSE — AGAIN". 21 May 2004. Swift, Online newspaper of the JREF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2009. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
  38. Plait, Phil. "Astrology". Bad Astronomy. สืบค้นเมื่อ 2014-03-13.
  39. 39.0 39.1 Michael Shermer, บ.ก. (2002). The Skeptic encyclopedia of pseudoscience. Santa Barbara, Calif.: ABC-CLIO. p. 241. ISBN 978-1-57607-653-8.
  40. Samuels, Andrew (1990). Jung and the post-Jungians. London: Tavistock/Routledge. p. 80. ISBN 978-0-203-35929-7.
  41. 41.0 41.1 "Season of birth may have long-term effects on personality, study suggests". ScienceDaily. 2010-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  42. Jean-Paul Caverni; Jean-Marc Fabre; Michel Gonzalez, บ.ก. (1990). Cognitive biases. Amsterdam: North-Holland. ISBN 978-0-444-88413-8.
  43. 43.0 43.1 43.2 Nickerson, Raymond S. Nickerson (1998). "Confirmation Bias: A Ubiquitous Phenomenon in Many Guises". Review of General Psychology. 2. 2 (2): 175–220. doi:10.1037/1089-2680.2.2.175. S2CID 8508954.
  44. Eysenck, H.J.; Nias, D.K.B. (1984). Astrology : science or superstition?. Harmondsworth: Penguin Books. ISBN 978-0-14-022397-2.
  45. Paul, Annie Murphy (2005). The cult of personality testing : how personality tests are leading us to miseducate our children, mismanage our companies, and misunderstand ourselves (1st pbk. ed.). New York, N.Y.: Free Press. ISBN 978-0-7432-8072-3.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 Rogers, P.; Soule, J. (5 March 2009). "Cross-Cultural Differences in the Acceptance of Barnum Profiles Supposedly Derived From Western Versus Chinese Astrology". Journal of Cross-Cultural Psychology. 40 (3): 381–399. doi:10.1177/0022022109332843. S2CID 145505701. The Barnum effect is a robust phenomenon, having been demonstrated in clinical, occupational, educational, forensic, and military settings as well as numerous ostensibly paranormal contexts (Dickson & Kelly, 1985; Furnham & Schofield, 1987; Snyder, Shenkel & Lowery, 1977; Thiriart, 1991). In the first Barnum study, Forer (1949) administered, astrological believers deemed a Barnum profile supposedly derived from astrology was a better description of their own personality than did astrological skeptics. This was true regardless of the respondent's ethnicity or apparent profile source. This reinforces still further the view that individuals who endorse astrological beliefs are prone to judging the legitimacy and usefulness of horoscopes according to their a priori expectations.
  47. Wunder, Edgar (1 December 2003). "Self-attribution, sun-sign traits, and the alleged role of favourableness as a moderator variable: long-term effect or artefact?". Personality and Individual Differences. 35 (8): 1783–1789. doi:10.1016/S0191-8869(03)00002-3. The effect was replicated several times (Eysenck & Nias 1981,1982; Fichten & Sunerton, 1983; Jackson, 1979; Kelly, 1982; Smithers and Cooper, 1978), even if no reference to astrology was made until the debriefing of the subjects (Hamilton, 1995; Van Rooij, 1994, 1999), or if the data were gathered originally for a purpose that has nothing to do with astrology (Clarke, Gabriels, and Barnes, 1996; Van Rooij, Brak, & Commandeur, 1988), but the effect is stronger when a cue is given to the subjects that the study is about astrology (Van Rooij 1994). Early evidence for sun-sign derived self-attribution effects has already been reported by Silverman (1971) and Delaney & Woodyard (1974). In studies with subjects unfamiliar with the meaning of the astrological sun-sign symbolism, no effect was observed (Fourie, 1984; Jackson & Fiebert, 1980; Kanekar & Mukherjee, 1972; Mohan, Bhandari, & Meena, 1982; Mohan and Gulati, 1986; Saklofske, Kelly, & McKerracher, 1982; Silverman & Whitmer, 1974; Veno & Pamment, 1979).
  48. 48.0 48.1 48.2 Cary J. Nederman & James Wray Goulding (Winter 1981). "Popular Occultism and Critical Social Theory: Exploring Some Themes in Adorno's Critique of Astrology and the Occult". Sociological Analysis. 42.
  49. Theodor W. Adorno (Spring 1974). "The Stars Down to Earth: The Los Angeles Times Astrology Column". Telos. 1974 (19): 13–90. doi:10.3817/0374019013. S2CID 143675240.
  50. 50.0 50.1 50.2 Jackson, T. (20 December 2011). "When balance is bias". BMJ. 343 (dec19 2): d8006. doi:10.1136/bmj.d8006. PMID 22187191. S2CID 206894358.
  51. Robbins, Martin (24 January 2011). "Astrologers angered by stars". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 September 2013.
  52. Science and Technology Indicators 2014 (PDF). National Science Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-16. สืบค้นเมื่อ 2022-08-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้