สมมติฐาน
สมมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ
คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร
สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์แก้ไข
คนทั่วไปมักจะถือว่าการลองเดาคำตอบของปัญหาเป็นสมมติฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งนั่นเรียกว่า การคาดเดาอย่างมีหลักการ [1] เพราะมันเป็นคำตอบอันเป็นที่แนะนำซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนหลักฐาน ในขณะที่ผู้ทำการทดลองอาจทดสอบและปฏิเสธสมมติฐานหลายอย่างก่อนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา สมมติฐานที่ดีอันควรจะนำไปพิจารณาควรมีลักษณะดังนี้ [2]
- สามารถปฏิบัติทดลองได้ (testability)
- เข้าใจง่าย (simplicity)
- มีขอบเขตชัดเจน (scope)
- สามารถอธิบายปรากฏการณ์อื่นได้ในอนาคต (fruitfulness)
- ยังคงองค์ความรู้เดิมอันเป็นที่ยอมรับ (conservatism)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "When it is not clear under which law of nature an effect or class of effect belongs, we try to fill this gap by means of a guess. Such guesses have been given the name conjectures or hypothesis."--Hans Christian Ørsted (1811) "First Introduction to General Physics" ¶18. Selected Scientific Works of Hans Christian Ørsted, ISBN 0-691-04334-5 p.297
- ↑ Schick, Theodore; Vaughn, Lewis (2002). How to think about weird things: critical thinking for a New Age. Boston: McGraw-Hill Higher Education. ISBN 0-7674-2048-9.