วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (อังกฤษ: pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ [1] วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล

สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้าง[2] วิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นวัตถุนิยม และต่างจากแนวคิดจิตนิยมเพราะฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นการค้นหาความจริงของโลกผ่านกระบวนการค้นคว้าและพิสูจน์ [3] หลักความเชื่อทั่ว ๆ ไปในกลุ่มวิทยาศาสตร์แบบชาวบ้าน (popular science) อาจไม่เข้าเกณฑ์ความเป็นวิทยาศาสตร์[4] วิทยาศาสตร์แบบ Pop-science อาจจัดเป็นช่วงที่ทับซ้อนเกลื่อนกลืนและผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์จริง กับ วิทยาศาสตร์เทียม และอาจรวม นิยายวิทยาศาสตร์ เข้าไว้ด้วย วิทยาศาสตร์เทียมเป็นสิ่งที่แพร่กว้างแม้ในกลุ่ม ครู ผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของรัฐ และรวมไปถึงวงการสื่อหนังสือพิมพ์ [5]

ปัญหาการแบ่งเขตแดนระหว่างวิทยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์เทียม มีประเด็นทับซ้อนทางด้านจริยธรรมและการเมือง เช่นเดียวกับประเด็นระหว่าง ปรัชญา และ วิทยาศาสตร์ [6] ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เทียม มีผลในทางปฏิบัติต่อ การดูแลสุขภาพ การให้การของผู้เชี่ยวชาญ นโยบายทางสิ่งแวดล้อม และ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ [7] หน้าที่สำคัญของการให้การศึกษาและการให้ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ คือการแบ่งแยกข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ออกจากทฤษฏีจากความเชื่อของวิทยาศาสตร์เทียมเช่นในกรณีที่ปรากฏว่า มีการกล่าวอ้างความเป็นวิทยศาสตร์ ในวงการโหราศาสตร์ การแพทย์ลวงโลก และเรื่องลึกลับ[8] ศัพท์คำว่าวิทยาศาสตร์เทียมตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษ มีความหมายให้ความรู้สึกถึงการดูถูก เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือหลอกปลอมตัวในคราบวิทยาศาสตร์ [9] และก็ดังนั้น กลุ่มผู้ที่สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียมก็ย่อมจะปฏิเสธแย้งข้อกล่าวหาว่าความเชื่อและการกระทำของตนเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[9]

ภาพรวม แก้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แก้

 
ผังภาพสมองตามแบบศตวรรษที่ 19: ในช่วงทศวรรษที่ 1820 phrenologists อธิบายว่าจิตใจอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของสมอง และถูกโจมตีด้วยข้อกังขาว่าจิตใจมาจากจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับสสาร แนวคิดการอ่านรอยนูนในกะโหลกเพื่อทำนายลักษณะบุคลิคภาพได้ถูกดิสเครดิตลงในภายหลัง [10] ฟรีโนโลยี (Phrenology) ถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1843 และยังคงถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียมนับแต่นั้นมา [11]

แม้มาตรฐานวิธีการเรียนรู้ วิจัย และปฏิบัติจะต่างออกไปในวิทยาศาสตร์แต่ละแขนง แต่ก็จะมีหลักการที่เป็นพื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ ผลการทดลอง ต้องทำซ้ำได้ ตรวจสอบโดยผู้อื่นได้ [12] หลักการข้างต้นมีไว้เพื่อให้การทดลองสามารถตรวจวัด ทำซ้ำได้ภายใต้สภาพแวดล้อมเดิม ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า สมมุติฐาน และ ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับ ปรากฏการณ์ นั้นมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพียงใด มาตรฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องถูกนำใช้ตลอดกระบวนการ และต้องมีการกำจัด หรือควบคุมความเป็นไปได้ที่จะเกิดอคติผ่านกระบวนการสุ่มกระจาย การทำ Blind Test ข้อมูลที่รวบรวมขึ้นมา รวมถึงผลการทดลอง และบันทึกสภาพแวดล้อมจะต้องมีการบันทึกไว้เพื่อการทบทวนตรวจสอบ ทำให้สามารถจำลองการทดลองหรือการศึกษาซ้ำ เพื่อยืนยันหรือแย้งผลการทดลองได้ ปริมาณทางสถิติที่ใช้บ่งชี้นัยสำคัญของ ความมั่นใจ และความเบี่ยงเบน [13] จัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ แก้

การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ (อังกฤษ: falsifiability) ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คาร์ล ป๊อปเปอร์ (Karl Popper) ได้นำเสนอหลัก การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ ไว้แบ่งแยก วิทยาศาสตร์ ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (nonscience) [14] การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ หมายถึง ผลลัพธ์ สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ ตัวอย่างเช่น “พระเจ้าสร้างจักรวาล” อาจเป็นจริงหรือเท็จ แต่ไม่มีวิธีการใด ๆ ที่จะพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นจริงหรือเท็จได้เลย มันจึงอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์ ป๊อปเปอร์ใช้ โหราศาสตร์ กับ จิตวิเคราะห์ เป็นตัวอย่างของ วิทยาศาสตร์เทียม และใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ เขายังได้แบ่งกลุ่มองค์ความรู้ที่ มิใช่วิทยาศาสตร์ ออกเป็น คณิตศาสตร์ เทพปกรณัม ศาสนา และ/หรือ อภิปรัชญา ส่วนอีกด้านของความรู้ที่มิใช่วิทยาศาสตร์ก็คือ วิทยาศาสตร์เทียม แต่ทั้งนี้ เขามิได้บ่งชี้ข้อต่างชี้ชัดของสองส่วนดังกล่าว [15]

บรรทัดฐานของเมอร์ตัน แก้

ปี ค.ศ. 1942 โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จัดตั้งบรรทัดฐานที่เป็นลักษณะร่วมของวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เรียกว่า บรรทัดฐานของเมอรตัน (อังกฤษ: Mertonian norms) ถ้ามีบรรทัดฐานใดที่ถูกละเมิด ก็จะถูกแยกออกไปเป็นสิ่งที่ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ บรรทัดฐานของเมอร์ตัน มีดังต่อไปนี้[16]

  • คิดริเริ่ม: การทดสอบและวิจัยจะต้องนำเสนอสิ่ง ที่ใหม่ ต่อวงการวิทยาศาสตร์
  • ไม่ยึดติด: วิทยาศาสตร์ค้นหาเพื่อขยายวงความรู้ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่เอาเหตุผลส่วนตัวมาเป็นอคติกำหนดผลลัพธ์ให้ออกมาตามต้องการของตน
  • เป็นสากล: ทุกคนควรสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิจัยได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่เกิดสภาพแบ่งแยกจาก ชนชั้น ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือมีเหตุ ปัจจัยจำเพาะส่วนบุคคลใด ๆ ที่จะมีสิทธิ์จะได้รับหรือแสดงศาสตร์นั้น ๆ ต่อเขา
  • ตั้งแง่สงสัย: ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ต้องไม่ตั้งอยู่บนเพียงแค่ฐานความศรัทธา ทุกคนควรตั้งคำถามต่อทุกกรณี และทุกข้อโต้แย้ง และตรวจสอบความถูกต้องหรือเบี่ยงเบนต่อข้อกล่าวอ้างใด ๆ อยู่ตลอดเวลา
  • สังคมเข้าถึงได้: ทุกคนต้องเข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ ผลงานวิจัยจะต้องเปิดเผยแพร่ต่อวงสังคมวิทยาศาสตร์

การปฏิเสธที่จะยอมรับปัญหา แก้

ปี ค.ศ. 1978 พอล ทาการ์ด (Paul Thagard) นำเสนอข้อบ่งชี้เบื้องต้นของวิทยาศาสตร์เทียม ที่แยกออกจากวิทยาศาสตร์ได้ถ้าความก้าวหน้าของมันน้อยกว่าทฤษฎีอื่น ๆ เป็นระยะเวลานาน และผู้สนับสนุนทฤษฎีนั้นมิได้รับรู้หรือยอมรับปัญหาของตัวทฤษฎี [17] ในปี ค.ศ. 1983 มาริโอ บันจ์ (Mario Bunge) เสนอแนะจำแนกหมวดหมู่ระหว่าง “วงความเชื่อ” และ “วงการวิจัย” เพื่อแยก วิทยาศาสตร์เทียม กับ วิทยาศาสตร์ออกจากกัน โดยส่วนแรก หลัก ๆ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และส่วนหลังเกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าถึงอย่างเป็นระบบ [18]

ข้อโต้แย้งของศัพท์เรียกวิทยาศาสตร์เทียม แก้

นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ เช่น พอล ฟายเออราเบนด์ (Paul Feyerabend) โต้แย้งว่า การแบ่งแยกระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทั้งสิ่งที่เป็นไปได้และสมควรให้เป็นไป [19][20] การแบ่งแยกนี้ทำให้การพัฒนาทฤษฏีและกระบวนการใหม่ทำได้ยากและล่าช้าเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา [21] นอกจากนั้น มาตรฐานจำเพาะที่สามารถใช้ได้ในวงวิทยาศาสตร์หนึ่งอาจไม่สามารถนำใช้ได้ในวงของอีกศาสตร์ ลาร์รี่ ลูว์แดน (Larry Laudan) เสนอว่า คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ไม่มีความหมายในเชิงวิทยาศาสตร และถูกใช้ในการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ ถ้าเรายืนอยู่ข้างเดียวกับด้านเหตุผล เราควรทิ้งศัพท์ที่ว่า วิทยาศาสตร์เทียม และ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ออกจากพจนานุกรมของเรา มันเป็นประโยคอันว่างเปล่าที่ทำได้แค่แสดงอารมณ์ของเราเท่านั้น [22] เช่นเดียวกับที่ ริชาร์ด แมคนาลี่ (Richard McNally) บ่งชี้ไว้ว่า “คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม กลายเป็นแค่ตัวเลือกคำที่แสดงความชิงชังเพื่อจะจิกกัดคู่แข่ง” และ “ถ้ามีคนที่แสดงการบำบัดรักษาโรคแบบใหม่กล่าวอ้างอะไรในสิ่งที่เขากำลังร่วมรักษา เราไม่ควรเสียเวลาที่จะต้องคิดว่าการรักษาของเขาเป็นวิทยาศาสตร์เทียมหรือไม่ เราควรถามเขาว่า แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าการรักษาของคุณได้ผล คุณมีหลักฐานอะไรมานำเสนอบ้าง? [23]

ความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์ แก้

ศัพท์คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม Pseudoscience เป็นการสมาสระหว่างคำว่า pseudo ของกรีกที่แปลว่า ผิด – ไม่ใช่ กับคำละตินว่า scientia ที่หมายถึง ความรู้ ศัพท์นี้จะถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงปลาย ศตวรรษที่ 18 (ใช้ในปี ค.ศ. 1796 โดยอ้างถึงศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ [24][25])

ในประเทศไทย แก้

ศัพท์ วิทยาศาสตร์เทียม มีพบใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547 เช่นในบทความของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่มีการใช้คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ในคอลัมน์ คลื่นความคิด ของนิตยสาร สารคดี [26] คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม มีการเรียกกล่าวกันมากขึ้น หลังเกิดกรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที200 โดย ผศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคลื่อนไหวเพื่อการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดดังกล่าว ได้ออกมาให้นิยามคำศัพท์ และลักษณะของวิทยาศาสตร์เทียม ไว้เป็นกฎ 9 ข้อ[27]

  • สร้างภาพลวงของกิเลสหรือความกลัว “กินแล้วสุขภาพต้องดีขึ้น” “มันต้องหาระเบิดเจอแน่” “มันต้องเกิดภัยพิบัติแน่”
  • สร้างหลุมพรางกับดักทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากการลอง ทดสอบ
  • สร้างความน่าเชื่อถือ โดยปั้นตัวละครขึ้นมาเป็นกูรู เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
  • ก่อตั้งกลุ่มผู้ที่ศรัทธา โดยหากลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีความรู้เดียวกัน หรือมีศัตรูร่วมกัน
  • ให้การหลอกลวงตัวเอง ใช้แล้วดี ต้องแนะนำให้คนอื่นใช้ต่อ เหมือนกับธุรกิจเครือข่าย หรือแชร์ลูกโซ่
  • จัดการสาธิต หรือการนำเสนอที่น่าดึงดูดใจ
  • ชักจูงใจด้วยสิ่งที่เชื่ออยู่ก่อนแล้ว โดยบอกว่าสินค้ายี่ห้อนี้แท้กว่ายี่ห้อนั้น
  • ใช้การตีขลุมตามที่เชื่อกัน อะไรแพงกว่าอันนั้นดีกว่าหรือใช้ศัพท์ที่ฟังดูเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นธรรมชาติ
  • ทำลายฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีความน่าเชื่อถือ (เช่น มีข้อความลูกโซ่ที่กล่าวหาและโจมตีสินค้ายี่ห้อหนึ่งอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เทียม โดยไม่เอ่ยถึงยี่ห้ออื่นเลยทั้งที่เป็นสินค้าแบบเดียวกัน)

อ้างอิง แก้

  1. Definition:
    • "A pretended or spurious science; a collection of related beliefs about the world mistakenly regarded as being based on scientific method or as having the status that scientific truths now have," Oxford English Dictionary, second edition 1989.
    • "Many writers on pseudoscience have emphasized that pseudoscience is non-science posing as science. The foremost modern classic on the subject (Gardner 1957) bears the title Fads and Fallacies in the Name of Science. According to Brian Baigrie (1988, 438), '[w]hat is objectionable about these beliefs is that they masquerade as genuinely scientific ones.' These and many other authors assume that to be pseudoscientific, an activity or a teaching has to satisfy the following two criteria (Hansson 1996) : (1) it is not scientific, and (2) its major proponents try to create the impression that it is scientific."Hansson 2008 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFHansson2008 (help)
    • '"claims presented so that they appear [to be] scientific even though they lack supporting evidence and plausibility"(p. 33). In contrast, science is "a set of methods designed to describe and interpret observed and inferred phenomena, past or present, and aimed at building a testable body of knowledge open to rejection or confirmation"(p. 17) ' Shermer 1997, (this was the definition adopted by the National Science Foundation).
  2. Cover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.
  3. Stephen Jay Gould, "Nonoverlapping magisteria" เก็บถาวร 2017-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Natural History, March, 1997.
  4. George Pendle, Popular Science Feature - When Science Fiction is Science Fact เก็บถาวร 2006-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  5. Art Hobson (2011). "Teaching Relevant Science for Scientific Literacy" (PDF). Journal of College Science Teaching. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.
  6. Imre Lakatos, Science and Pseudoscience, Science and Pseudoscience (transcript), Dept of Philosophy, Logic and Scientific Method, 1973.
  7. Hansson, Sven Ove (September 3, 2008). "Science and Pseudo-Science". Stanford Encyclopedia of Philosophy. Stanford University. สืบค้นเมื่อ April 16, 2011. From a practical point of view, the distinction is important for decision guidance in both private and public life. Since science is our most reliable source of knowledge in a wide variety of areas, we need to distinguish scientific knowledge from its look-alikes. Due to the high status of science in present-day society, attempts to exaggerate the scientific status of various claims, teachings, and products are common enough to make the demarcation issue pressing in many areas.
  8. Hurd PD (1998). "Scientific literacy: New minds for a changing world". Science Education. 82 (3): 407–16. Bibcode:1998SciEd..82..407H. doi:10.1002/(SICI)1098-237X(199806)82:3<407::AID-SCE6>3.0.CO;2-G.(ต้องสมัครสมาชิก)
  9. 9.0 9.1 Hansson, Sven Ove (2008). "Science and Pseudoscience". Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  10. Bowler, Peter J. (2003). Evolution: The History of an Idea (3rd ed.). University of California Press. p. 128. ISBN 0-520-23693-9.
  11. Magendie, F (1843). An Elementary Treatise on Human Physiology. แปลโดย John Revere (5th ed.). New York: Harper. p. 150. Magendie refers to phrenology as "a pseudo-science of the present day" (note the hyphen).
  12. e.g. Gauch, Hugh G., Jr. (2003), Scientific Method in Practice, Cambridge University Press, ISBN 0-521-01708-4, 435 pages, 3-5 ff
  13. Gauch (2003), 191 ff, especially Chapter 6, "Probability", and Chapter 7, "inductive Logic and Statistics"
  14. Popper, KR (1959) "The Logic of Scientific Discovery". The German version is currently in print by Mohr Siebeck (ISBN 3-16-148410-X), the English one by Routledge publishers (ISBN 0-415-27844-9).
  15. Karl R. Popper: Science: Conjectures and Refutations. เก็บถาวร 2007-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Conjectures and Refutations (1963), p. 43–86;
  16. Casti, John L. (1990). Paradigms lost : tackling the unanswered mysteries of modern science (1st ed.). New York: Avon Books. pp. 51–52. ISBN 0-380-71165-6.
  17. Paul R. Thagard "Why Astrology is a Pseudoscience" in PSA: Proceedings of the Biennial Meeting of the Philosophy of Science Association, Vol. 1978, Volume One: Contributed Papers (1978), pp. 223-234, The University of Chicago Press on behalf of the Philosophy of Science Association 223 ff.
  18. Bunge M (1983) "Demarcating science from pseudoscience" Fundamenta Scientiae 3:369-388
  19. Feyerabend, P. (1975) Against Method: Outline of an Anarchistic Theory of Knowledge ISBN 0-86091-646-4 Table of contents and final chapter.
  20. Gauch, H.G. (2003). Scientific Method in Practice. Cambridge University Press. p. 88. ISBN 9780521017084. LCCN 2002022271. A particularly radical reinterpretation of science comes from Paul Feyerabend, "the worst eneny of science"... Like Lakatos, Feyerabend was also a student under Popper. In an interview with Feyerabend in Science, [he says] "Equal weight... should be given to competing avenues of knowledge such as astrology, acupunture, and witchcraft..."
  21. Thagard PR (1978) "Why astrology is a pseudoscience" (1978) In PSA 1978, Volume 1, ed. Asquith PD and Hacking I (East Lansing: Philosophy of Science Association, 1978) 223 ff. Thagard writes, at 227, 228: "We can now propose the following principle of demarcation: A theory or discipline which purports to be scientific is pseudoscientific if and only if: it has been less progressive than alternative theories over a long period of time, and faces many unsolved problems; but the community of practitioners makes little attempt to develop the theory towards solutions of the problems, shows no concern for attempts to evaluate the theory in relation to others, and is selective in considering confirmations and non confirmations."
  22. Laudan L (1996) "The demise of the demarcation problem" in Ruse, Michael, But Is It Science?: The Philosophical Question in the Creation/Evolution Controversy pp. 337-350.
  23. McNally RJ (2003) Is the pseudoscience concept useful for clinical psychology? The Scientific Review of Mental Health Practice, vol. 2, no. 2 (Fall/Winter 2003)
  24. "pseudoscience". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.(ต้องสมัครสมาชิก)
  25. Andrews & Henry 1796, p. 87.
  26. บทความคุณอยากอ่านวิทยาศาสตร์ แบบไหน ใน สารคดี ?[ลิงก์เสีย]
  27. "กฎ 9 ข้อรู้ทัน "วิทยาศาสตร์เทียม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.