ความเอนเอียงทางประชาน
ความเอนเอียงทางประชาน (อังกฤษ: cognitive bias) เป็นรูปแบบการประเมินหลักฐาน/ข้อมูล/สถานการณ์ แล้วตัดสินใจอย่างบิดเบือนไปจากปกติทางสังคมหรือจากความสมเหตุสมผล[1] เพราะคนแต่ละคนจะสร้าง "ความเป็นจริงอันเป็นอัตวิสัย" (subjective reality) เนื่องกับการรับรู้ของตน ๆ จึงไม่ใช่ความเป็นจริงอันเป็นปรวิสัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนแต่ละคน ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานบางครั้งจึงนำไปสู่ความบิดเบือนในการรับรู้ การประเมินและการตัดสินใจที่ไม่แม่นยำและไม่สมเหตุผล[2][3][4]
แม้การรับรู้ที่บิดเบือนหรือผิด ๆ เช่นนี้อาจดูเหมือนความวิปริต แต่จริง ๆ ความเอนเอียงก็อาจช่วยให้พบสิ่งที่คนอื่นเหมือน ๆ กับเรา หรือเป็นทางลัดในการคิดอ่านเพื่อให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้[5]
ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัว ซึ่งช่วยให้มีพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในบริบทหนึ่ง ๆ[6] อนึ่ง ยังช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วกว่าซึ่งอาจจำเป็นในสถานการณ์ที่ความรวดเร็วมีค่ากว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ[7] ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างก็เป็นเพียงผลพลอยได้ของข้อจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์[1] ซึ่งอาจเป็นผลของการไร้กลไกทางความคิด/จิตใจอะไรบางอย่าง สภาพร่างกายและจิตใจ สภาพทางชีววิทยา หรือข้อจำกัดในการประมวลข้อมูล[8][9]
ในช่วง 6 ศตวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยทางประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในเรื่องการประเมินและตัดสินใจของมนุษย์ ได้ระบุรายการความเอนเอียงทางประชานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แดเนียล คาฮ์นะมันและอะมอส ทเวอร์สกี้อ้างว่า ความรู้ในเรื่องความเอนเอียงทางประชานสามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินและการตัดสินใจทางแพทยศาสตร์ ทางการประกอบการ การลงทุน ทางการเงิน และทางการบริหาร[10][11]
สาระสำคัญ
แก้ความเอนเอียงเกิดขึ้นจากระบวนการทางจิตหลายอย่างที่บางครั้งยากที่จะแยกแยะ รวมทั้ง
- การใช้วิธีลัดในการประมวลข้อมูล (ฮิวริสติก)[12]
- ความรบกวนทางจิตใจ (mental noise)
- สมรรถภาพที่จำกัดของจิตใจในการประมวลข้อมูล[13]
- แรงจูงใจทางอารมณ์และทางศีลธรรม[14]
- อิทธิพลทางสังคม[15]
ความคิดเกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมาจากคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972[16] ซึ่งมีรากฐานมาจากประสบการณ์ของพวกเขาเกี่ยวกับความไม่สามารถคิดโดยเหตุผลโดยใช้ตัวเลข (innumeracy) ของมนุษย์ คาฮ์นะมันและคณะได้แสดงโดยใช้วิธีที่ทำซ้ำได้หลายอย่างว่า การประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ต่างไปจากที่แสดงในแบบจำลองทางเศรษฐศาตร์ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางคือ rational choice theory (ทฤษฎีการเลือกโดยเหตุผล) โดยอธิบายว่า มนุษย์ทำการประเมินและตัดสินใจโดยใช้ฮิวริสติก ซึ่งเป็นทางลัดทางความคิดที่สามารถให้ค่าประเมินอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์บางอย่าง (Baumeister & Bushman, 2010, p. 141). ฮิวริสติกเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายกว่าในการคำนวณ แต่ว่าบางครั้งทำให้เกิด "ความผิดพลาดที่รุนแรงอย่างเป็นระบบ"[17]
ยกตัวอย่างเช่น ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน (representativeness heuristic) คือ ความโน้มเอียงที่จะ "ประเมินความชุกหรือความน่าจะเป็น" ของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยความคล้ายคลึงของเหตุการณ์นั้นกับรูปแบบตัวอย่าง (Baumeister & Bushman, 2010, p. 141) ในงานทดลองหนึ่ง[18] คาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านข้อความสั้น ๆ เกี่ยวกับหญิงคนหนึ่งชื่อว่าลินดา โดยกล่าวถึงเธอว่า "อายุ 31 ปี ยังโสด พูดจาตรงไปตรงมา และฉลาดมาก เธอเรียนปรัชญาเป็นวิชาเอก แม้จะเป็นนักศึกษา เธอก็มีความสนใจในปัญหาการเลือกปฏิบัติ และปัญหาความยุติธรรมทางสังคมอย่างลึกซึ้ง และเข้าร่วมการเดินขบวนต่อต้านการใช้อาวุธ/พลังงานนิวเคลียร์" ผู้ร่วมการทดลองจะอ่านข้อความนี้แล้วประเมินความเป็นไปได้ของข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับลินดา รวมทั้ง "ลินดาเป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร" และ "ลินดาเป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร และเข้าร่วมกิจกรรมขบวนการเพื่อสิทธิของสตรี" เรามักจะมีความโน้มเอียงที่มีกำลังในการเลือกข้อความหลัง ซึ่งเฉพาะเจาะจงมากกว่า ว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงกว่า แม้ว่า จริง ๆ แล้ว ประพจน์เชื่อมในรูปแบบ "ลินดาเป็นทั้ง ก and ข" ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ทั่วไปยิ่งกว่าคือ "ลินดาเป็น ก" การอธิบายโดยใช้ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนก็คือว่า การตัดสินใจบิดเบือนไป เพราะว่า สำหรับผู้อ่านแล้ว ข้อความอธิบายบุคคลิกของลินดา คล้ายกับของบุคคลที่อาจจะเป็นนักสิทธินิยมของสตรี แต่ไม่เหมือนกับคนที่ทำงานในธนาคาร ซึ่งอาจจะตีความได้ว่า ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนนำไปสู่ความผิดพลาดโดยกระตุ้นความคิดแบบเหมารวม และกระตุ้นการประเมินตัดสินผู้อื่นที่ไม่เที่ยงตรง[1]
แต่สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ มีวิธีการอธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า การใช้ฮิวริสติกไม่ควรที่จะนำไปสู่ความคิดว่า ความคิดของมนุษย์เต็มไปด้วยความเอนเอียงทางประชานที่ไม่สมเหตุผล แต่ว่า ควรจะคิดถึงฮิวริสติกว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เหมือนการใช้ตรรกะเชิงรูปนัย (formal logic) และกฎความน่าจะเป็น[19] อย่างไรก็ดี การทดลองต่าง ๆ เช่นเดียวกับเรื่องของลินดานี้ ได้กลายมาเป็นโปรแกรมงานวิจัยที่ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางเกินขอบเขตวิชาการทางจิตวิทยา ข้ามไปยังสาขาอื่น ๆ รวมทั้งแพทยศาสตร์และรัฐศาสตร์
รูปแบบ
แก้ความเอนเอียงสามารถแบ่งประเภทได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่นแบ่งเป็นความเอนเอียงที่เกิดเฉพาะในกลุ่มบุคคล (เช่น Group polarization) และที่เกิดในระดับบุคคล
ความเอนเอียงบางอย่างมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ (decision-making) ที่ต้องพิจารณาความน่าพอใจของผลทางเลือกต่าง ๆ (เช่น sunk costs fallacy) ความเอนเอียงอย่างอื่นเช่น illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง) มีอิทธิพลต่อการประเมินความน่าจะเป็น หรือว่าการประเมินว่าเหตุการณ์อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล มีความเอนเอียงพวกหนึ่งโดยเฉพาะที่มีผลต่อความจำ[20] เช่น consistency bias ซึ่งก็คือการระลึกถึงทัศนคติและพฤติกรรมในอดีตว่าเหมือนกับทัศนคติในปัจจุบันเกินความเป็นจริง
มีความเอนเอียงที่สะท้อนถึงแรงจูงใจของบุคคลนั้น[21] ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการที่จะมีภาพพจน์ของตนเชิงบวกจะนำไปสู่ Egocentric bias[22] และการหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) ที่ทำให้รู้สึกไม่ดี มีความเอนเอียงบางอย่างที่เกิดจากวิธีการรับรู้ของสมอง หรือวิธีการสร้างความจำและทำการตัดสินใจ ซึ่งมีความแตกต่างกันที่แยกออกป็น "Hot cognition" (การคิดหาเหตุผลที่มีแรงจูงใจประกอบด้วยอารมณ์) และ "Cold Cognition" เพราะว่า การคิดหาเหตุผลประกอบด้วยแรงจูงใจ (motivated reasoning) อาจเกิดขึ้นภายใต้สภาวะตื่นตัว
ในบรรดาความเอนเอียงที่จัดว่า "cold" ก็คือ
- บางอย่างเกิดจาก "การละเลยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน" (เช่น neglect of probability)
- บางอย่างเป็นการประเมินและการตัดสินใจที่ "มีอิทธิพลจากข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน" ยกตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ Framing (การตั้งกรอบ) ที่ปัญหาอย่างเดียวกันจะได้คำตอบต่างกันขึ้นอยู่กับว่า กล่าวถามปัญหาอย่างไร หรือ distinction bias คือ จะมีการเลือกทางเลือกที่แสดงร่วมกัน ต่างจากการเลือกทางเลือกที่แสดงทีละอย่าง
- บางอย่างเป็นการให้ความสำคัญเกินส่วน กับลักษณะที่ไม่สำคัญแต่ชัดเจนของปัญหา (เช่น anchoring)
การที่ความเอนเอียงบางอย่างสะท้อนแรงจูงใจ โดยเฉพาะแรงจูงใจที่จะมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับตนเอง[22] สามารถอธิบายความที่ความเอนเอียงเป็นการรับใช้ตนเองหรือพุ่งความสนใจไปในตน (เช่น illusion of asymmetric insight, ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง [self-serving bias], และ projection bias) มีความเอนเอียงบางอย่างที่ใช้ในการประเมินบุคคลที่อยู่ใน in-group (คือในวงสังคมตนเอง) และ out-group (คือนอกวงสังคมตนเอง) โดยที่ประเมินวงสังคมของตนเองว่ามีความหลากหลายมากกว่า และดีกว่าโดยประการต่าง ๆ แม้ว่า "วงสังคม" เหล่านั้นอาจจะเป็นการกำหนดโดยสุ่ม (เช่น ingroup bias, outgroup homogeneity bias)
ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเป็นกลุ่มย่อยของความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attentional bias) ซึ่งหมายถึงการใส่ใจสิ่งเร้าบางอย่างเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานว่า ผู้ที่ติดสุราหรือยาเสพติดอื่น ๆ ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับสิ่งเสพติดนั้น ๆ บททดสอบทางจิตวิทยาเพื่อวัดความเอนเอียงที่สามัญก็คือ Stroop Task[23][24] และ Dot Probe Task
รายการต่อไปนี้เป็นชื่อของความเอนเอียงที่มีงานศึกษามาก
ชื่อ | คำพรรณนา |
---|---|
Fundamental Attribution Error (FAE) | หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า correspondence bias (Baumeister & Bushman, 2010) เป็นความโน้มเอียงที่เราจะเน้นการใช้นิสัยในการอธิบายพฤติกรรมที่เห็นในคนอื่นมากเกินไป โดยที่ขณะเดียวกัน มีการใส่ใจในบทบาทและอำนาจของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมนั้นน้อยเกินไป[25] มีงานทดลองคลาสสิกที่แสดง FAE คือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ผู้เขียนแต่ละคนได้รับมอบหมายให้เขียนปาฐกถาสนับสนุนหรือต่อต้านฟีเดล กัสโตร ผู้ร่วมการทดลองกลับไม่สนใจความกดดันทางสถานการณ์เช่นนั้นแล้วกล่าวว่าผู้เขียนแต่ละคนมีทัศนคติเช่นนั้นจริง ๆ |
ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias) | ความโน้มเอียงที่จะสืบหาหรือตีความข้อมูลโดยวิธีที่จะยืนยันความเห็นของตน นอกจากนั้นแล้ว เราอาจจะไม่ให้เครดิตกับข้อมูลที่ไม่ยืนยันความเห็นของเรา[26] ความเอนเอียงเพื่อยืนยันมีความสัมพันธ์กับความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) คือ เราจะลดความไม่ลงรอยกันของสิ่งที่พบ โดยการสืบหาข้อมูลที่ยืนยันความเห็นของเราเพิ่มขึ้นอีก[27] |
ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (Self-serving bias) | ความโน้มเอียงที่จะรับเอาเครดิตของความสำเร็จ แต่โยนโทษของความล้มเหลว
และอาจจะปรากฏเป็นความโน้มเอียงที่ประเมินข้อมูลที่ไม่ชัดเจนเข้าข้างตัวเอง |
Belief bias (ความเอนเอียงโดยความเชื่อ) | คือ เมื่อการประเมินความมีเหตุผลของข้ออ้างความจริง มีความเอนเอียงเนื่องจากเชื่อว่าข้อสรุปของข้ออ้างนั้นเป็นจริงหรือเท็จตั้งแต่ก่อนทำการประเมิน |
Framing (การวางกรอบ) | คือ ความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อใช้วิธีการหรือคำพรรณนาอธิบายสถานการณ์หรือปัญหาแคบเกินไป |
Hindsight bias (ความเอนเอียงโดยมองย้อนหลัง) | บางครั้งเรียกว่า ปรากฏการณ์ "ฉันรู้มาตั้งแต่ต้นแล้ว" เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นเหตุการณ์ในอดีตว่าเป็นเรื่องที่พยากรณ์ได้ |
ในบทความที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2012 นักวิชาการเสนอว่า ความเอนเอียงที่ดูเหมือนจะไม่มีความสัมพันธ์อย่างน้อย 8 อย่าง สามารถเกิดได้โดยใช้กลไกการสร้างของทฤษฎีสารสนเทศ[28] คือมีการแสดงว่า ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการรบกวน ในกระบวนการประมวลข้อมูลที่ต้องอาศัยความจำ ที่แปลงหลักฐานที่เป็นปรวิสัย (คือสังเกตการณ์) ให้เป็นค่าประเมินที่เป็นอัตวิสัย (คือการตัดสินใจ) สามารถที่จะสร้างความเอนเอียงทางประชานต่าง ๆ ได้คือ regressive conservatism, belief revision (หรือเรียกว่า Bayesian conservatism), illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง), illusory superiority (ความเหนือกว่าลวง หรือปรากฏการณ์ว่าฉันเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย) และ worse-than-average effect (ฉันแย่กว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย), subadditivity effect, exaggerated expectation, overconfidence (มั่นใจมากเกินไป), และ hard-easy effect
ความสำคัญในพฤติกรรม
แก้สถาบันและแนวคิดต่าง ๆ ทางสังคม ตั้งอยู่ในรากฐานว่าเราจะทำการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล เช่น กฎหมายเกี่ยวกับตลาดลงทุนโดยมากสมมุติว่า นักลงทุนล้วนแต่มีการกระทำที่เป็นไปตามเหตุผลอย่างสมบูรณ์แบบ แต่จริง ๆ แล้ว นักลงทุนล้วนแต่มีความจำกัดทางประชานเนื่องจากการมีความเอนเอียง การใช้ฮิวริสติก และ framing effect
ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งคือ ในการพิจารณาคดีโดยใช้ลูกขุนที่ยุติธรรม ลูกขุนจะต้องไม่ใส่ใจในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี สามารถชั่งหลักฐานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เปิดใจพิจารณาความเป็นไปได้ต่าง ๆ และพยายามยับยั้งการเกิดขึ้นของเหตุผลวิบัติต่าง ๆ เช่นการอุทธรณ์โดยความรู้สึก (appeal to emotion) แต่ว่า ความเอนเอียงที่พบในงานทดลองทางจิตวิทยาเหล่านี้แสดงว่า เราจะไม่สามารถทำการเหล่านั้นได้จริง ๆ[29] แต่ความล้มเหลวนั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ไปในทิศทางที่สามารถพยากรณ์ได้[4]
ความเอนเอียงทางประชานยังมีความสัมพันธ์กับความดำรงอยู่ได้ของเรื่องเหนือธรรมชาติ กับปัญหาสังคมเช่นความเดียดฉันท์ และเป็นอุปสรรคกับการยอมรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ความรู้โดยรู้เองฺ (non-intuitive) ของสาธารณชนทั่วไป[30]
การลดระดับความเอนเอียงทางประชาน
แก้มีนักวิชาการหลายพวกที่ยืนยันว่า ประเด็นและทิศทางของความเอนเอียงทางประชานไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยสุ่ม คือไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ[31][1] ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องที่พยากรณ์ได้ นอกจากนั้นแล้ว เรายังสามารถควบคุมความเอนเอียงได้ เช่น "Debiasing" เป็นเทคนิคลดความเอนเอียงที่สนับสนุนบุคคลให้ใช้วิธีการประมวลผลเหนือสำนึกที่ควบคุมได้ เทียบกับผลที่ได้จากความเอนเอียงซึ่งเป็นกระบวนการจิตใต้สำนึกที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ[32]
ส่วนในเรื่องการลด FAE วิธีที่ใช้เงินเป็นตัวล่อ[33] และที่แจ้งผู้ร่วมการทดลองว่าตนจะต้องรับผิดชอบต่อการหาเหตุที่ถูกต้อง[34] ทำให้ผู้ร่วมการทดลองหาเหตุได้อย่างแม่นยำขึ้น
"Cognitive bias modification" (การปรับความเอนเอียงทางประชาน) หมายถึงกระบวนการที่ปรับความเอนเอียงทางประชานของผู้ที่มีสุขภาพดี และหมายถึงวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาที่ไม่ใช้ยาเพื่อโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และการติดสิ่งเสพติดที่เรียกว่า "Cognitive bias modification therapy" (CBMT) CBMT มีอีกชื่อหนึ่งว่า Applied Cognitive Processing Therapies (ACPT) เป็นวิธีการบำบัดที่เป็นกลุ่มย่อย ๆ ภายในวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ใช้ปรับเปลี่ยนกระบวนการทางประชาน โดยร่วมกับหรือไม่ร่วมกับการใช้ยาและการบำบัดด้วยการพูดคุย และแม้ว่า CBM จะหมายถึงการปรับกระบวนการทางประชานของผู้มีสุขภาพดี แต่ว่า CBMT จะหมายถึงการบำบัดทางจิตวิทยาที่อิงหลักฐาน ที่ทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางประชานเพื่อบำบัดความทุกข์[35][36] จากโรคซึมเศร้าที่รุนแรง[37] โรควิตกกังวล[38] และจากการติดสิ่งเสพติด[39] CBMT เป็นการบำบัดที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้รักษาอยู่ร่วมด้วย CBM อาศัยทั้งหลักฐานและทฤษฎีจากแบบจำลองทางประชานเกี่ยวกับความวิตกกังวล[40] จากประสาทวิทยาศาสตร์เชิงประชาน[41] และจากแบบจำลองในการใส่ใจ[42]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Haselton, MG; Nettle, D; Andrews, PW (2005). "The evolution of cognitive bias.". ใน Buss, DM (บ.ก.). The Handbook of Evolutionary Psychology. Hoboken, NJ, US: John Wiley & Sons Inc. pp. 724–746.
- ↑ Kahneman, D; Tversky, A (1972). "Subjective probability: A judgment of representativeness" (PDF). Cognitive Psychology. 3 (3): 430–454. doi:10.1016/0010-0285(72)90016-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 2017-04-01.
- ↑ Baron, J (2007). Thinking and Deciding (4th ed.). New York, NY: Cambridge University Press.
- ↑ 4.0 4.1 Ariely D (2008). Predictably Irrational: The Hidden Forces That Shape Our Decisions. New York, NY: HarperCollins. ISBN 978-0-06-135323-9.
- ↑ "12 Common Biases That Affect How We Make Everyday Decisions". Psychology Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
- ↑ For instance: Gigerenzer, G; Goldstein, DG (October 1996). "Reasoning the fast and frugal way: models of bounded rationality" (PDF). Psychological Review. 103 (4): 650–69. CiteSeerX 10.1.1.174.4404. doi:10.1037/0033-295X.103.4.650. PMID 8888650.
- ↑ Tversky, A; Kahneman, D (September 1974). "Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases". Science. 185 (4157): 1124–31. Bibcode:1974Sci...185.1124T. doi:10.1126/science.185.4157.1124. PMID 17835457. S2CID 143452957.
- ↑ Bless, H; Fiedler, K; Strack, F (2004). Social cognition: How individuals construct social reality. Hove and New York: Psychology Press.
- ↑ Morewedge, CK; Kahneman, D (October 2010). "Associative processes in intuitive judgment". Trends in Cognitive Sciences. 14 (10): 435–40. doi:10.1016/j.tics.2010.07.004. PMC 5378157. PMID 20696611.
- ↑ Kahneman, D; Tversky, A (July 1996). "On the reality of cognitive illusions" (PDF). Psychological Review. 103 (3): 582–91, discussion 592-6. CiteSeerX 10.1.1.174.5117. doi:10.1037/0033-295X.103.3.582. PMID 8759048.
- ↑ Zhang, SX; Cueto, J (2015). "The Study of Bias in Entrepreneurship". Entrepreneurship Theory and Practice. 41 (3): 419–454. doi:10.1111/etap.12212. S2CID 146617323.
- ↑ Kahneman, D; Slovic, P; Tversky, A (1982). Judgment under uncertainty: Heuristics and biases (1 ed.). Cambridge University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Simon, H. A. (1955). "A behavioral model of rational choice". The Quarterly Journal of Economics. 69 (1): 99–118. doi:10.2307/1884852.
- ↑ Pfister, H.-R.; Böhm, G. (2008). "The multiplicity of emotions: A framework of emotional functions in decision making". Judgment and Decision Making. 3: 5–17.
- ↑ Wang, X. T; Simons, F; Brédart, S (2001). "Social cues and verbal framing in risky choice". Journal of Behavioral Decision Making. 14 (1): 1–15. doi:10.1002/1099-0771(200101)14:1<1::AID-BDM361>3.0.CO;2-N.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Kahneman, Daniel; Shane Frederick (2002). "Representativeness Revisited: Attribute Substitution in Intuitive Judgment". ใน Thomas Gilovich, Dale Griffin, Daniel Kahneman (บ.ก.). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 51–52. ISBN 978-0-521-79679-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ Tversky, A; Kahneman, D (1974). "Judgement under uncertainty: Heuristics and biases". Sciences. 185 (4157): 1124-1131. doi:10.1126/science.185.4157.1124. PMID 17835457.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Tversky, A., & Kahneman, D. (1983). "Extensional versus intuitive reasoning: The conjunction fallacy in probability judgement". Psychological Review. 90: 293–315. doi:10.1037/0033-295X.90.4.293.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gigerenzer, G. (2006). "Bounded and Rational". ใน Stainton, R. J. (บ.ก.). Contemporary Debates in Cognitive Science. Blackwell. p. 129. ISBN 1-4051-1304-9.
- ↑ Schacter DL (March 1999). "The seven sins of memory. Insights from psychology and cognitive neuroscience". The American Psychologist. 54 (3): 182–203. doi:10.1037/0003-066X.54.3.182. PMID 10199218. S2CID 14882268.
- ↑ Kunda Z (November 1990). "The case for motivated reasoning" (PDF). Psychological Bulletin. 108 (3): 480–98. doi:10.1037/0033-2909.108.3.480. PMID 2270237. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-27.
- ↑ 22.0 22.1 Hoorens V (1993). "Self-enhancement and Superiority Biases in Social Comparison". ใน Stroebe, W., Hewstone, Miles (บ.ก.). European Review of Social Psychology 4. Wiley.
- ↑ Jensen AR, Rohwer WD (1966). "The Stroop color-word test: a review". Acta Psychologica. 25 (1): 36–93. doi:10.1016/0001-6918(66)90004-7. PMID 5328883.
- ↑ MacLeod CM (March 1991). "Half a century of research on the Stroop effect: an integrative review". Psychological Bulletin. 109 (2): 163–203. CiteSeerX 10.1.1.475.2563. doi:10.1037/0033-2909.109.2.163. hdl:11858/00-001M-0000-002C-5646-A. PMID 2034749.
- ↑ Jones EE, Harris VA (1967). "The attribution of attitudes". Journal of Experimental Social Psychology. 3: 1–24. doi:10.1016/0022-1031(67)90034-0.
- ↑ Mahoney MJ (1977). "Publication prejudices: An experimental study of confirmatory bias in the peer review system". Cognitive Therapy and Research. 1 (2): 161–175. doi:10.1007/bf01173636. S2CID 7350256.
- ↑ Jermias J (2001). "Cognitive dissonance and resistance to change: The influence of commitment confirmation and feedback on judgement usefulness of accounting systems". Accounting, Organizations and Society. 26 (2): 141–160. doi:10.1016/s0361-3682(00)00008-8.
- ↑ Hilbert, Martin (2012). "Toward a synthesis of cognitive biases: How noisy information processing can bias human decision making". Psychological Bulletin. 138 (2): 211–237. Full ArticlePDF
- ↑ Sutherland, Stuart (2007). Irrationality: The Enemy Within (2 ed.). Pinter & Martin. ISBN 978-1-905177-07-3.
- ↑ Günter Radden, H. Cuyckens (2003). Motivation in language: studies in honor of Günter Radden. John Benjamins. p. 275. ISBN 978-1-58811-426-6.
- ↑ Gigerenzer, G. (1996). "On narrow norms and vague heuristics: A reply to Kahneman and Tversky (1996)". Psychological Review. 103 (3): 592–596. doi:10.1037/0033-295x.103.3.592.
- ↑ Baumeister, RF; Bushman, BJ (2010). Social psychology and human nature: International Edition. Belmont, USA: Wadsworth. p. 155.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Vonk, R. (1999). "Effects of outcome dependency on correspondence bias". Personality and Social Psychology Bulletin. 25: 382–389. doi:10.1177/0146167299025003009.
- ↑ Tetlock, P. E. (1985). "Accountability: A social check on the fundamental attribution error". Social Psychology Quarterly. 48: 227–236. doi:10.2307/3033683.
- ↑ MacLeod, C.; Mathews, A.; Tata, P. (1986). "Attentional Bias in Emotional Disorders". Journal of Abnormal Psychology. 95 (1): 15–20. doi:10.1037/0021-843x.95.1.15.
- ↑ Bar-Haim, Y.; Lamy, D.; Pergamin, L.; Bakermans-Kranenburg, M. J. (2007). "Threat-related attentional bias in anxious and nonanxious individuals: a meta-analytic study". Psychol Bull. 133 (1): 1–24. doi:10.1037/0033-2909.133.1.1.
- ↑ Holmes, E. A.; Lang, T. J.; Shah, D. M. (2009). "Developing interpretation bias modification as a "cognitive vaccine" for depressed mood: imagining positive events makes you feel better than thinking about them verbally". J Abnorm Psychol. 118 (1): 76–88. doi:10.1037/a0012590.
- ↑ Hakamata, Y.; Lissek, S.; Bar-Haim, Y.; Britton, J. C.; Fox, N. A.; Leibenluft, E.; Pine, D. S. (2010). "Attention bias modification treatment: a meta-analysis toward the establishment of novel treatment for anxiety". Biol Psychiatry. 68 (11): 982–990. doi:10.1016/j.biopsych.2010.07.021.
- ↑ Eberl, C.; Wiers, R. W.; Pawelczack, S.; Rinck, M.; Becker, E. S.; Lindenmeyer, J. (2013). "Approach bias modification in alcohol dependence: Do clinical effects replicate and for whom does it work best?". Developmental Cognitive Neuroscience. 4 (0): 38–51. doi:10.1016/j.dcn.2012.11.002.
- ↑ Clark, DA; Beck, AT (2009). Cognitive Therapy of Anxiety Disorders: Science and Practice. London: Guildford.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Browning, M.; Holmes, E. A.; Murphy, S. E.; Goodwin, G. M.; Harmer, C. J. (2010). "Lateral prefrontal cortex mediates the cognitive modification of attentional bias". Biol Psychiatry. 67 (10): 919–925. doi:10.1016/j.biopsych.2009.10.031.
- ↑ Eysenck, M. W.; Derakshan, N.; Santos, R.; Calvo, M. G. (2007). "Anxiety and cognitive performance: Attentional control theory". Emotion. 7 (2): 336–353. doi:10.1037/1528-3542.7.2.336.
อ่านเพิ่ม
แก้- Eiser JR, van der Pligt J (1988). Attitudes and Decisions. London: Routledge. ISBN 978-0-415-01112-9.
- Fine C (2006). A Mind of its Own: How your brain distorts and deceives. Cambridge, UK: Icon Books. ISBN 1-84046-678-2.
- Gilovich T (1993). How We Know What Isn't So: The Fallibility of Human Reason in Everyday Life. New York: The Free Press. ISBN 0-02-911706-2.
- Haselton MG, Nettle D, Andrews PW (2005). "The evolution of cognitive bias." (PDF). ใน Buss DM (บ.ก.). Handbook of Evolutionary Psychology. Hoboken: Wiley. pp. 724–746.
- Heuer RJ Jr (1999). "Psychology of Intelligence Analysis. Central Intelligence Agency". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-09. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- Kahneman D (2011). Thinking, Fast and Slow. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-27563-1.
- Kahneman D (2022). Noise: A Flaw in Human Judgment. Little, Brown and Company. ISBN 978-0316451390.
- Kida T (2006). Don't Believe Everything You Think: The 6 Basic Mistakes We Make in Thinking. New York: Prometheus. ISBN 978-1-59102-408-8.
- Krueger JI, Funder DC (June 2004). "Towards a balanced social psychology: causes, consequences, and cures for the problem-seeking approach to social behavior and cognition". The Behavioral and Brain Sciences. 27 (3): 313–27, discussion 328–76. doi:10.1017/s0140525x04000081. PMID 15736870. S2CID 6260477.
- Nisbett R, Ross L (1980). Human Inference: Strategies and shortcomings of human judgement. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. ISBN 978-0-13-445130-5.
- Piatelli-Palmarini M (1994). Inevitable Illusions: How Mistakes of Reason Rule Our Minds. New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-15962-X.
- Stanovich K (2009). What Intelligence Tests Miss: The Psychology of Rational Thought. New Haven (CT): Yale University Press. ISBN 978-0-300-12385-2.
- Tavris C, Aronson E (2007). Mistakes Were Made (But Not by Me): Why We Justify Foolish Beliefs, Bad Decisions and Hurtful Acts. Orlando, Florida: Harcourt Books. ISBN 978-0-15-101098-1.
- Young S (2007). Micromessaging - Why Great Leadership Is Beyond Words. New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-146757-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cognitive biases
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ความเอนเอียงทางประชาน
- The Roots of Consciousness: To Err Is human
- Cognitive bias in the financial arena (archived 20 June 2006)
- A Visual Study Guide To Cognitive Biases