โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย เป็นวิวัฒนาการสำคัญของโทรทัศน์ในประเทศไทย ด้วยโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ซึ่งผู้ชมส่วนใหญ่ทั่วไปจะเรียกว่า ทีวีดิจิตอล หรือ ทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ตามกฎหมายราชอาณาจักรไทยบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีองค์การของรัฐแห่งหนึ่งขึ้นมาดูแลกิจการโทรคมนาคม กิจการโทรทัศน์วิทยุกระจายเสียง และกิจการสารสนเทศอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้จัดตั้งหน่วยงานองค์กรอิสระใหม่ขึ้นเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นองค์กรอิสระภาครัฐที่รับผิดชอบโดยตรง เกี่ยวกับคลื่นความถี่ทั้งหมด กสทช. ออกกำหนดให้ใช้ระบบการออกอากาศตามมาตรฐาน การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดินรุ่นที่ 2 (DVB-T2) กำหนดระยะของการทดลองออกอากาศไว้ ระหว่างวันที่ 1 - 24 เมษายน พ.ศ. 2557[1] ก่อนจะกำหนดเวลาให้ผู้ประกอบการทุกรายเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เพื่อเริ่มออกอากาศในส่วนกลางระหว่าง 25 เมษายน - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โดยตามแผนแม่บทของ กสทช. ในประเทศไทยจะเริ่มยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกภายในปี พ.ศ. 2558[2] แต่ในการดำเนินการจริงนั้น การยุติการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ระบบ VHF และ UHF แบบแอนะล็อกมีความล่าช้า และแต่ละสถานีในแต่ละพื้นที่ได้ยุติออกอากาศไม่พร้อมกัน โดยสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาเดียวกันคือช่วงกลางปี พ.ศ. 2561[3][4][5][6][7][8] และไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเป็นช่องสุดท้ายของประเทศไทย ในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563[9]

ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินด้วยระบบดิจิทัล ภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบแอนะล็อก ไปสู่การใช้ระบบดิจิทัล โดยให้เริ่มรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัลภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อยภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่า 80% ภายใน 5 ปี[10]

จำนวนและประเภทช่องโทรทัศน์ แก้

กสทช. กำหนดจำนวนและรูปแบบ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล เบื้องต้นไว้ทั้งสิ้น 48 ช่อง[10] ได้แก่

  • กลุ่มช่องประเภทบริการสาธารณะและชุมชน จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการคัดเลือกคุณสมบัติ (Beauty Contest) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
  1. ประเภทรายการบริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง (ระดับชาติ)
  2. ประเภทรายการบริการชุมชน จำนวน 12 ช่อง (จำแนกเป็นแต่ละเขตบริการ)
  • กลุ่มช่องประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Auction) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
  1. ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 140 ล้านบาท
  2. ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 220 ล้านบาท
  3. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition : SD) จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 380 ล้านบาท
  4. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition : HD) จำนวน 7 ช่อง กำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 1,510 ล้านบาท

การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ แก้

ภายหลังที่ กสทช. ได้มีการกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนแม่บทการดำเนินการด้านกิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ก็ได้มีการประชุมภายในหลายครั้งจนได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดการบริหารช่องและคลื่นความถี่อย่างชัดเจน โดยมติที่ประชุมของ กสท. ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มีรายละเอียดและข้อกำหนดดังนี้

  • อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 60 ช่อง แบ่งเป็น
    • บริการสาธารณะ 20% หรือ 12 ช่อง
    • บริการชุมชน 20% หรือ 12 ช่อง
    • บริการธุรกิจ 60% หรือ 36 ช่อง แบ่งเป็น
      • รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
      • รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
      • รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 10 ช่อง
      • รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 4 ช่อง

แต่ภายหลังได้ปรับลดจำนวนช่องลงเพื่อความเหมาะสม และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอยู่ตลอด จนในที่สุดข้อกำหนดทั้งหมดได้ถูกบันทึกเอาไว้ใน ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 โดยมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้

  • อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 48 ช่อง แบ่งเป็น
    • บริการสาธารณะ 25% หรือ 12 ช่อง โดยที่ กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ และ Thai PBS ได้รับช่องในการออกอากาศไปแล้ว 4 ช่อง
    • บริการชุมชน 25% หรือ 12 ช่อง จะเริ่มจัดสรรใบอนุญาตในการดำเนินการในปี พ.ศ. 2558
    • บริการธุรกิจ 50% หรือ 24 ช่อง แบ่งเป็น
      • รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 3 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
      • รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
      • รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท
      • รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท

โดยที่ กสทช. ได้เริ่มจำหน่ายซองเอกสารเงื่อนไขการประมูลช่องในวันที่ 10 - 12 กันยายน พ.ศ. 2556 เพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดย ณ เวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน กล่าวโดยสรุปคือ กสทช. ได้ขายซองประมูลให้กับภาคเอกชนไป 49 ซอง 49 ช่อง 33 บริษัท และนัดส่งเอกสารเพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลในเดือนตุลาคม จนกระทั่งในที่สุด กสทช. ก็ได้กำหนดวันประมูลดิจิทัลทีวีอย่างเป็นทางการ คือวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จะเปิดประมูล 2 ประเภท คือช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน และในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จะเปิดประมูลอีกสองประเภท คือช่องข่าวสารและสารประโยชน์ และช่องเด็กและเยาวชน

ซึ่งการประมูลในวันนั้น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศกว่า 50,862 ล้านบาท โดยแต่เดิม เงินก้อนนี้จะถูกส่งเข้า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อใช้ในการวิจัยเทคโนโลยีด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แต่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 กลับเกิดเหตุความไม่โปร่งใสในการนำเงินไปใช้งาน หลังมีปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เป็นคณะรัฐประหารในช่วงนั้น จึงออกประกาศฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้ กสทช. ทำการหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากเงินที่ได้จากการประมูลดิจิทัลทีวีจำนวน 50,862 ล้านบาทออก แล้วส่งเงินที่เหลือเข้ากระทรวงการคลังเพื่อใช้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง แก้

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 9 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 23,700 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 H04 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 3,530
2 H06 (น.พ. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด 3,460
3 H05 (ช่อง 7) บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด 3,370
4 H08 (ไทยรัฐทีวี) บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด 3,360
5 H03 (MCOT) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 3,340
6 (ร่วม) H01 (อมรินทร์ พรินติง) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด 3,320
H07 (GMM Grammy) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 3,320
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด 3,310
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด 3,000

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดมาตรฐาน แก้

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดมาตรฐาน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 16 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 15,950 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 S15 (Workpoint) บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด 2,355
2 S03 (กลุ่มทรู) บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด 2,315
3 S10 (GMM Grammy) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด 2,290
4 S02 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 2,275
5 S09 (ช่อง 8) บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด 2,265
6 S13 (www.mthai.com) บริษัท โมโน บรอดคาสต์ จำกัด 2,250
7 S12 (เครือเนชั่น) บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติง จำกัด 2,200
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชัน จำกัด
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
10 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด
11 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
12 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง จำกัด
13 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสต์ จำกัด
14 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไทยทีวี จำกัด
15 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
16 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทัช ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการข่าวสาร และสาระ แก้

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการข่าวสารและสาระ (ภาพคมชัดมาตรฐาน) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 10 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 9,238 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 N09 (เครือเนชั่น) บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชัน จำกัด 1,338
2 N06 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 1,330
3 N08 (TV Pool) บริษัท ไทยทีวี จำกัด 1,328
4 N01 บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชัน จำกัด 1,318
5 N05 (เครือทรู, TNN24) บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด 1,316
6 N10 (Daily News) บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด 1,310
7 N04 บริษัท 3 เอ. มาร์เก็ตติง จำกัด 1,298
8 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โมโน เจเนอเรชัน จำกัด
9 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด
10 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว แก้

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ภาพคมชัดมาตรฐาน) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 6 ราย ประมูลได้ 3 ราย มีรายได้รวม 1,974 ล้านบาท

อันดับ รหัสประมูล ชื่อผู้ประมูล มูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1 K01 (ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด 666
2 K03 (MCOT Family) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 660
3 K06 (TV Pool) บริษัท ไทยทีวี จำกัด 648
4 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
5 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท เนชัน คิดส์ จำกัด
6 ไม่ผ่านการประมูล บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด

รายชื่อผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล แก้

ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ลงมติในการประชุมครั้งที่ 23/2556 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 กำหนดให้เจ้าของโครงข่าย โทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ซึ่งประกอบด้วยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2 โครงข่าย), กรมประชาสัมพันธ์, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายในระบบดิจิทัลไปพร้อมกันด้วย[11] กล่าวคือผู้ประกอบการทุกรายที่ กสทช. รับรองใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนด จะต้องเลือกใช้โครงข่ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากผู้ให้บริการทั้ง 4 รายดังกล่าว ดังรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[12]

MUX ช่องความถี่ที่ออกอากาศ
(ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง)[13]
ชื่อผู้ให้บริการโครงข่าย ชื่อผู้รับบริการโครงข่าย
MUX#1 26
(514MHz)
กรมประชาสัมพันธ์
(รหัส: PRD)
NBT 2HD (2)
NBT ส่วนภูมิภาค (11)
MUX#2 36
(594MHz)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(รหัส: RTA2)
TV5 HD (5)
TNN16 (16)
Workpoint (23)
True4U (24)
ช่อง one31 (31)
ช่อง 7HD (35)
MUX#3 40
(626MHz)
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
(รหัส: MCOT)
T Sports 7 (7)
TPTV (10)
ช่อง 9 MCOT HD (30)
ไทยรัฐทีวี (32)
MUX#4 44
(658MHz)
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
(รหัส: TPBS)
Thai PBS (3)
ALTV (4)
JKN 18 (18)
ช่อง 8 (27)
ช่อง 3HD (33)
MUX#5 32
(562MHz)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(รหัส: RTA5)
Nation TV (22)
GMM25 (25)
Mono 29 (29)
Amarin TV HD 34 (34)
PPTV HD 36 (36)

รายชื่อช่องโทรทัศน์และหมายเลขที่ใช้ออกอากาศ แก้

หลังจากผ่านการประมูลช่องรายการแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557 กสทช.เชิญบริษัทซึ่งผ่านการประมูลทั้งหมด มาประชุมเพื่อตกลงร่วมกัน ในการเลือกหมายเลขช่องที่ใช้ออกอากาศ ส่วนช่องที่ประมูลได้ใบอนุญาต ให้ผู้ที่ประมูลชนะด้วยมูลค่าเงินสูงสุดได้เลือกหมายเลขก่อนตามลำดับ และวันที่ 27 มกราคม ปีเดียวกัน กสทช.จึงประกาศหมายเลขช่องของแต่ละบริษัท ดังมีรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[12] (รายชื่อช่องที่ กสทช.ยังไม่อนุมัติให้ออกอากาศในปัจจุบัน แสดงด้วยตัวเอน) ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (8 ปี) เปลี่ยนเป็นช่องเกี่ยวกับหมายเลข 1-36 [14]จานดาวเทียมและโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เหมือนกัน ทุกระบบ ทุกแพลตฟอร์ม

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 กสทช. ได้อนุญาตให้มีการคืนสัมปทานของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและการขอยื่นชำระค่าประมูลความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของผู้ประกอบการ 7 ราย รวมถึงมี 2 รายที่ปิดตัวลงไปก่อนหน้านั้น อันได้แก่ช่อง 13 ช่อง 3 Family, 14 MCOT Family, 15 MVTV Family, 17 ไทยทีวี, 19 Spring News ช่อง 19, 20 Bright TV ช่อง 20, 21 Voice TV21, 26 Spring 26 และ 28 ช่อง 3 SD ทำให้เหลือช่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

เลขช่อง องค์กร ชื่อช่อง/สัญญาณเรียกขาน ลักษณะ
ประเภทบริการสาธารณะ
2 กรมประชาสัมพันธ์ NBT 2HD
NBT-BKK-DTV
ภาครัฐ
3 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย Thai PBS
TPBS-GEN-DTV
4 ALTV 4
TPBS-EDU-DTV
5 กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบกไทย ททบ.5 HD
TV5-DTV
7 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา T Sports 7
TSP-DTV [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21]
10 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร TPTV
TP-DTV [22] [23]
11 กรมประชาสัมพันธ์ NBT ส่วนภูมิภาค
NBT-DTV
NBT-NORTH-DTV
NBT-ESAN-DTV
NBT-SOUTH-DTV
NBT-BKK-DTV
NBT-EAST-DTV
NBT-WEST-DTV
NBT-CENTRAL-DTV
NBT North [24] [25]
NBT Northeast [26] [27]
NBT Central [28] [29]
NBT South [30] [31]
ประเภทรายการข่าวสารและสาระ
16 บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด TNN16
TNN-DTV
ใบอนุญาต
18 บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ไลฟ์ จำกัด JKN 18
JKN-DTV [32]
22 บริษัท เอ็นบีซีเน็กซ์วิชัน จำกัด Nation TV 22
NATION-CH-DTV [33]
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition - SD) (576i)
23 บริษัท ไทยบรอดคาสติง จำกัด Workpoint 23
WP-DTV
ใบอนุญาต
24 บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชัน จำกัด True4U
TRUEVISIONS-DTV [34]
25 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด GMM25
GMM-DTV
27 บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด ช่อง 8 กด 27
RS-CH8-DTV
29 บริษัท โมโนบรอดคาซท์ จำกัด โมโน 29
MONO-DTV [35]
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition - HD) (1080i)
30 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ช่อง 9 MCOT HD
CH9-DTV [36]
ใบอนุญาต
31 บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ช่องวัน 31
GMM-ONE-DTV
32 บริษัท ทริปเปิลวีบรอดคาสต์ จำกัด ไทยรัฐทีวี ช่อง 32
THR-DTV
33 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ช่อง 3 HD
CH3-DTV [37]
34 บริษัท อมรินทร์เทเลวิชัน จำกัด Amarin TV HD 34
AMARIN-DTV [38]
35 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ช่อง 7HD
CH7-DTV
36 บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด PPTV HD 36
PP-DTV

ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับจานดาวเทียมระบบ KU-Band ช่องดิจิทัลหมายเลข 1-36 โอนย้ายจากดาวเทียมไทยคม 5 เป็น ไทยคม 8

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับจานดาวเทียมระบบ C-Band ช่องดิจิทัลหมายเลข 1-36 โอนย้ายจากดาวเทียมไทยคม 5 เป็น ไทยคม 6 สำหรับกล่องดาวเทียม ระบบ SD ยกเว้นกล่องดาวเทียม ระบบ HD ช่องหมายเลข 1-3-18-22 และ ช่องหมายเลข 31-36

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับจานดาวเทียมระบบ C-Band ช่องดิจิทัลหมายเลข 2-36 ยกเว้นช่องหมายเลข 1 สำหรับกล่องดาวเทียม ระบบ HD ยกเว้นกล่องดาวเทียม ระบบ SD ด้วยสัญญาณโครงข่ายแบบ MPEG-4 ช่องหมายเลข 2-3-4-5-16-18-22-25-27-29 และ ช่องหมายเลข 31-36

เหตุการณ์สำคัญหลังออกอากาศจริง แก้

  • 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศ Voice TV อันเนื่องมาจากเนื้อหาพาดพิงการเมืองที่มีนัยสำคัญ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศ โทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีรัฐประหาร
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - เวลา 16:30 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
    • เวลา 17:00 น. คสช. สั่งให้กำลังทหารเข้าควบคุมอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 5 โครงข่าย อันเป็นผลให้โทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 28 ช่อง รวมถึงช่อง GMM25 และช่องอมรินทร์ทีวี ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพในวันที่ 23 พฤษภาคม ต้องระงับการออกอากาศลง เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจาก ททบ.5
    • เวลา 19.00 น. คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4/2557 บังคับให้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งหมด ยุติการออกรายการตามปกติ โดยให้ถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ในกรณีของวิทยุกระจายเสียง และช่อง 5 ในกรณีวิทยุโทรทัศน์และผ่านดาวเทียม จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือและรับฟังคำชี้แจงแนวทางในการกลับมาออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 09:00 น.[ต้องการอ้างอิง]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง รวมถึงช่อง GMM25 และช่องอมรินทร์ทีวี ที่ได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันดังกล่าวด้วย ยกเว้น Voice TV ที่ยังคงให้ระงับการออกอากาศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากมีรายการวิเคราะห์การเมือง ที่มีการเชิญนักวิชาการ อนึ่ง ทุกช่องจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนด ไว้ที่หน้าจอมุมบนทางขวามือของผู้ชม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ หลังจากที่ คสช.กระทำรัฐประหาร
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - เวลา 19:15 น. ทุกช่องเริ่มทยอยนำตราเครื่องหมาย คสช. ออกจากมุมขวาบนของหน้าจอ ตามการขอความร่วมมือและประกาศจากช่อง 5 (มีเพียงช่อง PPTV HD36 ที่แสดงอยู่มุมซ้ายบน) หลังจากได้รับอนุญาตแล้วอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง[39]
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 65/2557 อนุญาตให้ Voice TV ช่องหมายเลข 21 ของโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลซึ่ง กสทช.อนุญาตให้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ กลับมาออกอากาศรายการประจำได้ตามปกติ ทว่าต้องถือปฏิบัติ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 14/2557, ฉบับที่ 18/2557, ฉบับที่ 23/2557 และฉบับที่ 27/2557 รวมถึงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการออกอากาศ[40] โดยทาง Voice TV เตรียมความพร้อมไว้แล้วก่อนหน้านี้ และสามารถกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง เมื่อเวลา 12:00 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป[41]
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด นำทุกรายการของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 32 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก ไปออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ด้วยภาพคมชัดสูงทางช่องหมายเลข 33 ในการกลับมาออกอากาศระบบดิจิทัลตามปกติอีกครั้ง วันที่ 10 ตุลาคม เวลา 21:19 น.
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - ไทยทีวี และ MVTV Family 2 ช่อง ของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ไม่สามารถจ่ายค่าประมูลที่ 2 ไว้หลังการออกอากาศ ศาลปกครองมีคำสั่งยุติการออกอากาศ ช่อง ไทยทีวี และ MVTV Family เป็นระยะเวลา 3 เดือน ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป ศาลว่าจะมีไต่ส่วนและศาลปกครองคดีทีวีดิจิทัล ตาม กสทช. กำหนดลงโทษห้ามออกอากาศทางทีวีดาวเทียม เคเบิล ช่องดิจิทัล จนแบล็คลิสต์ห้ามออกอากาศอีกต่อไป
  • 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - ไทยทีวี และ MVTV Family 2 ช่อง ของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ไม่สามารถจ่ายค่าประมูลที่ 2 ไว้หลังออกอากาศทีวีดิจิทัล จนทาง กสทช. ยึดใบอนุญาต 2 ช่อง เป็นระยะเวลา 30 วันหลังศาลปกครอง จนยุติออกอากาศในวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ช่องไทยทีวี ขณะฉายสารคดี ตัดสัญญาณจากซอยลาดพร้าว 101 และช่อง MVTV Family ขณะฉายภาพยนตร์จีน ตัดสัญญาณจาก Thai PBS ถือเป็นยุติออกอากาศทั้ง 2 ช่องอย่างเป็นทางการ
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สวรรคต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องระงับการออกอากาศรายการตามผังรายการปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - พ.อ.นที กล่าวอีกว่า จากการหารือกับผู้ประกอบการจะปรับเข้าสู่ผังรายการปกติภายหลังจากที่ทรงเสด็จสวรรคตครบ 30 วัน โดยจะต้องทยอยปรับเข้ารายการปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้[42] รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญผู้ประกอบการโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามารับฟังการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการออกอากาศรายการ[43]
  • 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ ไม่รับคำอุทธรณ์ของ กสทช. กรณีไม่ทำตามปฏิบัติหน้าที่อย่างละเลยและไม่รับผิดชอบในการเรื่องคืนค่าธรรมเนียมช่องทีวีดิจิทัล จึงเป็นเหตุให้ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ชนะคดีเรื่องละทิ้งใบอนุญาต และได้รับแบงก์การันตีทั้งหมดคืน เพราะสถานีมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิทัลโดยไม่ต้องชำระค่าประมูลทั้งหมดก่อนบอกเลิกได้[44]
  • 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - กสทช. มีคำสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ของบริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์ Voice TV เป็นระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 0.00 น. ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นเหตุให้ช่อง Voice TV ต้องเข้าสู่สถานะจอดำชั่วคราวจนกว่าคำสั่งระงับใช้ใบอนุญาตสิ้นสุดลง ทั้งนี้ กสทช. ระบุเพิ่มว่าคำสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นหลังสถานีโทรทัศน์ Voice TV ได้ทำผิดกฎการออกอากาศและสื่อสารข้อมูลจากสองรายการ คือ 1. รายการ Tonight Thailand ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ 2. รายการ Wake Up News ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 21, 28, 29 มกราคม พ.ศ. 2562 และ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 รวมกับความผิดก่อนหน้าที่ Voice TV กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 - 2561 รวม 34 กรณี[45]
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - สปริงนิวส์ ไบรต์ทีวี และ สปริง 26 ยุติออกอากาศทั้ง 3 ช่อง โดยบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท สามเอ มาร์เก็ตติง จำกัด และ บริษัท สปริง 26 จำกัด ในกลุ่มเนชั่นมัลติมีเดีย ได้ตัดสัญญาณจากโครงข่าย อสมท. และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 MUX#5 จนถึงในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ออกจากโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล[46]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - วอยซ์ทีวี ตัดสัญญาณจากโครงข่าย อสมท. ตั้งแต่เวลา 00:03 น. ของวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 หลังสิ้นสุดการออกอากาศจากโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล[47] ทั้งนี้ การออกอากาศทางช่องทางดาวเทียมและออนไลน์ยังคงมีตามปกติ
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2562 - เอ็มคอตแฟมิลี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตัดสัญญาณจากโครงข่ายของตัวเองตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 ออกจากโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2562 - ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD 2 ช่องสุดท้ายในการยุติออกอากาศ ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ได้ดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่ายไทยพีบีเอส ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถือเป็นการยุติออกอากาศทีวีดิจิทัลของทั้ง 7 ช่องอย่างสมบูรณ์
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 - NEW 18 ย้ายโครงข่ายโทรทัศน์จาก MUX#5 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ไปยัง MUX#4 ของไทยพีบีเอส สลับกับช่อง DLTV10 (อนุบาล 1)
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่ายกรมประชาสัมพันธ์ อสมท. ไทยพีบีเอส และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 MUX#5 ออกจากโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เนื่องจากสิ้นสุดระยะการทดลองออกอากาศ[48]
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ย้ายจากช่องหมายเลข 1 เป็นเลข 5 โดยโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
  • 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงยุติการออกอากาศจากโครงข่ายกรมประชาสัมพันธ์ ไทยพีบีเอส และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 MUX#5 ออกจากโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ผังรายการจะออกอากาศรูปแบบเดิม (รีรัน) จนสิ้นสุดภาคเรียนที่ 1/2565 [49]

การเรียงลำดับช่องรายการ แก้

เนื่องจากในระยะก่อนหน้า กสทช. ออกประกาศอนุญาต ผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 1 - 10 ไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เมื่อระยะต่อมา กสทช. ดำเนินการให้แพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตามหมายเลขช่องรายการ 1 ถึง 36 ที่เรียงตามลำดับข้างต้น จึงส่งผลให้เกิดความลักลั่นในการเรียงลำดับช่องรายการของผู้รับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งต้องนับเพิ่มหมายเลขช่องรายการไปอีก 10 ช่องจากลำดับช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินข้างต้น ขึ้นไปเป็นหมายเลขช่องรายการ 11 - 46 ส่งผลให้เกิดความสับสนของผู้ชม และส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์หมายเลขช่องที่ต้องประชาสัมพันธ์หลายหมายเลข ส่งผลให้ กสทช. ออกประกาศให้นำช่องที่ออกอากาศในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลมาออกอากาศบนหมายเลขช่อง 1 - 36 บนทีวีดาวเทียม รวมถึงผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 37 ถึง 60 ไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับจานดาวเทียมระบบ KU-Band ได้รับการอนุญาตเช่นเดียวกัน รวมถึงผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 37 - 46 ไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ทั้ง 2 ระบบนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป

คุณสมบัติของภาพและเสียงของช่องรายการในระบบดิจิทัล แก้

ประเภทของความละเอียดภาพ ความละเอียดภาพ[50] รูปแบบการบีบอัดข้อมูลภาพ ระบบเสียง รูปแบบการบีบอัดข้อมูลเสียง
ความคมชัดสูง
  • 1080i (1920 x 1080 Pixel)
  • 720p (1280 x 720 Pixels)
MPEG4/H.264
  • Dolby Digital 5.1 ช่องเสียง
    (ออกอากาศในช่องไทยรัฐทีวีก่อนธันวาคม 2557)
  • HE-AAC V.2 ระบบ 2 ช่องเสียง
64Kbps
(HE-AAC V.2)
ความคมชัดมาตรฐาน 576i (720 x 576 Pixels) MPEG4/H.264 HE-AAC V.2 ระบบ 2 ช่องเสียง 64Kbps

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "กสทช.ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล 1-24 เม.ย." กรุงเทพธุรกิจ. 1 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "การเปลี่ยนผ่านสู่ โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital TV)". บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "กสท.เคาะแผนช่อง7 ยุติอนาล็อก 3เฟส". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Switch Off analog 13 สถานี". 9 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม". สำนักข่าวไทย. 13 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "กสท.เคาะแผนช่อง 7 ยุติอนาล็อก 3 เฟส". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "อัปเดต: ThaiPBS, ช่อง 7, ช่อง 5 ยุติทีวีอนาล็อกเมื่อไหร่กันแน่?". ยามเฝ้าจอ. 17 มิถุนายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม". สำนักข่าวไทย. 13 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ผู้จัดการออนไลน์ (25 มีนาคม 2563). "ปิดตำนานวิกหนองแขม! ช่อง 3 คืนทรัพย์สินให้ อสมท หมดยุคทีวีแอนะล็อก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 กสทช. "การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital.nbtc.go.th/index.php/articles-en/18-future-digital เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2556. สืบค้น 27 ธันวาคม 2556.
  11. บอร์ดกระจายเสียง/กสทช. มีมติอนุญาตให้ กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล[ลิงก์เสีย], 25 มิถุนายน 2556, กสทช.
  12. 12.0 12.1 ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เก็บถาวร 2014-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. เก็บถาวร 2013-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  14. "3 ปี ทีวีดิจิตอล สัดส่วนคนดู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-26. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  15. ดันเปิดช่องท่องเที่ยวและกีฬา-ก.กีฬาเร่งหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
  16. ปลัดกระทรวงกีฬา เดินหน้าจัดตั้งช่องทีวีเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา
  17. ก.ท่องเที่ยวและกีฬา ยื่นขอ กสทช. ดัน T Sports เป็นช่องทีวีดิจิทัลช่องใหม่ หมายเลข 7 เริ่มทดลองออกอากาศในเดือนพ.ค.2564
  18. ทีสปอร์ต สู่ดิจิทัลทีวี! กสทช. ทดลองออกอากาศ 6 เดือน ช่องหมายเลข 7
  19. ที สปอร์ต สู่ ทีวีดิจิทัล จุดเปลี่ยนกีฬาไทย
  20. ** ช่อง 7 SD (T Sports 7) มาแล้วจ้า!! ช่องทีวีดิจิทัลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทดลองออกอากาศอยู่บน MUX MCOT **
  21. ทีวีดิจิทัลรายที่ 20 “T Sports” ช่องหมายเลข 7 รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ
  22. "กสทช.เตรียมมอบทีวีดิจิตอลช่อง 10 ให้รัฐสภาตุลาคมนี้ ส่วน"ช่อง5" ได้เลขช่อง1 "ไทยพีบีเอส"เลขช่อง3". มติชน. 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. "กิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  24. NBT North ออกอากาศทีวีดิจิทัลในภาคเหนือ
  25. ทีวีภูมิภาคมาแล้ว! NBT ยืมช่องทีวีดิจิทัลหมายเลข 11 เทสออนแอร์ 'ทีวีภูมิภาค' เริ่ม 1 กันยายนนี้ ยามเฝ้าจอ
  26. NBT Northeast ออกอากาศทีวีดิจิทัลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  27. ทีวีภูมิภาคหมายเลข 11 เริ่ม 1 ก.ย.นี้
  28. NBT Central ออกอากาศทีวีดิจิทัลในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และ ปริมณฑล
  29. ช่อง NBT ขอทดสอบช่องส่วนภูมิภาค ที่หมายเลข 11 บน DTV ภาคพื้นดิน
  30. NBT South ออกอากาศทีวีดิจิทัลในภาคใต้<
  31. ทีวีภูมิภาคมาแล้ว! NBT ยืมช่องทีวีดิจิทัลหมายเลข 11 เทสต์ออนแอร์ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
  32. เดลินิวส์ทีวี (1 มีนาคม 2557). "เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV". สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  33. เดลินิวส์ทีวี (11 มกราคม 2557). "ระดมผู้ผลิตอิสระร่วม 'เนชั่นทีวี-NOW'". คมชัดลึก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. ประชาชาติธุรกิจ (6 มีนาคม 2557). "กดปุ่มทีวีดิจิทัล "ทรู4ยู"ช่องวาไรตี้วางโพสิชั่นจับกลุ่มคนรุ่นใหม่". สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "ช่อง 9 ออกคู่ขนาน 'ฟรีทีวี' อนาล็อก-ดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ. 10 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  37. ซึ่งหมายถึง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
  38. "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. คสช.ให้ทีวีนำโลโก้ คสช.ออกจากจอแล้ว, ประชาไท, 8 มิถุนายน 2557.
  40. คสช. อนุญาตให้ 'วอยซ์ทีวี-ทีนิวส์' ออกอากาศแล้ว เก็บถาวร 2014-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
  41. วอยซ์ทีวี เตรียมกลับมาออกอากาศเต็มผัง เที่ยง 15 มิ.ย. เก็บถาวร 2014-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
  42. กสท.สั่งผู้ประกอบการทีวี ควบคุมเนื้อหารายการสร้างความแตกแยกในสังคม คาด 19 พ.ย.ผังรายการปกติคืนจอ เก็บถาวร 2016-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 28 ตุลาคม 2559.
  43. กสทช.แจ้งช่องทีวีรายการเรท"ท"และ"น13"ที่เนื้อหาไม่รุนแรง เริ่มออกอากาศได้หลัง 19 พ.ย. , ประชาชาติธุรกิจ 3 พฤศจิกายน 2559.
  44. ศาลปกครองกลาง พิพากษาให้ กสทช.คืนค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลให้ ไทยทีวี , ไทยรัฐ 13 มีนาคม 2559.
  45. ด่วน!! สั่งปิด’วอยซ์’15 วัน มีผลหลัง24.00น.คืนนี้ ปัดใบสั่งคสช., มติชน 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
  46. ยามเฝ้าจอ (15 สิงหาคม 2562). "แถลง ยุติการออกอากาศ 3 ช่องแรก คือ Spring News 19, Bright TV 20 และ Spring 26 ครับ (5 ทุ่มของวันที่ 15 ต่อเที่ยงคืนวันที่ 16)". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. VOICE TV ยุติการออกอากาศบนทีวีดิจิทัลช่อง 21
  48. "ยุติการออกอากาศ DLTV". www.facebook.com. 16 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "ยุติการออกอากาศ DLTV ครั้งที่ 2". www.facebook.com. 14 สิงหาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้