โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก
โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก หรือ โทรทัศน์ระบบอนาล็อก (อังกฤษ: Analog television, Analogue television) เป็นเทคโนโลยีของโทรทัศน์แบบเดิมที่ใช้สัญญาณแอนะล็อกในการส่งภาพและเสียง[1] ในการแพร่ภาพ แสง สี และเสียง จะแทนด้วยแอมพลิจูด เฟส และความถี่ของสัญญาณแอนะล็อก
สัญญาณแอนะล็อกจะแตกต่างกันไปตามช่วงค่าที่เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าสัญญาณรบกวนและการรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์จะถูกดัดแปลงโดยผู้รับสัญญาณ ดังนั้น ด้วยระบบแอนะล็อก สัญญาณอ่อนปานกลางจะถูกรบกวน และปรากฏภาพสัญญาณรบกวน (White Noise) ขึ้นมา
ในทางตรงกันข้าม โทรทัศน์ที่ส่งภาพและเสียงด้วยสัญญาณดิจิทัล คือโทรทัศน์ระบบดิจิทัล จะยังคงมีคุณภาพดีอยู่ จนกระทั่งระดับสัญญาณลดลงต่ำกว่าระดับที่ไม่สามารถรับได้อีกต่อไปหรือไม่ต่อเนื่อง
โทรทัศน์แอนะล็อกอาจเป็นแบบไร้สาย (โทรทัศน์ภาคพื้นดินและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม) หรือสามารถกระจายผ่านเครือข่ายเคเบิลได้โดยใช้ตัวแปลงสายเคเบิล (โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล)
ระบบโทรทัศน์ที่ออกอากาศทั้งหมดใช้สัญญาณแอนะล็อกก่อนการมาถึงของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากความต้องการอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่ต่ำกว่าของสัญญาณดิจิทัลที่ถูกบีบอัดลง ตั้งแต่ยุค 2000 ประเทศส่วนใหญ่ของโลกก็ได้ดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล ด้วยการกำหนดเวลาที่แตกต่างกันสำหรับการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Television Technical Performance Code" (PDF). Ofcom – office of Communications. ธันวาคม 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010.