ไทยคม 6 (อังกฤษ: Thaicom 6) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทย ผลิตโดย Orbital Sciences Corporation (ปัจจุบันคือออร์บิทัล เอทีเค) และเป็นดาวเทียมดวงที่ 6 ในกลุ่มดาวเทียมไทยคม โดยมี บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เช่าสัมปทาน และมีบริษัทสเปซเอ็กซ์ เป็นผู้ปล่อยดาวเทียม

ไทยคม 6
เครื่องหมายภารกิจของ ไทยคม 6
ประเภทภารกิจสื่อสาร
ผู้ดำเนินการไทย บมจ. ไทยคม
COSPAR ID2014-002A
SATCAT no.39500
ระยะภารกิจ15 ปี[1]
ข้อมูลยานอวกาศ
BusGEOStar-2
ผู้ผลิตสหรัฐ Orbital Sciences Corporation (ปัจจุบันคือออร์บิทัล เอทีเค)
มวลขณะส่งยาน3,325 kg (7,330 lb)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น6 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:06 UTC
จรวดนำส่งฟัลคอน 9 v1.1
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล SLC-40
ผู้ดำเนินงานสหรัฐ สเปซเอ็กซ์
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโลกเป็นศูนย์กลาง
ระบบวงโคจรวงโคจรค้างฟ้า
ลองจิจูด78.5° ตะวันออก[1]
ระยะใกล้สุด35,789 กิโลเมตร (22,238 ไมล์)[2]
ระยะไกลสุด35,795 กิโลเมตร (22,242 ไมล์)[2]
ความเอียง0.07 องศา[2]
คาบการโคจร1436.07 นาที[2]
วันที่ใช้อ้างอิง25 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 02:13:56 UTC[2]
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ย่านความถี่18 C band
8 Ku band
ความถี่72, 36 MHz C band
54, 36 MHz Ku band
พื้นที่ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แอฟริกา & อเมริกา
 

ภาพรวม

แก้
 
ดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดฟัลคอน 9

ดาวเทียมสื่อสารไทยคม 6 ผลิตโดย Orbital Sciences Corporation (ปัจจุบันคือออร์บิทัล เอทีเค) มีน้ำหนักราว 3,325 กิโลกรัม กำหนดอายุใช้งานไว้ประมาณ 15 ปี ซึ่งให้บริการในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้าที่ตำแหน่งบริเวณ 78.5 องศาตะวันออก ร่วมกับไทยคม 5 และไทยคม 8 มีจานรับส่งสัญญาณ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 12 ช่องสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 6 ช่องสำหรับทวีปแอฟริกา และเคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 8 ช่อง สามารถให้บริการด้านโทรคมนาคมได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย (DTH)[3]

การปล่อยจรวด

แก้

ไทยคม 6 ถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2557 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ ถือเป็นภารกิจที่ 8 ของจรวด Falcon 9 และเป็นการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้าเป็นครั้งที่สองของบริษัทสเปซเอ็กซ์ โดยดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปก่อนหน้าคือ SES-8[4][5]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "THAICOM 6 Service Footprint" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "THAICOM 6 Satellite details 2014-002A NORAD 39500". N2YO. 25 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2015.
  3. "พื้นที่ให้บริการดาวเทียมไทยคม 6". ไทยคม (บริษัท). สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2020.
  4. "SpaceX Delivers Thaicom-6 Satellite to Orbit (ภาษาอังกฤษ)". 4 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2020.
  5. "SpaceX Targeting Jan. 3 For Launch of Thaicom 6 Satellite From Cape Canaveral (ภาษาอังกฤษ)". 20 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้