ออร์บิทัล เอทีเค
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ (กรกฎาคม 2563) |
Orbital ATK Inc. เป็นบริษัทผู้ผลิตด้านการบินและอวกาศและการป้องกันประเทศสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ในเขตดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 จากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทออร์บิทัลไซเอินส์ (Orbital Sciences Corporation) และบริษัทอัลลิอันท์เทคซิสเท็มส์บางส่วน (Alliant Techsystems, ATK) ในปี พ.ศ. 2558 บริษัทมีพนักงานราว 12,000 คน และมีรายได้ประจำปีเท่ากับ 4,440 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | การบินและอวกาศ, การป้องกันประเทศ |
ก่อนหน้า | Alliant Techsystems Orbital Sciences Corporation |
ก่อตั้ง | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[1] |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | เดวิด ทอมพ์สัน (ประธานบริหาร และกรรมการผู้จัดการ) |
รายได้ | 2,390,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) |
พนักงาน | 12,300 คน (2558)[2] |
เว็บไซต์ | www.orbitalatk.com |
ประวัติ
แก้การประกาศการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทออร์บิทัลไซเอินส์และแผนกการบินและอวกาศและการป้องกันของบริษัทอัลลิอันท์เทคซิสเท็มส์ (ATK) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่งการควบรวมกิจการมีผลตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ในปีถัดมา โดยแผนกการผลิตสินค้ากีฬาของบริษัท ATK ได้แยกตัว (spin-off) ออกตั้งบริษัทวิสตาเอาท์ดอร์ (Vista Outdoor) ในวันเดียวกัน[2] ก่อนการควบรวมกิจการ บริษัททั้งสองนั้นมีความร่วมมือในโครงการมากมาย เช่น การนำเครื่องยนต์จรวดของบริษัท ATK กว่า 400 ตัวติดตั้งในพาหนะปล่อยของบริษัทออร์บิทัล เป็นต้น[3]
แผนกองค์กร
แก้แผนกระบบการบิน
แก้แผนกระบบการบิน (Flight Systems Group) มีฐานการผลิตในเมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา[2] ผลิตพาหนะปล่อย (launch vehicle) เพกาซัส มิโนทอร์ และแอนทาเรส รวมทั้งชิ้นส่วนโครงสร้างเกี่ยวกับการบินและการขับดันชนิดแข็ง[1] นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของเครื่องบิน Stargazer ซึ่งใช้ทดสอบในโครงการเฉพาะ
แผนกระบบการป้องกัน
แก้แผนกระบบการป้องกัน (Defense Systems Group) มีฐานการผลิตในเมืองบอลทิมอร์ รัฐแมรีแลนด์[2] ผลิตขีปนาวุธเชิงยุทธวิธี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการป้องกัน เครื่องยิงลำกล้องขนาดกลางและใหญ่ รวมถึงสายชนวนและหัวรบของทั้งขีปนาวุธและอาวุธทั่วไป โลหะความแม่นยำและโครงสร้างประกอบสำหรับเครื่องยิงลำกล้องขนาดกลางและใหญ่ เครื่องบินทหาร ยานพาหนะภาคพื้นดิน นอกจากนี้ยังผลิตระบบขีปนาวุธ ระบบโหลด ประกอบ และใส่ซอง (load, assembly, pack; LAP) ของเครื่องยิงขนาดลำกล้องกลาง และผลิตผงเชื้อเพลิงขับเคลื่อนในรูปแบบกระป๋องในเชิงพาณิชย์
แผนกระบบการบินอวกาศ
แก้แผนกระบบการบินอวกาศ (Space Systems Group) สามารถผลิตดาวเทียมเพื่อใช้วัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ เชิงวิทยาศาสตร์ และความมั่นคง[1] ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจได้แก่ ยานอวกาศซิกนัส (Cygnus) ซึ่งใช้บรรทุกสัมภาระขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ แผนกนี้มีฐานการผลิตในเขตดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย แห่งเดียวกับที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัท[2]
ผลิตภัณฑ์
แก้จรวด
แก้- Antares – พาหนะปล่อย (launch vehicle) ซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักปานกลาง (medium-lift) และมีสองหรือสามตอน
- Minotaur I – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย (small-lift) และมีสี่ตอน
- Minotaur IV – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย และมีสี่ตอน
- Minotaur V – พาหนะปล่อยมีห้าตอน ใช้ในวงโคจรถ่ายโอนพ้องคาบโลกและวงโคจรข้ามดวงจันทร์ (trans-lunar orbits)
- Minotaur VI – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักปานกลาง และมีห้าตอน
- Minotaur-C – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย และมีสี่ตอน
- Pegasus – พาหนะปล่อยซึ่งบรรทุกน้ำหนักน้อย มีสี่ตอน และใช้อากาศปล่อย (air-launched)
เครื่องยนต์จรวด
แก้- GEM-40 – ตัวเพิ่มกำลังจรวดชนิดแข็ง (solid rocket booster, SRB) ใช้งานในจรวด Delta II
- GEM-60 – SRB ใช้งานในจรวด Delta IV
- GEM-63 – SRB ใช้งานในจรวด Atlas V
- GEM-63XL – SRB ใช้งานในจรวด Vulcan
- Castor 4 – จรวดชนิดแข็ง (solid rocket) ติดตั้งบนจรวดวิจัยแม็กซัส (Maxus)
- Castor 30 – จรวดชนิดแข็งติดตั้งบนจรวดแอนทาเรส (Antares)
- Castor 120 – จรวดชนิดแข็งติดตั้งบนจรวดมิโนทอร์-ซี (Minotaur-C)
- Space Launch System Solid Rocket Booster – ต่อยอดจากตัวเพิ่มกำลังจรวดชนิดแข็งในกระสวยอวกาศ (Space Shuttle Solid Rocket Booster)
ยานอวกาศ
แก้- Al Yah 3 – ดาวเทียมสื่อสารของบริษัทโทรคมนาคมดาวเทียมอัลยะห์ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
- HYLAS 4 – ดาวเทียมสื่อสารของบริษัทโทรคมนาคม Avanti (สหราชอาณาจักร)
- SES-16 – ดาวเทียมสื่อสารของบริษัท SES S.A. (ลักเซมเบิร์ก)
- Joint Polar Satellite System-2 – ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาและสิ่งแวดล้อมของนาซา (NASA) และโนอา (NOAA)
- ICESat-2 – ดาวเทียมสำรวจภูมิลักษณ์น้ำแข็งของนาซา
- Transiting Exoplanet Survey Satellite – กล้องโทรทรรศน์อวกาศของนาซา
- Ionospheric Connection Explorer – ดาวเทียมสำรวจเชิงวิทยาศาสตร์ของนาซา
- Cygnus – ยานขนส่งอวกาศอัตโนมัติ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Berger, Brian (February 12, 2015). "Orbital ATK Org Charts Detail the Newly Merged Company". SpaceNews.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Wall, Mike (February 10, 2015). "Orbital ATK, Merger of Orbital Sciences and ATK, Begins Operations". Space.com. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.
- ↑ Aitoro, Jill R. (April 29, 2014). "Why the merger of ATK and Orbital Sciences makes sense". Washington Business Journal. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.