ไทยคม 8
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไทยคม 8 (อังกฤษ: THAICOM 8) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทย ผลิตโดยออร์บิทัล เอทีเค และเป็นดาวเทียมดวงที่ 8 ในกลุ่มดาวเทียมไทยคม โดยมี บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เช่าสัมปทาน
ไทยคม 8 | |
---|---|
เครื่องหมายภารกิจของ ไทยคม 8 | |
ประเภทภารกิจ | สื่อสาร |
ผู้ดำเนินการ | บมจ. ไทยคม |
COSPAR ID | 1957-031A |
SATCAT no. | 41552 |
ระยะภารกิจ | 15 ปี |
ข้อมูลยานอวกาศ | |
Bus | GEOStar-2 |
ผู้ผลิต | ออร์บิทัล เอทีเค |
มวลขณะส่งยาน | 3,100 kg (6,800 lb) |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | 27 พฤษภาคม 2559 9:40 UTC |
จรวดนำส่ง | Falcon 9 Full Thrust |
ฐานส่ง | แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 |
ผู้ดำเนินงาน | สเปซเอ็กซ์ |
ลักษณะวงโคจร | |
ระบบอ้างอิง | โลกเป็นจุดศูนย์กลาง |
ระบบวงโคจร | ค้างฟ้า |
ภาพรวม
แก้ดาวเทียมสื่อสารไทยคม 8 ผลิตโดยออร์บิทัล เอทีเค มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม กำหนดอายุใช้งานไว้ประมาณ 15 ปีซึ่งให้บริการในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้ และเอเชียกลาง โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้าที่ตำแหน่งบริเวณ 78.5 องศาตะวันออก[1] ร่วมกับไทยคม 5 และไทยคม 6 มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ช่อง สามารถให้บริการด้านโทรคมนาคมได้อย่างเต็มรูปแบบ ตอบโจทย์ความต้องการสื่อสารโทรคมนาคมให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสารมวลชน[2] โดยถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย (DTH) และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (HD และ UHD)
การปล่อยจรวด
แก้ไทยคม 8 ได้รับการอนุมัติให้ยิงสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557
ไทยคม 8 ถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เป็นดาวเทียมดวงที่สี่ของโลกที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดฟัลคอน 9 และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่จรวดที่ใช้ส่งดาวเทียมสามารถลงจอดบนแพฐานจรวดได้สำเร็จ[3]
การนำสเตจที่ 1 ของฟัลคอน 9 มาใช้อีกครั้ง
แก้จรวดสเตจที่ 1 ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นจรวดผลักดันด้านข้างของฟัลคอน เฮฟวี ซึ่งได้ทำการจุดเครื่องครั้งแรกในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของปี 2560[4] จรวดสเตจที่ 1 อันนี้ได้ลงจอดอีกรอบที่ Landing Zone 1 ที่ฐานทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัลในช่วง การบินครั้งแรกของจรวดฟัลคอน เฮฟวี[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Thaicom 8 (ภาษาอังกฤษ)". Satbeams. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "พื้นที่ให้บริการดาวเทียมไทยคม 8". ไทยคม (บริษัท). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "SpaceX Falcon 9 launches Thaicom 8 and nails another ASDS landing (ภาษาอังกฤษ)". NASASpaceFlight.com. 26 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2559.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Static fire test of a Falcon Heavy side booster completed (ภาษาอังกฤษ)". สเปซเอ็กซ์บนทวิตเตอร์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Falcon Heavy side cores have landed (ภาษาอังกฤษ)". สเปซเอ็กซ์บนทวิตเตอร์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สื่อประชาสัมพันธ์ดาวเทียมไทยคม 8 เก็บถาวร 2020-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน