เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ

เจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์ก

เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[1] (อังกฤษ: Prince Philip, Duke of Edinburgh; พระนามเดิมคือ เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก; Prince Philip of Greece and Denmark 10 มิถุนายน ค.ศ. 1921 – 9 เมษายน ค.ศ. 2021) เป็นสมาชิกของราชวงศ์บริติช เป็นพระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

เจ้าชายฟิลิป
ดยุกแห่งเอดินบะระ
พระฉายาลักษณ์ทางการในปี 1992
พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถ
แห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงพระยศ6 กุมภาพันธ์ 1952 – 9 เมษายน 2021
ก่อนหน้าเอลิซาเบธ
(พระราชินี)
ถัดไปคามิลลา
(พระราชินี)
ประสูติ10 มิถุนายน ค.ศ. 1921(1921-06-10)
มอนเรโปส คอร์ฟู ราชอาณาจักรกรีซ
สิ้นพระชนม์9 เมษายน ค.ศ. 2021(2021-04-09) (99 ปี)
ปราสาทวินด์เซอร์ วินด์เซอร์ สหราชอาณาจักร
ฝังพระศพ17 เมษายน ค.ศ. 2021
โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์ สหราชอาณาจักร
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (สมรส 1947)
พระบุตรสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ
ราชวงศ์
พระบิดาเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก
พระมารดาเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค
ลายพระอภิไธย

เจ้าชายฟิลิปประสูติที่ประเทศกรีซ ในราชวงศ์กรีกและเดนมาร์ก แต่ครอบครัวของพระองค์ถูกเนรเทศออกจากประเทศ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุ 18 พรรษา ภายหลังจากทรงเข้ารับการศึกษาในฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเข้ารับราชการทหารในราชนาวีของบริติชใน ค.ศ. 1939 โดยพระชนม์มายุ 18 พรรษา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1939 พระองค์ทรงเริ่มติดต่อทางจดหมายกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธที่มีพระชนม์มายุสิบสามพรรษา ซึ่งเป็นพระราชธิดาและทายาทโดยตรงกับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เจ้าชายฟิลิปทรงพบพระนางเป็นครั้งแรกในค.ศ. 1934 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นในกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนและแปซิฟิกของบริติช

หลังสงคราม เจ้าชายฟิลิปทรงได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ก่อนที่จะมีการประกาศหมั้นหมายอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงสละพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ทั้งหมดของกรีซและเดนมาร์ก กลายเป็น คนในบังคับอังกฤษ โดยทรงใช้ชื่อและนามสกุลอังกฤษ "เมานต์แบ็ตเทน" ซึ่งแปลงมาจากนามสกุลเยอรมัน "บัทเทินแบร์ค" ของฝ่ายพระมารดา พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ก่อนที่จะอภิเษกสมรส พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์แก่เจ้าชายฟิลิปให้เป็นฮิส รอยัลไฮเนส และสถาปนาพระองค์เป็นดยุกแห่งเอดินบะระ เอิร์ลแห่งแมริโอเน็ต และบารอนกรีนวิช เจ้าชายฟิลิปทรงลาออกจากการรับราชการทหาร เมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถในค.ศ. 1952 โดยทรงมีตำแหน่งยศเป็นผู้บัญชาการทหารและได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าชายบริติชใน ค.ศ. 1957 เจ้าชายฟิลิปทรงมีพระราชบุตรถึงสี่พระองค์กับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2: สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ,เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ,เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ ผ่านทางพระราชเสาวนีย์ของควีนเอลิซาเบธที่สองแห่งบริติช(Order in Council) ได้ถูกประกาศขึ้นใน ค.ศ. 1960 ทายาทของเจ้าชายฟิลิปและควีนเอลิซาเบธที่สองจะไม่มีพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ ซึ่งสามารถใช้นามสกุลเป็น เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ ซึ่งมีสมาชิกบางพระองค์ในราชวงศ์ที่ใช้พระนามเต็ม เช่น เจ้าหญิงแอนน์ เจ้าชายแอนดรูว์ และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด

ด้วยการที่ทรงเป็นผู้คลั่งไคล้ด้านกีฬา เจ้าชายฟิลิปทรงช่วยพัฒนางานกิจกรรมจากการขี่ม้ามาเป็นการขับขี่รถม้า พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ประธาน หรือสมาชิกขององค์กรต่าง ๆ กว่า 780 องค์กร และดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งรางวัลดยุกแห่งเอดินบะระ ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาตนเองสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีอายุ 14 ถึง 24 ปี[2] พระองค์ทรงเป็นคู่อภิเษกสมรสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของราชวงศ์บริติชและเป็นสมาชิกชายที่มีพระชนม์ที่ยาวนานที่สุดในราชวงศ์บริติช ทรงเกษียณจากพระราชกรณียกิจ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ด้วยพระชนม์มายุ 96 พรรษา โดยทรงสำเร็จจากพระราชกรณียกิจ 22,219 ครั้ง และกล่าวสุนทรพจน์ 5,493 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952[3] เจ้าชายฟิลิปสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2021 อีกสองเดือนก่อนที่พระองค์จะมีพระชนม์มายุครบ 100 ปี

วัยเยาว์

แก้

เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์กประสูติที่เกาะคอร์ฟูในประเทศกรีซเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1921 เป็นพระโอรสพระองค์เดียวและเป็นบุตรคนที่ห้าของเจ้าชายแอนดรูว์แห่งกรีซและเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงอลิซแห่งบัทเทินแบร์ค[4] ทรงเป็นสมาชิกในราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-เซอเนอร์ปอร์-กลึคส์บวร์ค อันเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค เนื่องด้วยพระบิดาทรงเป็นทายาทโดยตรงของพระเจ้าเยออร์ยีโอสที่ 1 แห่งกรีซ และพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ทำให้ทรงมีศักดิ์เป็นเจ้าชายของทั้งกรีซและเดนมาร์ก อยู่ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของบัลลังก์ทั้งสอง อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์ก ค.ศ. 1953 ได้ตัดสิทธิ์สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กของครอบครัวฟิลิป พระองค์ยังเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีลูอีสแห่งสวีเดน

ความพ่ายแพ้ในสงครามกรีก–ตุรกี บีบบังคับให้เสด็จลุงของฟิลิป พระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ ต้องสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1922 และลี้ภัยไปเกาะซิซิลี ส่วนเจ้าชายแอนดรูว์พร้อมครอบครัวถูกจับกุมโดยคำสั่งของรัฐบาลทหารที่ตั้งขึ้นใหม่ ผู้บัญชาการรบหลายคนถูกประหารชีวิต ในขณะนั้น หลายคนมองว่าเจ้าชายแอนดรูว์คงไม่รอดชีวิต[5] เดือนธันวาคมปีนั้นเอง ศาลปฏิวัติได้พิพากษาเนรเทศเจ้าชายแอนดรูว์ออกจากประเทศกรีซตลอดชีวิต อังกฤษส่งเรือหลวงคาลิปโซมารับครอบครัวของเจ้าชายแอนดรูว์ไปยังประเทศฝรั่งเศส พวกเขาเลือกที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเช่าแถบชานเมืองกรุงปารีส ซึ่งเช่าจากพระญาติในราชสำนักฝรั่งเศส[6]

เจ้าชายฟิลิปได้รับการศึกษาครั้งแรกที่ The Elms โรงเรียนอเมริกันในกรุงปารีส[7] ทรงมีภาพจำเป็นเด็กฉลาดแต่ถ่อมตัว[8] ต่อมาในปีค.ศ. 1928 ทรงถูกส่งตัวไปอังกฤษและเข้าเรียนที่โรงเรียนแชม ช่วงนี้ทรงอยู่อาศัยกับพระอัยกีที่พระราชวังเค็นซิงตัน ซึ่งก็คือวิกตอเรีย เมานต์แบ็ทแตน มาร์เชเนสแห่งมิลด์ฟอร์ดเฮเวน และอาศัยกับท่านลุงที่ตำหนักลินเดิน ซึ่งก็คือจอร์จ เมานต์แบ็ทแตน มาร์ควิสที่ 2 แห่งมิลด์ฟอร์ดเฮเวน[9] และในช่วงสามปีหลังจากนี้ พี่สาวสี่พระองค์ได้สมรสกับเจ้าชายเยอรมันและย้ายไปพำนักในประเทศเยอรมนี ทางด้านพระมารดาถูกวิจนิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทและต้องอยู่ในสถานบำบัดของซีคมุนท์ ฟร็อยท์[10] พระบิดาก็ย้ายไปอยู่ในคฤหาสน์ที่มงเต-การ์โล เมืองทางใต้ของฝรั่งเศสใกล้ชายแดนอิตาลี ฟิลิปแทบไม่ได้ติดต่อกับพระมารดาอีกเลยตลอดช่วงวัยเด็ก

ใน ค.ศ. 1933 เจ้าชายฟิลิปในวัย 12 ชันษาถูกส่งตัวไปยังโรงเรียนของวังซาเลิมในประเทศเยอรมนี เนื่องด้วยครอบครัวพี่เขยของพระองค์เป็นเจ้าของโรงเรียนแห่งนี้ เมื่อระบอบนาซีเรืองอำนาจในเยอรมนี นายควร์ท ฮาน ชาวยิวซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตจึงได้อพยพไปยังประเทศสกอตแลนด์และก่อตั้งโรงเรียนกอร์ดอนสตันที่นั่น เจ้าชายฟิลิปย้ายตามไปที่นั่นในสองภาคเรียนให้หลัง[11] ต่อมาใน ค.ศ. 1937 เจ้าชายฟิลิปได้ทราบข่าวร้ายว่า เจ้าหญิงเซซีลี พี่สาวของพระองค์ พร้อมด้วยสามีและบุตรน้อยสามคน ทั้งหมดเสียชีวิตในอุบัติเหตุเครื่องบินตกในเที่ยวบินโคโลญ–ลอนดอน เจ้าชายฟิลิปในวัย 16 ชันษาเสด็จร่วมรัฐพิธีศพที่เมืองดาร์มชตัท ประเทศเยอรมนี[12] และในปีต่อมา จอร์จ เมานต์แบ็ทแตน ผู้เป็นลุงและผู้ปกครองของเจ้าชายก็เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

เนื่องด้วยเจ้าชายฟิลิปเสด็จออกจากประเทศกรีซขณะเป็นทารก ทำให้พระองค์ไม่สามารถตรัสภาษากรีก พระองค์เคยกล่าวใน ค.ศ. 1992 ว่าทรงเข้าใจภาษากรีกอยู่บ้าง[13] และระบุว่าทรงคิดว่าตัวเองเป็นคนเดนมาร์ก แต่ครอบครัวพระองค์พูดภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส และเยอรมัน[13]

ราชการทหารเรือ

แก้

หลังจบจากโรงเรียนกอร์ดอนสตันในปีค.ศ. 1939 เจ้าชายฟิลิปในวัย 18 ชันษาเข้าศึกษาที่ราชนาวิกวิทยาลัยเป็นเวลาหนึ่งภาคเรียน แล้วจึงถูกส่งตัวกลับประเทศกรีซไปอยู่กับพระมารดาเป็นเวลาราวหนึ่งเดือนที่กรุงเอเธนส์ สมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ สั่งให้เจ้าชายกลับอังกฤษ พระองค์จึงเสด็จกลับอังกฤษในเดือนกันยายนและเข้าเป็นนายเรือฝึกหัดในราชนาวีอังกฤษ[14] พระองค์จบการศึกษาจากราชนาวิกวิทยาลัยในปีถัดมา ขณะนั้น สงครามโลกครั้งที่สองกำลังขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วในยุโรป แต่เจ้าชายก็เลือกรับราชการทหารในกองทัพสหราชอาณาจักรต่อไป ในขณะที่พี่เขยทั้งสองของพระองค์ นั่นคือเจ้าชายคริสโทฟแห่งเฮ็สเซิน และแบร์โทลด์ มาร์คกราฟแห่งบาเดิน เข้าร่วมรบอยู่ฝ่ายเยอรมัน[15] เจ้าชายฟิลิปได้เป็นว่าที่เรือตรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1940 ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลาสี่เดือนบนเรือหลวงรามิลีย์ (HMS Ramillies) ในภารกิจคุ้มกันขบวนเรือขนส่งทหารออสเตรเลียที่ผ่านมหาสมุทรอินเดีย ไม่นานจากนั้นก็ไปปฏิบัติหน้าที่บนเรือหลวงเคนต์ (HMS Kent) และเรือหลวงชรอปเชอร์ (HMS Shropshire) ในบริติชซีลอน ต่อมาหลังกองทัพอีตาลีบุกยึดประเทศกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 พระองค์ถูกโอนตัวจากมหาสมุทรอินเดียมาปฏิบัติหน้าที่บนเรือหลวงวาแลนต์ (HMS Valiant) ในกองเรือเมดิเตอร์เรเนียน[16]

สิ้นพระชนม์

แก้

เจ้าชายฟิลิปสิ้นพระชนม์ด้วยวัยชรา[17] ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2021 ณ ปราสาทวินเซอร์ สิริพระชนมายุ 99 พรรษา ทรงเป็นคู่อภิเษกในพระมหากษัตริย์บริเตนที่ดำรงตำแหน่งเป็นเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บริติช[18]

พระราชพิธีพระศพจัดขึ้นในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2021 ณ โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์[19]

พระบุตร

แก้
 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กับเจ้าชายฟิลิป ในพิธีบรมราชาภิเษก ค.ศ. 1953

เจ้าชายฟิลิปทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร กับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ทั้งสองมีพระราชโอรสและธิดาดังนี้

พระนาม พระราชสมภพ/ประสูติ สวรรคต/สิ้นพระชนม์ คู่สมรส บุตร
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 14 พฤศจิกายน 1948 ยังทรงพระชนม์ เลดีไดอานา สเปนเซอร์ (หย่า)
สมเด็จพระราชินีคามิลลา
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์
เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี 15 สิงหาคม 1950 ยังทรงพระชนม์ มาร์ก ฟิลลิปส์ (หย่า)
ทิโมที ลอเรนซ์
ปีเตอร์ ฟิลลิปส์
ซารา ทินดัลล์
เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก 19 กุมภาพันธ์ 1960 ยังทรงพระชนม์ ซาราห์ เฟอร์กูสัน (หย่า) เจ้าหญิงเบียทริซ นางเอโดอาร์โด มาเปลลี มอซซี
เจ้าหญิงยูเชนี นางแจ็ก บรุกส์แบงก์
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ 10 มีนาคม 1964 ยังทรงพระชนม์ โซฟี ไรส์-โจนส์ เลดีลูอีส เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์
เจมส์ เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์

ฐานันดรและพระอิสริยยศ

แก้
 
 
  • 10 มิถุนายน 1921 – 28 กุมภาพันธ์ 1947: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก (His Royal Highness Prince Philip of Greece and Denmark)
  • 28 กุมภาพันธ์ 1947 – 19 พฤศจิกายน 1947 : เรือเอก ฟิลิป เมานต์แบ็ตเทน (Lieutenant Philip Mountbatten)
  • 19 พฤศจิกายน 1947 – 20 พฤศจิกายน 1947 : เรือเอก เซอร์ฟิลิป เมานต์แบ็ตเทน (Lieutenant His Royal Highness Sir Philip Mountbatten)[20]
  • 20 พฤศจิกายน 1947 – 22 กุมภาพันธ์ 1957: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งเอดินบะระ (His Royal Highness The Duke of Edinburgh)[20]
  • 22 กุมภาพันธ์ 1957 – 9 เมษายน 2021: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (His Royal Highness The Prince Philip, Duke of Edinburgh) [21][22]
 
ตราอาร์มประจำพระองค์ ตราพระนามาภิไธยย่อ

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชสาส์นแสดงความยินดี ในโอกาสที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี[ลิงก์เสีย], สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, เผยแพร่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555, เรียกข้อมูลวันที่ 5 กรกฎาคม 2555
  2. "Do your DofE – The Duke of Edinburgh's Award". dofe.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2019. สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
  3. Low, Valentine (9 April 2021). "Prince Philip was a man determined to make an impact". The Times. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  4. Brandreth, p. 56
  5. "News in Brief: Prince Andrew's Departure". The Times: 12. 5 December 1922.
  6. Alexandra, pp. 35–37; Heald, p. 31; Vickers, pp. 176–178
  7. Boothroyd, Basil (1971). Prince Philip: An Informal Biography (First American ed.). New York: McCall Publishing Company. ISBN 0841501165.
  8. Alexandra, p. 42; Heald, p. 34
  9. Heald, pp. 35–39
  10. Brandreth, p. 66; Vickers, p. 205
  11. Brandreth, p. 72; Heald, p. 42
  12. Brandreth, p. 69; Vickers, p. 273
  13. 13.0 13.1 Rocco, Fiammetta (13 December 1992). "A strange life: Profile of Prince Philip". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.
  14. Eade, pp. 129–130; Vickers, pp. 284–285, 433.
  15. Vickers, pp. 293–295.
  16. Heald, p. 60.
  17. "Official cause of Prince Philip's death revealed". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English).
  18. "Prince Philip has died aged 99, Buckingham Palace announces". BBC News. 9 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  19. "Prince Philip: Funeral to take place on 17 April". BBC News. 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
  20. 20.0 20.1 "No. 38128". The London Gazette. 21 November 1947. p. 5495.
  21. "No. 41009". The London Gazette. 22 February 1957. p. 1209.
  22. "The Current Royal Family > The Duke of Edinburgh >Styles and Titles".


ก่อนหน้า เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ถัดไป
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ
ในฐานะพระราชินี
  คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
(6 กุมภาพันธ์ 1952 – 9 เมษายน 2021)

  สมเด็จพระราชินีคามิลลา
ในฐานะพระราชินี
เจ้าชายอัลเฟรด   ดยุกแห่งเอดินบะระ
(1947–2021)

  เจ้าชายชาลส์