อัสนี-วสันต์
อัสนี – วสันต์ (อักษรโรมัน: Asanee – Wasan) เป็นนักร้องเพลงร็อกที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ซึ่งประกอบด้วยพี่น้อง ป้อม - อัสนี โชติกุล และโต๊ะ - วสันต์ โชติกุล
อัสนี - วสันต์ โชติกุล | |
---|---|
คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ (พ.ศ. 2559) | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | จังหวัดเลย ไทย |
แนวเพลง | ร็อก ฮาร์ดร็อก ป๊อปร็อก นิวเวฟ โปรเกรสซีฟร็อก เพื่อชีวิต ลูกทุ่ง คันทรี่ บลูส์ กอธิค โฟล์ค ร็อกอะบิลลี |
ช่วงปี | พ.ศ. 2529 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ไนท์สปอตโปรดักชั่น (พ.ศ. 2529 - 2538) มอร์ มิวสิก (พ.ศ. 2538 - 2554) สหภาพดนตรี (พ.ศ. 2554 - 2558) มูฟเรคคอร์ดส (พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) |
สมาชิก | อัสนี โชติกุล วสันต์ โชติกุล |
ประวัติ
แก้พ.ศ. 2517 ป้อม – อัสนี โชติกุล และ น้องชาย โต๊ะ – วสันต์ โชติกุล จากตำบลเสี้ยว อำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพ และได้ร่วมเข้าประกวดวงดนตรีโฟล์คซองในกรุงเทพฯ และได้รางวัลชนะเลิศ อาจารย์ วิมล จงวิไล ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการพาไปอัดเสียง เป็นจุดกำเนิดของวงอีสซึ่น มีผลงานเพลงดังอย่าง แม่สาวตางาม พบกันหน้าสยามสแควร์ และ หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งต่อมาโต๊ะได้นำมาร้องใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม ผักชีโรยหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยหลังจากที่ทำงานเพลงได้ไม่นาน ป้อมและโต๊ะได้แยกตัวออกจากวงอีสซึ่นมาทำงานเบื้องหลัง
ในปี พ.ศ. 2529 ทั้งคู่ตัดสินใจทำผลงานเพลงของตนเองออกมาเพื่อออกอัลบั้มชุดแรกคือ บ้าหอบฟาง สังกัดค่ายไนท์สปอตโปรดักชั่น ในสังกัด WEA แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็มีเพลงดังคือ บ้าหอบฟาง ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ป้อมและโต๊ะย้ายมาสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมีผลงานชุดที่ 2 ผักชีโรยหน้า ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีเพลงดังคือ ก็เคยสัญญา หนึ่งมิตรชิดใกล้ (เพลงเก่าที่เคยทำร่วมกับวงอิสซึ่น) บังอรเอาแต่นอน สายล่อฟ้า และ ทั้งทั้งที่รู้
ปี พ.ศ. 2531 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 กระดี่ได้น้ำ มีเพลงดังคือ กระดี่ได้น้ำ ยินยอม บังเอิญติดดิน และ ร่ำไร
ปี พ.ศ. 2532 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ฟักทอง มีเพลงดังคือ ยินดีไม่มีปัญหา หัวใจสะออน ได้อย่างเสียอย่าง อยากจะลืม วัวลืมตัว และ กรุงเทพมหานคร และอัลบั้มชุดนี้ได้ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับเป็นชุดแรกของทั้งคู่ และเป็นอัลบั้มเพลงที่ขายดีที่สุดในปีดังกล่าว
ปี พ.ศ. 2533 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 สับปะรด มีเพลงดังคือ เธอปันใจ เกี่ยวก้อย คงเดิม และ กุ้มใจ อัลบั้มนี้เป็นอีกชุดที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับอีกชุดของทั้งคู่เป็นชุดที่ 2
ปี พ.ศ. 2536 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 รุ้งกินน้ำ มีเพลงดังคือ รักเธอเสมอ ลาก่อน ลงเอย
จนปี พ.ศ. 2538 พวกเขาทั้งคู่ก่อตั้งค่ายเพลง มอร์ มิวสิก เป็นค่ายเพลงย่อยในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ในปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 7 บางอ้อ มีเพลงดังคือ อยากได้ยินว่ารักกัน ข้าวเย็น I LOVE YOU และ คนหลายใจ ซึ่งแต่งโดยร็อคเกอร์ชื่อดัง "เสก โลโซ" และเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของทั้งคู่ที่มียอดขายเกิน 1 ล้านตลับ
ปี พ.ศ. 2545 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 8 จินตนาการ มีเพลงดังคือ สิทธิ์ของเธอ รับไม่ไหว และ ลูกผู้ชาย
ปี พ.ศ. 2549 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 9 เด็กเลี้ยงแกะ มีเพลงดังคือ อยากให้อยู่ด้วยไหม
ปี พ.ศ. 2554 ทั้งคู่ได้ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด ร่วมกับ ดี้ - นิติพงษ์ ห่อนาค, โอม - ชาตรี คงสุวรรณ และจุ๊บ - วุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี จากนั้นอัสนี-วสันต์ ก็ได้เปลี่ยนแนวทางการทำเพลงเป็นซิงเกิลเดี่ยวแทน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2558 สหภาพดนตรีได้เปลี่ยนชื่อเป็น มิวซิกมูฟ มาจนถึงปัจจุบัน โดยอัสนี-วสันต์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งมิวซิกมูฟ อยู่ในค่ายเพลงมูฟเรคคอร์ดส ซึ่งเป็นค่ายเพลงแกนหลักของมิวซิกมูฟ
ปี พ.ศ. 2562 ทั้งคู่กลับมาออกซิงเกิลร่วมกันอีกครั้งภายใต้สังกัดมูฟเรคคอร์ดส ในเพลง ใจเย็นเย็น และได้นักแสดงที่เคยเป็นพิธีกรรายการ แบบว่า...โลกเบี้ยว มาร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอด้วย[1]
ปี พ.ศ. 2567 ทั้งคู่กลับมาออกซิงเกิลร่วมกันอีกครั้งภายใต้สังกัดมูฟเรคคอร์ดส ในเพลง เธอจะเป็นอย่างฉันบ้างหรือเปล่า?
สมาชิก
แก้- อัสนี โชติกุล (เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2498) กีต้าร์ / ร้องนำ
- วสันต์ โชติกุล (เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2500) กีต้าร์ / ร้องนำ
ผลงาน
แก้อัลบั้มร่วมกับวงอีสซึ่น
แก้ทัศนาจร ชีวิต และความรัก (พ.ศ. 2519 , 1976)
แก้
|
|
กีร์ต้าที่รัก (พ.ศ. 2520 , 1977)
แก้
|
|
The Isn't 78 (พ.ศ. 2521 , 1978)
แก้
|
|
นักสู้จากที่ราบสูง (พ.ศ. 2521 , 1978)
แก้
|
|
กระดิ่งจักรยาน (พ.ศ. 2522 , 1979)
แก้
|
|
สตูดิโออัลบั้ม
แก้หมายเหตุ 1 ชื่อเพลงที่ขึ้นเป็น ตัวหนา คือเพลงที่มีการทำมิวสิควีดีโอออกมา
หมายเหตุ 2 ชื่อเพลงที่ขึ้นเป็น ตัวเอน หมายความว่า เป็นเพลงที่มีมิวสิควิดีโอมากกว่าสองตัว
ผลงานเพลงชุดแรก เป็นอัลบั้มที่นักวิจารณ์ยอมรับว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดชุดหนึ่ง
ต้นฉบับครั้งที่ออกกับทางค่าย ไนท์สปอตโปรดักชั่น มีทั้งหมดเพียง 9 เพลง
|
|
พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) ได้จำหน่ายอีกครั้งโดย ไนท์สปอตโปรดักชั่น โดยเรียงลำดับชื่อเพลงแบบครั้งแรก และได้เพิ่ม Backing Track (ดนตรี) ไว้ในช่วงท้ายของม้วนเทปของทั้ง 2 หน้าอีกด้วย
|
|
พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ มอร์ มิวสิค โดยเรียงลำดับชื่อเพลงดังนี้
|
|
พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยมิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์ ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด โดยเรียงลำดับชื่อเพลงตาม พ.ศ. 2541
ผักชีโรยหน้า (1 เมษายน พ.ศ. 2530)
แก้สนับสนุนโดย ลูกอมฮอลล์ เมนโท - ลิบตัส โดยเป็นผลงานที่ประสบความความสำเร็จอย่างสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งคู่เป็นอย่างมาก ค่าย ไนท์สปอตโปรดักชั่น
|
กระดี่ได้น้ำ (31 มีนาคม พ.ศ. 2531)
แก้สนับสนุนโดย เครื่องดื่มโค้ก ค่าย ไนท์สปอตโปรดักชั่น
|
|
สนับสนุนโดย เครื่องดื่มโค้ก ค่าย ไนท์สปอตโปรดักชั่น
|
|
สนับสนุนโดย เครื่องดื่มโค้ก ค่าย ไนท์สปอตโปรดักชั่น
|
|
รุ้งกินน้ำ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2536)
แก้สนับสนุนโดย เครื่องดื่มโค้ก โดยความพิเศษของอัลบั้มนี้นั้นก็คิอการแถมปิ๊กกีตาร์ทั้ง 7 สี ไว้ที่หน้าปกของเทปคาสเซ็ตต์และซีดี (ปกละสี)
|
|
สนับสนุนโดย โทรศัพท์มือถือ โนเกีย
|
|
หมายเหตุ : มิวสิควีดีโอเพลง อย่าเลย ขอบใจ , บางอ้อ และ I Love You เป็นภาพที่ตัดมาจากคอนเสิร์ตเหมือนข้าวเย็น
|
|
เด็กเลี้ยงแกะ (28 เมษายน พ.ศ. 2549)
แก้สนับสนุนโดย โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้
|
|
พักร้อน (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)
แก้เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่ในจังหวะอคูสติก
|
ซิงเกิล
แก้- เพลง ใจเย็นเย็น (สังกัด มูฟเรคคอร์ดส) - 28 มกราคม พ.ศ. 2562
- เพลง เธอจะเป็นอย่างฉันบ้างหรือเปล่า? (สังกัด มูฟเรคคอร์ดส) - 18 มีนาคม พ.ศ. 2567
เพลงเทิดพระเกียรติ
แก้- ทรงพระเจริญ ขับร้องร่วมกับ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ประพันธ์โดยแอ๊ด
- ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ขับร้องเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ประพันธ์โดย ดี้ - นิติพงษ์ ห่อนาค ในอัลบั้มชุด ทองผืนเดียวกัน
เพลงประกอบละคร และ ภาพยนตร์
แก้- เพลง คนสุดท้าย (เพลงประกอบละคร เงา) - พ.ศ. 2543
- เพลง เธอ (มาจากไหน) (เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์) - พ.ศ. 2547
- เพลง ยืนหยัด ยืนยง (เพลงประกอบละคร ลอดลายมังกร) - พ.ศ. 2549
- เพลง คนหัวใจสิงห์ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต คนหัวใจสิงห์ WORLD TOUR 2008) - พ.ศ. 2551
- เพลง รักใครไม่เป็น (เพลงประกอบละคร บ่วงรักกามเทพ) - พ.ศ. 2552
- เพลง เราสองสามคน (เพลงประกอบภาพยนตร์ เราสองสามคน) - พ.ศ. 2553
- เพลง ด้วยแรงใจ (เพลงสำหรับนักกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 7 ประเทศเมียนมาร์ Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2557
- เพลง สิทธิ์ของเธอ (เพลงประกอบละคร น.อ. สามช่า) - พ.ศ. 2567
- เพลง เธอจะเป็นอย่างฉันบ้างหรือเปล่า (เพลงประกอบละคร ณัฎฐดนย์พัฒน์) - พ.ศ. 2567
เพลงอื่น ๆ
แก้- ร่วมร้องเพลง โลกสวยด้วยมือเรา : ร่วมกับกลุ่มศิลปินแกรมมี่ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต Earth Day) - 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2534
- ร่วมร้องเพลง คนขายฝัน (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , เสก โลโซ , ธงไชย แมคอินไตย์ , ใหม่ เจริญปุระ , แอม เสาวลักษณ์ , มาช่า วัฒนพานิช : เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย) - สิงหาคม พ.ศ. 2545
- สำเนียงประชาธิปไตย (เพลงรณรงค์คนรุ่นใหม่ออกมาเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 โดย กกต. และ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในอัลบั้มชุด เพลงรณรงค์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ - ธันวาคม พ.ศ. 2547
- ร่วมร้องเพลง ต้องกล้า (ร่วมกับ หงา คาราวาน , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ , บอย โกสิยพงษ์ , นภ พรชำนิ , ทาทา ยัง , บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ , ไมค์ ภิรมย์พร , นิติพงษ์ ห่อนาค , ชาตรี คงสุวรรณ , ภราดร ศรีชาพันธุ์ , เก๋ ประภาวดี , ประหยัด มากแสง , สุธิยา จิวเฉลิมมิตร , บัวขาว บัญชาเมฆ , ธงชัย ใจดี : เพลงประกอบรายการ ต้องกล้า) - กันยายน พ.ศ. 2553 - จัดทำขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่คนในสังคมให้กล้าที่จะเอาชนะอุปสรรคสำคัญ คือ การชนะใจตนเอง
- ร่วมร้องเพลง UP & DOWN (ของวง CORESONG ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว : เพลงประกอบรายการ CORESONG) - ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ร่วมร้องเพลง สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์) - สิงหาคม พ.ศ. 2559 - จัดทำขึ้นเพื่อทำโฆษณา สิงห์คอร์เปอเรชั่น
อัลบั้มพิเศษ
แก้ลงเอย (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์) (18 มกราคม พ.ศ. 2543 , 2000)
แก้เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ
|
|
ยินยอม (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ 2) (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 , 2002)
แก้เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ
|
|
WE LOVE อัสนี & วสันต์ (18 กรกฏาคม พ.ศ. 2556 , 2013)
แก้เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ จากแต่ละอัลบั้มของศิลปินต่าง ๆ รวมถึงเพลงบางส่วนจากอัลบั้ม ลงเอย และ ยินยอม
CD 1
|
CD 2
|
ผลงานเดี่ยว
แก้อัสนี โชติกุล
แก้- ร่วมร้องเพลง ชีวิตสัมพันธ์ (ร่วมกับ วงคาราบาว , หงา คาราวาน , สุเทพ โฮป , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ , สีเผือก คนด่านเกวียน : เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว) - ธันวาคม พ.ศ. 2530
- ร่วมร้องเพลง พลจันทร์เดือนเพ็ญ (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , หงา คาราวาน : จากอัลบั้ม ทำมือ ของ แอ๊ด คาราบาว) - สิงหาคม พ.ศ. 2532
- เพลง ขวานไทยใจหนี่งเดียว (ร่วมกับกลุ่มศิลปินอีกมากมาย) - ธันวาคม พ.ศ. 2547 - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- เพลง รักชนะทุกอย่าง (เพลงประกอบละคร สู้ยิบตา) - พ.ศ. 2552
- เพลง พูดลอยลอย (Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - มิถุนายน พ.ศ. 2555
- ร่วมร้องเพลง หัวใจของพ่อ (ร่วมกับ ปาล์มมี่ : ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗) ค่าย สหภาพดนตรี - พ.ศ. 2556
- เพลง แผ่นดินนี้...มีพอ (เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี บางจาก) - ธันวาคม พ.ศ. 2557
- เพลง หัวใจลิขิต (เพลงประกอบละคร เลือดมังกร) - 10 มีนาคม พ.ศ. 2558
- เพลง พูดมาเลย (Single : สังกัด มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์) - 11 กันยายน พ.ศ. 2558
- เพลง ไม่ปล่อยมือ (เพลงประกอบละคร สงครามนักปั้น 2 ) - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วสันต์ โชติกุล
แก้อัลบั้ม กีตาร์โต๊ะ (ร่วมกับวงอีสซึ่น : สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) (24 มกราคม พ.ศ. 2531 , 1988)
แก้สนับสนุนโดย หมากฝรั่งคิดคิด
|
|
อัลบั้ม ขึ้นโต๊ะ (สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 , 1992)
แก้สนับสนุนโดย สก๊อตซุปไก่สกัด
|
|
หมายเหตุ 1: ชื่อเพลงที่ขึ้นเป็น ตัวหนา คือเพลงที่มีการทำมิวสิควีดีโอออกมา
หมายเหตุ 2: ชื่อเพลงที่ขึ้นเป็น ตัวเอน คือเพลงที่มีมิวสิควีดีโอมากกว่าหนึ่งตัว
เพลงพิเศษ
แก้- เพลง ช่างมันฉันไม่แคร์ (เพลงประกอบละคร ช่างมันฉันไม่แคร์) - พ.ศ. 2536
- เพลง เรือนแพ (เพลงประกอบละคร เรือนแพ) - พ.ศ. 2538
- เพลง ขอบคุณที่มีเธอ (ร่วมกับ วงเคลียร์ : เพลงประกอบละคร 365 วันแห่งรัก) - พ.ศ. 2553
- เพลง ข่าวร้ายหรือเปล่า (Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2556
คอนเสิร์ต
แก้คอนเสิร์ตใหญ่
แก้ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ | แขกรับเชิญ | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|---|
คอนเสิร์ต บ้าหอบฟาง | 20 เมษายน 2529 | หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) | 1 รอบ | ||
คอนเสิร์ต สงสารผักชี | 20 มิถุนายน 2530 | MBK Hall มาบุญครองเซนเตอร์ | 1 รอบ | ||
คอนเสิร์ต เบื๊อก | 21 พฤษภาคม 2531 | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | 1 รอบ | ||
คอนเสิร์ต ตามหาฟักทอง | 1 เมษายน 2532 | 1 รอบ | - |
| |
คอนเสิร์ต ซิกัมซ้า | 22 ธันวาคม 2533 | - | |||
คอนเสิร์ต เหมือนข้าวเย็น | 24 มกราคม 2541 | MCC Hall เดอะมอลล์บางกะปิ | |||
คอนเสิร์ต เส้นใหญ่ | 2 กุมภาพันธ์ 2546 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี |
| ||
คอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี & วสันต์ | 12 - 14 พฤษภาคม 2549 | 3 รอบ |
| ||
ร่ำไร คอนเสิร์ต | 17 พฤศจิกายน 2550 | ราชมังคลากีฬาสถาน | 1 รอบ |
BONUS TRACK
| |
คอนเสิร์ต 26 ปี บ้าหอบฟาง[2] | 27 - 28 กรกฎาคม 2555 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 2 รอบ | คอรัสพิเศษ
|
|
คอนเสิร์ต 30 ปี สวัสดีครับ[3] | 24 - 25 กันยายน 2559 | - |
| ||
คอนเสิร์ต ร็อคเธอเสมอ | 24 กันยายน 2560 | 1 รอบ |
| ||
คอนเสิร์ต น้ำเอย น้ำใจ | 19 พฤษภาคม 2562 | ||||
ระริกระรี้ กระดี่คอนเสิร์ต อัสนี & วสันต์ | 30 พฤษภาคม 2563 |
| |||
คอนเสิร์ต 37 ปี อัสนีและวสันต์ | 29 - 30 เมษายน 2566 | 2 รอบ |
| ||
อัสนี และ วสันต์ คอนเสิร์ต “ฉันเคยบอกกับเธอหรือยัง” |
27-28 เมษายน 2567 | 2 รอบ |
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ
แก้- เพลง สามช่าจงเจริญ ร้องโดย คาราบาว (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ อัสนี วสันต์)
- เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ อัสนี วสันต์)
โฆษณา
แก้- โค้ก
รางวัลที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2518 ชนะเลิศการประกวดโฟล์คซอง ของชมรมโฟล์คซองแห่งประเทศไทย โดยครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นผู้มอบรางวัล
- พ.ศ. 2532 รางวัลส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2531-2532 (เพลงทำดีได้ดี)
- พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส อัลบั้มยอดเยี่ยม “รุ้งกินน้ำ” และสาขาศิลปินยอดเยี่ยม
- พ.ศ. 2536 รางวัลสีสันอวอร์ดส เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (เพลง ทุกข์ไม่เว้นวันราชการ)
- พ.ศ. 2539 ศิลปินยอดเยี่ยม รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2545 รางวัลสีสันอวอร์ดส 2002 สาขาศิลปินคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม จินตนาการ
- พ.ศ. 2545 รางวัลสีสันอวอร์ดส 2002 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม (เพลง ป่า)
- พ.ศ. 2545 รางวัลสีสันอวอร์ดส 2002 สาขาเพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (เพลง จินตนาการ)
- พ.ศ. 2546 รางวัลจากแชนแนล วี ไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ดส #2 ประจำปี 2546 สาขามิวสิกวิดีโอเทคนิคพิเศษด้านภาพยอดเยี่ยม
- พ.ศ. 2548 รางวัลผู้มีอุปการะคุณห้องสมุดแห่งประเทศไทย พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ห้องสมุด อัสนี-วสันต์ จ.เลย)
- พ.ศ. 2548 รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับผู้ทำคุณประโยชน์กับท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย [4]
- พ.ศ. 2549 รางวัลชมเชย เพชรในเพลง ประเภทการประพันธ์ทำนองเพลงไทยสากล สู้สุดใจ
- พ.ศ. 2550 รางวัลท็อปอวอร์ด 2007 สาขานักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม
- พ.ศ. 2552 รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME จากงานประกาศผลรางวัล SEED AWARD ครั้งที่ 4 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์[5]
- พ.ศ. 2553 รางวัลภาพยนตร์ไทย สุพรรณหงส์ ประจำปี 2553 สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเพลง เรา สอง สาม คน
- พ.ศ. 2554 รางวัลไทยประดิษฐ์ - รางวัลพิเศษมอบให้กับผลงานที่มีชื่อเสียงมายาวนานและเป็นฝีมือคนไทยแท้ จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส CHANNEL[V] MUSIC VIDEO AWARD ครั้งที่ 7 เพลงของเรา จัดโดยแชนแนลวีไทยแลนด์ ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "อัสนี-วสันต์ ออกเพลงใหม่ 'ใจเย็นเย็น' - ทีมพิธีกร แบบว่า...โลกเบี้ยว หวนคืนจออีกครั้ง". วอยซ์ทีวี. 25 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อัสนี-วสันต์ จัดเต็ม จิ๊กโก๋อกหัก ฉลอง 26 ปี
- ↑ “อัสนี-วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ” คุ้มค่าจิ๊กโก๋อกหัก มันส์ล้นทะลัก!
- ↑ รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ รางวัลพิเศษ SEED HALL OF FAME
- ↑ รางวัลไทยประดิษฐ์