อีฟ ปานเจริญ
อีฟ ปานเจริญ (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2524) เป็นที่รู้จักในชื่อ ปาล์มมี่ (อังกฤษ: Palmy) เป็นนักร้องลูกครึ่งไทย-เบลเยียม แนวป็อปร็อก สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ปาล์มมี่ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | อีฟ ปานเจริญ |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2524 |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อป, ป็อปร็อก, อาร์แอนด์บี |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อาร์พีจี (พ.ศ. 2543–2546) มิวสิคครีม (พ.ศ. 2546–2551) ดั๊กบาร์ (พ.ศ. 2551–2554) ไวท์มิวสิก (พ.ศ. 2554–2560) จีนี่ เรคคอร์ด (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | https://web.facebook.com/PALMY5 |
ประวัติ
แก้ชีวิตตอนต้นและการศึกษา
แก้ปาล์มมี่ เป็นบุตรของบิดาชาวเบลเยียม กับมารดาชาวไทยเชื้อสายมอญ เธอกล่าวว่าเธอเกิดมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์แบบ[1] เพราะมารดาอาศัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียตั้งแต่อายุ 18 ปี และติดต่อกันนานครั้ง[2] ในวัยเยาว์ เธอใช้ชีวิตกับคุณยายชาวมอญ และคุณยายตั้งชื่อเล่นให้หลานสาวคนนี้ว่า "ปาล์มมี่" ตามชื่อยี่ห้อสบู่[3] เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระแม่มารีสาทร และศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาโฮลีครอส (Holy Cross High School) เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยเมื่ออายุได้ 18 ปี โดยไปอาศัยกับญาติผู้ใหญ่[1]
การทำงาน
แก้ปาล์มมี่กลับมาเมืองไทยด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักร้องอาชีพ เธอไปออดิชั่นที่ค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของเธอ ปาล์มมี่ ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยเซ็นสัญญากับทางสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2543 และได้ออกอัลบั้มแรกในชื่อว่าอัลบั้ม 'Palmy' ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ปาล์มมี่กลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในเวลาอย่างรวดเร็วจากซิงเกิ้ลแรกของเธอ 'อยากจะร้องดังดัง' เป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของปาล์มมี่ในวงการเพลงไทย หลังประสบความสำเร็จ ปาล์มมี่จึงจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกโดยทางค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2545[4]
คอนเสิร์ตในต่างประเทศ
แก้นอกจากความสำเร็จของเธอในอัลบั้มเดี่ยวทั้งสามแล้ว ปาล์มมี่ ยังได้แสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ อังกฤษ และออสเตรเลีย ปาล์มมี่เป็นศิลปินไทยหญิงคนเดียวที่แสดงในงาน MTV's Asia Awards 2003 ที่สิงคโปร์ ปาล์มมี่ ยังจัดคอนเสิร์ตใหญ่ในญี่ปุ่นอีก 2 ครั้ง ได้แก่ Palmy's live in Japan ครั้งแรกของ ปาล์มมี่ ที่ Shibuya O-East กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และ Palmy Live in Tokyo Vol. 2 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปาล์มมี่ยังได้แสดงที่ RHB Singapore Cup Final ที่สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ และอีกครั้งที่สิงคโปร์ เธอแสดงที่ Euphoria 2004 ในงานเดียวกับ Michael Learns to Rock และ All4One นอกจากนี้ ปาล์มมี่ ยังได้รับเลือกให้เป็นศิลปินไทยเพียงคนเดียวในการแสดง "Asia Song Festival" ที่ Olympics Park กรุงโซล ประเทศเกาหลี เธอจัด 'Palmy Live Concert in London 2006 และ Indigo O2 Arena 2007[5]
ในปี พ.ศ. 2566 ปาล์มมี่ได้มีโอกาสไปทัวร์คอนเสิร์ตในยุโรปถึง 3 ประเทศด้วยกัน คือวันที่ 25 มีนาคม 2566 แสดงที่ Stadthalle Bulach เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วันที่ 26 มีนาคม 2566 แสดงที่ Taylan Event เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมันนี และวันที่ 1 เมษายน 2566 แสดงที่ Fryshuset Klubben เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ผลงานเพลง
แก้สตูดิโออัลบั้ม
แก้อัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
Palmy |
|
|
Stay |
|
|
Beautiful Ride |
|
|
Palmy 5 |
|
|
New Single
(2018 - ปัจจุบัน ) |
|
|
อัลบั้มรวมเพลง
แก้อัลบั้ม | รายละเอียด |
Showcase |
|
The Best Hits of Palmy |
|
Tea Time with Palmy |
|
Palmy Greatest Hits |
|
Palmy 50 Best Hits |
|
Palmy Best Playlists |
|
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด
แก้อัลบั้ม | รายละเอียด |
Palmy & T-Bone The Acoustic Album |
|
ซิงเกิล
แก้ยุค 2540
แก้ปี | ชื่อเพลง | อัลบั้ม |
2544 | "อยากร้องดังดัง" | Palmy |
"อยู่ต่อได้หรือเปล่า" | ||
2545 | "แปดโมงเช้าวันอังคาร" | |
"ทบทวน" | ||
"กลัว" | ||
"เขาลืม" | ||
"ฟ้าส่งฉันมา" | ||
2546 | "ทำเป็นไม่ทัก" | Stay |
"พูดไม่เต็มปาก" | ||
"Stay" | ||
"พรุ่งนี้อาจไม่มีฉัน" | ||
"กระโดดขึ้นฟ้า" | ||
"เชื่อในความฝัน" | ทรัพย์สินทางปัญญา | |
"ความทรงจำสีจาง" | แฟนฉัน | |
2549 | "Tick Tock" | Beautiful Ride |
"Ooh!" | ||
"ความเจ็บปวด" | ||
"ร้องไห้ง่ายง่ายกับเรื่องเดิมเดิม" |
ยุค 2550
แก้ปี | ชื่อเพลง | อันดับเพลงสูงสุด | อัลบั้ม |
---|---|---|---|
IW Chart [13] | |||
2554 | "คิดมาก" | 1 | อัลบั้ม 5 |
"Cry Cry Cry" | 2 | ||
"กา กา กา" | 14 | ||
2555 | "Crush" (ร่วมกับ Erlend Øye) |
- | |
"Shy Boy" | 20 | ||
"นาฬิกาเรือนเก่า" | - | ||
"Big Mountain" (ร้องร่วมกับ ฮิวโก้ จุลจักร) |
- | Single พิเศษ จากปาล์มมี่ และ ฮิวโก้ สำหรับงาน "Big Mountain Music Festival 4 "
(ร่วมร้องกับ "ฮิวโก้) Lyric Vdo : 16 พย 2555 Official Mv : 27 พย 2555 | |
2556 | "อยากหยุดเวลา" Cover version (ต้นฉบับ :ศรัณย่า ) | 6 | เพลงประกอบหนัง" "พี่มาก..พระโขนง"
Official Mv : 5 มีนาคม 2556 |
2557 | "กาลครั้งหนึ่ง" (แสตมป์ อภิวัชร์ feat. ปาล์มมี่) |
4 | อัลบั้ม stamp Sci-Fi
ของ แสตมป์ อภิวัชร์ OfficialAudio : 21 ตค 2557 Official Mv :17 มีนาคม 2558 |
"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / IW Chart เริ่มก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 |
ยุค 2560 - ปัจจุบัน
แก้ปี | ชื่อเพลง | อันดับเพลงสูงสุด | อัลบั้ม | |
---|---|---|---|---|
IW Chart [13] |
บิลบอร์ด ไทย [14] | |||
2560 | "นวด" | 11 | * | — |
2561 | "แม่เกี่ยว" | - | — | |
"ซ่อนกลิ่น" | 1 | — | ||
2562 | "นิรันดร์" (บอดี้สแลม ร้องร่วมกับปาล์มมี่) | - | คนตัวเบา | |
2562 | "คิดถึง" (ประกอบละคร หีบหลอนซ่อนวิญญาณ) | - | — | |
2562 | "ดวงใจ" | - | — | |
2562 | "เคว้ง" (ประกอบซีรีส์ เคว้ง) | - | — | |
2563 | "กลัวเครื่องบิน"
(อิลสลิก ร้องร่วมกับปาล์มมี่) |
- | — | |
“ขวัญเอย ขวัญมา” | - | — | ||
2565 | "ทุกวันพรุ่งนี้ (Along The Way)" (ทิลลี่เบิร์ด ร้องร่วมกับปาล์มมี่) | - | — | |
"ริบบิ้นเลิฟคัลเลอร์แบล็ค" (ปาล์มมี่ ร้องร่วมกับสิงโต นำโชค ) | - | 38 | — | |
2566 | "สนิทใจ" (ประกอบละครรักร้าย) | - | * | — |
"ซังได้ซังแล้ว" | - | ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY | ||
"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / (*) Billboard Thailand Songs เริ่มเปิดตัว 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 |
วีดีโออัลบั้ม
แก้อัลบั้ม | รายละเอียด |
Life Concert |
|
Stay With Me |
|
The Rhythm of The Times |
|
Meets T-Bone in Flower Power Concert |
|
กา...กา...กา |
|
Barefoot Acoustic Concert |
|
ผลงานการแสดง
แก้คอนเสิร์ตในประเทศ
แก้- "Palmy's Life concert" ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) วันที่ 7 สิงหาคม 2545
- "Stay with me" ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 11 ตุลาคม 2546 เป็นศิลปินหญิงคนแรก ที่ทำการแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวที่อิมแพ็ค อารีนา[ต้องการอ้างอิง]
- "Palmy in the Candle Light Concert" ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2546
- "The Rhythm of the Times" ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 5 สิงหาคม 2549
- "Palmy Meets T-Bone in Flower Power Concert" ณ Moon star studio วันที่ 2 และ 3 มิถุนายน 2550
- "Groove My Dog (Groove rider, Palmy and Modern dog) unplugged concert" ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี วันที่ 26 ธันวาคม 2551
- "คอนเสิร์ต ปาล์มมี่ กา...กา...กา " ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 28 และ 29 มกราคม 2555
- " PALMY BAREFOOT ACOUSTIC CONCERT " ณ Bitec Bangna Hall 106 วันที่ 21 และ 22 กันยายน 2556
- G19 Fest กว่าจะร็อคเท่าวันนี้ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561
- Bodyslam Fest วิชาตัวเบา live in ราชมังคลากีฬาสถาน วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2562 (รับเชิญ)
- PALMY มิตร Universe Concert วันที่ 7-8, 11-12 กันยายน 2567 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
คอนเสิร์ตต่างประเทศ
แก้- Palmy's first Live in Japan (2004) ประเทศญี่ปุ่น
- Palmy Live in Tokyo Vol. 2 (2006) ประเทศญี่ปุ่น
- การแสดงที่ RHB Singapore Cup Final ประเทศสิงคโปร์
- Palmy's First Live in Sydney (2007) ประเทศออสเตรเลีย
- Palmy Live Concert in London (2008) ประเทศอังกฤษ
อื่น ๆ
แก้- หมู่ วาไรตี้โชว์ อุดมและผองเพื่อน (3-11 กันยายน พ.ศ. 2559) ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์
- หมู่ 2 (4-9 ตุลาคม พ.ศ. 2565) ที่ทรู ไอคอน ฮอลล์ แอท ไอคอนสยาม
รางวัล
แก้วัน เดือน ปี | ประเภทรางวัล | หมายเหตุ |
พ.ศ. 2544 | รางวัล Most Popular New Artist จาก Channel [V] Thailand Music Video Awards 2001 จัดโดย Channel [V] Thailand |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัล Female Singer จาก Elle Style Awards 2002 จัดโดย Elle (Thailand) Magazine |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัล Best of Thai Female Pop Song จาก Music Society of Thailand จัดโดย Music Society of Thailand |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัล Best Female Pop Singer จาก Golden Ganesha Award จัดโดย Music Society of Thailand under the Royal Patronage |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัล Best Thai Female Music Video Award จาก Channel [V] Thailand Music Video Awards จัดโดย Channel [V] Thailand |
เพลง อยากร้องดังดัง |
พ.ศ. 2545 | รางวัล Best Female Singer for National Youth จาก National Youth Bureau (NYB) จัดโดย National Youth Bureau (NYB) |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัลศิลปินหญิงยอดเยี่ยม จาก รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[15] จัดโดย นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ |
|
พ.ศ. 2545 | รางวัลเพลงยอดเยี่ยม จาก รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 จัดโดย นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ |
เพลง อยากร้องดังดัง |
พ.ศ. 2546 | รางวัล Best Female Singer for National Youth จาก National Youth Bureau (NYB) จัดโดยNational Youth Bureau (NYB) |
|
พ.ศ. 2546 | รางวัล Best Female Singer จาก Sea-Son Award จัดโดย นิตยสารสีสัน |
|
พ.ศ. 2546 | รางวัล Best Female Artist จาก Kom Chad Luek Awards จัดโดย หนังสือพิมพ์คมชัดลึด |
|
พ.ศ. 2546 | รางวัล Best Thai female Music Video จาก Fat Awards#2 จัดโดย Channel [V] Thailand |
เพลง พูดรักไม่เต็มปาก |
พ.ศ. 2547 | รางวัล Female Artist of The Year จาก Fat Awards#2 จัดโดย Fat radio Fm 104.5 |
อัลบั้ม Stay |
พ.ศ. 2547 | รางวัล MGA Top Selling Newcomer จาก Fame Awards จัดโดย MGA Hall |
|
พ.ศ. 2549 | รางวัล Popular Vote Female Artist จาก Virgin Hitz Awards จัดโดย Virgin hitz Fm95.5 |
|
พ.ศ. 2550 | รางวัล Female Artist OF The Year จาก The Fat Awards 2006 จัดโดย Fat Redio |
อัลบั้ม Beautiful Ride |
23 มีนาคม 2554 | รางวัล Best Record OF The Year จาก สีสันอะวอร์ดส์ครั้งที่ 24 ปี 2011 จัดโดย นิตยสารสีสัน |
เพลง Rock Star Syndrome |
สิงหาคม 2554 | รางวัล No.1 Music Chart Monthly Award 2011 (August2011) จาก Intensive watch Award จัดโดย Intensive watch |
เพลงคิดมาก |
25 ตุลาคม 2554 | รางวัล Seventeen Music Artist Female จาก Seventeen Teen Choice awards 2011 จัดโดย นิตยสาร Seventeen |
|
22 ธันวาคม 2554 | รางวัล The bast Female Artist จาก Hamburger Awards 2011 จัดโดย Hamburger |
|
30 มกราคม 2555 | รางวัล Best Female Artist จาก The Guitar Mag 1st Decade Anniversary Party & Awards 2011 จัดโดย the guitar mag |
ตัดสินภายใต้ Concept "Real Awards For Real Artists |
22 กุมภาพันธ์ 2555 | รางวัล Favorite Female Artist จาก You2Play Awards 2012 จัดโดย You2PlayTV |
|
17 มีนาคม 2555 | รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี จาก Seed Awards ครั้งที่ 7 ประจำปี 2011 จัดโดย Seed Redio[16] |
|
23 มีนาคม 2556 | รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี จาก Seed Awards ครั้งที่ 8 ประจำปี 2012 จัดโดย Seed Redio |
|
20 มิถุนายน 2555 | รางวัล นักร้องไทย-สากล หญิงยอดนิยม จาก Siamdara star award 2012 จัดโดย สยามดารา |
|
24 กรกฎาคม 2555 | รางวัล Female Artist OF The Year จาก The Fat Awards 2012 จัดโดย Fat Redio[17] |
|
24 ตุลาคม 2556 | รางวัล Opposite Female Artist จาก Crow Love Live Awards 2013 จัดโดย นิตยสาร Crow[18] |
|
21 กุมภาพันธ์ 2562 | รางวัล Song of 2018 จากเพลง ซ่อนกลิ่น จัดโดย นิตยสาร DONT Journal |
|
28 กุมภาพันธ์ 2562 | รางวัล Best Entertainment on Social Media (Female Artist) จัดโดย Thailand Zocial Awards 2019 |
|
5 มีนาคม 2562 | รางวัล Best Song Writer of the year 2018 จัดโดย The Guitar Magazine |
|
5 มีนาคม 2562 | รางวัล Single Hit of the year 2018 จากเพลง ซ่อนกลิ่น จัดโดย The Guitar Magazine |
|
5 มีนาคม 2562 | รางวัล Best Female of the year 2018 จัดโดย The Guitar Magazine |
|
12 มีนาคม 2562 | รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมประจำปี 2561จากเพลง ซ่อนกลิ่น จัดโดย Kom Chad Luek Awards 15th |
|
12 มีนาคม 2562 | รางวัล เพลงยอดเยี่ยมประจำปี 2561จากเพลง แม่เกี่ยว จัดโดย Kom Chad Luek Awards 15th |
|
19 มีนาคม 2562 | รางวัล เพลงแห่งปี (Song of the year )
จัดโดย Joox Thailand music awards 2019 |
|
20 มีนาคม 2562 | รางวัล " Top Talk-About Song จากเพลง"ซ่อนกลิ่น" จัดโดย Mthai Top Talk-About 2019 | |
18 ธันวาคม 2562 | รางวัล "PEOPLE OF THE YEAR 2019 บุคคลแห่งปี สาขาศิลปินสุดติสต์"
จัดโดย ขายหัวเราะ [19] |
|
1 กรกฎาคม 2563 | รางวัล JOOX Thailand Music Awards 2020 หมวด คาราโอเกะแห่งปี เพลง ซ่อนกลิ่น
จัดโดย JOOX Thailand [20] |
|
13 มีนาคม 2566 | โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022 เพลง "ริบบิ้นเลิฟคัลเลอร์แบล็ค" ร่วมกับ สิงโต นำโชค[21]
|
ถ่ายแบบนิตยสาร
แก้นิตยสาร | ฉบับ | รายละเอียด |
สุดสัปดาห์ [22] | 1 มกราคม 2562 | ถ่ายคู่กับ Bodyslam |
ELLE Thailand [23] | กันยายน 2563 |
ผลงานอื่น
แก้- แต่งเนื้อเพลง "ใจหายไปเลย" ของ Mr.Team เวอร์ชันภาษาอังกฤษ เป็นเพลง "One Look One Touch"[24]
- ร้องคอรัสเพลง "รู้ตัวว่าดีว่ามีไม่พอ" ของธีรภัทร์ สัจจกุล[24]
- พรีเซนเตอร์โฆษณา One-2-Call (Brand concept "Freedom") ปี 2545-2546
- นักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง สายลับจับบ้านเล็ก
- พรีเซ็นเตอร์รถจักรยานยนต์ Honda Scoopy i S12 (2555)
- พรีเซ็นเตอร์เครื่องดื่ม Pepsi ร่วมกับ Paradox และ โจ๊ก โซคูล (2555)
- พรีเซ็นเตอร์รถจักรยานยนต์ Honda Scoopy i CLUB12 (2557)
- สารคดีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ ชุด "คีตราชา" (2557) [25]
- ร่วมขับร้องเพลง พอ "เพลงของพ่อ" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (23 พฤศจิกายน 2559)[26]
- ขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ "อาทิตย์อับแสง" (2560)[27]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "'พื้นที่ส่วนตัว' เขตหวงห้ามของ 'ปาล์มมี่'". MGR Online. 13 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เบญจภรณ์ อำไพรัตนพล (1 กรกฎาคม 2560). "ถอดรหัสชีวิต 'ปาล์มมี่' กับ 'จุดพีค' ที่ไม่เคยหลง 'วูบวาบ'". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "01: ก่อนจะเป็นปาล์มมี่ มียายและสบู่". Minimore. 19 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Palmy Talks About Struggles in Reviving Her Music Career and What's Most Precious in Her Life, Asia-City, 26. Januar 2012.
- ↑ "Palmy Barefoot Acoustic Concert". Bangkok Post.
- ↑ "Palmy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-16. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
- ↑ "แผ่นเสียง - Palmy". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Stay". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
- ↑ "Beautiful Ride". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
- ↑ "แผ่นเสียง - Palmy / Beautiful ride". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Beautiful". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
- ↑ "แผ่นเสียง - Palmy / 5". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 IW Music Chart Top 40 เพลงไทยสากล อันดับเพลงที่มีการเปิดมากที่สุดโดยการ monitor ของ IW จากสถานีวิทยุ 40 FM radio station ในกรุงเทพและปริมณฑล)
- ↑ Billboard Thailand Songs
- ↑ HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41
- ↑ Palmy - Best Female Artist of the year @Seed Awards 2011
- ↑ 24-7-55 ปาล์มมี่-รับรางวัล@Fat Awards#12
- ↑ ประกาศรับรางวัล Opposite Female Artist
- ↑ ปาล์มมี่ คว้ารางวัล บุคคลแห่งปีศิลปินสุดติสท์ จากขายหัวเราะ!
- ↑ ประกาศรับรางวัล JOOX Thailand Music Awards 2020
- ↑ สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
- ↑ นิตยสาร แมกกาซีน แฟชั่น เทรนฮิต No.847 Palmy&Toon - DAY6
- ↑ "แจกเครื่องปรุงความสุขแบบไม่หวงเครื่องตำรับ ตามแบบฉบับของ 'ปาล์มมี่'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
- ↑ 24.0 24.1 "Pop Goes Asia - Palmy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ คีตราชา (อีฟ ปาล์มมี่ ปานเจริญ)
- ↑ We : พอ "เพลงของพ่อ"
- ↑ อาทิตย์อับแสง - อีฟ ปานเจริญ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Facebook : "PALMY5"
- Instagram : "PALMY.IG"
- Youtube : "Palmy Official Channel"
- iTunes Store : "PALMY"