เพชร โอสถานุเคราะห์
เพชร โอสถานุเคราะห์ เป็นนักร้อง นักดนตรีชาวไทย มีผลงานที่เป็นที่รู้จักในเพลง "เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)"[1] อดีตรองประธานกรรมการ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เพชร โอสถานุเคราะห์ | |
---|---|
ชื่อเกิด | เพชร โอสถานุเคราะห์ |
เกิด | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2497 |
ที่เกิด | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (68 ปี) |
แนวเพลง | นิวเวฟ ป็อป อิเล็กทรอนิกา |
อาชีพ | นักธุรกิจ, นักร้อง |
ค่ายเพลง | แกรมมี่ (พ.ศ. 2530) มอร์ มิวสิก (พ.ศ. 2539) PetchO (พ.ศ. 2550) |
คู่สมรส | นฤมล โอสถานุเคราะห์ |
เกี่ยวข้อง อัสนี โชติกุล, วสันต์ โชติกุล, ปวริศา เพ็ญชาติ (หลานสาว), ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์ (หลานสาว) |
ประวัติ
แก้เพชร โอสถานุเคราะห์ เกิดวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรชายของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (สกุลเดิม เธียรประสิทธิ์) ซึ่งปองทิพย์เป็นพี่สาวของสปัน เธียรประสิทธิ์ อดีตภรรยาของชรินทร์ นันทนาคร ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ นฤมล โอสถานุเคราะห์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการคลังและกลยุทธ์องค์กร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีบุตรชาย 2 คน คือ ภูรี และภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คนปัจจุบัน
เพชรเริ่มเรียนที่โรงเรียนสมประสงค์จนถึง ป.3 จากนั้นย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนพิพัฒนา จนถึงชั้น ม.4 จึงย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปลายที่ Teaneck High School ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา จากนั้นกลับมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงกลับไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดที่ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นอิลลินอยส์ และกลับมาทำงานโฆษณา ก่อนออกผลงานเพลง แล้วหันไปทำงานนิตยสารสำหรับผู้หญิง จากนั้นก็ขยายไปทำงานด้านรายการโทรทัศน์ คือ รายการผู้หญิงวันนี้ และเคยแต่งเพลง หมื่นฟาเรนไฮต์ ให้กับวงไมโคร[1]
งานเพลง
แก้เพชรมีผลงานอัลบั้มแรกชุด ธรรมดา...มันเป็นเรื่องธรรมดา มีเพลงดังอย่าง 'เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)' ในปี พ.ศ. 2530 และกลับมาออกผลงานเพลงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 โดยออกผลงานอัลบั้มที่ 2 Let's Talk About Love ที่ได้ผู้กำกับมิวสิกวิดีโออย่าง เป็นเอก รัตนเรือง, วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง, อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล มาร่วมทำ โดยมิวสิกวิดีโอแต่ละชิ้นมีงบประมาณราว 20,000 ถึง 1 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2551 ได้นำผลงานชุดแรกไปรีมาสเตอร์ที่ประเทศอังกฤษ และนำกลับมาวางจำหน่ายใหม่[1]
งานด้านอื่น
แก้- อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ[2]
- อาจารย์และกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ประธานกรรมการ บริษัท ชิเซโด้ (ประเทศไทย) จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท ฮาคูโฮโด (กรุงเทพฯ) จำกัด
- รองประธานกรรมการ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
เสียชีวิต
แก้แม้ว่าเพชรมีโรคประจำตัวคือเบาหวาน และภาวะเหล็กเกิน แต่ก็ยังทำงานในแวดวงการศึกษาและศิลปะมาโดยตลอด จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ในลักษณะของการนอนหลับปกติที่บ้านพักของตนย่านถนนสุขุมวิท สิริอายุ 68 ปี[3]
ผลงานเพลง
แก้ธรรมดา...มันเป็นเรื่องธรรมดา (พ.ศ. 2530)
แก้- ธรรมดา...มันเป็นเรื่องธรรมดา
- เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)
- ดิ้นกันมั้ยลุง
- คนช่างฝัน
- ตื่นเถอะ
- มนตรา
- ลองรักไหม (แม่หน้ามน)
- รักเธอแต่เธอไม่รู้
- รถด่วน
- ผู้หญิง ผู้หญิง ผู้หญิง
- วางจำหน่ายใหม่ในปี พ.ศ. 2551
- จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำมารีมาสเตอร์ใหม่ในปี พ.ศ. 2558
Let's Talk About Love (พ.ศ. 2550)
แก้- Let's Talk About Love
- คืนแห่งความรัก (Night Of Love)
- ไอ้เชยที่บางกอก (Man In Bangkok)
- หัวใจดื้อ (Stubborn)
- มาเติมความรัก (Fill Me)
- ไม่มีใครนอกจากฉัน (No One)
- เพราะฉันและเธอ (Because)
- อุ้ม (Carry)
- I Still Love You So
- มากับฉันซิ (Come With Me)
- หนังรัก (Flashback Love)
ซิงเกิล
แก้- เราเป็นคนไทย (พ.ศ. 2553)
- สันติภาพอยู่ไหน? (พ.ศ. 2553)
- ในคืนนี้ (เพลงประกอบภาพยนตร์ อินทรีแดง) (พ.ศ. 2553)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[5]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ปัจจุบันขณะ นักบริหารอินดี้ 'เพชร โอสถานุเคราะห์' ผู้ชายหลายบทบาท...!". ไทยรัฐ. 31 ตุลาคม 2013.
- ↑ "อธิการบดี". มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
- ↑ "ครอบครัว เพชร โอสถานุเคราะห์ เปิดเผยสาเหตุหลังเสียชีวิตอย่างสงบ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-08-16. สืบค้นเมื่อ 2023-08-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๐๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "บทสัมภาษณ์ เพชร โอสถานุเคราะห์ 1", Songburi, 27 เมษายน 2007, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2010, สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2008
- "บทสัมภาษณ์ เพชร โอสถานุเคราะห์ 2", Songburi, 25 กรกฎาคม 2007, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2010, สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2008