ไมโคร (วงดนตรี)
ไมโคร (อังกฤษ: Micro) เป็นวงดนตรีร็อคสัญชาติไทย เจ้าของเพลงฮิตอย่าง เติมน้ำมัน, จำฝังใจ, คนไม่มีสิทธิ์, อยากจะบอกใครสักคน, เอาไปเลย, ใจโทรมๆ,ดับเครื่องชน ,รักปอนๆ, เรามันก็คน และเพลงอื่นๆอีกมากมาย
ไมโคร | |
---|---|
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป๊อปร็อค นิวเวฟ โปรเกรสซีฟร็อค ฮาร์ดร็อค |
ช่วงปี | พ.ศ. 2527 - 2541 พ.ศ. 2546 - 2566 |
ค่ายเพลง | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ฟิลฮาร์โมนิค |
สมาชิก | อำพล ลำพูน (หนุ่ย) ร้องนำ ไกรภพ จันทร์ดี (กบ) กีต้าร์ / ร้องนำ มานะ ประเสริฐวงศ์ (อ้วน) กีต้าร์ สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์ (บอย) คีย์บอร์ด อดินันท์ นกเทศ (อ๊อด) เบส อดิสัย นกเทศ (ปู) กลอง |
วงไมโครมีสมาชิก 6 คน มีผลงานตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โดยออกอัลบั้มทั้งหมด 6 อัลบั้ม[1] จากนั้นได้พักวงในปี พ.ศ. 2541 ก่อนกลับมาจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งในปี พ.ศ. 2546 และยุบวงลงในปี พ.ศ. 2566
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2527 วง "เดอะ แคร็บ" ซึ่งเป็นวงดนตรีร็อค เล่นตามสถานที่ต่าง ๆ มีแนวที่สะดุดตาเปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง จึงพาไปแสดงภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง และตั้งชื่อวงดนตรีใหม่เป็น "ไมโคร" โดยสุนทร สุจริตฉันท์ อดีตสมาชิกวงรอยัลสไปรท์ เป็นผู้ตั้งชื่อให้[ต้องการอ้างอิง] ทำให้อำพล ลำพูน และวงไมโครมีชื่อเสียงตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ก่อนที่วงไมโครจะออกอัลบั้ม ได้มีโอกาสไปลองออดิชั่นแสดงสดทางรายการ คอนเสิร์ตแดดเดียว ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ซึ่งมี ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ เป็นพิธีกร และ เรวัต พุทธินันทน์ เห็นความสามารถของวงไมโคร จึงนำวงไมโครเซ็นสัญญากับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ในปี พ.ศ. 2529 วงไมโคร มีผลงานสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยออกอัลบั้มชุดแรกอย่าง "ร็อค เล็ก เล็ก" มีเพลงดังอย่าง "รักปอนปอน" "จำฝังใจ" "อยากจะบอกใครสักคน" "อู๊ดกับแอ๊ด" และ "ฝันที่อยู่ไกล"
ในปี พ.ศ. 2531 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 "หมื่นฟาเรนไฮต์" มีเพลงดังอย่าง "หมื่นฟาเรนไฮต์" "ใจโทรมๆ" "บอกมาคำเดียว" "ลองบ้างไหม" แต่เพลงที่ทำให้วงไมโครประสบความสำเร็จอย่างมากในอัลบั้มชุดนี้เป็นเพลง "เอาไปเลย" ซึ่งต่อมาเพลงนี้ ได้กลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำวงไมโคร
ปี พ.ศ. 2532 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 "เต็มถัง" มีเพลงดังอย่าง "ส้มหล่น" "ดับเครื่องชน" "มันก็ยังงงงง" "รุนแรงเหลือเกิน" "คนไม่มีสิทธิ์" "เรามันก็คน" และ "เติมน้ำมัน"
ในปี พ.ศ. 2533 วงไมโครได้แสดงคอนเสิร์ตต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์ ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ และยังเป็นตัวแทนวงร็อคในประเทศไทย ได้ไปแสดงในงานเทศกาลร็อคนานาชาติ International Rock Music Festival 1990 ที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533 เป็นยุคทองหรือปีที่วงไมโครประสบความสำเร็จในยอดขายอัลบั้ม กับเพลงดังมายมายหลายเพลง และทางวงเองก็มีมีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศเช่นเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2534 อำพล ลำพูน แยกตัวไปเป็นนักร้องเดี่ยว ไกรภพ จันทร์ดี จึงรับหน้าที่ร้องนำแทน เนื่องด้วยปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกที่สั่งสมจากการขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในวง[2] และออกอัลบั้มชุดที่ 4 "เอี่ยมอ่องอรทัย" มีเพลงดังอย่าง "เลือดเย็น" และ "รักซะให้เข็ด"
ปี พ.ศ. 2538 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 "สุริยคราส" มีเพลงดังอย่าง "สุริยคราส" และ "ตายเปล่า"
ปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 "ทางไกล" มีเพลงดังอย่าง "ทางไกล" และในปี พ.ศ. 2541 ทางวงไมโครได้ยุบวงประมาณ 5 ปี นั่นเอง
ปลายปี พ.ศ. 2546 สมาชิกวงไมโครทั้งหมดรวมตัวกันอีกครั้ง โดยแสดงคอนเสิร์ต ไมโคร ตำนานร็อคมือขวา ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2546 พร้อมกับออกหนังสือ "Micro in a day" รวบรวมภาพ ประวัติ เส้นทางชีวิตของวง และสมาชิกแต่ละท่าน ซึ่งจัดทำโดยนิตยสารอะเดย์ อีกด้วย
วันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2553 วงไมโครกลับมาแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้ง เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของวง "25 ปี ไมโคร Rock เล็ก เล็ก Returns" ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
ต่อมาวงไมโครได้ประกาศจัดแสดงคอนเสิร์ตที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี อีกครั้ง โดยเดิมใช้ชื่อว่า "ไมโคร จำฝังใจ คอนเสิร์ต" จัดแสดงในวันที่ 2-3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ก่อนจะเลื่อนกำหนดไปจากการระบาดทั่วของโควิด-19 และมาลงตัวที่วันที่ 20-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อคอนเสิร์ตเป็น "ไมโคร The Last ร็อค เล็ก เล็ก" และระบุว่าเป็นการแสดงคอนเสิร์ตร่วมกันทั้งวงเป็นครั้งสุดท้ายของไมโคร ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นวันยุบวงไมโครไปโดยปริยาย
สมาชิก
แก้- อำพล ลำพูน (หนุ่ย) ร้องนำ/ร้องประสาน เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
- ไกรภพ จันทร์ดี (กบ) กีต้าร์ / ร้องนำ / ร้องประสาน เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2509
- มานะ ประเสริฐวงศ์ (อ้วน) กีต้าร์/ร้อง/ร้องประสาน เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์ (บอย) คีย์บอร์ด/ร้อง/ร้องประสาน เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2508
- อดินันท์ นกเทศ (อ๊อด) เบส เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2507
- อดิสัย นกเทศ (ปู) กลอง เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501
สมาชิก 4 คน คือ อำพล ลำพูน, มานะ ประเสริฐวงศ์, อดินันท์ - อดิสัย นกเทศ เกิดที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ไกรภพ จันทร์ดี และ สันธาน เลาหวัฒนวิทย์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร
ผลงาน
แก้วงไมโครมีผลงานเพลงทั้งหมด 6 อัลบั้ม
ร็อก เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)
แก้- ผู้ดูแลการผลิต
- อัสนี โชติกุล
- ผู้อำนวยการผลิต
- เรวัต พุทธินันทน์
- มิกซ์ดาวน์
- แกรี่ เอ็ดเวิร์ด
- เร็คคอร์ดดิ้งเอ็นจิเนียร์
- แมง ณ ลำพูน
- คำร้อง
- นิติพงษ์ ห่อนาค , เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ , กฤษณา การุณย์ (กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา)
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- กฤษณา การุณย์ (กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา), จาตุรนต์ เอมช์บุตร , ไพฑูรย์ วาทยะกร , วิชัย อึ้งอัมพร , พัชรี ศารวรรณ (อัสนี โชติกุล)
- บันทึกเสียง
- ห้องอัดเสียงศรีสยาม
- วางตลาด
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2529 (วางแผงใหม่ในปี 2551 ในชื่อ The Long Play Collection ร็อก เล็ก เล็ก , แผ่นทอง พ.ศ. 2559)
- รายชื่อเพลง
- อย่าดีกว่า (หนุ่ย)
- อู๊ดกับแอ๊ด (หนุ่ย)
- รักปอนปอน (ทำนองเพลง - Stacy ของ Fortune) (กบ)
- อยากจะบอกใครซักคน (หนุ่ย)
- เรามันก็เป็นอย่างนี้ (กบ)
- สมน้ำหน้า...ซ่าส์...นัก (หนุ่ย)
- ฝันที่อยู่ไกล (หนุ่ย)
- อยากได้ดี (หนุ่ย)
- จำฝังใจ (ทำนองเพลง Empty Rooms ของแกรี มัวร์) (หนุ่ย)
- ลุง (กบ)
- คอนเสิร์ต
รายการ 7 สีคอนเสิร์ต ทางช่อง 7 สี เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2530
รายการโลกดนตรี ทาง ททบ.5 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2530
หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)
แก้- ผู้อำนวยการผลิตและมิกซ์ดาวน์
- กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
- ควบคุมเสียง
- ยิ้ม,เวช,ไพรัช
- คำร้อง
- นิติพงษ์ ห่อนาค , เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ , อรรณพ จันสุตะ
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- จาตุรนต์ เอมช์บุตร , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา, เพชร โอสถานุเคราะห์, จิรพรรณ อังศวานนท์, โสฬส ปุณกะบุตร, สมชาย กฤษณะเศรณี, พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ชาตรี คงสุวรรณ
- บันทึกเสียง
- ห้องอัดเสียงศรีสยาม
- วางตลาด
- 30 มกราคม พ.ศ. 2531 (วางแผงใหม่เมื่อปี 2551 ในชื่อ The Long Play Collection หมื่นฟาเรนไฮต์ , แผ่นทอง พ.ศ. 2559)
- รายชื่อเพลง
- เอาไปเลย (หนุ่ย)
- จริงใจซะอย่าง (กบ+หนุ่ย)
- หมื่นฟาเรนไฮต์ (หนุ่ย)
- พายุ (ทำนองเพลง Dust in the wind ของ Kansas) (หนุ่ย)
- ใจโทรม ๆ (หนุ่ย)
- บอกมาคำเดียว (หนุ่ย)
- ลองบ้างไหม (หนุ่ย)
- รักคุณเข้าแล้ว (อ้วน)
- คิดไปเองว่าดี (หนุ่ย)
- โชคดีนะเพื่อน (หนุ่ย)
- คอนเสิร์ต
โลกดนตรี ทาง ททบ.5 เป็นคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2531
7 สีคอนเสิร์ต ทางช่อง 7 สี เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
คอนเสิร์ต เอาไมโครไปเลย ณ ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น (ดินแดง) 16 เมษายน พ.ศ. 2531
เต็มถัง (พ.ศ. 2532)
แก้- ผู้อำนวยการผลิตและมิกซ์ดาวน์
- กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
- ควบคุมเสียง
- ต่อพงษ์ สายศิลป์
- คำร้อง
- นิติพงษ์ ห่อนาค , เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ , อรรณพ จันสุตะ, ประชา พงษ์สุพัฒน์
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- โสฬส ปุณกะบุตร, สมชาย กฤษณะเศรณี, ชาตรี คงสุวรรณ, คณิต พฤกษ์พระกานต์, สำราญ ทองตัน, อภิไชย เย็นพูนสุข, อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ, สมชัย ขำเลิศกุล
- บันทึกเสียง
- ห้องอัดเสียงศรีสยาม, บัตเตอร์ฟลาย
- วางตลาด
- 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (วางแผงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2559)
- รายชื่อเพลง
- ส้มหล่น (หนุ่ย)
- เรามันก็คน (หนุ่ย)
- คนไม่มีสิทธิ์ (หนุ่ย)
- ดับเครื่องชน (หนุ่ย+ร้องประสาน)
- รู้ไปทำไม (หนุ่ย)
- มันก็ยังงง ๆ (หนุ่ย)
- เติมน้ำมัน (หนุ่ย)
- รุนแรงเหลือเกิน (หนุ่ย)
- ถึงเพื่อนเรา (หนุ่ย)
- เปิดฟ้า (หนุ่ย)
- คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ใน รายการโลกดนตรี ทางช่อง 5 โดยมีเสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นพิธีกร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2532 และครั้งที่สอง วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2532
คอนเสิร์ต เติมสีเขียว ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 แต่เล่นไปได้เพียง 3 เพลงกว่าๆเท่านั้น ก็เกิดเหตุการณ์วัยรุ่นตีกันทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นคอนเสิร์ต เติมสีเขียวหวาน ใน วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ .2532
คอนเสิร์ต เติมสีเขียวหวาน (เฉพาะผู้หญิงในชุดเขียวเท่านั้น) 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532 เล่นไปได้เพลงกว่าๆเท่านั้น ฝนตกทำให้ลำบากต่อการแสดง
คอนเสิร์ตมือขวาสามัคคี ชุด รวมพลัง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ณ สนามศูนย์เยาวชนไทย - ญี่ปุ่น ดินแดง เป็นศิลปินสุดท้ายก่อนที่จะ ร้องเพลง มือขวาสามัคคี
7 สีคอนเสิร์ต ทางช่อง 7 สี เมื่อ วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2532
เอี่ยมอ่องอรทัย (พ.ศ. 2534)
แก้- โปรดิวเซอร์
- จาตุรนต์ เอมซ์บุตร
- ประสานงาน
- สมควร มีศิลปสุข
- ควบคุมเสียงและมิกซ์เสียง
- ปณต สมานไพสิฐ
- ผู้ช่วยบันทึกเสียง
- วุฒิ, ตี๋น้อย, สุริยา, แมง
- คำร้อง
- จาตุรนต์ เอมซ์บุตร, ประชา พงษ์สุพัฒน์, จักราวุธ แสวงผล, ชาญชัย อิ่มสำราญ, สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์, บิลลี่ โอแกน
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- จาตุรนต์ เอมซ์บุตร, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา, โสฬส ปุณกะบุตร, สมชาย กฤษณะเศรณี, อภิไชย เย็นพูนสุข, อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ, ชาญชัย อิ่มสำราญ, เทียรี่ ตาเปียรัวโน, ชาตรี คงสุวรรณ(คิดถึง), มานะ ประเสริฐวงศ์(สงครามสันติภาพ), ไมโคร
- บันทึกเสียง
- ห้องอัดเสียงบัตเตอร์ฟลาย
- มิกซ์เสียง
- ห้องอัดเสียงศรีสยาม
- วางตลาด
- 23 สิงหาคม พ.ศ. 2534
- รายชื่อเพลง
- รักซะให้เข็ด (กบ)
- เลือดเย็น (กบ)
- ไม่มีอะไรจะเสีย (กบ)
- สะใจแล้วซิเธอ (กบ)
- เฮกันหน่อย (กบ)
- คิดถึง (บรรเลง)
- ร็อกรักร็อก (กบ)
- รู้ตัวอยู่แล้ว (กบ)
- อีรุงตุงนัง (บอย)
- ตัวเราก็เท่านี้ (อ้วน)
- อึดอัดออก (บอย)
- สงครามสันติภาพ (บรรเลง)
- รางวัล
- ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
สุริยคราส (พ.ศ. 2538)
แก้- เอ็กเซ็กคิวทีฟ โปรดิวเซอร์
- กริช ทอมมัส
- โปรดิวเซอร์
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์
- Co-Producer
- Lyrics : อาทิตย์ สาระจูฑะ
- ควบคุมเสียงและมิกซ์เสียง
- สมบูรณ์ สุทธิสัตตบุษย์
- ผู้ช่วยบันทึกเสียง
- กฤษณ์ ,พี่หนู,พี่ตั้ม / ตี๋,อ๊อด / ก้อย,ราม / พี่หมู / เก๋,ช้าง,เหมียว,ต้น
- คำร้อง
- ชนะ เสวิกุล, อาทิตย์ สารจูฑะ, มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร, ผาเรือง ยั่งยืน, กฤชยศ เลิศประไพ, ธนา ชัยวรภัทร์, มณฑวรรณ ศรีวิเชียร
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- กริช ทอมมัส, สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์, จิระศักดิ์ ปานพุ่ม, Brono, อรอรีย์ จุฬารัตน์
- ศิลปินรับเชิญ
- อำพล ลำพูน, กอล์ฟ Y NOT 7
- บันทึกเสียง
- แจมสตูดิโอ, เซ็นเตอร์สเตจ, อินเทอร์นอล, ศรีสยาม, ปีเตอร์แพน
- วางตลาด
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538
- รายชื่อเพลง
- สุริยคราส (กบ)
- ตายเปล่า (กบ)
- ตายทั้งเป็น (กบ)
- อย่าเสียเวลา (กบ)
- คิดผิด-คิดใหม่ (กบ)
- ที่เขาเรียกว่าเพื่อน (กบ)
- ไม่มีเหลือใคร (กบ)
- รักตัวเองบ้าง (กบ)
- มันเป็นอะไรของมัน (กบ)
- ลา (กบ)
- รางวัล
- ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม, อัลบั้มยอดเยี่ยม และ โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม
ทางไกล (พ.ศ. 2540)
แก้- เอ็กเซ็กคิวทีฟ โปรดิวเซอร์
- ไมโคร
- โปรดิวเซอร์
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์, ไกรภพ จันทร์ดี
- Co-Producer
- มานะ ประเสริฐวงศ์, คณิต พฤกษ์พระกานต์
- ควบคุมเสียง
- น้าตุ้ม, หนุ่ม / หนึ่ง
- มิกซ์เสียง
- โยธิน ชีรานนท์, David Spargo
- คำร้อง
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์, ไกรภพ จันทร์ดี, บริพัตร, รสสุคนธ์
- ทำนอง / เรียบเรียงเสียงประสาน
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์, ไกรภพ จันทร์ดี
- ศิลปินรับเชิญ
- หรั่ง นพพร, ฝิ่น, รส, อ้อม, กอล์ฟ Y NOT 7
- บันทึกเสียง
- เซ็นเตอร์สเตจ, บัตเตอร์ฟลาย
- รายชื่อเพลง
- ทำ ฅน เป็น ควาย (กบ)
- ทางไกล (กบ)
- อย่างโหดร้าย (กบ)
- ช้างเป็นช้าง (กบ)
- จากกันด้วยดี (กบ)
- ขี้โม้ (กบ)
- ดูแลตัวเองด้วย (กบ)
- รู้ตัว (กบ)
- คืนนี้ (กบ)
- ฝันร้าย (กบ)
เพลงประกอบละคร
แก้- สละโสด ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง เพลงนี้วงไมโครเล่นแบคอัพตอนอัดเสียง (Ost.บางรักซอย 9)
- เกลียดแผลที่อยู่ในใจ
ผลงานร่วมกับศิลปินคนอื่น
แก้- โลกสวยด้วยมือเรา (27 กรกฏาคม พ.ศ. 2534) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
- Rock Zone (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
- We Love ไมโคร (24 กรกฏาคม พ.ศ. 2557) - จัดจำหน่ายในรูปแบบซีดี
ผลงานแสดงภาพยนตร์
แก้- วัยระเริง (2527) รับบท วงไมโคร
- เพียงบอกรักฉันสักนิด (2528) รับบท วงไมโคร
ละคร
แก้- บางรักซอย 9 ตอน ของของใคร ใครก็หวง (2552) ช่อง 9
โฆษณา
แก้- โค้ก
การนำกลับมาทำใหม่
แก้ปลายปี พ.ศ. 2546 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้รวมค่ายทั้ง 4 ค่าย ได้แก่ มอร์ มิวสิค, อัพจี, แมดแคทซ์, จีนี่เรคคอร์ดส มาทำอัลบั้มพิเศษ ลิทเทิล ร็อก โปรเจกต์ โดยรวม 7 วงดนตรีร็อครุ่นใหม่ ได้แก่ แคลช, กะลา, เอบีนอร์มัล, ไอ-แซ็ค, อุลตร้า ช้วดส์, ซีล และพาราด็อกซ์ มาปลุกกระแสตำนานเพลงร็อคมือขวา โดยนำ 25 บทเพลงฮิตของวงไมโครมาเรียบเรียงและร้องใหม่ ในสไตล์ของแต่ละวง
เกร็ดน่ารู้
แก้ทางวงได้ให้สัมภาษณ์กับ ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ผ่านช่องยูทูปของป๋าเต็ด พร้อมเกร็ดเรื่องราวหลายเรื่องเช่น
- กบ ไกรภพ เคยถูกผู้จัดการวงอินทนิลชักชวนให้เปลี่ยนจากแนวร็อกหันมาเล่นเพลงป็อปในนามวงเรนโบว์ แต่ได้ปฏิเสธไปเนื่องจากไม่ใช่ทาง วงเรนโบว์จึงได้ต้อม-พีระพงษ์ พลชนะ มาเป็นมือกีตาร์และนักร้องนำแทน
- ในภาพยนตร์เรื่องวัยระเริง ตอนแรกได้วางตัววงฟอร์เอฟเวอร์ ให้มาร่วมแสดงแต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ต้องเปลี่ยนมาเป็นไมโคร
- ห้องซ้อมในภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง เป็นห้องซ้อมจริง ๆ ของ ปู-อดิสัย มือกลองและหัวหน้าวง ซึ่งมีอีกอาชีพหนึ่งคือ เป็นช่างตัดผมชื่อร้านว่า ปูดีไซน์ โดยเปิดห้องซ้อมอยู่ชั้นบนของร้าน โดย โป่ง-โต หินเหล็กไฟ วงเนื้อกับหนัง ก็เคยมาซ้อมที่นี่
- วงไมโครสมัยยังไม่มีชื่อเสียงเคยเล่นเป็นวงเปิดให้กับวงดนตรีหมอลำชื่อดังในอดีตอย่างเพชรพิณทองของนพดล ดวงพร แต่ถูกแฟนหมอลำขว้างด้วยน้ำแข็งไล่ลงจากเวที
- ก่อนจะมาเป็นไมโคร หนุ่ยกับปู อยู่กันคนละวงโดยหนุ่ยเล่นกับอ้วน ส่วนปูเล่นกับอ๊อด น้องชาย
อ้างอิง
แก้- ↑ micro in a day จำให้ฝังใจกับ ร็อคมือขวา[ลิงก์เสีย]
- ↑ (PART 3 - ตอนจบ) ' โชคดีนะเพื่อน ‘ | MICRO | #ป๋าเต็ดทอล์กEP113, สืบค้นเมื่อ 2023-04-08
{{citation}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 37 (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Micro Rock Club เก็บถาวร 2008-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Micro Unofficial Website (Thai Only)