ดนู ฮันตระกูล นักดนตรีระดับอาจารย์ เป็นทั้งนักแต่งเพลง และ ผู้อำนวยเพลงชาวไทย

ดนู ฮันตระกูล
ชื่อเกิดดนู ฮันตระกูล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
แนวเพลงเพลงไทยร่วมสมัย เพลงไทยสากล
อาชีพนักดนตรี นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลง
เครื่องดนตรีเปียโน
ช่วงปีพ.ศ. 2519-ปัจจุบัน

การศึกษา

แก้

ประวัติงาน

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2519 หลังจากจบการศึกษาทางด้านเอกการประพันธ์จาก รอยัลคอนเซอร์วาตอรี กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ดนู ฮันตระกูลได้ก่อตั้งภาคีวัดอรุณ คณะภาคีวัดอรุณได้รวบรวมเพื่อนพ้องทางดนตรีไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น จิรพรรณ อังศวานนท์, สุรสีห์ อิทธิกุล, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา และนันทิกา กาญจนวัฒน์ ซึ่งมีแกนนำอย่าง บรูซ แกสตัน และธนวัฒน์ สืบสุวรรณ

หลังจากนั้นไม่นาน ดนู ฮันตระกูล ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนดนตรีศศิลิยะ และได้เชิญเขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนจากรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกันสมัยอยู่เมืองไทย เข้ามาเป็นผู้บริหารงานในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ดนู ฮันตระกูล ได้เปิดบริษัทบัตเตอร์ฟลาย ซาวนด์แอนด์ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด ร่วมกับหมู่คณะทางดนตรีอีกหลายท่านที่มาจากกลุ่มภาคีวัดอรุณเข้าร่วมอีกครั้ง เช่น จิรพรรณ อังศวานนท์ สุรสีห์ อิทธิกุล กฤษณ์ โชคทิพย์วัฒนา และอื่นๆ อีกหลายท่านที่เข้ามาสมทบ เกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเพลงโฆษณาทั้งหลายที่สังคมได้ยินได้ฟังทางสื่อต่างๆ นั้นล้วนเป็นผลงานจากกลุ่มคนบัตเตอฟลายทั้งสิ้น

จากความมุ่งหมายที่ต้องการให้โรงเรียนดนตรีศศิลิยะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง วงคีตกวีจึงถือกำเนิด โดยมีเขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ และอัสนี โชติกุลเป็นผู้เขียนคำร้อง ในการนี้ เรวัต พุทธินันทน์ อดีตสมาชิกของ ดิอิมพอสซิเบิ้ล และ Oriental Funk ได้ก้าวเข้ามามีส่วนร่วม ภายใต้การอำนวยการผลิตโดยดนู ฮันตระกูล และได้ใช้ชื่อชุดว่า"เรามาร้องเพลงกัน" การรวมตัวกันในครั้งนั้น เป็นการนำเสนอ และแสดงออกทางด้านความนึกคิดต่าง ๆ ผ่านบทเพลง ไปจนถึงอุดมการณ์ของชีวิตทาง สังคม และปรัชญา แรงจูงใจแห่งความสำนึกของชุมชนโลกกว้างที่มุ่งไปทางสันติภาพในช่วงเวลาของสงครามเวียดนาม การเรียกร้อง แสวงหาสันติภาพ รวมไปถึงขบวนการฮิปปี้ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อดนตรีของพวกเค้า บทเพลงที่กลั่นกรองสู่สังคมจึงไม่ใช่แค่ความไพเราะ หรือโก้เก๋เท่านั้น ดนตรีที่ปั้นแต่งพร้อมกับอุดมการณ์จึงทำให้เนื้อหาค่อนข้างจะฟังยากอยู่หลายปี ดนู ฮันตระกูล ได้เริ่มก่อตั้งวงดนตรีไหมไทย เมื่อปี พ.ศ. 2530 ไหมไทยถือเป็นรูปแบบดนตรีเครื่องสาย 12 ชิ้น และพิณฝรั่ง ซึ่งเป็นวงดนตรีทีบรรเลงและขับร้องได้หวานซึ้ง นิ่มนวล ยึดถือธรรมชาติวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนของวง และในปีเดียวกัน 2530 ก็มีผลงานเพลงชุดแรก คือ ชีพจรลงเท้า และเขมรไทรโยกออกสู่สังคม ไหมไทยได้ร่วมงานกับ จรัล มโนเพ็ชร ออกเพลงชุด ลำนำแห่งขุนเขา โดยนำ เอาเพลงที่จรัล มโนเพชรแต่งมาร่วมร้องออกลักษณะพื้นเมืองเหนือ จนกระทั่งมาถึงงานเพลงชุด เงาไม้ ใน ปี 2532 ไหมไทย ได้เพิ่มนักร้องหญิงคือ สุภัทรา อินทรภักดี สร้างเพลงร้องและประสานเสียง คือเป็นมิติใหม่เต็มรูปแบบของไหมไทย ปัจจุบันวงไหมไทย ได้กลายเป็นวงแซมเบอร์ ออร์เคสตร้า ขนาดใช้ 32 คนใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงตามแบบฉบับวงดนตรีชั้นนำทางประเทศตะวันตก วงไหมไทยได้สรรสร้างบทเพลงมากมายให้กับวงการเพลงไทย และรับรู้กันไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และไม่ได้เขียนเพลงแบบอย่างที่นิยมตามตลาดไทยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2024+543

ดนู ฮันตระกูล ถือเป็นอาจารย์ของคนในวงการเพลงหลายๆคน นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ปัจจุบันดนู ฮันตระกูล ยังคงเรียบเรียงผลงานเพลงอยู่เรื่อยๆ และมีการแสดงเป็นครั้งคราวคู่กับวงไหมไทยในโอกาสพิเศษต่างๆ เพื่อนำเสนอดนตรีอันเกี่ยวโยงกับศิลปะ และวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังทำธุรกิจร้านอาหารยุโรปกับครอบครัวบริเวณถนนสุขุมวิทอีกด้วย

ผลงานเพลง

แก้
  • อัลบั้ม “ เรามาร้องเพลงกัน ” ในนาม “ ภาคีวัดอรุณ ” ปี พ.ศ. 2525 ร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์ อัสนี โชติกุล และเขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์
  • ผลงานเรียบเรียงและอำนวยเพลงกับวงดนตรี “ ไหมไทย ” หลายชุด
  • อัลบั้ม “ ทีเล่นทีจริง ” ปี พ.ศ. 2537 สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (ชุดนี้มีเพลง “ไอ้หนุ่มผมยาว” ที่ได้ สุรชัย สมบัติเจริญ มาขับร้องจนโด่งดัง)
  • อัลบั้ม “ เทียบเสียง ” ปี พ.ศ. 2539 สังกัด แกรมมี่
  • อัลบั้ม “ เพลงบางกอก ” ปี พ.ศ. 2544 สังกัด สองสมิต
  • อัลบั้ม “ ลมเหนือ น้ำหนาว ” ปี พ.ศ. 2546 สังกัด สองสมิต
  • อัลบั้ม “ เมื่อดอกซากุระบาน ” ปี พ.ศ. 2548 สังกัด สองสมิต (ชุดนี้มีเพลง "ฉันจะฝันถึงเธอ" ที่ได้ สุภัทรา อินทรภักดี มาขับร้องจนโด่งดัง)
  • อัลบั้ม “ เสียงใบไผ่” ปี พ.ศ. 2549 สังกัด สองสมิต
  • อัลบั้ม “ ตามเพลงไหมไทย” ปี พ.ศ. 2550 สังกัด สองสมิต
  • อัลบั้ม “ รวมเพลงไหมไทย” ปี พ.ศ. 2551 [แผ่นคู่ - รวมเพลงจาก 6 ชุดล่าสุดตั้งแต่ เพลงบางกอกถึงไหมไทยคลาสสิก] สังกัด สองสมิต
  • อัลบั้ม " The Masterpiece " ปี พ.ศ. 2561 สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (นำอัลบั้มทีเล่นทีจริงและเทียบเสียงมาจัดจำหน่ายใหม่ในรูปแบบแผ่นทอง 2 แผ่น)
  • นิทานเพลงช้างกับเรือ
  • เพลง “ Light of Asia ” เพลงปิดงานกีฬาเอเชียนเกมส์ที่กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2541
  • เรียบเรียงบางเพลงในผลงานชุด “ ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ ”
  • เรียบเรียงบางเพลงในผลงานชุด “ เพลงพระราชนิพนธ์ ” โดย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

คอนเสิร์ต

แก้
  • พ.ศ. 2546 แสดงคอนเสิร์ต City of Butterfly ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
  • พ.ศ. 2547 นิราศบางกอก ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 222
  • พ.ศ. 2547 คอนเสิร์ตเสียงสยาม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2549 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี-วสันต์ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
  • พ.ศ. 2555 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต 26 ปี อัสนี-วสันต์ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
  • พ.ศ. 2556 ไหมไทยราชินี คอนเสิร์ตเทอดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2558 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต ไหมไทย สิรินธร ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2562 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต ซีรี่ ‘ไหมไทยแนะนำเพลงคลาสสิกไทย-ฝรั่ง ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2567 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต TUSO Enchanted Night Concert ร่วมกับชุมนุมดุริยางค์สากลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วง Thammasart University Symphony Orchestra หรือ TUSO) วงไหมไทย ออร์เคสตร้า และชุมนุมขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วง Thammasat University Chorus หรือ TU Chorus) ณ หอประชุมใหญ่ กิติยาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยในคอนเสิร์ตครั้งนี้ ดนู ฮันตระกูล เป็นเจ้าภาพในการจัดคอนเสิร์ตนี้ร่วมกับชุมนุมดุริยางค์สากลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีบทบาทในฐานะผู้อำนวยเพลง (Conductor) และผู้เรียบเรียงบทเพลง (Arranger) ในช่วงครึ่งแรกของคอนเสิร์ตด้วย

แต่งเพลง

แก้

ผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์

แก้

รางวัล

แก้
  • รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยมจากสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ จากเรื่อง "กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเช้านี้" ปี พ.ศ. 2537 ในนาม ไหมไทยออร์เคสตร้า
  • รางวัลศิลปาธรสาขาคีตศิลป์ จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้