เพลงเงาไม้ เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ลูกทุ่ง" ของบริษัทไทยฟิล์ม ประพันธ์คำร้องโดยพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ทำนองโดยหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2483 ร้องโดยนภา หวังในธรรม

ในปี พ.ศ. 2503 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงนำเพลงเงาไม้มาใส่ในภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ ที่อัศวินภาพยนตร์กำลังสร้าง ร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ เป็นเพลงประกอบคู่กับเพลงเรือนแพ ซึ่งชรินทร์ นันทนาคร ร้องไว้ด้วย


คำร้อง

แก้


(1) ผู้ขับร้อง: นภา หวังในธรรม

แสงจันทร์วันนี้นวล ใคร่ชวนให้น้องเที่ยว
จะให้เหลียวไปแห่งไหน
ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด
อ๋อ ไม้ริมฝั่งชล
สวยแจ่ม...แสงเดือน...
หมู่ปลาเกลื่อนดูเป็นทิว
หรรษ์รมย์...ลมริ้ว...
จอดเรืออาศัยเงาไม้ฝั่งชล
(ซ้ำ)


(2) ผู้ขับร้อง: วิสุตา สาณะเสน จินตนา สุขสถิตย์ อรวี สัจจานนท์ รัดเกล้า อามระดิษ เอ กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา มายด์ สิริกร(เพลงเอก 3, 2567)

แสงจันทร์วันนี้นวล คล้ายชวนให้น้องเที่ยว
จะให้เลี้ยวไปแห่งไหน
ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด
อ๋อ ไม้ริมฝั่งชล
สวยแจ่ม แสงเดือน
หมู่ปลาเกลื่อนดูเป็นทิว
หรรษ์รมย์ ลมริ้ว
จอดเรืออาศัยเงาไม้ฝั่งชล

ที่มา: เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ หน้า 41 และโน๊ตเพลงหน้า 110

ประเด็นต้นฉบับคำร้อง

แก้

คำร้องต้นฉบับ อ้างอิงตามฉบับหนังสือ "84 ปี ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์" ซึ่งจัดทำโดยทายาทของท่านผู้หญิงพวงร้อย จากข้อสงสัยเรื่องคำร้องในตอนที่ร้องว่า

           "คล้ายชวนให้น้องเที่ยว"

บางฉบับร้องว่า "ใคร่" บ้างก็ร้องว่า "คล้าย" จากการค้นคว้าจากโน้ตเพลงเเละจากหนังสือ "84 ปี ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์" หน้าที่ 24 ปรากฏข้อความว่า

      "ท่านเจ้าคุณโกมารกุลมนตรี นั้น ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์ ชื่นชมความสามารถในการประพันธ์คำร้องของท่านมาก เพราะเมื่อท่านผู้หญิงได้ประพันธ์ทำนองเเละเขียนวรรณยุกต์กำกับไป ท่านเจ้าคุณก็สามารถเขียนคำร้องให้ตรงกับวรรณยุกต์ที่บังคับไปได้ ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณส่งกลับมาโดยที่ไม่ต้องมาขอเเก้หรือเปลี่ยนเเปลงเลย ตัวอย่างเช่นเพลง "เงาไม้" ท่านผู้หญิงเขียนวรรณยุกต์กำกับลงไปว่า
         

(๐ คือเสียงสามัญ ่ เสียงเอก ้ เสียงโท ๊ เสียงตรี ๋ เสียงจัตวา)

ท่านเจ้าคุณก็เขียนคำร้องกำกับมาให้ว่า
เเสงจันทร์วันนี้นวล คล้ายชวนให้น้องเที่ยว...

ท่านเจ้าคุณโกมารกุลมนตรี มีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่ไกลถึงคลองรังสิต คลอง10 ไม่เคยพบกับท่านผู้หญิงในขณะเเต่งเพลงเลย เเต่ว่าวรรณยุกต์ที่กำหนดให้ท่านไปตรงกับท่านผู้หญิงต้องการอย่างถูกต้อง ทั้งประโยคที่ใส่ยังไพเราะ เข้ากันดีอย่างไม่น่าเป็นไปได้"

จากข้อความดังกล่าวประกอบกับโน้ตเพลงเงาไม้จากหนังสือของท่านหลายเล่ม ที่ได้ศึกษาเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเนื้อร้องที่ถูกต้องตามความปรารถนาของท่านผู้หญิงพวงร้อย ในบทเพลงนี้จึงเป็นคำว่า คล้ายชวนให้น้องเที่ยว...

ที่มา: เงาไม้ (คำร้องต้นฉบับพระยาโกมารกุลมนตรี) - เอ กรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา (Blue Birds Chamber Version)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

[[หมวดหมู่:เพลงลูกกรุง]