หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล
มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล (16 มกราคม พ.ศ. 2441 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2519) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล | |
---|---|
ราชเลขานุการในพระองค์/ราชเลขาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489[1] – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[2] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | เฉลียว ปทุมรส |
ถัดไป | หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล |
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 | |
ก่อนหน้า | พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) |
ถัดไป | หลวงสิทธิสยามการ (สิทธิ ฮุนตระกูล) |
ประสูติ | 16 มกราคม พ.ศ. 2441 วังสะพานถ่าน ถนนดีทอง อำเภอพระนคร เมืองพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
สิ้นชีพิตักษัย | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (78 ปี) โรงพยาบาลพร้อมมิตร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พระราชทานเพลิง | 15 มีนาคม พ.ศ. 2520 เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ชายา | หม่อมเจ้าสมทรง เกษมศรี (สมรส 2470; เสียชีวิต 2485) |
บุตร | 4 คน |
ราชวงศ์ | เทวกุล (ราชวงศ์จักรี) |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
พระมารดา | หม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา |
อาชีพ | นักการทูต |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ |
ประจำการ | พ.ศ. 2461–2462 |
ชั้นยศ | ร้อยตรี |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายโอ่ง ประสูติเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2441 ณ วังสะพานถ่าน ถนนตีทอง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร เมื่อเจริญชันษาขึ้นได้เข้าศึกษา ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ต่อมาได้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ราชเลขาธิการในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3]
หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสมทรง เทวกุล (ราชสกุลเดิมเกษมศรี ; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ) เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2470 หม่อมเจ้านิกรเทวัญสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2519[4] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2520[5]
พระยศ
แก้พระยศทหาร
แก้- 23 กรกฎาคม 2462 – นายร้อยตรี[6]
พระยศพลเรือน
แก้- 1 มกราคม 2467 – อำมาตย์ตรี
- 8 พฤศจิกายน 2470 – อำมาตย์เอก[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[11]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[13]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 4[14]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[15]
- สเปน :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์โลสที่ 3 ชั้นที่ 3[16]
- อิตาลี :
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 4[19]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 3[20]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2471 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ ชั้นที่ 4[21]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2472 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3[22]
- ไรช์เยอรมัน :
- พ.ศ. 2481 – เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 1[23]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[24]
- ลาว :
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระบรมรูป ชั้นที่ 1[25]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[26]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[27]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ เรื่อง แต่งตั้งราชเลขานุการในพระองค์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๓๒ ง หน้า ๖๗๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๑๒๑, ๑๖ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/013/907.PDF
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2520. 120 หน้า.
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๖, ๖ มกราคม ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘๐, ๓๑ ตุลาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๗๗, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๓, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๒๓, ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๒, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒, ๑๘ เมษายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๒๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๓๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๕๐, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๖, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
ก่อนหน้า | หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เฉลียว ปทุมรส | ราชเลขานุการในพระองค์/ราชเลขาธิการ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506) |
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล |